"ผู้ใดไม่เห็นทุกข์ ผู้นั้น คือผู้ไม่เห็นธรรม ผู้ได้รับทุกข์จนเหลือที่จะอดกลั้นแล้ว เมื่อหวนกลับเข้ามาถึงตัวนั่นแล จึงจะรู้จักว่าทุกข์ นั้นแลคือธรรม ผู้เกลียดทุกข์เป็นผู้แพ้ ผู้พิจารณาทุกข์ คือผู้เจริญในทางธรรม"
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ตราบเท่าที่ท่านยังทำงาน ตราบนั้นท่าน ต้องประสบปัญหา คนที่เป็นปุถุชน ถ้ารู้สึก ตนว่า ไม่เคยเผชิญปัญหาเลย มีแต่ความสุข สบายอยู่ตลอดเวลา ไม่รู้สึกหนัก ไม่รู้สึกเหนื่อย ก็คือคนไม่ทำอะไร
ตราบที่เรายังมีภาระอันหนัก ยังเหน็ดเหนื่อย เมื่อนั้นจงภาคภูมิใจ ว่าเรากำลังทำงาน ... สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อัมพโร)
"ชีวิตนั้นเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง"
หลวงปู่เขี่ยม โสรโย วัดถ้ำขาม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
"สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ ความบริสุทธิ์ และความไม่บริสุทธิ์ มีเฉพาะตัว นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย ผู้อื่นพึงทำให้ผู้อื่น บริสุทธิ์ไม่ได้..
ก่อนตายได้สร้างคุณงามความดี บุญกุศลไว้แล้วหรือยัง ส่วนมากคนทางโลกเขาตักตวงหาเงินทอง สร้างหลักปักฐาน แต่คนมีปัญญาทวนกระแส ตักตวงบุญกุศลเข้าไว้ให้มาก..
...,,แม้ในยามที่หลวงปู่อาพาธหนักกำลังจะละสังขาร ท่านก็ยังออกปากกับศิษย์ที่อุปัฏฐาก ว่า “ตอนนี้ผมกำลังเจริญมรณสติอยู่ ชีวิตนั้นเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง”
ที่มา:โดยภัทระ คำพิทักษ์
"การนอน การสงบเข้าฌาณ เป็นอาหารของจิตและร่างกายอย่างหนึ่ง สมถะ ต้องพักจิตสอบอารมณ์ ส่วนวิปัสสนา จิตเดินไตรลักษณ์ให้รู้อริยสัจ เหนื่อยแล้วเข้าพักจิตพักจิตหายเหนื่อยแล้ว จิตตรวจอริยสัจอีกดังนี้
ฉะนั้นให้ฉลาดการพักจิต การเดินจิต ทั้งวิปัสสนาและสมถะ พระโยคาวจรเจ้าทิ้งไม่ได้ ชำนิชำนาญทั้งสองวิธี จึงเอาตัวพ้นจากกิเลสทั้งหลายไปได้ เป็นมหาศีล เป็นมหาสมาธิ เป็นมหาปัญญา
มีศีลทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด พร้อมทั้งจิตเจตสิก พร้อมทั้งกรรมบถ ๑๐ ไม่กระทำผิดในที่ลับและที่แจ้ง สว่างทั้งภาย ใน และภายนอก มีมหาสติรอบคอบหมด วิโมกข์ วิมุติ อกุปธรรม
จิตบริสุทธิ์ จิตปกติเป็นจิตพระอรหันต์ สว่างแจ้งทั้งภายนอกภายในสว่างโร่ ปุถุชนติเตียนเกิดบาป.. เพราะพระอรหันต์บริสุทธิ์ กายเป็นชาตินิพพาน วาจา ใจ เป็นชาตินิพพาน ..."
"นิพพานมี ๒ อย่าง" นิพพานยังมีชีวิตอยู่ ๑ นิพพานตายแล้ว ๑
#พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทัตโต) วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร พ.ศ.(๒๔๑๓ - ๒๔๙๒)
"แม้คนที่ทำบุญแล้วก็อย่าประมาท"
ค่อย ๆ ทำนะ ทุกคนน่ะ แล้วก็ระมัดระวัง คนที่ทำบุญแล้วนี่อย่าประมาท ถ้าประมาทมันลงนรกได้ ถ้าเรายังไม่เป็นพระโสดาบัน
เพราะว่าเวลาใกล้จะตายนะ มีหลายคนที่ผ่านมาที่แล้วมา พอนึกถึงบุญอยู่ เวลาใกล้ตายเสียงตึงตังโครมคราม ตกใจ ! พอตกใจแวบ ไอ้ภาพที่เราสร้างบาปไว้ปั๊บ เสียงตึงตัง ๆ ไอ้ตัวแมลงที่เคยตีไว้มันดึงโทษ มันจะเข้าตา ตกใจ ! จิตพลัด จากฌาน ตอนนั้นเขาต้องนำไปสำนักพระยายม แต่ว่ายังไงก็ไม่ตกนรก (ถ้าระบบนั้นนะไม่ตก) ไปถึงที่นั่นเขาก็ไล่กลับไปสวรรค์
แต่ที่จำเป็นต้องไปสำนักพระยายมมันก็ไม่ดี แล้วไปที่นั่นเรายังไม่มีโทษ แต่ว่าเวลาไปคอย คือคอยการสอบสวน มันหิว
มันเหมือนคนเรานี่ หิว คืออารมณ์เดิมยังอยู่ ไม่ได้กินอะไรเลย น้ำก็ไม่มีกิน ข้าวก็ไม่มีกิน หิวก็เกิดการทรมาน ไม่ดี ไปอยู่นรกกี่วันหิวตลอดเวลา
พระราชพรหมยาน,ธัมมวิโมกข์ (2554), 367,39-40
เรื่องกามกิเลส ต้นเหตุแห่งกามกิเลส ต้นตอมันอยู่ไหนให้พิจารณาตรงนั้น อย่าอ้อมค้อม ให้ตีให้แตกด้วยอริยสัจ ชนะอันนี้ได้ ชนะได้หมดท่านว่า ไม่ชนะอันนี้อย่ามาคุย คุยได้ก็ไม่รู้เรื่อง นี้แหละสุดยอดแห่งกรรมฐาน มนุษย์สร้างภพสร้างชาติก็เพราะตัวนี้แหละ ไม่พิจารณา ตัวนี้ จะพิจารณาอะไร ... ... หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
"...ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นธรรมแก้กิเลส ทุกประเภท จงพยายามอบรมให้เกิดขึ้น กับใจ ของตน ถ้าต้องการไปนิพพานดับไฟกังวลให้สิ้น ซาก จงอย่าเห็น ศีล สมาธิ ปัญญา เป็น กรวด เป็นทราย ศีล สมาธิ ปัญญา ทุก ขั้นได้ปรากฏขึ้นกับตนแล้ว อย่ายอม ปล่อยให้หลุดมือไป ด้วยความประมาท จงพยายามบำรุง ศีล สมาธิ ปัญญา ทุกๆ ขั้นที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่จนสามารถ แปรรูปเป็นมรรคญาณ ประหารกิเลส แม้ อนุสัยให้สิ้นซาก ลงเสียที
แดนแห่งวิมุตติพระนิพพาน ที่เคยเห็นว่า เป็นธรรมเหลือวิสัย จะกลายเป็นธรรมประ ดับใจทันที ที่กิเลสสิ้นซากลงไป..."
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน.
“นิวรณ์” แท้จริงมันก็มีอยู่กับตัวเราเสมอ ถึงจะเรียนก็มี ไม่เรียนก็มี นิวรณ์นี้มันมีอำนาจ อิทธิพลมาก เพราะเป็นเครื่องกลบเกลื่อนดวงจิตของเราไม่ให้ก้าวขึ้นสู่ความดีได้
เส้นทางของนิวรณ์ที่จะไหลมาสู่เรา ก็คือ “สัญญาอดีต” อันได้แก่เรื่องราวต่างๆ ทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งของเราของเขาซึ่งเป็นอดีตทั้งหมดเส้นหนึ่ง
อีกเส้นหนึ่งคือ “สัญญาอนาคต” นับแต่เรื่องที่คิดไปตั้งแต่วันพรุ่งนี้จนถึงวันตาย ซึ่งเราอาจเดาอาจคิดไปด้วยความผิดพลาดทั้งหมดทั้ง ๒ ทาง นี้เป็นเส้นทางที่ไหลมาจากนิวรณ์ทั้งสิ้น
ฉะนั้น เรื่องอดีต อนาคต ก็ต้องวางไว้ก่อน ยกจิตของเราขึ้นสู่องค์ภาวนา คือ นึกถึงลมหายใจของลมอันเป็นส่วนปัจจุบันของรูป ปัจจุบันของนาม ได้แก่ “ตัวรู้”
เมื่อเราทำได้เช่นนี้ จิตของเราก็จะเหมือนกับลูกโป่งที่ลอยอยู่ในอากาศ เพียงตัดเชือกเส้นเดียวเท่านั้นเราก็จะหลุดได้ คือ เมื่อตัดสัญญาขาด จิตของเราก็จะเข้าไปสู่องค์ภาวนาได้ทันที
ใจก็ไม่มีอาการอึดอัด มีแต่ความโปร่งสบาย ใจก็สูงเหมือนลูกโป่งที่ถูกตัดเชือกออกจากก้อนหินที่ผูกไว้ สิ่งที่จะตามขึ้นไปทำลายรบกวนก็ยาก เพราะธรรมดาขี้ฝุ่นนั้นก็จะกลบได้แต่เพียงแค่ศีรษะคนเท่านั้น ที่มันจะปลิวขึ้นไปกลบถึงยอดภูเขา หรือยอดไม้สูงๆ นั้นย่อมไม่ได้
ฉะนั้น เมื่อจิตของเราสูงขึ้นแล้ว นิวรณ์ทั้งหลายก็ไม่สามารถจะกลบจิตของเราให้เศร้าหมองได้
#พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
|