นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 28 มี.ค. 2024 6:00 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ทุกข์กับสุข
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 01 ก.พ. 2020 4:51 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4510
“คนเฮาจะดีก็เพราะปาก จะบ่ดีก็เพราะปาก คำเว้านี่ตัวสำคัญ เว้าให้คนฮักกันแพงกันก็ได้ เว้าให้คนซังกันฆ่ากันก็ได้ ปู่ใหญ่ท่านเลยสอนว่า ให้เป็นคนรักษาสัจจะให้มีสัจจะ คนที่มีสัจจะเฮ็ดอิหยังก็เจริญเนาะ”

โอวาทธรรม
หลวงปู่จื่อ พนฺธมุตฺโต










"ทุกข์" เป็นข้อแรกของอริยสัจจ์ คนทั้งหลายพากันเกลียดกลัวทุกข์ อยากหนีทุกข์ ไม่อยากให้มีทุกข์เลย ความจริง ทุกข์ที่แหละจะทำให้เราฉลาดขึ้นล่ะ ทำให้เกิดปัญญา ทำให้เรารู้จักพิจารณาทุกข์ สุขนั่นสิมันจะปิดหูปิดตาเรา

มันจะทำให้ไม่รู้จักอด ไม่รู้จักทน ความสุขสบายทั้งหลายจะทำให้เราประมาทกิเลสสองตัวนี้ทุกข์เห็นได้ง่าย ดังนั้นเราจึงต้องเอาทุกข์นี่แหละมาพิจารณา แล้วพยายามทำความดับทุกข์ให้ได้ แต่ก่อนจะปฏิบัติภาวนาก็ต้องรู้จักเสียก่อน ว่าทุกข์คืออะไร

ตอนแรกเราจะต้องฝึกใจของเราอย่างนี้ เราอาจยังไม่เข้าใจว่ามันเป็นอย่างไร ทำไป ทำไปก่อน ฉะนั้นเมื่อครูอาจารย์บอกให้ทำอย่างใดก็ทำตามไปก่อน แล้วก็จะค่อยมี ความอดทน อดกลั้นขึ้นเอง ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรให้อดทนอดกลั้นไว้ก่อน เพราะมันเป็นอย่างนั้นเอง

อย่างเช่น เมื่อเริ่มฝึกนั่งสมาธิ เราก็ต้องการความสงบทีเดียวแต่ก็จะไม่ได้ความสงบ เพราะมันไม่เคย ทำสมาธิมาก่อน ใจก็บอกว่า "จะนั่งอย่างนี้แหละจนกว่าจะได้ความสงบ"

อย่าทอดทิ้งจิตแต่พอความสงบไม่เกิดก็เป็นทุกข์ ก็เลยลุกขึ้น วิ่งหนีเลย การปฏิบัติอย่างนี้ไม่เป็น "การพัฒนาจิต" แต่มันเป็นการ "ทอดทิ้งจิต" ไม่ควรปล่อยใจไปตามอารมณ์

ควรที่จะฝึกฝน อบรมตนเอง ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ขี้เกียจก็ช่าง ขยันก็ช่าง ให้ปฏิบัติมันไปเรื่อยๆ ลองคิดดูซิ ทำอย่างนี้จะไม่ดีกว่าหรือ

การปล่อยใจตามอารมณ์นั้น จะไม่มีวันถึงธรรม ของพระพุทธเจ้าเมื่อเราปฏิบัติธรรม ไม่ว่าอารมณ์ใดจะเกิดขึ้นก็ช่างมัน แต่ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ปฏิบัติให้สม่ำเสมอ

การตามใจตัวเองไม่ใช่แนวทางของพระพุทธเจ้า ถ้าเราปฏิบัติธรรมตามความคิดความเห็นของเรา เราจะไม่มีวันรู้แจ้งว่าอันใดผิด อันใดถูก จะไม่มีวันรู้จักใจของตัวเราเอง และไม่มีวันรู้จักตัวเอง

ดังนั้นถ้าปฏิบัติธรรมตามแนวทางของตนเองแล้วย่อมเป็นการเสียเวลามากที่สุด แต่การปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้าแล้วย่อมเป็นหนทางตรงที่สุด

ขอให้จำไว้ว่า ถึงจะขี้เกียจก็ให้พยายามปฏิบัติไป ขยันก็ให้ปฏิบัติไป ทุกเวลาและทุกหนทุกแห่ง นี่จึงจะเรียกว่า "การพัฒนาจิต" ถ้าหากปฏิบัติตามความคิดความเห็นของตนเองแล้ว ก็จะเกิดความคิดความสงสัยไปมากมาย มันจะให้คิดไปว่า

"เราไม่มีบุญ เราไม่มีวาสนา ปฏิบัติธรรมก็นานหนักหนาแล้ว ยังไม่รู้ เรายังไม่เห็นธรรมเลยสักที" การปฏิบัติธรรมอย่างนี้ไม่เรียกว่าเป็น "การพัฒนาจิต" แต่เป็น "การพัฒนาความหายนะของจิต"

ถ้าเมื่อใดที่ปฏิบัติธรรมไปแล้ว มีความรู้สึกอย่างนี้ว่ายังไม่รู้อะไร ยังไม่เห็นอะไร ยังไม่มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นบ้างเลย นี่ก็เพราะที่ปฏิบัติมามันผิด ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าสิ้นสงสัยด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้อง

พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย" ความสงสัยไม่มีวันสิ้นไปได้ ด้วยการคิด ด้วยทฤษฎี ด้วยการคาดคะเน หรือด้วยการถกเถียงกัน หรือจะอยู่เฉยๆ ไม่ปฏิบัติภาวนาเลย ความสงสัยก็หายไปไม่ได้อีกเหมือนกัน กิเลสจะหายสิ้นไปได้ก็ด้วยการพัฒนาทางจิต

ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้นการปฏิบัติทางจิตที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น ตรงกันข้ามกับหนทางของโลกอย่างสิ้นเชิง คำสั่งสอนของพระองค์มาจากพระทัยอันบริสุทธิ์ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสอาสวะทั้งหลาย นี่คือแนวทางของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระองค์

เมื่อเราปฏิบัติธรรม เราต้องทำใจของเราให้เป็นธรรม ไม่ใช่เอาธรรมะมาตามใจเรา ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ ทุกข์ก็จะเกิดขึ้น แต่ไม่มีใครสักคนหรอกที่จะพ้นทุกข์ไปได้ พอเริ่มปฏิบัติ ทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแล้ว

หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติ สำรวม และสันโดษ สิ่งเหล่านี้ จะทำให้เราหยุด คือเลิกนิสัยความเคยชินที่เคยทำมาแต่เก่าก่อน ทำไมถึงต้องทำอย่างนี้ ถ้าไม่ทำอย่างนี้ ไม่ฝึกฝนอบรมใจตนเองแล้ว มันก็จะคึกคะนอง วุ่นวายไปตามธรรมชาติของมัน

หลวงพ่อชา สุภัทโท









ทุกข์ กับสุข

คนเราเกิดมา มีใครบ้างที่มีความสุข พอคลอดจากท้องแม่ก็ทุกข์แล้ว มีเด็กคนไหนบ้างที่พอเกิดมาไม่ร้องไห้ ถึงไม่ร้องหมอตำแยก็ตีให้ร้อง

ส่วนความสุข ที่จะเกิดขึ้นได้เพราะการปฏิบัติภาวนา ให้จิตใจปล่อยวาง กิเลสตันหาในจิตใจ ให้มีความสงบ ความสุขบ้าง
ปล่องวาง จะได้เบาจิต เบากาย มีความสุขขึ้นบ้าง

หลวงปู่ศรี มหาวีโร
พระเทพวิสุทธิมงคล
วัดประชาคมวนาราม(ป่ากุง)
ศรีสมเด็จ ร้อยเอ็ด











...ถ้าสังเกตดูสักหน่อยก็จะเห็นว่า
ได้ทำตามความอยากมามากมายแล้ว
ตั้งแต่วันที่เกิดมา
"เคยถึงจุดพอบ้างไหม ถึงจุดอิ่มตัวบ้างไหม"

..ถึงจุดว่า เออได้ทำมามากพอแล้วนะ
หนังก็ดูมามากพอแล้ว ละครก็ดูมามากพอแล้ว
งานเลี้ยงก็ไปมามากพอแล้ว
เที่ยวไปตามที่ต่างๆก็เที่ยวมามากพอแล้ว
"ถึงเวลาที่น่าจะพอได้แล้วนะ"

..แต่กลับไม่มีความรู้สึกอย่างนี้เกิดขึ้นภายในจิต
เพราะ "ธรรมชาติของความอยาก"
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า
ไม่มีขอบ ไม่มีฝั่ง ไม่มีฝา มหาสมุทรจะใหญ่โต
กว้างขวางขนาดไหน ก็ยังมีขอบมีฝั่ง
"แต่ความอยากนี้หาขอบเขตไม่ได้"

..ไม่มีที่สิ้นสุด อยากแล้วก็จะอยากต่อไปเรื่อยๆ
มีแต่จะขยายตัว เพิ่มความรุนแรงมากยิ่งๆขึ้นไป
ดังที่เขาพูดกันว่า ได้คืบก็อยากจะเอาศอก
ได้ศอกก็อยากจะเอาวา มันเป็นอย่างนี้
"ความอยากจะทวีคูณขึ้นไปเรื่อยๆ"

.. แล้วใครล่ะจะต้องมาเหนื่อยยาก
กับการสนองความอยาก.."ก็จิตนี่แหละ"
ที่ต้องถ่อไป สั่งให้ไปเอาอะไรมา ก็ต้องไปหามา
หามาได้แล้วก็ดีใจไปสักพักหนึ่ง
แล้วเดี๋ยวก็มีคำสั่งใหม่ออกมาอีก
อยากจะได้สิ่งนั้นสิ่งนี้อีก ก็ต้องไปหามาอีก

..ถ้าเกิดไม่ได้สิ่งที่ต้องการ
ก็เกิดความเสียอกเสียใจขึ้นมา
เกิดความผิดหวัง เกิดความทุกข์ขึ้นมา
ถ้าเกิดสูญเสียสิ่งที่ได้มา
ก็เกิดความทุกข์ขึ้นมาอีกเหมือนกัน.

.......................................
.
จุลธรรมนำใจ1 กัณฑ์228
ธรรมะบนเขา 4/9/2548
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี









..ความผูกพันนั่นแลพาให้โลกเป็นทุกข์กันมากน้อย ถ้าความผูกพันในใจไม่มีก็ไม่เป็นทุกข์ ธรรมท่านจึงสอนให้รู้เท่าและปล่อยวางความผูกพันอันเป็นตัวการให้ทุกข์ทั้งหลายเกิด ..

-------------------------------
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
คัดจากหนังสือ เมตตาธรรม









"ผู้ถึงพร้อมด้วยทาน ศีล ภาวนา
ได้ชื่อว่า มีใจที่พัฒนาแล้ว เจริญแล้ว
จะไม่มีทาง เอารัดเอาเปรียบ
มีแต่การเสียสละ จะอยู่ร่วมกันได้
โดยสงบสุข"

หลวงปู่ท่อน ญาณธโร









ฝากเงินทำบุญ

"หลวงพ่อคะ ลูกได้ฝากเงินมาสร้างกุฎิ ๑ หลังนานแล้ว แต่ไม่เคยมาถวายด้วยตนเอง ฝากมาทุกครั้ง อย่างนี้บุญของลูกจะเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือเปล่าเจ้าคะ..."

ให้สตังค์มาเต็มสตังค์ไหม ธนบัติเต็มใบไหม ธนบัติเต็มบุญเต็ม ก็เต็มสิไม่เป็นไร "เจตนาหัง ภิกขเว ปุญญัง วทามิ" พระพุทธเจ้ากล่าวว่า "ดูก่อน ภิกษุ ทั้งหลาย การตั้งใจเป็นตัวบุญ" เขาตั้งใจแน่ได้ผลสมบูรณ์แบบ ไม่เป็นไร แล้วก็บุญยังแถมให้กับคนที่ถือสตังค์มาด้วย หมายความว่าคนที่เขาถือสตังค์มาเป็น ไวยาวัจจมัย เขาพลอยได้บุญ แต่บุญของเจ้าของก็ไม่ตกไป ได้บุญสมบูรณ์แบบ

หนังสือธรรมปฏิบัติ ๓๓ หน้า ๓
โอวาทธรรม
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO