นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 29 มี.ค. 2024 12:19 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: สูตรเมตตา
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 09 มิ.ย. 2019 5:58 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4510
สูตรการแผ่เมตตา โดย หลวงปู่ทิวา อาภากโร
(ศิษย์หลวงปู่หลุย จันทสาโร และ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม)

การเพิ่มคุณภาพจิตโดยการแผ่เมตตา

จิต ที่มีคุณภาพสูงเป็นจิตที่มีความสุขมากกว่าปกติเป็นจิตที่ประกอบไปด้วยกุศล ไม่คิดเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ปรารถนาความสุขให้แก่ตนเองและผู้อื่น ตรงกันข้ามกับจิตที่มีคุณภาพต่ำ เป็นจิตที่ประกอบไปด้วยอกุศลเป็นส่วนมาก ทำตนเองให้เป็นทุกข์ แล้วก็แผ่กระจายความทุกข์นั้นไปให้ผู้อื่น ทั้งที่โดยเจตนาและไม่เจตนาก็ตาม

พระอริยเจ้าทุกพระองค์ นับตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จิตของท่านมีคุณภาพสูงกว่าจิตของปุถุชน เพราะท่านมีความเมตตาเป็นวิหารธรรม คือ เป็นเครื่องอยู่ ฉะนั้นท่านจึงเป็นผู้มีความสุขมากกว่าปุถุชนธรรมดา พวกเราถึงแม้ว่ายังเป็นปุถุชนอยู่ แต่ถ้าเจริญเมตตาพรหมวิหารเป็นประจำ เราก็จะเป็นผู้ที่มีความสุขมากกว่าปกติ ต่างกันแต่ว่าพระอริยเจ้าท่านมีเมตตาเป็นอัตโนมัติเกิดขึ้นเป็นประจำไม่มี การเสื่อม สำหรับปุถุชนต้องพยายามทำให้เกิดขึ้นทำให้มีขึ้นและต้องพยายามรักษาไว้ไม่ ให้เสื่อมด้วย

เมตตาพรหมวิหารนี้ ถ้าเกิดขึ้นแล้ว ความเป็นผู้มีศีล คือไม่คิดเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น คิดปรารถนาความสุขให้แก่ตนเองและผู้อื่นก็เกิดขึ้นด้วย อยู่ที่ใดไปที่ใดก็มีแต่ความเยือกเย็นเป็นสุข

เมตตาพรหมวิหารนี้ ถ้าทำให้มากเจริญให้มาก ย่อมแก้กรรมได้ กรรมที่ทำแล้วถ้าหนักก็อาจจะเบาบางลงได้ ถ้ากรรมนั้นพอประมาณก็อาจจะจางหายไปได้ ผู้ที่จะบำเพ็ญความดีจนบรรลุถึงความเป็นพระอริยเจ้า ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จำเป็นต้องสร้างบารมี คือ ทำคุณสมบัติ ๑๐ ประการให้เกิดขึ้นให้มีขึ้นกับตนเองก่อน คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา

เมตตาเป็นบารมีอันหนึ่ง ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างให้เกิดขึ้น ให้มีขึ้นกับตน การเจริญเมตตาพรหมวิหาร ทำให้เมตตาบารมีของเราเพิ่มขึ้น...... เพิ่มขึ้น

เมตตาพรหมวิหารแก้ Side Effect คือ ผลเสียบางอย่างของการภาวนาได้ การทำสมาธิภาวนาในระบบใดก็ตาม จะใช้อะไรเป็นกรรมฐานก็ตาม จะมีอยู่อีกจุดหนึ่งที่จิตของเราสงบ ต้องการความสงบและอยากอยู่ในที่สงบ แต่สิ่งแวดล้อมก็เป็นไปตามปกติของเขา เช่น เราอยู่ในบ้าน แต่ก่อนเรายังไม่ภาวนา คนในครอบครัวทำเสียงดัง เราก็รู้สึกเป็นของธรรมดา แต่เมื่อเราภาวนา ถึงจุดที่มีความสงบ ต้องการความสงบ และอยากอยู่ในที่สงบแล้ว บางครั้งเราอาจจะรู้สึกหงุดหงิดรำคาญเสียง แล้วไปโทษสิ่งแวดล้อมว่าทำให้เกิดความไม่สงบ แต่ถ้าเราเจริญเมตตาพรหมวิหารแล้ว เราจะไม่ไปโทษสิ่งแวดล้อมภายนอก แต่จะรู้สึกเมตตาทุกคนเสมอกันหมด และสามารถปรับความรู้สึกของเราให้เป็นปกติได้ ไม่ยากนัก เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก สังคมที่ขาดเมตตา คือ สังคมของสัตว์ป่า สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็ก สัตว์ที่แข็งแรงเบียดเบียนสัตว์ที่อ่อนแอ มีแต่ความหวาดกลัวอยู่ตลอดเวลา ตัวเรา ครอบครัวและในสังคมส่วนย่อย ถ้าปราศจากเมตตาไปแล้วก็จะเดือดร้อน เป็นทุกข์หวาดระแวง เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์เราขาดเมตตา สังคมมนุษย์ต้องแย่ยิ่งกว่าสังคมของสัตว์เสียอีก เพราะมนุษย์ทุกวันนี้มีอำนาจในทางวัตถุมาก ถ้าเอาอำนาจนี้มาใช้ในทางเบียดเบียนกัน ทำลายกันโลกก็คงอยู่ไม่ได้แน่ ที่โลกยังอยู่ได้เพราะมนุษย์เรายังมีเมตตาต่อกัน แม้จะอยู่ในวงจำกัดก็ตาม

ถ้า มนุษย์เรามีเมตตาแผ่กว้างไปมากเท่าไร โลกก็จะน่าอยู่มากขึ้น สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เมตตาจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ค้ำจุนโลกให้คงอยู่ได้ ฉะนั้นโบราณจารย์ท่านจึงให้แผ่เมตตาทุกค่ำเช้า หลังจากไหว้พระสวดมนต์เสร็จแล้ว

อานิสงส์ของการเจริญเมตตามีดังนี้
๑. ตื่นก็เป็นสุข
๒. หลับก็เป็นสุข
๓. ไม่ฝันร้าย
๔. เป็นที่รักของมนุษย์
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ อมนุษย์นี่หมายถึง เทวดา ผี และสัตว์ทั้งหลายด้วย
๖. เทวดารักษา ผู้ใดที่เทวดารักษา ผู้นั้นเจริญรุ่งเรืองไม่ตกต่ำ
๗. ไม่เป็นอันตรายด้วยไฟ ยาพิษ และศาสตรา
๘. จิตจะเป็นสมาธิอย่างรวดเร็ว ถ้าเราแผ่เมตตาแล้วทำสมาธิต่อ จิตจะเป็นสมาธิเร็วกว่าปกติ
๙. สีหน้าจะผ่องใส ดีกว่า Make up ด้วยเครื่องสำอาง
๑๐. ก่อนจะตายจะมีสติไม่หลงตาย การหลงตายคือ เพ้อ หรือโกรธ จิตเป็นอกุศล เพราะฉะนั้น ทุกข์คติ จึงเป็นไปในเบื้องหน้า
๑๑. เมื่อไม่บรรลุนิพพาน ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก


โอวาทธรรม หลวงปู่ทิวา




" จิตวิเวก
คือ จิตมีความสงบสงัดจาก...อารมณ์
เครื่องก่อกวน ไม่ฟุ้งซ่านรำคาญ
ไปตามอารมณ์ ของตนโดยถ่ายเดียว

เวลาคิด ก็มีความยับยั้ง
มีความใคร่ครวญว่า ควร หรือไม่ควร

การคิดนั้น
จะคิดเรื่องใด ประเภทใดบ้าง
ที่จะก่อให้เกิดกิเลสอาสวะ
หรือ จะให้เป็นศีล เป็นธรรม
ซึ่งเป็นเครื่องแก้กิเลส ขึ้นมา

จิต ก็เป็นผู้ใคร่ครวญพิจารณาเอง
คือ สติปัญญาเป็นเครื่องใคร่ครวญ
จิต เมื่อได้รับการอารักขา พยายามป้องกัน
สิ่งที่เป็นภัย ไม่ให้เกิดขึ้นจากจิต
และ พยายามส่งเสริม สิ่งที่เป็นคุณแก่จิตใจ
ให้เกิดมีขึ้นเรื่อย ๆ

จิต ก็ได้รับความสงบเย็นใจ ขึ้นมา
เป็นจิตวิเวก นั้นคือ...จิตที่สงบ
และ มีความสงบเป็นพื้นฐาน มั่นคง
ไปโดยลำดับ."

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน





เรื่อง​ "ถ้ายังไม่พ้นทุกข์ในชาตินี้​ ก็ให้เป็นนิสัยปัจจัย"

(คติธรรม​ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต)​

ผู้บารมียังอ่อนอยู่​ กะค้างอยู่นำเทวโลกมนุษย์โลกไปสาก่อน​ กะดีกว่าไปค้างอยู่หม้อระฮก (นรก) บ่อนเดียว​ บ่เห็นหลวงปู่เสาร์บ้อเพิ่นเทศน์

เฮ็ดให้มันดีลูกหลานเอ้ย
ฮามันบ่พ้น กะพอให้มันเป็นนิสสัยไป​

ว่ะซั่น​ แหล่วกะเอวัง​ ไปจ้อยหลวงปู่เสาร์ ฮึ​ ฮึ​ บ่ได้เว่ายากเว่าซาเด้​ ฮึ​ ฮึ​ ฮึ​ เอวัง ไปจ้อยหลวงปู่เสาร์​ ฮึ​ ฮึ​ บ่คือหลวงปู่มั่น​ หลวงปู่มั่นนี่เอาอีหลีฮั่นแหล่ว หลวงปู่มั่น หลวงปู่มหา​ (หลวงตามหาบัว​ ญาณสัมปันโน) เทศน์ถึงพริกถึงขิงเอาแท้​ ๆ

โอวาทธรรม หลวงปู่หล้า เขมปัตโต


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO