นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อังคาร 19 มี.ค. 2024 1:12 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 24 มี.ค. 2018 9:43 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4501
๔. ทูรพรหมโลกปัญหา ๗๓

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า พรหมโลก แต่ที่นี้ไปไกลเท่าไร ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ไกลมาก ศิลาประมาณเท่าเรือน มียอด
ตกจากพรหมโลกนั้นแล้ว วันหนึ่งกันคืนหนึ่ง ตกลงมาได้สี่หมื่นแปดพันโยชน์
ต่อล่วงสี่เดือนจึงจะตกถึงพื้นแผ่นดิน."
ร. "พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความแกล้วกล้าในจิต
อันตรธานในชมพูทวีปแล้ว ไปปรากฏในพรหมโลกในทันใดเหมือนบุรุษมี
กำลังเหยียดแขนที่คู้ไปแล้ว หรือคู้แขนที่เหยียดไว้แล้ว ฉะนั้น;' คำนี้ ข้าพเจ้า
ไม่เชื่อว่าจะไปตลอดหลายร้อยโยชน์ได้เร็วเกิน ดังนั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร ชาติภูมิของพระองค์อยู่ที่ไหน ?"
ร. "ข้าพเจ้าเกิดที่เกาะชื่อ อลสันทะ."
ถ. "เกาะ อลสันทะ แต่ที่นี้ไปไกลเท่าไร ?"
ร. "ประมาณสองร้อยโยชน์."
ถ. "พระองค์ทรงจำได้บ้างหรือไม่ว่า ทรงทำราชกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในที่นั้นแล้วทรงระลึกถึง."
ร. "ระลึกอยู่บ้าง."
ถ. "พระองค์เสด็จไปได้ประมาณสองร้อยโยชน์เร็วนัก."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๕. พรหมโลกกัสมีรปัญหา ๗๔

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า คนตาย ณ ที่นี้ ผู้หนึ่งไปเกิดใน
พรหมโลก ผู้หนึ่งไปเกิดในประเทศกัสมีระ (แคชเมียร) ใครจะเกิดช้ากว่า ใคร
จะเกิดเร็วกว่า."
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "เท่ากัน."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "พระนครที่พระองค์ประสูติอยู่ที่ไหน."
ร. "ข้าพเจ้าเกิดที่ กลสิคาม."
ถ. "กลสิคาม แต่ที่นี้ไปไกลเท่าไร ?"
ร. "ประมาณสองร้อยโยชน์."
ถ. "ประเทศกัสมีระ แต่ที่นี้ไปไกลเท่าไร ?"
ร. "สิบสองโยชน์."
ถ. "ขอเชิญพระองค์ทรงนึกถึง กลสิคาม."
ร. "นึกแล้ว."
ถ. "ขอพระองค์ทรงนึกถึงประเทศกัสมีระ."
ร. "นึกแล้ว."
ถ. "ที่ตำบลไหนทรงระลึกได้ช้า ที่ตำบลไหนทรงระลึกได้เร็ว ?"
ร. "เท่ากัน."
ถ. "พระองค์ทรงระลึกที่สองตำบลนั้น ได้เท่ากัน ฉันใด, คนตายแล้ว
ณ ที่นี้ ผู้หนึ่งไปเกิดในพรหมโลก ผู้หนึ่งไปเกิดในประเทศกันมีระ คนทั้งสอง
นั้นเกิดพร้อมกัน ฉันนั้น."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก."
ถ. "พระองค์จะทรงสำคัญเห็นความนั้นเป็นไฉน: นกสองตัวบินไปใน
อากาศ, ตัวหนึ่งจับที่ต้นไม้สูง ตัวหนึ่งจับที่ต้นไม้ต่ำ นกสองตัวนั้นจับพร้อม
กัน เงาของตัวไหนจะปรากฏ ณ พื้นก่อน เงาของตัวไหนจะปรากฏทีหลัง ?"
ร. "พร้อมกัน."
ถ. "เงาของนกสองตัวปรากฏ ณ พื้นพร้อมกัน ฉันใด, คนตายแล้ว ณ
ที่นี้ ผู้หนึ่งไปเกิดในพรหมโลก ผู้หนึ่งไปเกิดในประเทศกัสมีระ คนทั้งสองนั้น
เกิดพร้อมกัน ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๖. ปรโลกคตนีลปีตาทิวัณณคตปัญหา ๗๕

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าจักถามถึงเหตุทันด่วน:
สัตว์ผู้จะไปสู่ปรโลก ไปด้วยสีไหน คือ ด้วยสีเขียว หรือสีแดง หรือสีเหลือง
หรือสีขาว หรือสีแสด หรือสีปภัสสร, ก็หรือว่า ไปด้วยเพศช้าง เพศม้า หรือ
ด้วยรูปรถ ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "มหาบพิตร ข้อนั้น พระผู้มีพระภาคหาได้
ทรงบัญญัติไว้ไม่, ข้อนั้น มิได้มีในพระพุทธวจนะ คือ พระไตรปิฎก."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ถ้าว่า พระสมณโคดมมิได้ทรงบัญญัติไว้, ใครจะรู้ได้
อย่างว่า 'สัตว์จะไปสู่ปรโลกนั้นหรือมิได้ไป,' อาชีวกใดจักกล่าวว่า 'โลกนี้ไม่มี
โลกอื่นไม่มี สัตว์มิได้ไปปรโลก' ดังนี้ คำของอาชีวกนั้น เป็นจริงอย่างนั้นหรือ,
อาชีวกนั้น เป็นอาจารย์ผู้ฉลาดหรือ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร มหาบพิตร ทรงสดับคำของอาตมภาพหรือ ?"
ร. "ฟังซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร คำของอาตมภาพหลุดออกจากปากแล้วไปเข้า
พระกรรณของมหาบพิตรนั้น เมื่อในระหว่างทาง ก็มิได้ทำการอะไรหรือ
มหาบพิตรทรงเห็นเป็นสีเขียว สีเหลือง ฯลฯ ที่ยอดไม้บ้าง ?"
ร. "ไม่เห็น พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ถ้าไม่ทรงเห็น, คำของอาตมภาพคงไม่ได้เข้าพระกรรณ
มหาบพิตร,มหาบพิตรรับสั่งเหลวไหล."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าหาได้พูดเหลวไหลไม่, คำพูดของพระผู้เป็น
เจ้า แม้จะไม่ปรากฏว่าเขียวหรือเหลืองในระหว่างทางก็จริง แต่ก็ได้มาเข้าหู
ข้าพเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นฉันใด, สัตว์เมื่อไปสู่ปรโลก แม้จะไม่ปรากฏ
ว่า เขียวหรือเหลืองในระหว่างทางก็จริง ถึงกระนั้น สัตว์ก็ได้ไปปรโลกจริง
เหมือนคำพูดที่ไปเข้าหู ฉะนั้น."
ร. "อัศจรรย์แปลกประหลาดจริงพระผู้เป็นเจ้า, ขอพระผู้เป็นเจ้าจง
เสวยราชสมบัติอันใหญ่หลวง ในสกลชมพูทวีปเถิด. พระผู้เป็นเจ้า ขันธ์ห้านี้
ไม่ไปสู่ปรโลกด้วย และมิได้ทำกรรม ก็เกิดขึ้นได้ด้วย, เมื่อเป็นเช่นนี้ สงสาร ก็
ต้องไม่มี."
ถ. "ขอถวายพระพร มหาบพิตร จะให้ทำนาหรือ ?"
ร. "ทำซิ พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าจักทำนา จะให้หว่านข้าวสาลี."
ถ. "ข้าวสาลีของมหาบพิตรที่ขึ้นในแผ่นดินแล้วออกรวงที่ยอด, ข้าว
สาลีนั้น คนไม่ได้ปลูก จักออกรวงที่ยอดได้หรือ ?"
ร. "จริงอยู่ ข้าวสาลีนั้น ต้องปลูกลงที่แผ่นดิน จึงจะออกรวงที่ยอดได้,
หรือคนไม่ได้ทำ จักออกรวงที่ยอดก็ไม่ได้."
ถ. "ถ้าเช่นนั้น ข้าวสาลีก็ไม่มี ขอถวายพระพร."
ร. "มีซิ พระผู้เป็นเจ้า, ถ้าว่า ข้าวสาลีที่ปลูกลงที่แผ่นดินจะพึงออกรวง
ที่ยอด, ข้าวสาลีก็ต้องสำเร็จผลที่ยอด; ถ้าข้าวสาลีจะพึงออกรวงได้เองโดยไม่
ต้องเพาะปลูก, ทรัพย์ คือ ข้าวสาลีจะต้องเกิดขึ้นได้เอง จะต้องทำขวัญตนเอง
ละซิ."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นฉันใด, ถ้าว่า ขันธ์ห้านี้จะพึงไปสู่ปรโลก
ด้วยไซร้, คนตาบอด จะต้องเป็นคนตาบอดอยู่ร่ำไป, คนใบ้ จะต้องเป็นคนใบ้
อยู่ร่ำไป, จะต้องทำบุญเอาประโยชน์อะไร; ถ้าว่า ขันธ์ห้านี้ไม่ต้องมีกรรมที่ได้
ทำไว้ ก็เกิดขึ้นได้, สัตว์จะต้องไปนรก เพราะอกุศลกรรม ข้อนี้ ก็ฉันนั้น."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "เหมือนอย่างว่า ดวงไฟที่บุคคลจุดต่อกันไป จะพึงเลื่อนไปติดดวง
อื่น หรือเลื่อนไปยังเปลวไฟอื่น จะว่าดวงไฟนั้นเกิดขึ้นเอง โดยมิได้อาศัยจุด
ต่อกันหรือ ?"
ร. "หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า, เปลวไฟเลื่อนไปได้ หรือดวงไฟก็ต่อกับดวง
ไฟอื่นให้เกิดแสงสว่างหรือเปลวได้, จะว่าไม่ได้อาศัยจุดต่อกันแล้ว เกิดขึ้นเอง
ไม่ได้เลย."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นฉันใด, ขันธ์ห้านี้ ก็ไปสู่ปรโลกหาได้ไม่, จะ
เกิดขึ้นเองโดยไม่ได้อาศัยกรรมที่ทำไว้ ก็หาได้ไม่ ข้อนี้ก็ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า เวทนาขันธ์ไปสู่ปรโลกหรือ ?"
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าเวทนาขันธ์ไปสู่ปรโลกไซร้, สัตว์ทั้งหลายผู้
เสวยเวทนาในเบญจขันธ์นี้เอง เป็นตัวเวทนาขันธ์ที่ไปสู่ปรโลกหรือ ?"
ร. "หามิได้."
ถ. "เพราะเหตุนั้น มหาบพิตรจงทรงทราบว่า "เวทนาขันธ์มิได้ไปสู่ปร
โลก."
ร. "ขอพระผู้เป้นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "ขอถวายพระพร กระจกเงาของมหาบพิตรมีหรือ."
ร. "มี พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "มหาบพิตร โปรดหยิบตั้งไว้เบื้องพระพักตร์."
ร. "ตั้งเสร็จแล้ว."
ถ. "ขอถวายพระพร พระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระทนต์ของ
มหาบพิตร ปรากฏในกระจกเงานี้, หรือว่า มหาบพิตรทรงจัดสรรขึ้นใหม่ ?"
ร. "ที่ปรากฏในกระจกเป็นตา หู จมูก ฟัน ของข้าพเจ้าทั้งนั้น."
ถ. "ถ้าอย่างนั้น พระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระทนต์ของ
มหาบพิตรหลุดถอนออกไป มหาบพิตรกลายเป็นคนบอดเป็นคนหนวกไปหรือ
?"
ร. "หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า, เงาอาศัยตัวข้าพเจ้าไปปรากฏในกระจก,
ข้าพเจ้าไม่ได้ทำ ก็หามิได้."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นฉันใด, ขันธ์ห้านี้ไปสู่ปรโลกหาได้ไม่, ทั้งจะ
เกิดขึ้นเองโดยมิได้ทำกรรม ก็หาได้ไม่, สัตว์อาศัยเบญจขันธ์นี้เอง ปฏิสนธิใน
ครรภ์มารดา ด้วยกุศลกรรมและอกุศลกรรมที่ตนได้ทำไว้ ข้อนี้ก็ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๗. มาตุกุจฉิปฏิสันธิปัญหา ๗๖

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า สัตว์เมื่อจะปฏิสนธิในครรภ์
มารดา ไปปฏิสนธิโดยทวารไหน ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ทวารสำหรับปฏิสนธิไม่มี ขอถวายพระ
พร."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "หีบแก้ว ของมหาบพิตร มีอยู่หรือ"
ร. "มี พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอมหาบพิตร ทรงคิดเข้าในหีบแก้ว."
ร. "คิดแล้ว."
ถ. "พระจิตของมหาบพิตร เมื่อไปในหีบแล้ว ไปโดยทวารไหน ?"
ร. "ไม่ต้องอาศัยทวาร พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นก็เป็นเช่นเดียวกัน, สัตว์เมื่อจะปฏิสนธิใน
ครรภ์มารดา ไม่ต้องอาศัยทวาร เหมือนพระจิตของมหาบพิตรคิดเข้าสู่หีบแก้ว
ฉะนั้น."
ร. "อัศจรรย์แปลกประหลาดจริงพระผู้เป็นเจ้า, พระผู้เป็นเจ้าแก้
ปัญหาเปรียบเทียบไพเราะยิ่งนัก; พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ, หากว่าพระ
พุทธเจ้ายังทรงอยู่ พระองค์จะพึงประทานสาธุการเป็นแน่."

๘. สัตตโพชฌังคปัญหา ๗๗

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า โพชฌงค์มีเท่าไร ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร มีเจ็ด."
ร. "พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยโพชฌงค์เท่าไร พระผู้เป็นเจ้า ?"
ถ. "ด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อย่างเดียว ขอถวายพระพร."
ร. "เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไฉนจึงกล่าวว่าโพชฌงค์เจ็ดเล่า พระผู้เป็นเจ้า
?"
ถ. "ขอถวายพระพร พระองค์จะทรงพระราชดำริเห็นความ ข้อนี้เป็น
ไฉน: ดาบอันสอดอยู่ในฝัก มือไม่ได้จับไว้ ยังจักอาจตัดให้ขาดได้หรือ ?"
ร. "ไม่ได้เลย."
ถ. "เว้นจากธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เสียแล้ว พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ แต่โดย
ลำพังโพชฌงค์หกไม่ได้ เหมือนกันฉันนั้นแล ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๙. ปาปปุญญพหุตรปัญหา ๗๘

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า บุญก็ดี บาปก็ดี อย่างไหนจะมี
มากกว่า"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร บุญแหละมีมากกว่า
บาปมีน้อย."
ร. "เพราะเหตุอะไร ?"
ถ. "ขอถวายพระพร เมื่อคนกระทำบาป ย่อมได้ความร้อนใจว่า 'เราได้
กระทำบาปไว้' ดังนี้, เหตุฉะนั้น บาปจึงไม่เจริญ. เมื่อคนกระทำบุญ ย่อมไม่
ได้คนเดือดร้อนใจ, เมื่อไม่เดือดร้อนใจ ปราโมทย์ก็ย่อมเกิด, เมื่อใจเบิกบาน
ปิติก็ย่อมเกิด, เมื่ออิ่มใจ ใจคอก็สงบ, ครั้นมีใจคอสงบแล้ว ก็ย่อมได้เสวยสุข,
เมื่อมีสุข จิตก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิ, ครั้นมีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ก็ย่อมรู้ชัดตาม
เป็นแล้วอย่างไร, เพราะเหตุนั้น บุญจึงเจริญ. บุรุษผู้ถูกตัดมือเท้าแล้ว ได้
ถวายดอกอุบลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้ากำหนึ่งแล้ว จักไม่ไปสู่วินิบาตตลอด
กาลยืดยาว มีประมาณถึงเก้าสิบเอ็ดกัปป์: แม้เพราะเหตุนี้แล ขอถวายพระ
พร อาตมภาพจึงกล่าวว่า บุญมีมากกว่า บาปมีน้อย ดังนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๐. ชานอชานปัญหา ๗๙

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า คนผู้รู้อยู่ กระทำบาปกรรม และ
คนผู้ไม่รู้อยู่ กระทำบาปกรรม บาปของใครมากกว่า ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ผู้ใดไม่รู้อยู่ กระทำบาปกรรม บาปของผู้
นั้นมากกว่า ขอถวายพระพร."
ร. "ถ้าอย่างนั้น ราชบุตรก็ดี ราชมหาอมาตย์ก็ดี ของข้าพเจ้าผู้ไม่รู้
กระทำความผิดลง ข้าพเจ้ามิต้องลงโทษแก่เขาทวีคูณหรือ ?"
ถ. "ขอถวายพระพร พระองค์จะทรงพระราชดำริความข้อนี้เป็นไฉน: ผู้
หนึ่งรู้อยู่และอีกผู้หนึ่งไม่รู้อยู่ ทั้งสองคนนั้น จะพึงจับก้อนเหล็กที่ไฟเผาให้
ร้อนโชนเป็นเปลว คนไหนจะถูกลวกหนักกว่า ?"
ร. "คนผู้ไม่รู้ซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ผู้ใดไม่รู้ กระทำบาปกรรม บาปของผู้นั้นมากกว่า เหมือนกันฉะนั้น
แล ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๑. อุตตรกุรุปัญหา ๘๐

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ใคร ๆ จะพึงสามารถไปสู่อุตตรกุ
รุทวีปก็ดี สู่พรหมโลกก็ดี สู่ทวีปอื่นก็ดี กับทั้งกาย คือประชุมแห่งธาตุสี่อันนี้ มี
บ้างหรือ ?"
ถ. "ขอถวายพระพร มีอยู่."
ร. "ไปได้อย่างไร พระผู้เป็นเจ้า ?"
ถ. "ขอถวายพระพร พระองค์ทรงจำได้อยู่บ้างหรือว่า พระองค์เคยทรง
กระโดดขึ้นได้จากพื้นแผ่นดินนี้ คืบหนึ่งบ้าง ศอกหนึ่งบ้าง."
ร. "จำได้อยู่ ข้าพเจ้ากระโดดขึ้นถึงแปดศอกก็ได้."
ถ. "พระองค์ทรงกระโดดอย่างไร จึงขึ้นไปได้ถึงแปดศอกก็ได้."
ร. "ข้าพเจ้าทำจิตให้เกิดขึ้นก่อนว่า 'ข้าพเจ้าจักขึ้นไปให้ถึงนั้น,' กาย
ของข้าพเจ้าก็เบาขึ้นพร้อมกับจิตอันเกิดขึ้น."
ถ. "ขอถวายพระพร พระภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้มีอำนาจทางจิต
ยกกายขึ้นรวมไว้ในจิตแล้ว ย่อมไปสู่เวหาสได้ด้วยอำนาจแห่งจิตเหมือนกัน
ฉะนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๒. ทีฆอัฏฐิกปัญหา ๘๑

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'กระดูกที่ยาวถึงร้อย
โยชน์ก็มี' ดังนี้, แต่ต้นไม้ยังไม่มีถึงร้อยโยชน์ กระดูกที่ยาวถึงร้อยโยชน์จักมี
แต่ไหน."
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร พระองค์จักทรงพระราช
ดำริความข้อนี้เป็นไฉน: พระองค์เคยได้ทรงสดับอยู่หรือว่าปลาในพระ
มหาสมุทรยาวถึงห้าร้อยโยชน์ก็มี."
ร. "เคยได้ฟังอยู่."
ถ. "กระดูกของปลาที่ยาวห้าร้อยโยชน์ จักยาวถึงร้อยโยชน์มิใช่หรือ
ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๓. อัสสาสปัสสาสปัญหา ๘๒

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอย่างนี้ว่า 'อาจกระทำลม
อัสสาสะปัสสาสะให้สงบได้' ดังนี้มิใช่หรือ ?"
พระเถรเจ้าทูลรับว่า "ขอถวายพระพร."
ร. "อาจอย่างไรนะ พระผู้เป็นเจ้า ?"
ถ. "ขอถวายพระพร พระองค์จะทรงพระราชดำริความข้อนี้เป็นไฉน:
พระองค์เคยได้ทรงฟังใคร ๆ นอนกรนบ้างหรือเปล่า ?"
ร. "เคยได้ฟัง."
ถ. "ขอถวายพระพร เสียงนั้นของคนมีกายไม่ได้อบรมแล้ว มีศีลไม่ได้
อบรมแล้ว มีจิตไม่ได้อบรมแล้ว มีปัญญาไม่ได้อบรมแล้ว เมื่อกายพลิก
ตะแคงยังสงบแล้ว, ไฉนลมอัสสาสะปัสสาสะของท่านผู้มีกายได้อบรมแล้ว มี
ศีลได้อบรมแล้ว มีจิตได้อบรมแล้ว มีปัญญาได้อบรมแล้ว บรรลุจตุตถฌาน
แล้ว จักไม่สงบเล่า."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๔. สมุททปัญหา ๘๓

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า คำที่เรียกกันว่าทะเล ๆ ดังนี้ ด้วย
เหตุไร จึงเรียกน้ำว่าทะเล ดังนี้."
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร น้ำมีประมาณเท่าใด รส
เค็มก็มีประมาณเพียงเท่านั้น, รสเค็มมีประมาณเพียงเท่าใด น้ำก็มีประมา
เพียงเท่านั้น, เหตุฉะนั้น จึงได้เรียกกันว่าทะเล ดังนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า เพราะเหตุไร ทะเลจึงมีรสเป็นอัน
เดียว คือ มีรสเค็ม."
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "เพราะเหตุตั้งขังอยู่นาน ขอถวายพระ
พร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๕. สุขุมเฉทนปัญหา ๘๔

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า บุคคลอาจตัดของทั้งปวงที่สุขุม
ได้หรือ ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร."
ร. "อะไรที่ชื่อว่าของทั้งปวงที่สุขุมนะ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ธรรมชื่อว่าของสุขุมกว่าของทั้งปวง แต่ธรรมเป็น
สภาพสุขุมล้วนหามิได้, คำว่า สุขุมก็ดี หยาบก็ดี เป็นชื่อสำหรับเรียกธรรมทั้ง
หลาย, ของอันใดอันหนึ่งอันบุคคลจะพึงตัด บุคคลย่อมตัดของนั้นได้หมดด้วย
ปัญญา, เครื่องตัดรองปัญญาลงไปมิได้มี."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๖. ปัญญาวิเสสปัญหา ๘๕
พระราชาตรัสถามว่า “ พระผู้เป็นเจ้า ปัญญาอยู่ที่ไหน ?”
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า “ ปัญญาหาได้อยู่ที่ไหน ๆ ไม่”
ร. “ถ้าอย่างนั้น ปัญญาก็ไม่มีนะซิ”
ถ. “ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะทรงหมายเนื้อความข้อนั้นเป็นไฉน :ลมอยู่ที่ไหน ?”
ร. “ลมหาได้อยู่ที่ไหน ๆ ไม่.”
ถ. “ถ้าอย่างนั้น ลมก็ไม่มีนะซิ”
ร. “ พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ”

๑๗. วิญญาณาทินานัตถภาวปัญหา ๘๖
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ธรรมเหล่านี้ คือ วิญญาณก็ดี
ปัญญาก็ดี เจตภูตก็ดี มีอรรถก็ต่างกัน มีพยัญชนะก็ต่างกัน หรือว่ามีอรรถ
เป็นอันเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะ."
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร วิญญาณมีอันรู้แจ้งเป็น
ลักษณะ ปัญญามีอันรู้ทั่วถึงเป็นลักษณะ เจตภูตอันบัณฑิตเข้าไปค้นหาไม่ได้
โดยพระปรมัตถ์."
ร. "ถ้าว่าเจตภูตอันบัณฑิตเข้าไปค้นหาไม่ได้ โดยพระปรมัตถ์, เมื่อ
เป็นเช่นนี้ ใครเล่าเห็นรูปด้วยนัยน์ตา ฟังเสียงด้วยหู สูบกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรส
ด้วยลิ้น ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าเจตภูตเห็นรูปด้วยนัยน์ตา ฯลฯ รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจ, เจตภูตนั้น เมื่อทวาร คือ จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย เพิก
ถอนขึ้นเสียให้สิ้นแล้ว จะมิหันหน้าออกภายนอกทางอากาศอันกว้างใหญ่
เห็นรูป ฟังเสียง สูบกลิ่น ลิ้มรส ต้องโผฏฐัพพะชัดเจนดีขึ้นกว่าหรือ."
ร. "หามิได้."
ถ. "ถ้าอย่างนั้น เจตภูตอันบัณฑิตเข้าไปหาไม่ได้ โดยพระปรมัตถ์นะซิ
ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO