นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 03 พ.ค. 2024 12:01 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ให้เพียรดูจิตใจ
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 29 ก.ค. 2017 6:00 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4547
"ให้เพียรดูจิตใจ
ถ้าบาปครอบงำก็รู้
ถ้าจิตผ่องใสก็รู้
ถ้าใจจะเผลอ สติก็รู้
ก็ระลึกได้

จะโกรธจะว่าใคร
สติก็จะคอยเตือน
คอยห้ามและไม่ยึด
อโหสิกรรมให้เค้าไป
บาปกิเลส ก็จะเบาบาง

ใจเศร้าหมองขุ่นมัว
ก็คือทุกข์ คือบาป
ใจผ่องใสเบิกบาน ก็คือบุญ"

-:- หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ -:-





"เมื่อมีจงให้ หากอยากได้จงทำก่อน"
-:- หลวงปู่จันทร์ สิริจนฺโท -:-






"เราแสดงละครซ้ำซาก ในเรื่องความโกรธ
ความรัก ความเกลียด ความริษยา
ความพยาบาท อะไรต่างๆ
หรือว่าความวุ่นวายทางจิตใจ
ร้อนอก ร้อนใจ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา
เรามีการแสดงซ้ำๆ ซากๆ กันอยู่ตลอดเวลา
ก็เพราะว่า เรายังไม่ได้ใช้ธรรมะ
เป็นเครื่องแก้ไขปัญหานั้น"

-:- หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ -:-





"คนที่ไม่มีเวลาจะไปวัด แต่อยากทำบุญ ก็เพียงเจริญเมตตาจิต ไม่ให้โกรธไม่เกลียดใคร มีแต่ความรักให้แก่เขา วิธีนี้ถือเป็นการทำบุญที่ได้อานิสงส์มากทีเดียว":
โอวาทธรรม............พระไพศาล วิสาโล





ความเพียรหมั่นนั่น
ย่อมทำอาการอย่างประหนึ่งว่าเป็นข้าศึก
แต่ที่จริงกลับเป็นมหามิตรอย่างประเสริฐ
ให้ความทุกข์ในต้นมือ
ภายหลังให้ความสุขไม่มีที่สิ้นสุด.
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(จันทร์ สิริจนฺโท)







"...พระธุดงคกรรมฐาน เรียกสั้นๆว่า "พระกรรมฐาน" หรือ "พระป่า" หมายถึง พระภิกษุผู้มีข้อวัตรปฏิบัติเป็นไปเพื่อกำจัดกิเลส และเป็นอิสระเหนือเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง มีชีวิตอย่างเรียบง่าย มีปัจจัยเครื่องอาศัยจำกัด

มุ่งปฏิบัติฝึกหัดอบรมจิตใจ ให้เข้าถึงความสงบและเกิดปัญญา ด้วยการบำเพ็ญภาวนาสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งข้อวัตรเหล่านี้จะเป็นบันไดนำไปสู่ความบริสุทธิ์บริบูรณ์ในศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นมรรคาแห่งการดับทุข์..."

ปฏิปทาธรรมคำสอน..
องค์พ่อแม่ครูอาจารย์

จากหนังสือ : ตามรอยพระโพธิญาณ :: ชีวิตพระกรรมฐานใน "ป่าพง"





"...ความแน่นอนคือตาย ตายแล้วความแน่นอนของการเกิดอีก ก็เป็นความแน่นอน เช่นเดียวกับการตายอีกนั้นเอง

คือตายนี้แล้วจิตมันไม่ตาย ตายนี้แล้วจิตออกจากร่างที่หมดสภาพแล้วไปก่อใหม่ขึ้นมา ก่อใหม่ก็ต้องอาศัยวิบากกรรม ใครมีบุญมีบาปก็ต้องไปเกิดตามบุญตามบาปของตนที่มีมากน้อย ใครมีบาปหนักบาปหนาคนนั้นก็ไปจมในนรก..."

โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๔






“...ความชั่วมันพาให้เนิ่นช้า
ช้าในหนทาง ล่าถอยต่อมรรค

แต่เด็ก ก็เมากิน เมาเล่น
หนุ่มสาวก็เมาโลก เมาเพลิดเพลิน

ใหญ่ขึ้น เมาการเมางาน
สร้างครอบครัว ก็เมาในลูกในหลาน

แก่เฒ่ามาก็เมากายคร่ำคร่า กลัวตาย
โอกาสจะเพิ่มความดีมันมีน้อย

ฉะนั้น เดี๋ยวนี้ ให้ใส่ใจในการเพิ่มความดี...”

โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ







คนเราเมื่อใจกิเลสมันเกิดขึ้น กิเลสตัณหามันเกิดขึ้น
แม้ตัวเองผิดพลาดก็ตาม คนอื่นผิดพลาดก็ตาม
มักจะมองไม่เห็นความผิดของตัวเอง

มองเห็นว่า คนโน้นผิดอย่างนี้ ทำไม่ถูกไม่ต้อง
แต่ว่าตัวเองทำไม่ถูกต้อง..ไม่รู้
ตนเองพูดผิด..ไม่รู้
ตนเองคิดผิด..ไม่รู้
ตัวเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ..ไม่รู้ทั้งนั้น
นี่คือว่า ขาดปัญญาภาวนา

แล้วก็อยากได้ปัญญา อยากได้วิชชาความรู้..
ความรู้มันมาจากไหน ความรู้มันมาจากจิต
เมื่อเราเอาจิตเอาใจภาวนา
น้อมรำลึกอยู่ในทาน ในศีล ในภาวนา
แม้สิ่งใดเราไม่ได้ทำก็ให้นึกให้ได้ เจริญให้ได้
ให้มันเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรมไว้

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร






อันเมืองนิพพานนั้น ความจริงก็คือว่า
ผู้ใดไปถึงจึงจะรู้ว่า นิพพาน
ถ้ายังไปไม่ถึง ยังละกิเลสไม่ได้
ก้ได้แค่..นิพพานสมมติ นิพพานบัญญัติ
นิพพานพูดกันไปเท่านั้นแหละ

นิพพานจริงๆนั้น ไม่ใช่ที่เราพูดฟังกัน
ต้องปฏิบัติภาวนาให้ดี ทำใจให้สงบตั้งมั่น
ยังจิตใจให้เกิดปัญญา วิชชา ความรู้
ความเฉลียวฉลาดสามารถอาจหาญ
ไม่หลงใหลไปตามโลก
ไม่หลงใหลไปตาม รูป เสียง กลิ่น รส
โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์ จึงจะไปสู่เมืองนิพพานได้

ถ้าไม่อย่างนั้นก็อยู่ในโลกนี้แหละ
ทุกข์ๆยากๆลำบาก รำคาญ
จิตใจไม่สงบระงับ เป็นทุกข์ในโลก
ทุกขัง โลเก..เป็นทุกข์ในโลก

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร







มรรคผลนิพพานย่อมเป็นของเราทุกคน
แต่ถ้าเราเป็นคนกลัวตายอยู่..ไม่ได้
เพราะมรรคผลนิพพานนั้น
พระพุทธเจ้าเอาชีวิตแลกเอา
แม้พระสาวกเจ้าทั้งหลายในครั้งพุทธกาล
ท่านก็เอาชีวิตแลก เอาชีวิตแลกแล้วก็ได้

ถ้าไม่ยอมเอาชีวิตแลกแล้ว
ก็ไปไม่ถึง ไปไม่รอด
มันมีความเจ็บปวดทุกขเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
มันก็ไปข้องอยู่แค่นั้น
ถ้าเอาชีวิตแลก คือว่า เราจะไม่ท้อถอย

เรื่องตายเอาไว้ข้างหลัง
ไม่ต้องเอาไว้ข้างหน้า
ถ้าใครเอาความตายไว้ข้างหน้าแล้ว
กลัวตายอยู่ตลอดเวลา
ไปไม่ถึง ไปไม่ได้

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร






"เทวดาสวดมนต์"

"หลวงปู่ชอบ ฐานสโม" ท่านได้บอกเตือนลูกศิษย์เรื่องการสวดมนต์ว่า "เทวดาในแต่ละสถานที่เขาชอบบทสวดมนต์ที่แตกต่างกัน"

บางสถานที่ก็ชอบ... บทธัมมะจักกัปปะวัตตสูตร
บางสถานที่ก็ชอบ... บทกะระณียะเมตตะสูตร
บางสถานที่ก็ชอบ... บทมาติกา
บางสถานที่ก็ชอบ... บทเมตตาสังนะสูตร

พอสวดฮอด(ถึง)บทที่พวกเขาชื่นชอบละก็เขาจะพากันเปล่งเสียงสาธุการดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่ว!! เทวดาเขาพากันออนซอนสะออนหลาย(พากันชื่นชอบเป็นอย่างยิ่ง)

หลวงปู่ท่านเน้นย้ำเรื่องการสวดมนต์ว่า...

"เวลาสวดมนต์ไหว้พระ อย่าทำเป็นเล่น เห็นเป็นของสนุกคะนองปาก ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของสูง ควรค่าต่อการเคารพเป็นอย่างยิ่ง หากพากันเห็นเป็นของเล่นแล้ว ก็จะเป็นบาปเป็นกรรมกับตัวเอง นักปราชญ์ได้ยินท่านก็ตำหนิ เทวดาเขาก็พากันตำหนิ"

"เวลาไหว้พระสวดมนต์ ให้พากันตั้งใจสวดจริงๆ เวลาสวดก็ให้มีสมาธิจดจ่อลงไปในบทนั้นๆ มันถึงจะมีอานิสงส์เกิดขึ้นกับตัวเจ้าของ(ตัวเอง)"

"การสวดมนต์ไหว้พระเป็นการทำสมาธิไปในตัว บางทีข้ออรรถ ข้อธรรมต่างๆ มันก็จะผุดขึ้นมาในขณะที่สวดมนต์ก็มี"

"เทวดาทั้งหลายนั้น เขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกับพวกเรามาก่อน มีจิตใจฝักใฝ่ในบุญกุศล พอตายทำลายขันธ์จากโลกนี้ไปแล้ว ก็ได้ไปจุติในสวรรค์ชั้นต่างๆ สูงบ้างต่ำบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับบุญกุศลที่ตนเองได้สั่งสมมาในตอนเป็นมนุษย์"

"ถึงแม้ว่าจะเป็นเทวดาอยู่ก็ตาม จิตของพวกเขายังฝังไว้ในบุญกุศล พอได้ยินหรือได้เห็นผู้ใดทำคุณงามความดี พวกเขาก็จะพากันมาร่วมอนุโมทนาด้วย หากว่าเรามีจิตที่ละเอียดเป็นสมาธิบ้าง เราก็
จะเห็นเขามาร่วมอนุโมทนากับเราด้วย"

"อย่างหยาบๆ ที่พวกเราจะรับทราบได้ ก็คือ
ขนพองสยองเกล้า เป็นต้น "

ด้วยหลวงปู่ท่านให้ความสำคัญเรื่องการสวดมนต์ไม่น้อยกว่าการทำสมาธิภาวนา จึงจะเห็นได้ว่าแม้ในช่วงปัจฉิมวัยขององค์ท่าน ยามกลางค่ำกลางคืน ท่านก็ยังออกมานั่งรถเข็นจงกลมไปในบริเวณวัด ฟังพระเณรลูกหลานสวดมนต์ไหว้พระ เหมือนเป็นการให้กำลังใจลูกหลานพระเณรไปในตัว

พอหลังจากไหว้พระสวดมนต์กันเสร็จแล้ว ในบางคืน ลูกหลานพระเณรก็จะได้กราบเรียนสอบถามองค์ท่าน

"หลวงปู่ครับ! วันนี้เทวดาเขามาร่วมสวดมนต์ไหว้พระด้วยไหมครับ?"

หลวงปู่ท่านก็มักจะตอบว่า "มีมาทุกวัน" วันไหนมีมากเท่าไร ท่านก็จะบอกจำนวนให้ทราบด้วย หรือบางครั้ง ท่านก็จะระบุชื่อพระเณรเป็นรายคนด้วย เช่น

"เทวดาเขาชมว่าพระ...เณร...องค์นี้ สวดมนต์ม่วนหลาย เสียงดังกังวานไปไกล เทวดาเขาได้ยิน เขาขออนุโมทนาด้วย"

พอได้ยินหลวงปู่ท่านว่าให้ฟังเช่นนี้ พระเณรลูกหลานก็พากันปลื้มอกปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง พอถึงเวลาไหว้พระสวดมนต์ จึงพากันตั้งอกตั้งใจสวดกันอย่างเต็มที่

# หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO