นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 03 พ.ค. 2024 1:21 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: สุข ทุกข์
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 30 มิ.ย. 2017 5:43 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4547
สุขทุกข์นั้นแหละเป็นพ่อแม่
เป็นที่เกิดของบาปบุญต่างๆทั้งหลาย.
สุขแท้จริงจะเกิดได้
หากเราทำความทุกข์ให้หมดไป.
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(จันทร์ สิริจนฺโท)






หลวงปู่เจี๊ยะตอบปัญหาธรรมสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์)

ในคราวที่กลับจากท่านพระอาจารย์มั่นนั้น เข้ามากราบสมเด็จฯ ท่านที่วัดบวรฯ พระองค์ได้รับหนังสือธรรมะของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำภาษีเจริญ พระองค์เมื่อนำมาอ่านแล้วถามเราขึ้นว่า

“เจี๊ยะ! เราอ่านหนังสือของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ เขาเขียนว่า การเพ่งพระพุทธรูปนั้นเป็นมรรค เธอคิดว่าอย่างไร”

เรากราบทูลไปว่า

“แล้วพระองค์พิจารณาว่าการเพ่งอย่างนั้นเป็นมรรคหรือไม่?”

พระองค์ทรงนิ่ง แล้วหันมามองเรา แสดงอาการว่า พระองค์อยากทราบความคิดของเราในเรื่องนี้ จึงกราบทูลไปว่า

“กระหม่อมคิดว่า ถ้าจะเป็นมรรคก็ต้องคิดพิจารณา อันนำไปสู่ภาวนามยปัญญา การเพ่งพระพุทธรูป เช่นนั้น ก็ต้องหาเหตุผลว่าเพ่งเพื่ออะไร ได้อะไร แต่การนั่งเพ่งมองเฉยๆ หาเหตุผลไม่ได้ ไม่น่าจะมีประโยชน์อะไร”

กราบทูลท่านเท่านี้เราก็หยุด เพราะกลัวจะไปเฟ้อไปแบบไร้เหตุผล เป็นคำพูดที่ไม่มีที่จบ อันแสดงถึงความไม่รู้จักประมาณของคนที่พูด เดี๋ยวจะเป็นกรรมฐานดงหลงป่า ภาษาธรรมเรี่ยราด ขาดเหตุผล

พระองค์จึงตรัสขึ้นว่า

“เออ...ว่าต่อไปซิ...กำลังฟังอยู่ หยุดทำไม?”

เราจึงกราบทูลต่อไปอีกว่า

“การพิจารณานั้นควรเพ่งเข้ามาภายใน ควรรู้ข้างในก่อน ไม่ควรปล่อยจิตออกจากวงกาย เวทนา จิต ธรรม สติปัฏฐานสี่ควรพิจารณาตั้งลง ณ ที่กายจิตนี้ ถ้าปล่อยให้จิตส่ายแส่ออกไปที่อื่น ในสภาวะที่ใจไม่สามารถคุ้มครองตนเองได้นั้น กระหม่อมคิดว่า ไม่ควรอย่างยิ่ง จะเป็นสมุทัยไปเสียอีก แต่ถ้าย้อนเข้ามาพิจารณาภายในกายตนเอง อันเป็นส่วนวิปัสสนา เพื่อละทิฏฐิมานะ เพื่อละอหังการ ความหลงตน อหังการ ความทะนงตนนั้น เป็นการสมควรอย่างยิ่ง เป็นมรรค กระหม่อมคิดว่า เป็นมรรคแท้”

“การพิจารณากาย เป็นกายานุปัสสนานั้น เธอพิจารณาอย่างไร?”

พระองค์ตรัสถามด้วยความสนพระทัย ไม่ทรงแสดงอาการว่าทดสอบ แต่เป็นพระกริยาที่อยากจะสนทนาธรรม ด้วยความที่พระองค์เป็นผู้ประพฤติธรรม

“จะสมควรหรือ? กระหม่อม”

เรากราบทูลเพราะเกรงจะไม่บังควร จะเป็นการเอามะพร้าวไปขายสวน

“สนทนาธรรม ไม่สมควรตรงไหน นักบวชไม่สนทนาธรรม จะสนทนาอะไรล่ะ”

พระองค์ตรัสย้ำ แบบไม่ทรงถือตัว

" กระหม่อมคิดว่า “การพิจารณากายนั้น ต้องมีสมาธิเป็นพื้นฐานก่อน การพิจารณานั้นจิตจึงจะมีกำลัง พิจารณาเพ่งตัดกายออกเป็นชิ้นๆ ซึ่งในขณะที่พิจารณาอย่างนั้น จิตดำเนินในทางสมาธิมรรค มรรคองค์อื่นๆ จะเป็นมรรคสมังคีโดยพร้อมพรั่ง เมื่อพิจารณาถึงเหตุถึงผล จิตจะเด่นดวงขึ้นมา จิตนั้นจะอยู่เหนืออริยสัจเหนือมรรค เป็นไปเพื่อความรู้แจ้ง ดับสนิทไม่มีเชื้อเหลือ”

“เออ!...ดี พระป่านี่ดี... เรียนตำราเดิมของพระพุทธเจ้าได้ดี”

พระองค์พูดสั้นๆ เท่านั้น เราก็กราบลาไปพักที่กุฏิลออ...

จากหนังสือ ประวัติ พระครูสุทธิธรรมรังษี หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง






บาตรรั่วเพราะสนิมกัดกร่อน ฉันใด
คนปล่อยกิเลสตัณหาตั้งบ้านเรือนอยู่ในใจได้
ก็ต้องทุกข์อยู่เช่นนั้นเหมือนกัน.
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(จันทร์ สิริจนฺโท)


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO