นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน เสาร์ 20 เม.ย. 2024 11:36 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 03 ต.ค. 2008 10:43 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 30 ก.ย. 2008 10:00 am
โพสต์: 634
สืบเนื่องจากที่ได้ลงเรื่องราวเกี่ยวกับเหรียญบุพโพในเวปพลังจิต และเวปต่างๆ ก็มีผู้ที่สนใจอยากจะร่วมทำบุญ สร้างรูปหล่อ หลวงพ่อปาน,หลวงพ่อจง,หลวงพ่อเขียน,หลวงพ่อมี กันเป็นอย่างมาก จึงขอเปิดให้บูชาเหรียญบุพโพอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันนี้ไป
เหรียญทั้งหมด ที่ทางวัดอณุญาติให้นำออกมาให้ศาสนิกชนร่วมกันทำบุญ มีทั้งสิ้น 470เหรียญ ซึ่งตอนนี้เฉพาะในหน่วยงานหนึ่งนั้น ก็มีคนจองเข้าไปเกินครึ่งนึงแล้ว ผมเลยอยากถือโอกาสนี้เชิญชวนผู้ที่อยากร่วมบุญในการหล่อพระบูรพคณาจารเพื่อประดิษฐานเอาไว้ในหมู่ทรงไทย ณ วัดมารวิชัย อ.เสนา จ.อยุธยา โดยกำหนดให้บูชาเหรียญบุพโพเหรียญละ 1,000 บาท
อนึ่งหลายคนอยากจะสงสัยว่าเหรียญบุพโพมีที่มาที่ไปอย่างไร จึงขอเรียนให้ทราบว่า เหรียญรุ่นบุพโพนั้น มาจากการที่ทางวัดนำเหรียญที่หลวงปู่มีท่าน ปลุกเสกเอาไว้เมื่อปี2539 ใส่ลงไปในโลงของท่านหลังจากท่านมรณภาพสองวัน เหรียญที่ใส่ลงไปก็วางกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และบุพโพ(น้ำเหลืองของหลวงปู่)ก็นองเนืองออกมาเคลือบเหรียญเอาไว้ และร่างของท่านก็แห้งลงไปจนกระทั้งบุพโพของท่านแห้งจนหมด และร่างของท่านก็เป็นดังที่เราเห็นกัน อยากจะบอกว่า เหรียญบุพโพของหลวงปู่มีนั้น น่าจะจัดได้ว่าเป็นเหรียญแรก และเหรียญเดียวที่ผ่านการปลุกเสกก่อนที่จะเกิดการเคลือบของบุพโพขึ้น โดยเหรียญรุ่นนี้ถือว่าเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดขจัดภัยอันตราย รุ่นนึงเลยทีเดียว ผนวกกับบุพโพของท่านเข้าไปด้วย เปรียบเสมือนหนึ่งว่าสรีระของหลวงปู่มี ดำรงขันธ์อยู่กับผู้ที่แขวนไปตลอด แม้ว่าสิ่งชั่วร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดีจะเกิดขึ้น หลวงปู่มี ก็จะรับรู้และช่วยเหลือให้ผ่านไปด้วยดี และหลวงปู่มีท่านก็เป็นหนึ่งในผู้ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นเอตทัคคะแห่งการขับไล่ผี เพราะว่าในสมัยที่ท่านอยู่นั้น หากใครโดนผีเข้าโดนคุณไสย ก็จะต้องพามาหาหลวงปู่มีให้ช่วยเสมอ และนั่นเป็นเพราะว่าไปมาหลายวัดหลายที่ แล้วก็ไม่มีที่ไหนช่วยได้ นอกจากหลวงปู่มี แห่งวัดมารวิชัย เพียงหลวงปู่ขยับไม้เท้าหวายของท่าน ร่างที่ถูกผีเข้าก็ถึงกับทรุดลงไปกองกับพื้น และบางรายพอได้ยินว่าจะพาไปหาหลวงปู่มี แห่งวัดมารวิชัยเท่านั้น ก็ยอมแต่โดยดี อยากจะบอกว่าครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งประวัติศาสตร์ ของวัด เพราะว่าได้นำเหรียญทั้ง470เหรียญ มาตอกโค๊ตเพิ่ม และทำลายโค๊ตนั้นทิ่งไปเรียบร้อยแล้ว และหลังจากนี้สืบต่อไปเบื้องหน้า จะมีเหรียญบุพโพของหลวงปู่มี ที่คนจะต้องร่ำรือถึงความศักดิ์สิทธิ์และพูดกันต่อไปอีกนานและเมื่อถึงเวลานั้นจะหามาคล้องคอสักเหรียญก็ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่อาจจักเป็นได้
เหรียญละ1,000 บาท รายได้ไม่มีหักค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น รายได้ทั้งหมดเพื่อการหล่อพระ"๔บูรพคณาจารย์" ๔เทพเจ้าของอ.เสนา แห่งจ.อยุธยา สืบต่อไปในกาล อันเป็นนิรันดร์
ตอนนี้เหรียญบุพโพพร้อมที่เปิดให้ร่วมทำบุญแล้วครับ
โอนเงินมาที่
เอก วัชราเกียรติ ธ.ทหารไทย
สาขาบางนาตราด ออมทรัพย์
058-2-22923-3

เหรียญละ1,050 รามค่าส่ง EMS แล้วครับ
และขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่เช่าเหรียญบุพโพจากมันตรัย ทุกท่านจะได้รับมอบ รูปถ่ายอัดกระจกหลวงปู่มี วัดมารวิชัย ด้านหลังมีสายสินจ์ของหลวงปู่ 1เส้น สวยงามมากครับ 1ใบ ต่อ1เหรียญครับ โอนเงินแล้ว ลงที่อยู่ด้วยนะครับ จะจัดส่งให้ทันที รายได้1,000 บาททั้งหมด เข้าสมทบทุนหล่อพระ"๔บูรพคณาจารย์" ที่จะประดิษฐานในทรงไทย ของวัดมารวิชัยครับ


แนบไฟล์:
003.jpg

017.jpg

050.jpg

DSCF4210%20%28Small%29.JPG

DSCF4278%20%28Small%29.JPG

DSCF4079%20%28Small%29.JPG

ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 03 ต.ค. 2008 10:48 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 30 ก.ย. 2008 10:00 am
โพสต์: 634
ประวัติโดยย่อ ของหลวงปู่มี วัดมารวิชัย
ท่านพระครูเกษมคณาภิบาล หรือหลวงพ่อมี เขมธัมโม มีชื่อเดิมเต็ม ๆ ว่า “บุญมี” ถือกำเนิดในตระกูล “ธนสนธิ์” ชื่อของท่านโยมบิดามารดาสมมตินามขึ้นเพื่อเรียกขาน อันมีความหมายถึง “การมีกุศลแห่งความสุข ที่ร่ำรวยมีอันจะกินมิได้ขาด” มาปัจจุบัน ลูกศิษย์ลูกหาต่างเรียกนามองค์ท่านแบบสั้น ๆ ว่า “หลวงพ่อมี” จนติดปากกันมาจวบปัจจุบัน ถือเป็นมงคลนามอย่างใหญ่หลวง เมื่อองค์ท่านเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บำเพ็ญบารมีธรรมตามรอยพระบาทองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนนามกระเดื่องประกาศกิตติคุณให้สานุศิษย์และชนชาวไทยทั่วแคว้นได้ประจักษ์โดยถ้วนทั่วกัน
โยมบิดานาม นายโหมด
โยมมารดานาม นางพุฒ
หลวงพ่อมีถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2454 ตรงกับวันจันทร์แรม 2 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน ณ หมู่บ้านขนมจีน ข้างวัดมารวิชัยตอนใต้ หลวงพ่อมีเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องท้องเดียวกัน 5 คนดังนี้
1. หมอแบน
2. นายจุ่น
3. นางสำลี
4. หลวงพ่อมี เขมธัมโม
5. นายสำแล

เมื่อปฐมวัย
ในวัยเด็ก หลวงพ่อมีเป็นเด็กที่อ่อนแอและขี้โรคมาก ท่านมีโรคประจำตัวเจ็บป่วยออด ๆ แอด ๆ อยู่เสมอ เรียกว่า สามวันดีสี่วันไข้ไม่ว่าอากาศจะร้อนนิดหนาวหน่อยก็ป่วย ถ้าอากาศร้อนขึ้นก็จะเกิดอาการชักขนาดถูกแมวหรือสุนัขชนถูกตัวเท่านั้นก็ชักแล้วดังนั้น หลวงพ่อมีจึงเป็นเด็กที่มีรูปร่างผอมโซ แบบเด็กพุงโรก้นปอด เหมือนเป็นตาลขโมยไม่มีผิด ลักษณะเซื่อง ๆ ซึม ๆ ขี้อาย ไม่ช่างพูดและไม่เล่นหัวเหมือนกับเด็กชาวบ้านโดยทั่วไป คล้าย ๆ กับเป็นเสมือนปัญญาอ่อน เหล่านี้คือบุคลิกของหลวงพ่อมีในวัยเด็ก ซึ่งปราศจากวี่แววแห่งความรุ่งโรจน์ของชีวิตในอนาคต ไม่ว่าจะมองไปในแง่ใด ตามสายตาที่แสดงความเป็นห่วงของญาติผู้ใหญ่และชาวบ้านข้างเคียงทั้งปวง

คุณสมบัติพิเศษ
ธรรมชาติสร้างสรรค์มนุษย์ให้เกิดมา ถ้าจะว่ากันแล้วก็ต้องเป็นไปตามกฎแห่งกรรม มีดีก็มีชั่ว มีขาดต้องมีเกิน เหมือนดังตัวอย่างในวัยเด็กของหลวงพ่อมี ที่ไม่มีผู้ใดสามารถคาดการณ์อนาคตของท่านว่าจะเป็นพระอาจารย์เรืองวิชาที่มีชื่อเสียงโด่งดังได้กล่าวคือหลวงพ่อมี มีคุณสมบัติพิเศษที่ผิดแปลกไปจากเด็กชาวบ้านธรรมดา ๆ ตรงที่ท่านเป็นเด็กที่มีใจบุญสุนทาน ชอบติดตามบิดามารดาเข้าวัด ถ้าถูกห้ามปรามไม่ให้ตามไปด้วยจะต้องร้องไห้คร่ำครวญจนถึงกับชักตาตั้ง ซึ่งก็เป็นเรื่องอัศจรรย์อยู่ไม่น้อยที่เด็กเซื่องซึมคล้ายปัญญาอ่อนจะมีความกระตือรือร้นในการไปวัด อันเป็นการส่อแววการเป็นเกจิอาจารย์ของหลวงพ่อมีมาแล้วตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ดังนั้น เมื่อพี่ชายคนโต คือ หมอแบนมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดมารวิชัย หลวงพ่อมี ขณะนั้นมีอายุเพียง 12 ปี จึงขอบิดามารดาติดตามพระพี่ชายมาอยู่ด้วยทันที (ภายหลัง พระพี่ชายลาสิกขาแล้ว ได้เป็นแพทย์ประจำตำบล ชาวบ้านเรียกท่านว่า “หมอแบน”) ในตอนแรกบรรดาญาติผู้ใหญ่ไม่มีผู้ใดยอมให้หลวงพ่อมีที่มีลักษณะปัญญาอ่อนไปอยู่ด้วย เพราะเกรงจะเป็นภาระให้กับพระพี่ชายที่เพิ่งอุปสมบทใหม่ ๆ
หลวงพ่อมีจึงร้องไห้และเกิดชักขึ้น จนทุกคนต้องตามใจให้ไปอยู่กับพระแบนที่วัดมารวิชัย ตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี บัดนั้นเป็นต้นมา

สติปัญญากลับปราดเปรื่อง
เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์มากจริง ๆ ตั้งแต่หลวงพ่อมีมาอยู่วัดมารวิชัยแล้ว ลักษณะอาการที่โง่งมประดุจเด็กปัญญาอ่อนและขี้โรค กลับกลายเป็นตรงกันข้าม อาการขี้โรคต่าง ๆ หายดังปลิดทิ้งไม่เคยมีอาการชักอีกเลย สติปัญญาที่ใคร ๆ มองกันว่าทึบ ก็กลับปราดเปรื่องสามารถศึกษาอักขระสมัย ทั้งภาษาไทยและภาษาขอมกับหลวงพี่แบนและได้รับการแนะนำสั่งสอนจากครูเยื้อน ซึ่งเป็นบุตรของอา จึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน จนหลวงพ่อมีสามารถอ่านออกเขียนได้อย่างรวดเร็ว นั่นเป็นที่แปลกใจของญาติสนิททั้งปวง และเริ่มมองเห็นแววแห่งอัจฉริยะฉายขึ้นในตัวเด็กชายบุญมีคนนี้

วัยหนุ่มอันบริสุทธิ์
ชีวิตในวัยเด็กจนถึงรุ่นหนุ่มก่อนอุปสมบทของหลวงพ่อมี ก็เป็นไปเหมือนกับชาวบ้านธรรมดา เพราะครอบครัวยากจนและมีอาชีพเป็นชาวนา ต้องคอยช่วยพ่อแม่ทำไร่ไถนาตามประสาไปวัน ๆ โดยไม่มีการผาดโผนอันน่าตื่นเต้นใด ๆ เนื่องจากท่านเป็นคนใจบุญชอบทำทานเข้าวัดวาฟังเทศน์ฟังธรรมแล้ว เหล้ายาปาปิ้ง การพนันขันต่อ หรือการเที่ยวเตร่ต่าง ๆ เยี่ยงหนุ่มลูกทุ่งทั้งหลายนั้นท่านไม่เคยผ่านมาก่อนเลยทั้งสิ้น จากการที่หลวงพ่อมี มีความขยันขันแข็งในการทำงาน จึงมีหญิงมาชอบพอกับท่านคนหนึ่ง แต่ติดที่ท่านเป็นคนขี้อาย ไม่ช่างพูดประกอบกับหญิงนั้นเป็นคนที่งามจึงไม่เคยชวนกันไปเที่ยวไหน 2 ต่อ 2 เหมือนหนุ่มสาวคู่อื่น ๆ เลย ภายหลังเมื่อท่านมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ผัดผ่อนการหมั้นหมายเรื่อยมา สตรีนั้นเห็นว่า ท่านไม่ถึงแน่แล้วก็เลยไม่ได้ติดต่อกันอีก ปัจจุบันก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่ยังครองตัวเป็นโสดมาถึงบัดนี้ นับว่า สตรีท่านนี้เป็นหญิงที่มีความมั่นคงในความรักอันน่ายกย่องสรรเสริญยิ่งทีเดียว

เริ่มเล่นแร่
ในวัยเด็กนี่เองที่องค์ท่านหลวงพ่อมี เขมธัมโม ได้ไปเยี่ยมหลวงน้าที่วัดบ้านพร้าวนอก ปทุมธานี โดยติดตามโยมคุณแม่ไป หลวงน้าคือ “หลวงพ่อเขียน โชติสโร” ในเวลานั้นกำลังเล่นแร่แปรธาตุ (เหมือนกับหลวงปู่จัน วัดโมลี จังหวัดนนทบุรี) ถือเป็นโอกาสของเด็กชายบุญมี ที่ได้สัมผัสกับสายวิชาเร้นลับนี้ เป็นการหล่อหลอมธาตุต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด โดยมีหน้าที่เติมฟืนช่วยสูบลมให้ไฟร้อนจัดตลอดเวลาถือว่าเป็นการเริ่มการศึกษาด้วยตนเองในสายวิชา “เล่นแร่แปรธาตุ” มาตั้งแต่บัดนั้น หลวงพ่อมีเคยเล่าว่า “เหนื่อยมากเพราะกว่าจะหลอมธาตุแปรธาตุได้ หลวงพ่อเขียนท่านต้องเหงื่อไหลไคลย้อย ร่างกายสกปรกไปหมด ถูกรมด้วยควันไฟและเถ้าถ่านอยู่เป็นเวลานานกว่าจะเสร็จ”
“ส่วนวิชาทำตะกั่วให้เป็นเงิน ทำเงินให้เป็นทองคำนั้น หลวงพ่อเขียนท่านหวงมาก ไม่ยอมถ่ายทอดให้ใครง่าย ๆ ในสมัยนั้น เป็นที่เล่าลือกันแพร่หลาย” หลวงพ่อมีท่านเคยถามถึงการที่อยากจะศึกษาสายวิชานี้ แต่หลวงน้าหลวงพ่อเขียน กล่าวว่า “จะสอนให้เมื่อบวชเป็นพระ” ตั้งแต่วันนั้นเด็กชายมีก็เฝ้ารอเพื่อถึงอายุเวลาอุปสมบท

บรรพชาอุปสมบท
หลวงพ่อมี เขมธัมโม มีใจฝักใฝ่ใคร่จะบรรพชาเป็นสามเณรมานานแล้ว แต่ติดขัดที่มีภาระช่วยโยมบิดา มารดา ทำไร่ไถนา จึงต้องคอยให้มีอายุครบบวชเสียก่อนจึงจะได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุตามประเพณีนิยม ซึ่งบรรดาชายทั้งหลายกระทำกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลดังนั้นเมื่อหลวงพ่อมีอายุ 21 ปี อายุครบเกณฑ์ทหารต้องถูกคัดเลือกเข้าประจำการเป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติ ท่านจึงตั้งใจไว้ว่า ถ้าไม่ถูกทหารจะบวชทดแทนคุณพ่อแม่ทันที แล้วหลวงพ่อมีก็สมความปรารถนาที่ตั้งใจไว้ เมื่อท่านจับได้สลากใบดำไม่ต้องเข้ารับราชการทหาร จึงได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสมดังใจ ณ พัทธสีมา วัดมารวิชัย ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 โดยมีพระครูอดุลวุฒิกร หลวงพ่อพิน จันทโชโต วัดช่างเหล็ก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเขียน โชติสโร วัดบ้านพร้าวนอก อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลวงน้า คือเป็นน้องโยม มารดาของหลวงพ่อมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อเกลี้ยง อินทโชติ วัดมารวิชัย ซึ่งภายหลังไปเป็นเจ้าอาวาส วัดสามตุ่ม ในเขตอำเภอเสนา เป็นพระกรรมวาจาจารย์แทน หลวงพ่อคล้าย เจ้าอาวาสวัดมารวิชัยขณะนั้น ซึ่งเกิดอาพาธพอดี หลวงพ่อมี ได้รับฉายาเป็นภาษาบาลี จากหลวงพ่อพินผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ว่า “เขมธัมโม” แปลว่า “ผู้มีธัมมะอันเกษม”
การศึกษาเล่าเรียนเบื้องต้นขององค์ท่านหลวงพ่อมี ท่านได้เรียนรู้จาก หลวงพี่แบน ซึ่งเป็นพระพี่ชาย ต่อมาได้เข้าศึกษาทั้งภาษาไทยและ ภาษาขอมกับครูเยื้อน บุตรของอา จนพอจะมีพื้นฐานอ่านออกเขียนได้ หลังจากนั้นท่านจึงศึกษาด้วยตนเอง และเมื่อเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ จึงไปศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงปู่คล้าย พลายแก้ว ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมารวิชัย ในขณะนั้นถือเป็นรากฐานอันมั่นคงในการสืบสานพุทธศาสนาต่อไป “ในช่วงที่อาตมาบวชอยู่ที่วัดมารวิชัยนั้น เป็นจังหวะที่ได้ศึกษาเล่าเรียนในทางปริยัติธรรมด้วย เพราะขณะนั้นกำลังเจริญอย่างเต็มที่”

ศึกษาพระธรรมวินัย
เวลาส่วนใหญ่หลวงพ่อมีท่านจะศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยตนเอง ไม่ได้ไปศึกษาเล่าเรียนจากสำนักใด ๆ แต่ท่านสอบได้นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก ไล่มาเป็นลำดับ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญา ผสานความมีมานะพากเพียรที่มีอยู่ในองค์ท่านในภายหลังเมื่อท่านอายุมากขึ้นแล้ว ได้เข้าศึกษาหาความรู้ในโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนสำเร็จการศึกษารุ่นที่ 1 ปี พ.ศ. 2513 หลวงพ่อมี นำความรู้ทางด้านพระปริยัติธรรมที่ท่านร่ำเรียนมาสอนพระภิกษุสามเณรภายในวัดมารวิชัยตั้งแต่ท่านยังไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส และเมื่อเป็นเจ้าอาวาสแล้วก็ทำการสอนนักธรรมด้วยตัวของท่านเอง ในระหว่างเข้าพรรษาตลอด 3 เดือน จนพระภิกษุสามเณรทั้งหลายมีความรู้ความสามารถสอบเปรียญธรรมขั้นสูงได้ปีละหลายสิบรูป จวบจนปัจจุบันนี้ หลวงพ่อมียังคงทำการสอนนักธรรมด้วยตนเองทุกปี โดยไม่ได้นิมนต์พระภิกษุจากสำนักอื่น ๆ มาทำการสอนเลย

ผลงานการก่อสร้าง
จากการที่หลวงพ่อมี ได้รับการอบรมบ่มจิตจากหลวงพ่อปานในการปฏิบัติอสุภกรรมฐาน ยกเอานิมิตมาพิจารณาจนกลายมาเป็นวิปัสสนาญาณ บังเกิดมี ศีล สมาธิ ปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกข์ขัง ความเป็นทุกข์และอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน มีอารมณ์จิตเบื่อหน่ายสภาพความเป็นอยู่ของร่างกายตนเองและผู้อื่น จิตใจจึงระลึกนึกถึง พระนิพพานเป็นปกติ จนสามารถบรรเทาอารมณ์รัก โลภ โกรธ และหลง หรือความพอใจใด ๆ ทั้งสิ้นนั้น แทบจะถูกขจัดออกไปจากจิตใจของหลวงพ่อมี อย่างสิ้นเชิง
เมื่อหลวงพ่อมี ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดมารวิชัย ท่านจึงสามารถตัดใจได้ทุกอย่าง โดยมีสัญญากับพระลูกวัดอีก 6 คน คือ พระอาจารย์ครอบ, พระอาจารย์สาย ซึ่งเป็นพระอาวุโส และพระเย็น, พระเสริฐ, พระหนอม และพระโกยว่า “พระทุกองค์ห้ามสึก จนกว่าจะตายหรือสร้างอุโบสถให้สำเร็จเสียก่อน จึงสึกได้” พระภิกษุผู้รักษาสัจจะทั้ง 7 องค์ ต่างช่วยกันบูรณะอุโบสถวัดมารวิชัย จนเสร็จและยังช่วยทำนุบำรุงจนมีความเจริญถาวรสืบต่อมา แต่ด้วยเหตุที่เจ้าอาวาสคือหลวงพ่อมี เป็นพระอาจารย์ผู้ถือสมถะทั้งยังมักน้อย บรรดาเสนาสนะต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นส่วนใหญ่จะสร้างเฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ หรือสร้างแบบง่าย ๆ อย่างพออาศัยอยู่ได้เท่านั้น และเมื่อเกิดชำรุดทรุดโทรม ก็ทำการบูรณะซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้สร้างให้ถาวรใหญ่โตและสวยงามเหมือนกับวัดอื่น ๆ ทั่วไป เพราะเหตุที่หลวงพ่อมีเป็นพระสมถะ รักสันโดษและมักน้อยนั่นเอง
อุโบสถวัดมารวิชัยได้รับการบูรณะจนพระภิกษุสงฆ์ สามารถประกอบสังฆกรรมได้แล้ว ต่อมาจึงได้สร้างหน้าบันเพิ่มเติม พร้อมกับทำพิธียกช่อฟ้าขึ้นในปี พ.ศ. 2491ในขณะที่ทำการบูรณะอุโบสถอยู่นั้น ตรงกับปี พ.ศ. 2485 ได้รื้อกุฏิริมคลองย้ายขึ้นมาปลูกในบริเวณที่อยู่ปัจจุบัน เพื่อหนีน้ำที่หน้าน้ำท่วมสูงขึ้นทุกปี ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาที่จะต้องหาทุนมาสร้างกุฏิใหม่อีกด้วยต่อมาปี พ.ศ. 2501 หลวงพ่อมี ได้สร้างศาลาเรียงล้อมศาลาการเปรียญ หลังใหญ่ที่ หลวงพ่อปาน มาสร้างไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วสร้างหอระฆังและกุฏิอีก 3 หลัง ปัจจัยที่มีอยู่ทั้งหมดไปสมทบทุนกับทางราชการสร้างโรงเรียน 2 แห่ง คือโรงเรียนวัดมารวิชัย และโรงเรียนจุฬาราษฎร์วิทยา ในเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2509 และยังได้สร้างสถานีอนามัย เนื้อที่ 7 ไร่ กับสำนักงานผดุงครรภ์ประจำตำบลบางนมโค ในเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน อีกด้วย
สาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ ที่กล่าวมาส่วนใหญ่เป็นที่ดินของบรรพบุรุษที่ตกทอดมาถึงหลวงพ่อมี แล้วท่านนำมาบริจาคต่อ ทั้งยังขายที่ดินอีกบางส่วนไป เพื่อนำปัจจัยมาสมทบทุนในการก่อสร้างต่าง ๆ เช่น สร้างฌาปนสถาน พ.ศ. 2510 สร้างกำแพงรอบอุโบสถเพื่อความเป็นสัดส่วน พ.ศ. 2512 และสิ่งที่ชาวบ้านทั้งหลายมีความประทับใจในตัวหลวงพ่อมีอย่างไม่รู้ลืมอยู่ทุกวันนี้ คือ หลวงพ่อมี เป็นผู้ขอไฟฟ้าโดยเริ่มปักเสาจากปากทางถนนสาคลี ผ่านหน้าวัดมารวิชัยเรื่อยไป ถึงตลาดสาคลี เป็นระยะทางประมาณ 7 ก.ม. ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวของหลวงพ่อมีทั้งสิ้น เมื่อปี พ.ศ. 2514 นอกจากนี้หลวงพ่อมียังได้สร้างแท้งน้ำ เครื่องสูบน้ำสำหรับพระและชาวบ้านได้ใช้ดื่มน้ำที่สะอาด สร้างศาลาท่าน้ำ สร้างหอสวดมนต์ในปี พ.ศ. 2521 ฯลฯ นับว่าหลวงพ่อมี เป็นพระอาจารย์ที่มีความมุมานะ พยายามสูงในการสร้างความเจริญแก่ท้องถิ่นอย่างมากองค์หนึ่ง

ศึกษาวิทยาคม
หลวงพ่อมีได้เล่าให้ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดคนหนึ่งฟังว่า ยุคที่ท่านเป็นพระหนุ่มนั้น วิชาด้านคาถาอาคมต่าง ๆ เป็นที่นิยมเรียนกันมาก ชาวอยุธยาแทบทุกคนที่เป็นชายก็ล้วนแต่มีผู้สนใจเรียนกันมากเป็นพิเศษ เพราะคนหนุ่มในยุคนั้นต้องการของจริงมาทดลองกันคือ ใครมีอะไรดีก็มาอวดต่อหน้าสาว ๆ ตามหมู่บ้านต่าง ๆ สำหรับหลวงพ่อมีนั้น เมื่อท่านบวชได้พรรษาแรก ท่านก็ได้เรียนภาษามคธ และทางปริยัติควบคู่กันไป ในตอนหัวค่ำ หลวงพ่อมีและพระเณรรุ่นหนุ่ม ๆ ก็มักจะจับกลุ่มกันเรียนคาถาอาคมอย่างขะมักเขม้น คือเรียนทั้งจากตำราสมุดข่อย และจากหลวงตาที่บวชเรียนมาหลายพรรษาในวัดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาถาเกี่ยวกับหัวใจต่าง ๆ นั้น หลวงพ่อมีท่านได้เรียนอย่างคล่องแคล่วและรวดเร็ว เช่น คาถาหัวใจหนุมาน หัวใจเสือ หัวใจราชสีห์ และหัวใจลิงลม เป็นต้น
หลวงพ่อมีเมื่อได้พระอาจารย์ดี ท่านก็ตั้งใจในการเรียนอย่างเต็มที่ เพราะหลวงตาผู้สอนท่านจะคอยกำกับโดยให้ผู้เรียนนั่งสมาธิพนมมือ และหลับตาภาวนาหัวใจของคาถาต่าง ๆ ไปด้วย ในระหว่างการเรียนจะเงียบสงบ เพราะต้องการให้เกิดสมาธิเร็วขึ้นเป็นเอกัคตา คือเป็นหนึ่งตลอด เรียกว่าผู้เรียนคาถาต่าง ๆ ต้องมีสมาธิ เพราะสมาธิเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สมัยหลวงพ่อมีนั้น จะมีพระเณรเรียนในทางวิชาอาคมกันมาก เพราะมีพระอาจารย์คอยสอนให้อยู่อย่างมากมายนั่นเอง “เพื่อเห็นแก่อนาคตก็ต้องเรียนไว้ เพราะต่อไปจะหาไม่มีอีกแล้ว ที่จะมีอาจารย์ผู้เก่งกล้าสามารถเช่นสมัยนั้น”

หัวใจลิงลม
หลวงพ่อมีท่านได้ตั้งใจศึกษาวิชาทุกอย่างจากครูบาอาจารย์ที่มีอยู่ในสมัยนั้น เช่น การเรียนคาถาปลุกหัวใจลิงลมก็เรียนมาจากหลวงพ่อสำลี ซึ่งท่านเก่งในวิชานี้เป็นอย่างมาก แต่ก่อนที่หลวงพ่อสำลีท่านจะเริ่มพิธีปลุกหัวใจลิงลมนั้น ท่านได้บอกกับพระเพื่อน ๆ ว่า
“ถ้าผมมือสั่นและตัวสั่นก็ช่วยกันจับเอาไว้ให้ดีนะ”พิธีการปลุกคาถาหัวใจลิงลมของหลวงพ่อสำลีนั้น ท่านได้ทำให้พระเณรผู้เป็นลูกศิษย์ดูกันเพื่อจะได้รู้ได้เห็นของจริง คือเวลาปลุกหัวใจลิงลมนั้น ผู้ปลุกจะอยู่ไม่เป็นสุขจะมีการกระโดดโลดเต้น จับโน่นเกาะนี่คล้ายกับลิงจริง ๆ หลวงพ่อสำลีท่านจะพนมมือทำใจให้เป็นสมาธิเพื่อท่องคาถาหัวใจลิงลมประมาณได้สัก 2-3 นาที มือของท่านจะเริ่มสั่น และหัวเข่าทั้ง 2 ข้างก็จะตีกับพื้นกระดานเสียงดังสนั่นพร้อมกับหายใจแรงมาก
บรรดาพระเณรที่เป็นศิษย์ซึ่งรวมทั้งหลวงพ่อบุญมีด้วย ต่างก็ระวังกันอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าหากหลวงพ่อสำลีกระโดดออกหน้าต่างกุฏิไปก็จะยุ่งกันใหญ่ ครั้นเมื่อหลวงพ่อสำลีปลุกหัวใจลิงลมแล้ว ก็ช่วยกันจับ แต่จับไม่ค่อยจะอยู่ เพราะกิริยาอาการและท่าทางของท่านมีความปราดเปรียวและว่องไวมาก จนพระผู้รู้อากัปกิริยาดังกล่าวได้ตบร่างของท่านอย่างแรง อาการต่าง ๆ จึงได้ลดลงและสงบไปในที่สุด เรื่องคาถาอาคมนี้ เป็นศาสตร์ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ให้ได้ผลก็ต่อเมื่อผู้ใช้มีจิตเป็นสมาธิอย่างแน่วแน่ ต้องมีความเชื่อและศรัทธาจริง ๆ สำหรับหลวงพ่อสำลีนั้น ท่านได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาอาคมต่าง ๆ ให้กับหลวงพ่อมีจนหมดสิ้น จึงทำให้หลวงพ่อมีท่านมีวิชาอาคมแก่กล้าสามารถท่องปฏิบัติ เกิดเป็นอาการได้ทุกอย่างสมดังประสงค์

ไม่คิดลาสิกขา
ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากหลวงพ่อมีท่านบวชได้ 1 พรรษา และท่านสอบนักธรรมชั้นตรีได้ใหม่ ๆ ท่านไม่คิดที่จะลาสิกขาบท ออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา แต่ท่านกลับอยากจะบวชเพื่อศึกษาต่อเพราะท่านชอบศึกษาเล่าเรียนมาก หลวงพ่อมีท่านได้ตั้งใจอย่างแน่วแน่แล้วว่า จะขอบวชและศึกษาหาความรู้ในพระพุทธศาสนาตลอดไป ซึ่งหลวงพ่อมีกล่าวว่า“การได้เข้ามาศึกษาอยู่ในร่มเงาพระพุทธศาสนานั้น เป็นของยากเพราะทุกคนต้องพร้อมที่จะเสียสละความสุขสบายในโลกภายนอกทุกอย่าง แต่ถ้าได้อยู่ศึกษาจนถ่องแท้แล้ว ก็ไม่อยากจะสึกออกไปอีก”

มุ่งสู่หลวงพ่อเขียน
เนื่องจากโยมมารดาของหลวงพ่อมี เป็นชาวบ้านพร้าว ปทุมธานี มักเดินทางกลับไปเยี่ยมญาติพี่น้องยังบ้านเดิมอยู่เสมอ ทั้งในงานเทศกาลทำบุญตรุษสารทตามประเพณีต่าง ๆ ก็มักจะกลับไปทำบุญยังวัดท้องที่ใกล้บ้าน คือวัดบ้านพร้าวนอก ซึ่งมีน้องชายเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดในขณะนั้น ชื่อ หลวงพ่อเขียน โชติสโร โดยความตั้งใจเดิมขององค์ท่านหลวงพ่อมี เมื่อสมัยยังเป็นเด็ก และได้ช่วยหลวงน้าในการแปรธาตุ ได้สัมผัสรับรู้วิชาเร้นลับนี้โดยตรง แต่องค์หลวงน้าไม่ยอมสอนให้กลับบอกว่า จะสอนให้เมื่อบวชเป็นพระเสียก่อน จึงเป็นโอกาสดีของหลวงพ่อมี หลวงพ่อเขียนองค์นี้ ท่านเป็นพระอาจารย์เรืองวิชาเป็นที่เลื่องลือว่า ท่านสำเร็จอภิญญาจิตมีอิทธิปาฏิหาริย์ สามารถเดินบนยอดไม้และนอนบนยอดตองได้ (นอนบนยอดใบกล้วย)
ปฏิปทาอันงดงาม เคร่งครัดพระธรรมวินัยและปฏิบัติวิปัสสนาธุระอย่างสม่ำเสมอของหลวงพ่อเขียน เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านพร้าวเป็นอย่างมากในสมัยนั้น หลวงพ่อเขียนท่านมีปฏิปทาแปลกไปอีกอย่างหนึ่งคือชอบเล่นว่านยา และชอบเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งเป็นวิชาการหล่อหลอมวัตถุธาตุต่าง ๆ ที่มีราคาถูกให้กลายเป็นธาตุสูงค่าขึ้น เช่น การทำตะกั่วให้กลายเป็นเงินหรือทำเงินให้เป็นทองคำ ดังนี้เป็นต้น
อุปกรณ์ใช้ในการเล่นแร่แปรธาตุของหลวงพ่อเขียนก็มี เตาสูบ ที่ใช้ในการหลอมโลหะ ซึ่งมีเครื่องสูบลมติดอยู่กับเตาสำหรับใช้สูบลม เป่าผ่านให้เป็นเปลวไฟแรงจัด นอกจากนี้ก็ยังมีเบ้าหลอม ซึ่งมีทั้งเบ้าดินและเบ้าที่ทำจากโลหะหลายใบ ทั้งยังมีสากดินสำหรับใช้กวนโลหะให้เข้ากันอีกด้วย ฯลฯ
หลวงพ่อมี เล่าว่า “หลวงพ่อเขียนท่านชอบเล่นว่านอาบน้ำมันว่านจนตัวมันไปหมด จึงไม่ค่อยชอบอาบน้ำ เวลาท่านนั่งหลอมโลหะอยู่หน้าเตาสูบ ถูกรมด้วยควันไฟและเถ้าถ่านอยู่เป็นวัน จนตัวดำมิดหมีมันหมดทั้งตัว... ท่านก็ยังไม่ยอมอาบน้ำ...”
หลวงพ่อมีเล่าปฏิปทาการไม่ชอบอาบน้ำของหลวงพ่อเขียนให้ฟัง พร้อมกับหัวเราะขัน ๆ อย่างอารมณ์ดี

เรียนวิชาตรงจากหลวงพ่อเขียน
หลวงพ่อเขียนถือได้ว่าเป็นอาจารย์องค์แรกในสายวิทยาคมขององค์ท่านหลวงพ่อมี วัดมารวิชัย หลังจากอุปสมบทหลวงพ่อมีมุ่งตรงสู่วัด บ้านพร้าวนอก จ.ปทุมธานี และศึกษาสายวิชา เล่นแร่แปรธาตุกับพระอาจารย์หลวงน้าในทันที ในช่วงนั้นโยมบิดาขององค์ท่านหลวงพ่อมี กำลังเจ็บป่วยด้วยโรคชรา ซึ่งเรื้อรังมานานแล้ว และได้ถึงแก่กรรม หลวงพ่อมีจึงต้องกลับมายังบ้านเกิด เพื่อจัดงานศพโยมบิดา ที่วัดมารวิชัยและเข้าจำพรรษา ณ วัดมารวิชัย นับตั้งแต่บัดนั้น เมื่อเข้าจำพรรษา ณ วัดมารวิชัย หลวงพ่อมียังคงเดินทางไปพำนักที่วัดบ้านพร้าวนอก เพื่อเยี่ยมเคารพและศึกษาสายวิชาจากหลวงน้า หลวงพ่อเขียนอยู่สม่ำเสมอ ตราบจนกระทั่งหลวงพ่อเขียนมรณภาพด้วยวัยของความชรา

สายวิชา
ในส่วนของสายวิชาที่องค์ท่านหลวงพ่อมีศึกษาจากพระอาจารย์หลวงพ่อเขียน นับแล้วท่านเริ่มเรียนรู้มาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก ๆ ตอนติดตามคุณแม่ไปวัดบ้านพร้าวนอก การศึกษาในตอนนั้นถือเป็นการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด เพราะได้ใกล้ชิดหลวงพ่อเขียน เนื่องจากต้องหาฟืนเติมเชื้อไฟให้ร้อนกรุ่นอยู่อย่างตลอดในเวลาหล่อหลอม สายวิชาการต่าง ๆ ทุกอย่างและขั้นตอนปฏิบัติจึงตกเป็นของหลวงพ่อมี เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก จากคำบอกเล่าของหลวงพ่อมี ท่านเคยเล่าว่า ท่านนั้นไม่ได้ของดีจากอาจารย์หลวงพ่อเขียนเพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือ “สังขวานร” เพราะเป็นของศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวอาจารย์ท่าน ซึ่งหลวงพ่อเขียนถึงแม้มรณภาพ สังขวานรก็ติดตามไปด้วยทั้ง ๆ ที่หลวงพ่อเขียนเก็บใส่ตลับติดตัวเอาไว้เป็นอย่างดี พอท่านสิ้นลมได้นำเอาตลับที่บรรจุสังขวานรตลับนั้นมาเปิดออกดู ปรากฏว่าสังขวานรได้อันตรธานหายไปได้เองอย่างน่าอัศจรรย์
อนึ่ง สังขวานร คือแร่ชนิดหนึ่งซึ่งเราเรียกว่า “เขี้ยวหนุมาน” หลวงพ่อเขียนทำสำเร็จด้วยความยากลำบากเพราะต้องใช้เวลามาก เริ่มต้นจากการทำตะกั่วให้เป็นเงินแล้วนำโลหะแร่อีกหลายชนิดที่ทำขึ้นมาหล่อหลอมรวมกัน ขัดด้วยว่านยา 108 ตามตำรับตำรา จนสำเร็จกลายเป็นสังขวานรก้อนเล็ก ๆ ขนาดเมล็ดข้าวโพด มีสีเขียวแวววาวคล้ายสีปีกแมลงทับ แต่ว่าสังขวานรมีสีเลื่อมพรายสวยงามกว่าปีกแมลงทับมาก ถ้านำไปทิ้งไว้ในที่มืด จะปรากฏลำแสงสว่างคล้ายรุ้งพวยพุ่งขึ้นให้รู้ว่าไปตกอยู่ ณ ที่แห่งใด หลวงพ่อเขียนเคยทดลองคุณวิเศษ ของสังขวานรให้หลวงพ่อมีชมดูหลายประการและบอกให้ท่านฟังว่า “สังขวานรมีคุณดุดเหล็กไหล” ถ้าผู้ใดได้พกติดตัวเป็นมหาอุด และมีความอยู่ยงคงกระพันชาตรีสูง บุกน้ำลุยไฟได้ทั้งนั้น” นับว่า สังขวานร เป็นสุดยอดแห่งของขลังที่หาได้ยากโดยแท้

เล่นแร่แปรธาตุ ผ้าจะขาดไม่รู้ตัว
แม้ว่าหลวงพ่อมีจะเห็นกรรมวิธีการหล่อหลอมเล่นแร่แปรธาตุต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด แต่ใจจริงแล้วท่านไม่ค่อยชอบทางด้านนี้เท่าใดนัก เนื่องจากทำให้เนื้อตัวสกปรกดำไปหมดทั้งตัวในเวลาทำการหล่อหลอมแล้ว หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พระอาจารย์องค์สำคัญอีกองค์หนึ่งของหลวงพ่อมี เคยกล่าวเปรย ๆ เป็นทำนองเตือนสติให้ท่านรู้ว่า “ระวังการเล่นแร่แปรธาตุ ผ้าจะขาดไม่รู้ตัว”
นับเป็นคำเตือนที่มีค่ายิ่ง เพราะถ้าในสมัยนี้ ผู้ใดคิดเล่นแร่แปรธาตุหวังร่ำรวยทางลัด ด้วยการทำตะกั่วให้กลายเป็นทองคำ กว่าจะทำได้คงต้องลงทุนจนหมดตัว ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าจะทำตะกั่วกลายเป็นเงิน แล้วทำเงินให้กลายจนเป็นทองคำได้อีกหรือไม่ เรียกว่า กว่าจะสำนึกตัวผ้าอาจขาดจนไม่มีติดกายก็เป็นได้ เล่นแร่แปรธาตุชั้นสูง สามารถทำให้ตะกั่วกลายเป็นเงิน เงินกลายเป็นทองคำได้
ในภายหลังที่หลวงพ่อมีไปศึกษาอสุภกรรมฐานกับหลวงพ่อปานแล้ว ท่านพิจารณาเห็นว่า วิชาเล่นแร่แปรธาตุ ไม่ใช่หนทางหลุดพ้นจากสงสารวัฏแห่งการเวียนว่าย ตาย เกิด หลวงพ่อมีจึงตัดใจไม่เรียนวิชาทำตะกั่วให้เป็นทองคำต่อจากหลวงพ่อเขียน ดังนั้นหลวงพ่อมีจึงเรียนรู้แต่วิธีทำตะกั่วให้เป็นทองคำมาเพียงผิวเผินเท่านั้น โดยไม่เคยทดลองทำจริง ๆ มาก่อนเลย ส่วนกรรมวิธีการทำเมฆพัดนั้น หลวงพ่อมีเคยทดลองทำมากับหลวงพ่อเขียน จนมีความเชี่ยวชาญมาแล้วในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งหลวงพ่อมีกรุณาเปิดเผยสูตรทำเมฆพัดให้ทราบว่า
การทำเมฆพัดประกอบด้วย เงิน ทองแดง ตะกั่ว ปรอท กำมะถันเหลือง และว่านยา 108 ชนิด มีว่านทองคำ เป็นอาทิ โดยมีส่วนของน้ำหนักพิกัดสิ่งละไม่เท่ากันตามตำรา นำมาหล่อหลอมรวมกันแล้วซัดด้วยกำมะถันเหลืองและว่านยาอยู่ตลอดเวลาตามกรรมวิธีอันแยบยลตามลำดับ จนกระทั่งเนื้อเมฆพัดหลอมจนเหลวได้ที่ดีแล้ว จะสำเร็จเป็น “กายสิทธิ์”
หลวงพ่อเขียน บอกว่า เมฆพัดจะมีฤทธิ์เดชในตัวเองสามารถป้องกัน ภูตผีปีศาจ เป็นคลาดแคล้วคงกระพัน บันดาลความร่มเย็นเป็นสุขให้คุณแด่ผู้เป็นเจ้าของยิ่งนัก หลวงพ่อมี เคยกล่าวยืนยันว่า วิชาทำตะกั่ว จนกลายเป็นทองคำนี้ หลวงพ่อเขียนท่านทำได้จริงเมื่อท่านสามารถพิสูจน์จนรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ท่านก็เลิกเล่น และไม่ถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ผู้ใดอีก ชะรอยหลวงพ่อเขียนท่านคงจะเห็นโทษจากการหมกมุ่นในการแปรธาตุ ซึ่งเป็นความละโมบผิดธรรมชาติ ดังนั้นในบั้นปลายของชีวิต หลวงพ่อเขียนท่านมุ่งบำเพ็ญภาวนา แสวงหาความหลุดพ้นจนถึงแก่กาลมรณภาพโดยสงบในที่สุด

ทำแตงหนูเป็นทองแดง
ท่านผู้อ่านคงรู้จัก ลูกแตงหนู ดีนะครับเป็นพืชจำพวกเถาเลื้อยไปตามดินเถาและใบแตงหนูเป็นขนคล้ายต้นขี้กาขาว มีผลเหมือนแตงไทยที่เราเอามาใส่กะทิน้ำแข็งกินเป็นของหวานนั่นแหละ แต่ลูกแตงหนูเล็กกว่าลูกแตงไทยมาก คือมีขนาดโตแค่หัวแม่มือเท่านั้น บรรดาแพทย์แผนโบราณนิยมนำมาทำยาสมุนไพร กล่าวกันว่า ใช้แก้ไข้ได้วิเศษนัก
หลวงพ่อเขียน นอกจากจะปลูกต้นแตงหนูไว้ทำยาแล้ว ท่านยังเอาลูกแตงหนูกับน้ำประสานทองมาสุมไฟจนกลายเป็นโลหะทองแดงได้อีกด้วย วิชาการเล่นแร่แปรธาตุดังกล่าว นับวันจะสูญหายไปแล้ว เนื่องจากต้นทุนในการหล่อหลอมสูงกว่าแร่โลหะแท้ ๆ ที่จะทำไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่นการทำทองแดง ต้องหาลูกแตงหนูมาเต็มเบ้า ซึ่งยังหาง่ายไม่แพงเท่าน้ำประสานทอง ซ้ำยังต้องหล่อหลอมอีก 500 ครั้ง จึงจะได้ทองแดงก้อนเล็ก ๆ แค่ปลายนิ้วก้อยเท่านั้น นับมีต้นทุนการผลิตที่สูงมากทีเดียวถ้าทำมาขายไม่คุ้มกันแน่
แต่พระโบราณจารย์ท่านไม่ได้คิดเช่นนั้น กล่าวคือทองแดงที่ได้จากการเปลี่ยนแปรธาตุเมื่อทำสำเร็จ ถ้านำมาปลุกเสกตามตำรา จะกลายเป็นของกายสิทธิ์ ถึงขั้นสามารถป้องกันศาสตราวุธได้ทุกชนิด ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสังเกตว่า พระเครื่องรางเก่า ๆ ของพระอาจารย์หลายสำนักที่สร้างขึ้นจากตำราเล่นแร่แปรธาตุโดยนำโลหะธาตุต่าง ๆ ที่ทำขึ้นมาสร้างเป็นพระเครื่องจึงมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันสูงส่งเป็นที่น่าเสียดายที่หลวงพ่อเขียน ไม่เคยสร้างอิทธิมงคลใด ๆ ไว้เลย ชื่อเสียงในวงการพระเครื่องจึงไม่มีใครรู้จัก แต่ก็ยังโชคดีที่ท่านมิศิษย์ผู้สืบทอดพระเวทวิทยาคมอยู่องค์หนึ่ง คือ หลวงพ่อมี เขมธัมโม พระเถราจารย์จอมขมังเวทแห่งวัดมารวิชัย ซึ่งเป็นทั้งศิษย์และหลานแท้ ๆ ของหลวงพ่อเขียน พระอาจารย์ผู้เรืองวิชาแห่งวัดบ้านพร้าวนอก ปทุมธานี

รูปอัดกระจกหลวงพ่อเขียน
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ในสมัยที่หลวงพ่อเขียนยังมีชีวิตอยู่ ท่านไม่เคยสร้างอิทธิมงคลใด ๆ ขึ้นเลย แต่เมื่อท่านถึงแก่กาลมารณภาพแล้วได้ 1 ปี หลวงพ่อมีสร้างรูปหลวงพ่อเขียนอัดกระจก ขึ้นจำนวนหนึ่ง เพื่อแจกบรรดาญาติโยมและชาวบ้านทั้งหลายที่มีความเคารพนับถือหลวงพ่อเขียน โดยสร้างพระรูปหล่อจำลองเกือบเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่ที่มณฑปวัดบ้านพร้าวนอกในปัจจุบัน
“รูปหลวงพ่อเขียนที่วัดมีไม่ได้เลย ถ้าชาวบ้านเห็นแล้ว ต้องขอกันไปหมด ถ้าไม่ให้ก็ปลดเอาไปบูชาที่บ้านเสียเฉย ๆ ที่วัดก็เลยไม่มีรูปของหลวงพ่อเขียนหลงเหลืออยู่เลยแม้แต่เพียงรูปเดียว”
จากศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อภาพถ่าย หลวงพ่อเขียนดังกล่าว ย่อมแสดงออกถึงความเคารพนับถือที่มีต่อท่านสูงส่งเพียงใด นับว่าหลวงพ่อเขียนเป็นพระอาจารย์อันควรแก่การเคารพกราบไหว้โดยแท้! จึงเป็นที่น่าเสียดายจริง ๆ หลวงพ่อเขียนวัดบ้านพร้าว นอกจากไม่ได้สร้างอิทธิมงคลใด ๆ ไว้เป็นอนุสรณ์แก่สานุศิษย์ มิเช่นนั้นหลวงพ่อเขียนต้องเป็นพระอาจารย์ที่ขึ้นชื่อลือชาอยู่ในแนวหน้าองค์หนึ่งของจังหวัดปทุมธานีอย่างแน่นอน แต่ก็นับว่า พวกเรายังโชคดีที่วิทยาเวทและสายเคล็ดลับของหลวงพ่อเขียน ยังมีผู้สืบทอดซึ่งเป็นหลานแท้ ๆ ของท่าน หลวงพ่อมี เขมธัมโม พระเถราจารย์สุดขมังเวท แห่งวัดมารวิชัย ผู้สร้างรูปอัดกระจกหลวงพ่อเขียน จนได้รับความนิยมจากชาวบ้านพร้าวและเป็นผู้สร้างพระเครื่องสูตรเมฆพัด (พระสังกัจจายน์ และพระปิดตา) ตามตำรับหลวงพ่อเขียนทุกประการ
ด้วยอำนาจแห่งบารมีหลวงพ่อเขียน รวมทั้งหลวงพ่อมีผู้ปลุกเสกและลงอักขระด้านหลังภาพอัดกระจกทั้งหมด ทำให้ผู้รับรูปอัดกระจกหลวงพ่อเขียนไปแล้ว ต่างพบประสบการณ์มากมายในทางคงกระพันแคล้วคลาดและมีเด็กห้อยคอแล้วตกน้ำไม่จมจนเป็นที่เลื่องลือ
ปัจจุบัน หาชมรูปอัดกระจกหลวงพ่อเขียนซึ่งหลวงพ่อมีเป็นผู้สร้างขึ้นได้ยาก เพราะมีอายุการสร้างมานานร่วม 50 ปี และที่ชาวบ้านพร้าวมีอยู่ก็หวงแหน เนื่องจากเป็นรูปหลวงพ่อเขียนที่ชาวบ้านพร้าวทั้งหลาย ให้ความเคารพนับถือและมีประสบการณ์มาแล้วอย่างกว้างขวางนั่นเอง

เรียนวิชากับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
ในปี พ.ศ. 2470 ขณะนั้นชื่อเสียงของหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค เลื่องลือไปทั่วประเทศ ประชาชนทั้งใกล้และไกลให้ความศรัทธาแห่กันมาให้หลวงพ่อปานรักษาโรคเนืองแน่นทุกวัน รวมทั้งชาวบ้านวัดมารวิชัย ซึ่งอยู่ตำบลเดียวกับวัดบางนมโค มีระยะทางห่างกันไม่ไกลเท่าใดนัก เมื่อมีโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ก็พากันมาให้หลวงพ่อปานช่วยบำบัดรักษาเช่นกัน
ดังนั้นครอบครัวโยมบิดา มารดาของหลวงพ่อมีจึงคุ้นเคยกับหลวงพ่อปานพอสมควร รวมทั้งหลวงพ่อมีครั้งยังเป็นเด็กวัดมารวิชัยก็เคยรับใช้หลวงพ่อปานมาแล้วในสมัยที่ท่านมาสร้างศาลาการเปรียญที่วัดมารวิชัย หลวงพ่อมีจึงให้ความเคารพหลวงพ่อปานเป็นอย่างสูง เนื่องจากรู้จักกิตติคุณความเก่งกล้าของท่านเป็นอย่างดีมาตั้งแต่ยังเยาว์วัย และเมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ 1 พรรษา ก็มาปวารณาตัวเป็นศิษย์คอยรับใช้หลวงพ่อปานที่วัดบางนมโค เมื่อต้นปี พ.ศ. 2476
ในวันแรกที่หลวงพ่อมีมาอยู่วัดบางนมโค ได้พำนักที่กุฏิของหลวงพ่อปาน ซึ่งใช้เป็นสถานที่รักษาโรคและให้บรรดาคนไข้และแขกเหลื่อมาค้างแรม หลวงพ่อมี จึงมีโอกาสเห็นหลวงพ่อปาน ทำการรักษาคนไข้อย่างใกล้ชิดด้วยน้ำมนต์บ้าง ด้วยยาสมุนไพรพื้นบ้านที่หาได้ง่าย เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น แต่ก็มีสรรพคุณสูงสามารถใช้รักษาโรคร้ายและไข้ต่าง ๆ รวมทั้งผู้ที่ถูกคุณไสยถูกเขากระทำย่ำยีมา หรือถูกผีเข้าเจ้าสิง กระดูกแตกหักต่าง ๆ หลวงพ่อปานสามารถรักษาให้หายได้ทั้งนั้นอย่างน่าอัศจรรย์
“ผู้ที่ได้บวชเรียนแล้ว อย่าให้ตกเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อย่าเกาะโลกธรรม 8 อันเป็นเรื่องทางโลก คือ...อิฏฐารมณ์ ความพึงพอใจในลาภยศ สุข และสรรเสริญและความไม่พึงพอใจในอนิฏฐารมยณ์...คือการขาดลาภ ขาดยศ มีทุกข์ และการนินทา...” “เมื่อเป็นพระอย่าหวังร่ำรวย ปัจจัยที่ได้มาจงนำมาเป็นสาธารณประโยชน์แก่ศาสนาและประชาชนให้หมด...อย่าหวังลาภ ยศ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็อย่าเมาในยศถาบรรดาศักดิ์...เรื่องของลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เป็นตัวกิเลส ต้องตัดออกให้หมด เราเป็นพระภิกษุสงฆ์รวยด้วยบุญญาบารมี เราต้องระลึกอยู่เสมอว่าการบวชนี้ เพื่อหวังนิพพานเท่านั้น” โอวาทของหลวงพ่อปาน หลวงพ่อมีกล่าวว่ายังจำขึ้นใจถึงปัจจุบันและระลึกอยู่เสมอ ปฏิบัติอยู่เสมอ
เมื่อหลวงพ่อปาน พิจารณาลักษณะอันกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของหลวงพ่อมี นึกรักขึ้น จึงรับปากจะถ่ายทอดวิชาให้ โดยให้ฝึกอสุภกรรมฐานก่อน เพื่อเป็นการสร้างอำนาจจิตของตัวเองให้กล้าแข็ง อสุภ แปลว่าไม่สวยไม่งาม ซากศพ กรรมฐาน แปลว่าการชนะใจด้วยความสงบ อสุภกรรมฐาน จึงรวม ๆ ความได้ว่า ฝึกจิตใจที่ยึดเอาเจ้าสิ่งที่ไม่สวยงาม มาเป็นหลักในการพิจารณาอารมณ์แห่งจิต
มองกันอย่างธรรมชาติ พอมองกันออกว่ามองไปนาน ๆ แล้วปลงอย่างไรสภาพของซากศพนั้น คงคิดรูปร่างกันได้ เป็นการเริ่มต้นที่ฉลาดและแน่นอนมั่นคง เมื่อพิจารณาเป็นหลักโดยไม่หนักไปทางเพ่งในระยะแรก เมื่อพิจารณาซากศพที่เสียชีวิต จากความรู้สึกที่แท้จริง แล้วโน้มความรู้สึกนั้น ๆ เข้าไปเปรียบเทียบกับตัวของเราเอง อธิบายเพิ่มขึ้นสักนิด เมื่อเราพิจารณามองศพที่น่าเกลียด น่าสะอิดสะเอียน มองนาน ๆ จะเกิดสังเวชขึ้นในจิตใจ จะเริ่มหนักขึ้น มองเห็นอะไรมากขึ้น ทราบถึงกับปลงในร่างกายของคนเรานั้นไม่มีอะไรเลย สังขารเปื่อยเน่าหมดสิ้นก็สิ้นกัน เพียงแค่นั้น ทุกอย่างที่เกิดเป็นอารมณ์สร้างให้จิตใจสงบแน่นิ่งเป็นพลังพุ่งเข้าสู่การเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้โดยง่าย ดั่งคำของหลวงพ่อปานที่กล่าวไว้ว่า “เมื่อปฏิบัติอสุภกรรมฐานจนมีความชำนาญแล้ว ย่อมเป็นของง่ายในการวิปัสสนาญาณ และจนลุล่วงสำเร็จไปด้วยดี”

เรียนวิชากับหลวงพ่อจง
เมื่อสิ้นหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคไปแล้ว ศิษย์ของท่านทุกองค์รวมทั้งหลวงพ่อมี ต่างมุ่งตรงไปศึกษาหาความรู้ต่อกับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เพราะก่อนที่หลวงพ่อปานท่านจะมรณภาพ ท่านได้บอกบรรดาศิษย์ของท่านให้ไปหาหลวงพ่อจง ซึ่งท่านว่าเป็น “พระทองคำทั้งองค์” ความจริงหลวงพ่อมี ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อจงมาก่อนหน้านั้นแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 โดยไปขึ้นกรรมฐานกับท่าน และเมื่อออกพรรษาทุกปีก่อนที่หลวงพ่อมีจะออกธุดงค์ท่านต้องไปให้หลวงพ่อจงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ก่อนทุกครั้งไป
ดังนั้น เมื่อหลวงพ่อมีออกรุกขมูลคราวใด ท่านจึงไม่เคยได้รับอันตรายใด ๆ จากภัยอันตรายต่าง ๆ ที่มีอยู่มากภายในป่าดงดิบทุกแห่งหนที่หลวงพ่อมีเดินธุดงค์ไปถึง เรียกว่า รอดพ้นปลอดภัยกลับถึงวัดมารวิชัยโดยสวัสดิภาพทุกคราวไป หลวงพ่อมีจึงมีความเคารพนับถือหลวงพ่อจงมาก นอกจากท่านจะมีปฏิปทางดงามแล้ว ท่านยังเคยแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ความมีวิทยาคมขลังให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของหลวงพ่อมีอยู่เสมอ เนื่องจากท่านมีวาสนาบารมีผูกกันฉันศิษย์กับอาจารย์มากนั่นเอง
ดังนั้นในปี พ.ศ. 2481 หลวงพ่อมีจึงมาฝากตัวเป็นศิษย์เล่าเรียนวิชากับหลวงพ่อจงอย่างจริงจัง โดยขอเล่าเรียนวิชาทำตะกรุดกับท่านก่อนตามที่เคยตั้งใจไว้ตั้งแต่ยังเป็นฆราวาส ในสมัยเป็นฆราวาส หลวงพ่อมีท่านเคยเห็นคนมาลองของกับหลวงพ่อจงด้วยการเอาตะกรุดให้ท่านเป่า แล้วไปลองยิง ปรากฏว่าปืนขัดลำกล้อง แต่เมื่อหันปากกระบอกปืนไปทางอื่น เสียงปืนก็ลั่นเปรี้ยงทันที
เมื่อหลวงพ่อมีประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์ในตะกรุดที่หลวงพ่อจงเป่าด้วยสายตาตนเอง เช่นนี้ จึงตั้งใจไว้ว่าเมื่อบวชเรียน จะมาขอวิชาจากหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา หลวงพ่อจงท่านสอนวิธีลง นะหน้าทอง ให้แก่หลวงพ่อมีและบอกให้ใช้นะหน้าทองตัวนี้ลงแผ่นโลหะทำตะกรุดเมตตา หลวงพ่อมีจึงถามหลวงพ่อจงขึ้นว่า เมื่อถึงเมตตามหานิยมทำไมถึงยิงไม่ออก หลวงพ่อจงเปิดเผยเคล็ดลับในการใช้วิทยาคมโดยไม่ปิดบังอำพรางแก่หลวงพ่อมี ว่าลงทางเมตตาก็จริง แต่เวลาปลุกเสก เริ่มต้นว่าอย่างไร ให้ลงท้ายว่าอย่างนั้นเป็นมหาอุด เพราะยันต์นะหน้าทองมีความศักดิ์สิทธิ์ใช้ได้สารพัด ข้อสำคัญต้องสร้างสมาธิจิตของตนเองให้แก่กล้า จึงจะใช้ได้สารพัดตามใจนึก
ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มสมาธิจิตให้กล้าแข็งอันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการเล่าเรียนพระเวท หลวงพ่อจงท่านจึงถ่ายทอดวิธีปฏิบัติการเพ่ง เตโชกสิณ แก่หลวงพ่อมี พร้อม ๆ กับการสอนสูตรการลง นะหน้าทอง หลวงพ่อมี ผู้สำเร็จอสุภกรรมฐานกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค แล้วยังมาได้วิชากสิณไฟจากหลวงพ่อจง อันเป็นกรรมฐานเกี่ยวกับการสร้างพลังจิตทั้งสิ้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมอิทธิมงคลทุกอย่างที่ผ่านมาปลุกเสกจากหลวงพ่อมี ล้วนมีประสบการณ์เข้มขลัง เป็นที่กล่าวขานโดยทั่วไปในขณะนี้ ! หลวงพ่อมีได้ศึกษากรรมฐานและวิทยาคมต่าง ๆ มากับหลวงพ่อจงเป็นเวลานานเกือบ 30 ปี ท่านได้เดินทางไป ๆ มา ๆ ระหว่างวัดหน้าต่างนอก และวัดมารวิชัยอยู่เสมอ ๆ ทั้งยังได้ร่วมงานกับหลวงพ่อจงอย่างใกล้ชิดอยู่บ่อยครั้ง และได้ปฏิบัติดูแลหลวงพ่อจง ตราบจนท่านสิ้นลมหายใจ

หลวงพ่อจงมรณภาพ
หลวงพ่อมีเล่าเหตุการณ์แห่งวาระสุดท้ายในคราวที่หลวงพ่อจงมรณภาพให้ฟังว่า หลวงพ่อจงท่านเป็นพระที่มีสุขภาพดี ไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วยมาก่อนเลย นอกจากจะเป็นไข้หวัดเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ที่ท่านมีสุขภาพดีเพราะว่าในตอนเช้ามืด ท่านจะตื่นขึ้นทำวัตรสวดมนต์ เสร็จแล้วก็คว้าไม้กวาดปัดกวาดไปทั่วบริเวณวัด ได้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน สุขภาพของท่านจึงแข็งแรง มีความกระฉับกระเฉงเดินเหินคล่องแคล่วว่องไว แม้แต่พระหนุ่ม ๆ ก็ยังเดินเร็วสู้ท่านไม่ได้
ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ประมาณ 1 เดือน ท่านเกิดหกล้มในห้องน้ำ จึงเป็นอัมพาตเดินไม่ได้ รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย เพราะแก่มากแล้ว มีแต่ทรงกับทรุดเท่านั้น เวลาพูดก็มีเสียงแหบ ๆ ฟังไม่ค่อยชัด พอมีพระไปเยี่ยมท่านก็จะให้สวดมนต์ให้ท่านฟัง ท่านจะนอนยิ้มฟังพระสวดเป็นการระงับทุกขเวทนาทั้งหลาย โดยไม่เคยร้องหรือบ่นอะไรให้ใครได้ยินเลยแม้แต่เพียงคำเดียว นอกจากท่านจะส่ายหน้าไปมาแล้วพูดว่า “คราวนี้เขาเอาเราอยู่แน่แล้ว” เพียงแค่นี้เท่านั้น
ในขณะที่ท่านป่วย ท่านก็ยังนั่งรับแขกอยู่จนดึกจนดื่น ไม่ว่าใครจะขอร้องท่านให้พักผ่อนด้วยความเป็นห่วง แต่ท่านก็ไม่ยอกพักกลับพูดว่า “เขาอยู่ได้ เราก็อยู่ได้” ดูกำลังใจของท่านซิ ดีแค่ไหน วันที่ท่านจะเสียก็ยังนั่งรับแขกอยู่ดี ๆ ตามปกติ วันนั้นฉันสังเกตเห็นอาการของท่านรู้สึกทุเลาขึ้นมาก ต้อนรับแขกด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่เหมือนกับทุก ๆ วันที่ผ่านมา ฉันเห็นแล้วเกิดสังหรณ์ใจ มันผิดปกติ...เพราะว่าคนเราก็เหมือนกับตะเกียง หรือดวงเทียนที่กำลังจะดับ มันจะสว่างวูบขึ้นอีกครั้งก่อนจะดับ ฉันจึงไม่กลับวัด เฝ้าดูท่านอยู่ถึงเย็นก็ได้เรื่องจริง ๆ
หลวงพ่อจงท่านบอกขอตัวกับแขกว่า จะนอน...ฉันเห็นแล้ว ท่านคงจะไม่ไหวจริง ๆ เพราะตามธรรมดา ท่านไม่เคยออกปากขอตัวกับแขกเลยแม้แต่เพียงครั้งเดียว พอฉันเห็นท่านนอนเข้าสมาธิเท่านั้น ก็แน่ใจทันที รีบหาธูปเทียนจุดบูชาพระรัตนตรัย ท่านก็นอนหลับตาเข้าฌานเฉยอยู่อย่างนั้น...ฉันก็บอกให้ทุก ๆ คนรู้และให้เงียบ ๆ เข้าไว้เพราะท่านยังไม่ได้ละสังขารยังอยู่ในฌาน
คืนนั้นทั้งพระและฆราวาสผลัดกันนั่งเฝ้าหลวงพ่อจงจนดึก ก็มีพระที่วัด 2-3 องค์เท่าที่จำได้ก็มี หลวงพ่อครุฑ องค์นี้ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกต่อจาก หลวงพ่อไวทย์ แล้วก็มีพระเพ็ง... พระมหาแสวง วัดสีคต เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็นวัดสันติการามอยู่เยื้อง ๆ วัดน้ำเต้านั่นแหละ และก็ฉันรวม 4 องค์ แต่ฆราวาสมีมาก พอชาวบ้านรู้ข่าวเข้าเท่านั้นแห่กันมาเฝ้าดูอาการของหลวงพ่อจงด้วยความเป็นห่วงเต็มกุฏิไปหมด
เวลาประมาณตีหนึ่งกว่า ๆ ของวันที่เท่าไหร่ฉันจำไม่ได้ แต่จำได้ว่าเป็นคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันมาฆะบูชาพอดี...(ผู้เขียนเทียบปฏิทินร้อยปีดูแล้วตรงกับวันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ตรงตามบันทึกวันมรณภาพของทางวัด ซึ่งแสดงถึงความทรงจำของหลวงพ่อมียังดีเลิศจริง)... หลวงพ่อจงก็หมดลมละสังขารด้วยความสงบ โดยไม่มีอาการทุรนทุรายใด ๆ ทั้งสิ้นแต่น้อยเลย เพราะท่านมรณภาพในฌาน ฉันกับพระมหาแสวงนั่งสมาธิตามดูท่าน เห็นแต่ลูกไฟดวงใหญ่มีแสงสีเหลืองนวลสว่างไสวลอยออกจากศีรษะของหลวงพ่อจงหายขึ้นไปอย่างรวดเร็ว... ดูตามท่านไม่ทันจริง ๆ สักพักหนึ่งก็ได้ยินเสียงเอะอะไปทั่วกุฏิ เพราะพระและฆราวาสทุกคนที่นั่งอยู่ที่นั่น ต่างก็เห็นดวงไฟลอยออกจากร่างหลวงพ่อจงด้วยตาเปล่าเหมือนกันหมด แม้แต่ชาวบ้านทุก ๆ คนที่นั่งอยู่นอกกุฏิก็ยังเห็นลูกไฟดวงใหญ่พุ่งออกมาจากกุฏิหายขึ้นไปบนท้องฟ้า เป็นที่น่าอัศจรรย์จริง ๆ เหมือนกับว่าท่านจะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้คนเห็นครั้งสุดท้ายเป็นการอำลาอย่างนั้นแหละ
พอชาวบ้านรู้ว่าหลวงพ่อจงท่านละสังขารแล้วเท่านั้น ก็พากันร้องไห้ระงม ฮือออกันเข้าไปยื้อแย่งฉีกจีวรกันใหญ่ พอตอนเช้าก็มีคนแห่กันมาอีกฉีกจีวรจนต้องเปลี่ยนใหม่ไม่รู้กี่ชุดต่อกี่ชุด แม้แต่สายสิญจน์ที่โยงจากศพยังแย่งกัน บางคนเอาขมิ้นทามือ ทาเท้า พิมพ์ลงผ้ากันจนมือเท้าของหลวงพ่อเหลืองไปหมด บางคนถอนเล็บออกจากนิ้วมือนิ้วเท้า ยังมีเลือดแดง ๆ ติดอยู่เลย มีอยู่รายหนึ่งถึงกับตัดนิ้วมือของท่านไป ปัจจุบันยังใช้ติดตัวอยู่ ก็คนพื้นที่นั่นแหละ ไปถามคนที่นั่นรู้จักชื่อกันทั้งนั้น ดูความศรัทธาที่พวกเขามีต่อท่านซิ แม้แต่ตายแล้วสังขารก็ยังถูกรบกวนไม่มีที่สิ้นสุดสมกับที่ท่านเคยบอกให้ฉันฟังว่า...”ฉันเกิดมาเพื่อใช้หนี้ชาวบ้านเขา”...จริง ๆ หลวงพ่อจงถึงแก่กาลมรณภาพในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2508 เวลา 01.55 น. รวมสิริอายุ 93 ปี

หลวงพ่อมีออกธุดงค์ครั้งแรก
ขอย้อนกลับมากล่าวถึงในสมัยที่หลวงพ่อมีเพิ่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุใหม่ ๆ ท่านได้ติดตาม หลวงพ่อเขียน ไปอยู่วัดบ้านพร้าวนอกปทุมธานี ได้เพียง 1 พรรษา ในปลายปี พ.ศ. 2475 นั้น โยมบิดาก็ถึงแก่กรรมท่านจึงต้องกลับมาจัดงานศพที่วัดมารวิชัย อันเป็นบ้านเดิม หลังจากทำการฌาปนกิจศพโยมบิดาเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อมีก็หนีโยมมารดาออกธุดงค์ อันเป็นการเริ่มต้นของการถือธุดงควัตร ครั้งแรกของหลวงพ่อมี
สาเหตุที่หลวงพ่อมีต้องหนีโยมมารดาออกธุดงค์ก็เพราะว่า เมื่อสิ้นโยมบิดาแล้ว โยมมารดาก็ไม่มีผู้ช่วยทำไร่ไถนา จึงมาขอร้องให้ท่านสึก แต่ใจจริงของหลวงพ่อมีนั้น รักที่จะอยู่ในสมณะเพศมากกว่า ประกอบกับคำพูดของโยมบิดาที่เคยสั่งเสียไว้ในขณะป่วยหนักก่อนถึงแก่กรรมว่า “พ่อไม่มีบุญได้บวชเรียน ขอให้บวชเพื่อพ่อต่อไปนาน ๆ นะ”
จากคำพูดกึ่งขอร้องของโยมบิดา ที่เพิ่งถึงแก่กรรมไปหยก ๆ นั่นเอง จึงเป็นสาเหตุให้หลวงพ่อมี คิดอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่นาน ๆ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลแก่โยมบิดาให้มากและนานที่สุดเท่าที่จะนานได้ แต่ถ้ายังขืนจำพรรษาอยู่ที่วัดมารวิชัยต่อไป คงจะทนต่อคำอ้อนวอนของโยมมารดาให้ลาสิกขาไม่ได้แน่นอน เมื่อหลวงพ่อมี คิดได้ดังนั้น ท่านจึงตัดสินใจหนีโยมมารดาติดตามหลวงตาปลั่งซึ่งเป็นพระอาจารย์เรืองวิชาอีกรูปหนึ่งของวัดมารวิชัย ออกธุดงค์ไปกราบไหว้พระพุทธบาท และพระพุทธฉาย ยังจังหวัดสระบุรี ในต้นปี พ.ศ. 2476
การออกธุดงค์ครั้งนั้น มีหลวงพ่อมี พร้อมพระภิกษุอีก 5 องค์ รวมทั้งหลวงพ่อเรืองผู้เป็นพระอาจารย์นำทาง รวมทั้งหมด 7 องค์ด้วยกัน ได้ออกเดินธุดงค์ด้วยเท้าเปล่าไปยังจังหวัดสระบุรีทันที หลังจากออกพรรษาและรับกฐินแล้ว เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2475 การออกธุดงค์ครั้งแรกของหลวงพ่อมีไม่พบอุปสรรคใด ๆ ทั้งไปและกลับ เนื่องจากหลวงตาปลั่งรู้จักเส้นทางเป็นอย่างไร ถึงแม้ว่าสภาพตลอดทางจากอยุธยาไปสระบุรีจะเป็นป่าดงดิบ เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายและไข้ป่าชุกชุมก็ตาม แต่หลวงตาปลั่งเคยเดินธุดงค์ไปบ่อยครั้งจนมีความชำนาญทางมาก สามารถกล่าวได้ว่า รู้กระทั่งสถานที่มีสัตว์ร้ายและแหล่งที่มีไข้ป่าชุกกันเลยทีเดียว คณะธุดงค์จึงมาปักกลดเพื่อกราบไหว้รอยพระพุทธบาทอยู่ ณ เชิงเขาสุวรรณบรรพต

ตำนานพระพุทธบาท
เคยได้ยินตำนานเล่าสืบ ๆ กันมาว่า รอยพระพุทธบาทที่สระบุรีนี้ “พรานบุญ” เป็นผู้ค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อปี พ.ศ. 2167 ในรัชสมัย พระเจ้าทรงธรรม แห่งกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ พรานบุญได้ติดตามกวางที่ตนเองยิงบาดเจ็บหนีหายเข้าไปในพุ่มไม้ แต่พอวิ่งกลับออกมาปรากฏว่า ตัวกวางไม่มีบาดแผลใด ๆ เลย เป็นที่น่าอัศจรรย์ จึงติดตามเข้าไปดูก็พบเห็นรอยพระพุทธบาทนี้เป็นรอยลึกเข้าไปอยู่ในเนื้อหินเหมือนรอยเท้ามนุษย์ แต่มีขนาดกว้างและใหญ่กว่ามาก คือมีส่วนกว้าง 21 นิ้ว ยาว 5 ฟุต ลึก 11 นิ้ว และมีน้ำขังอยู่เต็ม พรานบุญเห็นดังนั้นจึงวักน้ำนั้นมาล้างหน้าและล้างมือ ปรากฏการณ์อันมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้น ร่างกายพรานบุญซึ่งเป็นโรคเรื้อนทั้งตัวก็หายจนหมดสิ้น
ปัจจุบันมีการสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นเหนือรอยจริง แล้วสร้างมณฑปเป็นที่ประดิษฐานไว้อย่างสวยงาม สำหรับเป็นที่เคารพสักการะของชนทั่วไป แล้วจัดให้มีงานเทศกาลไหว้พระพุทธบาทใน กลางเดือน 3 ถึง กลางเดือน 4 ระหว่างตรุษจีน ทุกปีเป็นเวลาถึง 1 เดือน นับว่าเป็นงานใหญ่ที่มีพระภิกษุสามเณรและชาวพุทธศาสนิกชนจากทั่วทุกสารทิศเดินทางไปกราบไหว้กันมาก เพราะมีความเชื่อถือกันมาช้านานแล้วว่า “ได้ไหว้พระพุทธบาท สระบุรี 7 ครั้ง ตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์”
ส่วน พระพุทธฉาย ก็นับเป็นปูชนียะสถานสำคัญอันควรแก่การเคารพสักการะอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีตำนานเล่าสืบ ๆ กันมาช้านานว่า พระพุทธเจ้า เคยเสด็จมายังที่แห่งนี้ แล้วแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นิมิตกายของพระองค์ติดไว้ที่หน้าผาเพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยแลเห็นเป็นเงาสีแดง ของขอบรอบนอกเหมือนองค์พระพุทธรูปสูงประมาณ 5 เมตร ปัจจุบันได้สร้างวัดพระพุทธฉายขึ้นบริเวณเชิงเขาและมีบันไดทางขึ้นไปสู่หน้าผาพระพุทธฉาย พุทธศาสนิกชนจึงไปกราบไหว้กันซึ่งมีงานเทศกาล กลางเดือน 3 ถึงกลางเดือน 4 เช่นเดียวกับพระพุทธบาท

ความกตัญญูเป็นเลิศ
ในการออกธุดงค์ครั้งแรกของหลวงพ่อมีนี้ แทนที่จิตใจของท่านจะบังเกิดความสงบต่อความสงัดงดงามของธรรมชาติภายในป่าเขาลำเนาไพร แต่ดวงจิตของท่านกลับร้อนรุ่มวุ่นวาย หาความสงบสบาย ไม่ได้เลยแม้แต่น้อย ทั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากท่านมีความเป็นห่วงเป็นใยในโยมมารดาของท่านเป็นอย่างมาก เกรงว่าเมื่อหนีท่านมาอย่างนี้แล้วจะไม่มีผู้ช่วยเหลือโยมมารดาทำไร่ไถนา แต่ถ้าจะกลับไปท่านต้องขอร้องให้สึก ไปช่วยทำนาอย่างแน่นอน แล้วการที่ตนจะบวชอุทิศส่วนกุศลไปให้กับโยมบิดาที่เพิ่งถึงแก่กรรมไปนาน ๆ คงจะไม่สมกับความตั้งใจเป็นแน่
เมื่อยิ่งคิดก็ยิ่งมีแต่ความสับสนวุ่นวายใจ เรียกว่าตลอดเวลา 2 เดือนเศษ ที่ออกธุดงค์มานั้นหาความสุขใจไม่ได้เลยแม้แต่เพียงวันเดียว แต่พอได้จากโยมมารดามานานจึงทำให้คิดขึ้นมาได้ว่า ควรจะกลับไปช่วยโยมที่มีชีวิตอยู่ เพื่อช่วยท่านทำไร่ไถนาและเลี้ยงดูท่านเป็นการทดแทนพระคุณจะดีกว่า แม้ว่าท่านจะให้ลาสิกขาก็ยอม
ดังนั้นหลวงพ่อมีจึงตัดสินใจบอกความจำเป็นกับหลวงตาปลั่ง และพระภิกษุที่ร่วมธุดงค์ไปด้วยกัน ซึ่งทุกท่านก็มีความเห็นใจจึงพร้อมใจกันถอนกลด เดินทางกลับสู่วัดมารวิชัยในเช้าวันรุ่งขึ้น

ดีใจสุดชีวิต
คณะธุดงค์กลับถึงวัดเมื่อปลายเดือน 3 ในปี พ.ศ. 2476 โยมมารดาของหลวงพ่อมีดีใจมากที่ท่านจะกลับมาช่วยทำงาน แต่ท่านก็มีความเข้าใจในกุศลและเจตนาของหลวงพ่อมีอย่างลึกซึ้งว่า ท่านตั้งใจอยู่ในสมณะเพศ โดยไม่ใช่บวชหนีงาน แต่เป็นการบวชอุทิศเพื่อต้องการแผ่กุศลผลบุญให้กับโยมบิดา ซึ่งหาได้ยากยิ่งที่จะมีบุตรกตัญญูเช่นหลวงพ่อมีภายในหมู่บ้านนี้ โยมมารดาจึงมีความยินดีอนุโมทนาสาธุ อนุญาตให้หลวงพ่อมีครองเพศบรรพชิตต่อไป โดยกล่าวว่า “เมื่ออยู่ได้ ก็อยู่ไปนาน ๆ ไม่ต้องเป็นห่วงแม่ ไร่นาแม่จะทำแต่น้อยให้พอกินพอใช้เท่านั้น”
จากคำพูดเพียงสั้น ๆ ของโยมมารดา ทำให้หลวงพ่อมีบังเกิดความปิติตื้นตันใจอย่างบอกไม่ถูก ซึ่งท่านบอกว่า ตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวตน ไม่เคยมีความดีใจอย่างใหญ่หลวงเท่ากับความดีใจ ครั้งกระนั้นเลย ดังนั้นหลวงพ่อมี จึงตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยด้วยตนเอง พร้อมกับไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อปานวัดบางนมโค เพื่อศึกษาพระเวทวิทยาคม การรักษาโรค ตลอดทั้งการปฏิบัติสมถะ และวิปัสสนากรรมฐานอยู่ 5 ปี ซึ่งในระหว่างเข้าพรรษาก็กลับมาเข้าพรรษาที่วัดมารวิชัยตามเดิม
ส่วนเวลากลางวันก็มาช่วยหลวงพ่อปานรักษาโรคคนไข้บ้าง ติดตามท่านไปสร้างกุฏิวิหารยังวัดอื่นๆ บ้าง ช่วยสร้างเขื่อนที่หน้าวัดบางนมโคบ้าง เพราะระยะทางจากวัดบางนมโคและวัดมารวิชัยไม่ไกลเท่าใดนัก การเดินทางไปกลับก็สะดวกพอสมควร และเมื่อถึงคราวออกพรรษารับกฐินเรียบร้อยแล้ว ก็กราบลาหลวงพ่อปาน และหลวงพ่อจงก่อนออกธุดงค์ทุกปี

การธุดงค์ครั้งที่ 2
ปลายปี พ.ศ. 2476 หลวงพ่อมีติดตามหลวงตาปลั่งออกธุดงค์ไปเขาวงพระจันทร์ ลพบุรี เป็นการออกธุดงค์ครั้งที่ 2 ซึ่งคราวนี้ภายในดวงจิตของท่านไม่มีสิ่งใดต้องคอยห่วงกังวลอีกแล้ว การออกจาริกแสวงบุญ เพื่อหาความสงัดวิเวกของท่านจึงเป็นการค้นหาสัจจะธรรมอันแท้จริงของมนุษย์ เพื่อให้ดวงจิตบังเกิดมีศีล คือรู้จักการละซึ่งอาสวะแห่งกิเลสให้เบาบางลง จนบริสุทธิ์หลุดพ้นจาก วัฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิดต่อไป อีกทั้งยังเป็นการบำเพ็ญตบะให้สมาธิจิตมีพลังกล้าแข็งแก่กล้ายิ่งขึ้น
ดังนั้น การที่จิตใจของหลวงพ่อมี ไม่มีอะไรต้องเป็นห่วงกังวล ท่านจึงปฏิบัติธรรมทางจิตใจได้ผลก้าวหน้าดีอย่างเกินคาด ประกอบกับท่านสำเร็จอสุภกรรมฐานมาใหม่ ๆ ท่านจึงใช้เวลาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นขณะที่กำลังเดิน นั่งพักผ่อน หรือจำวัด ภายในกลดยามค่ำคืน หลวงพ่อมี ได้กำหนดอารมณ์ภาวนาอานาปานา นุสสติกรรมฐาน คือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกพร้อมกับภาวนาว่า “พุท-โธ” อยู่ตลอดเวลา ควบคู่กับการพิจารณาขันธ์ 5 และกำหนดนิมิตเทียบเคียง แห่งซากอสุภ มาเป็นกสิณ เปรียบเทียบกับร่างกายของตนเองอยู่ทุกขณะจิต

เป็นพระอาจารย์นำธุดงค์
ในปลายปี พ.ศ. 2477 หลวงพ่อมีออกธุดงค์เป็นครั้งที่ 3 มาคราวนี้หลวงตาปลั่ง ไม่ได้เป็นผู้นำทางเพราะท่านชราภาพมาก เนื่องจากมีอายุถึง 70 ปีแล้ว หลวงพ่อมีจึงต้องเป็นอาจารย์นำคณะธุดงค์ไปยังเขาวงพระจันทร์ จังหวัดลพบุรีอีกครั้ง การได้เป็นผู้นำไปธุดงค์คราวแรกของหลวงพ่อมี พระภิกษุร่วมคณะยังไม่ค่อยจะเชื่อใจท่านเท่าใดนัก เพราะมีพรรษาวัยแค่ 3 พรรษาเท่านั้น รวมพระภิกษุในคณะธุดงค์ครั้งนั้น 5 องค์ด้วยกัน
เหตุการณ์ทุกอย่างเป็นปกติ

ผจญช้างแม่ลูกอ่อน
แต่แล้วเหตุการณ์อันไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อคณะธุดงค์กำลังเข้าสู่แนวป่าทึบก็ประจันหน้าเข้ากับช้างแม่ลูกอ่อนอย่างกระชั้นชิด
ช้างซึ่งมีลูกอ่อนตามมาด้วย หยุดชะงักชูงวงขึ้นพุ่งตัวสู่พระธุดงค์ทั้ง 5 ด้วยความประสงค์ร้าย จึงทำให้พระธุดงค์ที่ร่วมคณะหลวงพ่อเผ่นหนีเข้าข้างทางด้วยความอกสั่นขวัญแขวน ส่วนหลวงพ่อมีจะเลี่ยงหลบเข้าข้างทางก็ไม่ทัน เพราะยืนใกล้ช้างมากที่สุด ท่านจึงยืนสำรวมจิต เผชิญหน้ากับช้างแม่ลูกอ่อน นิ่งอยู่อย่างนั้นประมาณ 10 นาที พลังจิตและเวทวิทยาคมที่ร่ำเรียนมาใช้ได้ผล ช้างแม่ลูกอ่อนซึ่งธรรมชาติวิสัยอันดุร้ายก็ค่อย ๆ ถอยกลับไปทางริมป่า ไม่ทำอันตรายหลวงพ่อมีที่ยืนบริกรรมพระคาถา เป็นการเปิดทางให้พระธุดงค์ไปกันก่อน แล้วจึงพาลูกน้อยค่อย ๆ เดินทางไปภายหลัง

เริ่มมีชื่อเสียงตั้งแต่พรรษา 3
พระธุดงค์ไปถึงจุดหมายปลายทาง คือ เขาวงพระจันทร์ จ.ลพบุรีแล้วกก็เดินธุดงค์กลับวัดมารวิชัย โดยไม่มีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นอีก เมื่อเดือน 5 ของต้นปี พ.ศ. 2478 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา กิตติศัพท์การมีวิทยาคมแก่กล้าของหลวงพ่อมีที่สามารถปราบช้างแม่ลูกอ่อนให้เกรงกลัว จึงเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทั้ง ๆ ที่หลวงพ่อมีอุปสมบทเป็นพระภิกษุมาได้แค่ 3 พรรษาเท่านั้น ดังนั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว พอหลวงพ่อมีประกาศว่าปีนี้จะธุดงค์ไปกราบนมัสการ พระบรมสารีริกธาตุที่ดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ จึงมีพระภิกษุทั้งภายในวัดมารวิชัยและวัดที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งมีความเชื่อถือในวิทยาคมของหลวงพ่อมี ขอติดตามท่านไปด้วยเป็นจำนวนมากถึง 25 องค์ด้วยกัน
ก่อนที่หลวงพ่อมีจะเป็นอาจารย์นำพระภิกษุทั้งหลายออกธุดงค์ หลวงพ่อปาน ได้ถ่ายทอดวิชา “ร่มโพธิ์” ให้ใช้คุ้มคน ตลอดทั้งพระเวทวิทยาคมและเคล็ดลับอันสำคัญในการถือรุกขมูลต่าง ๆ ภายในป่าเขาลำเนาไพร แก่หลวงพ่อมีจนหมดสิ้นความรู้ เมื่อพระธุดงค์ทั้ง 25 องค์ ได้รับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์จากหลวงพ่อปาน และ หลวงพ่อจงแล้ว คณะธุดงค์ก็เริ่มออกเดินด้วยเท้าเปล่าไป จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีระยะทางเกือบพันกิโลเมตร ในปลายปี พ.ศ. 2478

พบเสือโคร่งเฝ้าศาล
คณะธุดงค์เดินทางออกจากอยุธยามุ่งตรงไปยังจังหวัดสระบุรี เมื่อนมัสการ พระพุทธฉาย แล้วก็เลยไปนมัสการพระพุทธบาท จากนั้นก็เข้าเมืองลพบุรีสู่เทือกเขาวงพระจันทร์ ที่อำเภอโคกสำโรง โดยไม่พบกับเหตุการณ์อันน่าตื่นเต้นใด ๆ ตลอดทางมาจนถึงเชิงเขาสาริกา ณ อำเภอบ้านหมี่ ชาวบ้านในละแวกนั้นเห็นพระธุดงค์พากันมาปักกลดที่เชิงเขาอยู่ที่หน้าศาลเจ้าแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นบริเวณกว้างขวาง จึงมาตักเตือนพระธุดงค์ทั้งหลายด้วยถ้อยคำและท่าทีที่มีความเคารพ เกรงกลัวขึ้นว่า ม้าขาว ของเจ้าพ่อที่เฝ้าศาลนี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ในตอนกลางคืนมักปรากฏตัวออกมาเดินหน้าศาลอยู่เสมอ พระธุดงค์ที่ผ่านมาปักกลดหน้าศาลนี้ต้องทิ้งกลดเผ่นหนีในกลางดึกมามากแล้ว ขนาดชาวบ้านละแวกนี้ ยังไม่กล้าออกมาเดินหลังจากที่พระอาทิตย์ตกดินแล้ว หลวงพ่อมีทราบเรื่องจึงกล่าวเตือนบรรดาพระภิกษุทั้งหลายว่า คืนนี้ต้องมีความสำรวมให้มากและต้องเจริญภาวนาพระกรรมฐานให้หนัก เพราะว่าท่านจะขอชมบารมี
ดังนั้นพระธุดงค์ทุกองค์จึงใจคอไม่ค่อยดีนัก เมื่อรู้ว่าคืนนี้จะต้องพบกับเสือโคร่งที่เฝ้าศาล จึงเข้ากลดไปนั่งสมาธิภาวนากันเงียบกริบด้วยความสำรวมตั้งแต่ยังหัวค่ำ
ตกดึกของคืนวันนั้น สภาพบริเวณศาลเจ้าเงียบสงัดปราศจากเสียงร้องของสัตว์ใด ๆ นอกจากเสียงจักจั่น เรไร และเสียงจิ้งหรีดร้อง แล้วนาน ๆ ถึงจะได้ยินเสียงสุนัขเห่าหอนมาแต่ไกล ประกอบอากาศอันหนาวเย็นยะเยือกยามหน้าหนาว ยิ่งทำให้บรรยากาศบริเวณนั้นเพิ่มความวังเวงอย่างน่าสะพรึงกลัวจนจับขั้วหัวใจพระธุดงค์ ที่กำลังเจริญภาวนาอยู่ภายในกลด
โฮก...!
ทันใดนั้น เสียงคำรามของเสือ ก็ดังกึกก้องขึ้นทำลายความเงียบ ทำให้พระธุดงค์ทุกองค์สะดุ้งตกใจไปตาม ๆ กัน หลวงพ่อมีนั่งทำสมาธิภาวนานิ่งเฉยโดยปราศจากอารมณ์หวั่นไหว มองลอดกลดออกไปที่หน้าศาลก็เห็นเสือโคร่งขนาดใหญ่ค่อย ๆ เดินปรากฏตัวออกมา ร่างพญาเสือโคร่งกระทบกับแสงเดือนที่ขึ้นเหนือยอดต้นไผ่ จนตัวขาวโพลน แลดูแล้วคล้ายกับม้าขาวตัวใหญ่ไม่ผิดจากคำเล่าลือของชาวบ้าน พญาเสือโคร่งเดินวนไปมาที่ลานกว้างหน้ากลดหลวงพ่อมี อยู่ 3 รอบ จึงค่อย ๆ ย่างเดินอย่างน่าเกรงขามเข้าไปในศาล สักครู่หนึ่งต่อมาเสียงคำรามก็ค่อย ๆ เงียบหายไปในที่สุด
หลวงพ่อมี เล่าเหตุการณ์ที่ท่านนำพระภิกษุออกธุดงค์มาพบเสือโคร่งที่เชิงเขาสาลิกามาถึงตอนนี้แล้ว ก็หัวเราะก่อนเล่าต่อไปว่า “พอเสือเดินหายเงียบเข้าไปในศาลแล้ว ฉันก็หันไปมองข้างหลัง...พระที่ตามฉันไปถอดกลดกันเกือบหมด...บางองค์ตั้งท่าเตรียมสู้...บางองค์ก็เตรียมเผ่นหนีหน้าตื่นกันไปหมด...ฉันก็เลยหัวเราะบอกว่า ปัดโธ่เอ๊ย หลวงพ่อเจ้าพ่อท่านมาให้ชมบารมีท่านไม่ทำร้ายเราหรอก จะไปสู้อะไรกับท่านได้”

พบปาฏิหาริย์หลวงพ่อกบ
ในเวลาเช้า ณ เขาสาริกา พระธุดงค์ที่นำโดยหลวงพ่อมีได้เตรียมตัวที่จะออกบิณฑบาตกันตามปกติ ขณะนั้นมีชายชราผู้หนึ่งแต่งกายด้วยชุดขาวล้วน ๆ มาบอกว่า หลวงพ่อกบให้มานิมนต์พระคุณเจ้าทุกองค์ขึ้นไปฉันเช้าบนถ้ำเขาสาริกา หลวงพ่อมีจึงนำพระภิกษุทั้งหลายติดตามตาผ้าขาวขึ้นเขาในทันที เพราะเคยได้ยินชื่อเสียงของหลวงพ่อกบ ทั้งยังมีความตั้งใจจะขึ้นไปกราบนมัสการท่านอยู่ก่อนแล้ว
เมื่อพระธุดงค์ทั้งหมดขึ้นไปถึงก็ต้องแปลกใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะภาพที่เห็นหลวงพ่อกบ ท่านได้จัดสำรับข้าวและแกงเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว โดยไม่ทราบว่าท่านไปหามาจากไหนในเวลาอันเช้าตรู่เช่นนี้ พอฉันเสร็จก็พากันไปนมัสการหลวงพ่อกบ ซึ่งแต่งกายด้วยผ้าอังสะ กำลังนั่งยอง ๆ เอาสิ่งของโยนใส่กองไฟ เมื่อเข้าไปกราบหลวงพ่อกบ ท่านก็นั่งเฉยไม่เป็นธุระเอาแต่เผาไฟอยู่อย่างเดียว... ฉันจึงกราบท่านหลวงพ่อครับผมขอให้หลวงพ่อช่วยแนะนำทางธรรมบ้าง ท่านจึงหันมายิ้มแล้วพูดว่า.. “เรียนมากับหลวงพ่อปานนั่นดีแล้ว...ถูกแล้วปฏิบัติตามพระพุทธองค์ท่านไว้”...ดูซิฉันยังไม่ทันได้บอกท่านเลยว่าเป็นศิษย์ของหลวงพ่อปาน ท่านก็สามารถรู้ล่วงหน้าก่อนแล้ว... ต่อจากนั้น ท่านก็แนะนำหลักปฏิบัติธรรมบางอย่างให้และพูดถึงเรื่องการ เผาไฟของท่านว่า... “มันเป็นการเผากิเลสนะ...อ้ายพวกนั้นมันไม่เคยเห็นก็เลยตื่นกันใหญ่...เราจะทำยังไง ที่ไหน มันก็เหมือน ๆ กันทั้งนั้น มันอยู่ที่ใจ...” พอท่านพูดจบก็นั่งเฉยนิ่งไม่พูดไม่จากับใครอีก ฉันไม่อยากรบกวนการปฏิบัติธรรมของท่านก็เลยกราบลาท่านลงจากเขาไป หลวงพ่อมีเล่าเหตุการณ์ในระหว่างการเดินธุดงค์ไปพบหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา และโชคดีได้ศึกษาหลักปฏิบัติธรรมบางประการจากท่านมาโดยบังเอิญ

เมื่อพระธุดงค์หลงป่า
“พอออกจากจังหวัดลพบุรีแล้ว ก็เข้าจังหวัดนครสวรรค์เดินขึ้นเหนือไปเรื่อย ๆ...คราวนี้ไปถึงไหนก็ไม่รู้ เพราะเกิดหลงป่าไม่รู้ทางไป ก็ได้อาศัยถามชาวบ้านบ้าง แต่ก็เดินมุ่งขึ้นเหนือเรื่อยไป... บางวันก็ไม่พบเห็นแสงเดือนแสงตะวัน เพราะมันเป็นป่าทึบไปหมด...แต่เพราะบารมี หลวงพ่อปานและหลวงพ่อจง คอยคุ้มครอง จึงไม่มีพระธุดงค์องค์ใดพบกับอันตรายใด ๆ เลย นอกจากบางครั้งจะผิดข้าวผิดน้ำบ้างเท่านั้น...มีบางทีพระเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ช่วยแก้ไขรักษากันไปตามมีตามเกิด... ก็พักรักษาตัวตามโรงทานบ้าง มีชาวบ้านช่วยกันบ้าง บางวันได้อาหารมาก็ถวายพระแบ่งกันฉัน บางทีก็ไม่ได้ฉันมาตั้ง 3-4 วัน ก็เคยอยู่บ่อย ๆ” หลวงพ่อมีเล่าเหตุการณ์หลงป่าเมื่อคราวนำพระภิกษุออกธุดงค์แสวงบุญไปจังหวัดเชียงใหม่ “เคยขอบิณฑบาตกับรุกขเทวดาอยู่บ่อย ๆ ถ้าวันไหนบิณฑบาตไม่ได้ก็เอาบาตรไปแขวนกับต้นไม้ไว้...ก็ไม่เคยได้ข้าวปลาอาหารจริง ๆ จากรุกขเทวดาตามที่มีคนเขาเล่ากัน แม้แต่เพียงครั้งเดียว...หลวงพ่อปานท่านสอนว่า “มันเป็นเคล็ด” ถ้าวันไหนบิณฑบาตไม่ได้ให้เอาบาตรไว้กับต้นไม้...สักครู่หนึ่งก็เอาบาตรนั้นมาล้างน้ำ แล้วเอาน้ำในบาตรนั้นมาฉันเพียงแค่นั้นมันก็รู้สึกอิ่มไปทั้งวันแล้ว...หลวงพ่อปานท่านสอนให้เอาเคล็ดอย่างนั้น ก็มีกำลังวังชาเดินได้ตลอดทั้งวัน โดยไม่มีอาการหิวโหยเลย...”

เด็กหญิงประหลาดใส่บาตร
มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อมีอาราธนาขอชมบารมีเจ้าป่าเจ้าเขาให้มาใส่บาตรตามหลวงพ่อมีไป ท่านได้กล่าวตักเตือนพระภิกษุทั้งหลายให้รู้ตัวล่วงหน้าว่า ถ้าเช้าวันนี้พบเห็นอะไรแปลก ๆ อย่าได้พูดวิพากษ์วิจารณ์อะไร หรือถ้ามีผู้มาใส่บาตรก็อย่าไปทักหรือถามไถ่อย่างเด็ดขาด ให้ตั้งสติสำรวมกาย วาจา ใจ ยึดมั่นอยู่แต่คำภาวนาให้มาก ๆ เข้าไว้ ถ้าเอาเหตุการณ์ที่พบเห็นมาพูดคุยกันแล้ว ต่อไปจะไม่ได้พบเห็นอีก
เมื่อหลวงพ่อมีกล่าวซักซ้อมกับพระภิกษุทั้งหลายจนเข้าใจดีทุก ๆ องค์แล้ว ท่านก็ออกเดินบิณฑบาตนำหน้าเข้าไปในป่าลึก ซึ่งตลอดทางเป็นป่าดงดิบปราศจากบ้านของผู้คนแม้แต่หลังคาเรือนเดียวก็ไม่มี เช้าวันนั้นพระธุดงค์ทุกองค์ออกเดินด้วยลักษณะอันสำรวมยิ่งกว่าทุก ๆ วัน แต่เวลาได้ผ่านไปเกือบ 2 ชั่วโมง ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะพบกับผู้คนเลย เมื่อยิ่งเดินไปก็ยิ่งเข้าป่าลึกและยิ่งทึบขึ้นทุกที จนแทบจะไม่มีทางเดินต่อไปได้อีกแล้ว
ทันใดนั้น สายตาของหลวงพ่อมีก็เห็นเด็กผู้หญิงเล็ก ๆ ไว้ผมจุกอายุประมาณ 12 ปี แต่งกายปอน ๆ แบบชาวบ้านป่าโดยทั่วไป ยืนถือขันข้าวอยู่ข้างหน้าเพื่อคอยใส่บาตร หลวงพ่อมีมองเห็นแล้วก็ทราบแก่ใจดีว่าลักษณะของเด็กหญิงประหลาดนั้น ไม่ใช่เป็นมนุษย์ธรรมดาอย่างแน่นอน แต่ท่านก็ไม่ได้เอามาใส่ใจ คงเดินอย่างสำรวมตรงเข้าไปรับข้าวอย่างปกติ แล้วเดินอ้อมกลับออกมาให้พระภิกษุที่ยืนต่อแถวจากท่านได้รับบ้างอย่างสะดวก โดยไม่ได้เหลียวหลังกลับมามองดูให้เสียกิริยาเลยแม้แต่น้อย
หลวงพ่อมีเล่าว่า “พอฉันเดินเข้าไปใกล้เด็กผู้หญิงผมจุกนั้น พอได้กลิ่นหอมของข้าวเข้าเท่านั้น ก็รู้สึกหายหิวทันที...เด็กผมจุกตักข้าวเปล่า ๆ ใส่บาตรพระด้วยกิริยามารยาทอันเรียบร้อยองค์ละทัพพีเดียวเท่านั้น แต่ไม่มีกับข้าวอย่างอื่นอีก...เมื่อพระทั้งหมดกลับมาฉันแล้วก็รู้สึกว่า ข้าวนั้นมีสีขาวและเม็ดใหญ่กว่าปกติ เวลาตักใส่ปาก ก็หอมนุ่มนวลอย่างไม่เคยฉันมาก่อนเลย...พอฉันเสร็จแล้วรู้สึกอิ่มไปตลอดทั้งวันเลยทีเดียว”
“พระที่ติดตามฉันไปเห็นเป็นเรื่องแปลกประหลาดที่จู่ ๆ ก็มีเด็กผู้หญิงเล็ก ๆ มาใส่บาตรกลางป่าลึก ทั้ง ๆ ที่ไม่มีบ้านคนอยู่ในละแวกนั้นเลย...ก็เลยเผลอตัวลืมคำตักเตือนของฉัน เดินวิพากษ์วิจารณ์กันมาตลอดทาง บ้างก็ว่าเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นเจ้าป่าเจ้าเขายุ่งกันไปหมด...ฉันจะหันไปห้ามปรามก็ไม่ได้ เพราะต้องคอยสำรวมใจ ควบคุมสติและอารมณ์อยู่ทุกขณะลมหายใจเข้า ออก...ถ้าหันกลับไปพูดว่าพระท่านแล้วอาจจะเสียอารมณ์ภาวนาได้...อาจจะทำให้เสียการณ์เกิดอันตรายขึ้นกับพระท่านได้ ก็เลยปล่อยเลยตามเลย...ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ไม่เคยพบเห็นสิ่งแปลก ๆ อะไรอีกเลย”
ฉะนั้น ในการออกธุดงค์ของหลวงพ่อมีในครั้งต่อไป หลวงพ่อปานจึงบอกให้ท่านธุดงค์เพียงองค์เดียว เพื่อเป็นการทดสอบจิตใจว่า เมื่อเดินธุดงค์เพียงองค์เดียว โดยไม่มีเพื่อนร่วมทางแล้ว จะมีความกล้าพอหรือไม่นั่นเอง
ในที่สุดคณะธุดงค์ก็รอนแรมมาถึงจุดหมายปลายทางคือ ดอยสุเทพ เชียงใหม่ และเมื่อได้กราบไหว้ พระบรมสารีริกธาตุ บนดอยสุเทพแล้วก็เดินทางกลับวัดมารวิชัย เหตุการณ์ตอนขากลับนี้ ตลอดทางไม่มีเรื่องราวอะไรที่น่าตื่นเต้นควรแก่การนำมาเล่า จึงขอรวบรัดตัดตอนผ่านไป ซึ่งกว่าจะกลับถึงวัดมารวิชัยก็เป็นเวลาเกือบถึงเทศกาลเข้าพรรษาในปี พ.ศ. 2479 เป็นการออกธุดงค์ครั้งนี้นานนับ 8 เดือนทีเดียว
ดังนั้นเมื่อพระธุดงค์ทั้งหลายเดินทางกลับสู่วัดมารวิชัยโดยสวัสดิภาพ ไม่มีพระภิกษุรูปใดได้รับอันตรายจากการบุกป่าฝ่าดง ซึ่งมีแต่ภัยอันตรายต่าง ๆ นา ๆ รอบด้านเลยแม้แต่น้อย กิตติศัพท์ความมีวิทยาคมแก่กล้าของลูกศิษย์หลวงพ่อปานที่สามารถให้ความคุ้มครองพระทุกองค์เดินธุดงค์ไปกลับจากเชียงใหม่โดยปลอดภัยในครั้งนี้ จึงเป็นที่เลื่องลือไปทั่วภายในเขตบ้านแพนสมัยนั้น ชื่อเสียงของหลวงพ่อมีจึงมีผู้คนกล่าวขวัญถึงอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น แต่แทนที่หลวงพ่อมี จะดีใจหรือหลงระเริงลืมตัวกับคำสรรเสริญเยินยอต่อคำกล่าวชมของชาวบ้านทั้งหลาย ท่านกลับออกตัวพูดอย่างถ่อมตนว่า เหตุที่เดินทางโดยปลอดภัยในครั้งนี้ เป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อปานและหลวงพ่อจงที่คอยคุ้มครองปกป้องโดยแท้

ธุดงค์พบหลวงพ่อแช่ม
หลังจากออกพรรษาในปลายปี พ.ศ. 2479 ก็กราบลาหลวงพ่อปานและหลวงพ่อจงก่อนออกธุดงค์เช่นเคย แล้วแบกกลดถืออัฐบริขารเดินดุ่มไปเพียงลำพัง ไปยังจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นการธุดงค์ครั้งที่ 5 ของท่าน การเดินทางตั้งต้นที่อยุธยา นนทบุรี เข้าสู่นครปฐม จึงได้มีโอกาสไปกราบนมัสการและเล่าเรียนเวทบางประการกับ หลวงพ่อแช่ม ที่วัดตาก้อง ซึ่งกำลังมีชื่อเสียงอยู่ในเวลานั้น
“ปฏิปทาของท่านก็งดงามดีแล้ว แต่แปลกตรงที่ปลูกผักทำสวนครัวเองเท่านั้น และก็รู้สึกว่าชาวบ้านในละแวกนั้นให้ความเคารพนับถือยำเกรงท่านเป็นอย่างดีทุก ๆ คน...”
หลวงพ่อมีได้ศึกษาหลักปฏิบัติธรรมภาวนาและวิชาบางประการกับหลวงพ่อแช่มอยู่ 1 คืน พอวันรุ่งขึ้นเมื่อฉันเช้าเรียบร้อยแล้วก็กราบลาหลวงพ่อแช่มออกจากวัดตาก้องใฝ่แสวงหาความสงัดวิเวกทางจิตต่อไป โดยมุ่งเข้าสู่จังหวัดกาญจนบุรี ไปสังขละบุรีจนถึงด่านพระเจดีย์ 3 องค์ ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนพม่า จากนั้นหลวงพ่อมีก็เดินอ้อมเข้าจังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี แล้วก็ถึงอยุธยากลับเข้าวัดมารวิชัย เมื่อกลางเดือน 6 ของปี พ.ศ. 2480
การถือรุกขมูลเพียงลำพังเป็นครั้งแรกของหลวงพ่อมีนี้ ภายในดวงจิตของท่านปราศจากความหวาดกลัวต่อภัยอันตรายใด ๆ เลยแม้แต่น้อย ท่านบอกว่า “จะเป็นจะตายก็ช่าง เพราะชีวิตนี้ได้อุทิศตนให้แก่บวรพุทธศาสนาหมดสิ้นแล้ว” ดังนั้นหลวงพ่อมีจึงไม่มีความหวั่นไหวแต่ประการใด ซึ่งท่านได้กล่าวเปิดเผยว่า การเดินธุดงค์เพียงลำพังองค์เดียวยังดีกว่าไปกันหลาย ๆ องค์เสียอีก เพราะไม่ต้องไปคอยห่วงพะวงถึงความเป็นอยู่และความปลอดภัยของผู้อื่น อันเป็นภาระรับผิดชอบที่หนักหนาไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะประการที่สำคัญยิ่งก็คือ
การปฏิบัติธรรมภาวนาแต่ลำพัง ทำให้ดวงจิตได้รับความสงบจากความสงัดวิเวกได้เป็นสุขดียิ่งกว่าการปฏิบัติกับหมู่คณะหลาย ๆ องค์ นี่คือเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ อันเป็นประสบการณ์ของหลวงพ่อมี ซึ่งมีค่าต่อนักปฏิบัติที่กำลังใฝ่หาความจริงกันอย่างยิ่ง ก็ขอฝากเป็นข้อคิดสำหรับนักปฏิบัติที่มีความตั้งใจต้องการจะเอาดีกันจริง ๆ ไม่ใช่สักแต่ว่าจะปฏิบัติอวดชาวบ้าน ทดลองทำดูเล่น ๆ หรือทำตามเพื่อนแบบพวกมากลากกันไปเท่านั้น !

วิญญาณหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยนอก จ.สมุทรปราการ
ปลายปี พ.ศ. 2480 อันเป็นการรุกขมูลครั้งสุดท้ายของหลวงพ่อมี ในเช้าวันหนึ่งขณะที่หลวงพ่อมีเตรียมหาสถานที่ปักกลด ก็มาพบกับขบวนพระธุดงค์คณะหนึ่ง ซึ่งต้องกล่าวว่าเป็น “ขบวนธุดงค์” เพราะเหตุว่า มากันเป็นหมู่คณะที่มีทั้งพระภิกษุ และแม่ชีมีจำนวนมากกว่าร้อยรูป กำลังปัดกวาดสถานที่สำหรับปักกลดอยู่ ณ ที่แห่งนั้นเช่นกัน
หลวงพ่อมีเห็นขบวนพระธุดงค์แล้ว บังเกิดความเลื่อมใสในตัวพระอาจารย์ที่เป็นหัวหน้าผู้ควบคุมพระภิกษุและแม่ชีนับร้อยรูป ออกธุดงค์ด้วยกิริยาอันสำรวมและมีวินัยอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยเช่นนี้ ท่านต้องไม่ใช่เป็นพระภิกษุธรรมดาอย่างแน่นอน
เมื่อดวงจิตของหลวงพ่อมี บังเกิดความสัมผัสอันประหลาดดังนี้แล้ว ท่านจึงสอดส่ายสายตามองหา ก็บังเอิญพบเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งมีลักษณะพิเศษ นั่งขัดสมาธิโดดเด่นอยู่บนโขดหินห่างจากกลุ่มพระธุดงค์ขึ้นไปทางเหนือ หลวงพ่อมีจึงเดินตรงไปกราบนมัสการท่านทันที
หลวงพ่อมีเล่าว่า ท่านยังจำลักษณะของพระภิกษุรูปนั้นได้ติดตา เพราะว่าท่านมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนใคร คือมีรูปกายสูงใหญ่ดุจคนโบราณ ห่มผ้าจีวรสีกรักมองดูดำทะมึน แต่ก็มีลักษณะราศีงดงามอย่างบอกไม่ถูก จนทำให้ภายในจิตใจของหลวงพ่อมี บังเกิดความเลื่อมใสท่านมากยิ่งขึ้น
“ผมมากราบนมัสการหลวงพ่อขอให้ช่วยแนะนำหลักการปฏิบัติธรรมกับผมบ้างครับ” หลวงพ่อมี เข้าไปกราบนมัสการท่านแล้ว เอ่ยปากขอเล่าเรียนธรรมปฏิบัติทันที โดยไม่มีการอ้อมค้อมตามแบบฉบับชอบพูดตรง ๆ ของท่านอย่างฉะฉาน หลวงพ่อองค์ใหญ่ยกมือขึ้นรับไหว้ แล้วพูดด้วยสำเนียงเสียงอันดังกังวานอย่างมีอำนาจขึ้นโดยไม่ได้ขยับตัวว่า
“ที่ท่านทำมานั่นดีแล้ว...ถูกต้องแล้ว ผมไม่มีอะไรจะสอนท่านอีก...ขอให้ท่านเจริญรอยตามพระพุทธองค์ท่านไว้...”
ว่าแล้วท่านก็สอนวิธีปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระนิพพานตามคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกำชับให้หลวงพ่อมีหมั่นเพียรปฏิบัติต่อไปจนถึงที่สุด เพื่อให้หมดสิ้นซึ่งอาสวะกิเลสทั้งมวล ไม่ติดอยู่ในสงสารวัฏอันเป็นการดับทุกข์ซึ่งมีแต่ความเป็นสุขยิ่งกว่าความสุขทั้งปวง
หลวงพ่อมีได้รับคำแนะนำสั่งสอนจากพระภิกษุรูปนั้นแล้ว พอสมควรแก่เวลาก็กราบลาท่าน และเมื่อเรียนถามชื่อของท่านแล้วก็ทราบโดยละเอียดว่าท่านเป็นใครมาจากไหน “ฉันชื่อปาน อยู่วัดคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ มาคอยคุ้มครองพระท่านออกรุกขมูล” พอหลวงพ่อมีทราบว่า ท่านคือหลวงพ่อปาน อยู่วัดคลองด่านเข้าเท่านั้น ก็รู้สึกแปลกใจ เพราะเคยได้ยินชื่อเสียงของท่านเป็นอย่างดี เพราะทราบว่าท่านถึงแก่มรณภาพไปนานแล้ว แต่หลวงพ่อมีก็ไม่ได้แสดงอาการแปลกใจให้เสียกิริยาตามที่หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านเคยกล่าวย้ำสั่งสอนเป็นนักเป็นหนาว่า
ถ้าพบเห็นสิ่งแปลก ๆ ในระหว่างรุกขมูลอย่าได้สงสัยไตร่ถามเป็นอันขาด มิฉะนั้นจะไม่ได้พบเห็นสิ่งลี้ลับอันมหัศจรรย์นั้นอีก และอย่าเก็บเอาสิ่งที่เห็นนั้นมาวิพากษ์วิจารณ์หรือเก็บเอามาคิดจนเสียเวลาภาวนา หลวงพ่อมีจึงกราบลาหลวงพ่อปานวัดคลองด่านแล้วถอยกลับมาเข้าสู่กลดของตนเอง กระทำสมาธิภาวนาตามกิจวัตรประจำวันเรื่อยไป จนถึงรุ่งเช้าก็ถอยกลด ออกเดินรุกขมูลต่อไป
ในภายหลังที่หลวงพ่อมีกลับถึงวัดและได้เล่าเรื่องราวที่ได้พบกับหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ให้กับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคฟัง จึงทราบว่า หลวงพ่อปาน วัดคลองด่านท่านถึงแก่กาลมรณภาพไปนานเกือบ 30 ปีแล้ว
มีผู้รู้ประวัติหลวงพ่อปาน วัดคลองด่านเป็นอย่างดีกล่าวว่า ดูจากลักษณะพระภิกษุที่หลวงพ่อมีพบแล้วอ้างว่าเป็นหลวงพ่อปาน อยู่วัดคลองด่านนั้น คงจะเป็นตัวท่านจริง ๆ เพราะตามประวัติวัดก็บอกไว้แล้วว่า หลวงพ่อปานท่านมีรูปร่างใหญ่โต และพูดจาเสียงดังฟังชัด ซึ่งจะเป็นหลวงพ่อปานองค์อื่นไปไม่ได้ เนื่องจากวัดคลองด่าน มีหลวงพ่อปานองค์นี้องค์เดียวเท่านั้น ที่มีรูปร่างสูง
ใหญ่เช่นนี้
ดังนั้น พระภิกษุที่หลวงพ่อมีกราบนมัสการ ระหว่างทางต้องเป็นดวงวิญญาณของหลวงพ่อปาน วัดคลองด่านที่มาคอยให้ความคุ้มครองศิษย์ของท่านทั้งหลาย ที่มาถือรุกขมูลตามที่ท่านบอกนั่นเอง ! ในการออกรุกขมูลของหลวงพ่อมีครั้งนี้ใช้เวลาแค่ 6 เดือนเท่านั้น ท่านก็เดินธุดงค์กลับเข้าวัดบางนมโค ก่อนที่จะเข้าวัดมารวิชัยเมื่อเดือน 6 ในปี พ.ศ. 2481 เนื่องจากหลวงพ่อมี ท่านเป็นห่วงอาการอาพาธของหลวงพ่อปาน เป็นอย่างมาก เพราะท่านเคยประกาศว่าจะถึงแก่มรณภาพภายในเดือน 8 ของปีนี้แล้ว

สิ้นสุดการออกธุดงค์
การถือธุดงค์ของหลวงพ่อมี 6 ครั้ง ต้องสิ้นสุดลงแค่ 7 ปีเท่านั้น (2475 – 2481) เพราะเดิมทีท่านได้ตั้งใจจะออกธุดงค์ตลอด 10 ปี แต่บังเอิญมีสาเหตุถูกตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดมารวิชัย ทำการบูรณะอุโบสถที่กำลังชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา จนพระภิกษุสงฆ์ทำสังฆกรรมไม่ได้ ให้มั่นคงถาวรยิ่งขึ้นสืบต่อไป

การสร้างพระเครื่อง
ในสมัยหลวงพ่อนิล วัดหน้าต่างใน น้องชายคู่บารมีขององค์ท่านหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนกอก เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ได้กล่าวคำทำนายอนาคตของหลวงพ่อมีต่อหน้าองค์ท่านหลวงพ่อจงไว้ว่า “หลวงพ่อมี จะมีชื่อเสียงเมื่ออายุมากแล้ว แต่จะค่อย ๆ มีชื่อเสียงเหมือนกับหลวงพ่อจง ไม่โด่งดังตูมตามเหมือนกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค” การที่หลวงพ่อนิล วัดหน้าต่างในกล่าวคำเปรียบเทียบหลวงพ่อมีดังนี้ เนื่องจากในยุคสมัยนั้น ชื่อเสียงกิตติคุณขององค์ท่านหลวงพ่อปาน โสนันโท แห่งวัดบางนมโค โด่งดังมากกว่าหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อีกทั้งยังมีลูกศิษย์ลูกหาหลัก ๆ มากกว่าหลวงพ่อจงเสียอีกด้วย สังเกตได้จากวิชาอาคมที่องค์ท่านหลวงพ่อมี นำมาใช้จึงมักจะเป็นวิชาจากหลวงพ่อปาน ส่วนพระเลขพระยันต์ ที่องค์ท่านหลวงพ่อมีใช้เป็นยันต์หลักประจำตัวตลอดมานั้น ท่านใช้ยันต์พระพรหม 4 หน้า ของหลวงพ่อเขียน พระอาจารย์หลวงน้า วัดบ้านพร้าวนอก ปทุมธานีผู้เรืองวิชา


แนบไฟล์:
047.jpg

ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 03 ต.ค. 2008 4:51 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 11:16 pm
โพสต์: 1786
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนากับคุณเอกนะครับ
ที่ได้มีส่วนในการประชาสัมพันธ์งานบุญของวัดมารวิชัย
แหม..เล่นลงประวัติหลวงปู่ซะละเอียดแบบนี้
แล้วผมจะเอาซีนไหนไปหากินได้ละครับ...
ถามหน่อยครับ เหรียญชุดนี้มีทั้งหมดกี่แบบ
และตอกโค๊ดอะไรครับ... :P


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 03 ต.ค. 2008 10:28 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 5:09 pm
โพสต์: 1368
ต้องไม่พลาดครับงานนี้


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 04 ต.ค. 2008 3:57 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
อนุโมทนาด้วยครับคุณเอก

ดูแล้วผมคิดถึงท่านเจ้าคุณนร ฯ เหมือนกันนะ ศิษย์ท่านเขาก็ทำแบบนี้

ใครได้เหรียญนี้เหมือนอยู่ใกล้ชิดท่านนะครับ

_________________
ถ้าเราไม่อยากได้อะไรจากใคร ก็จะไม่มีอะไรให้หมางใจกัน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 06 ต.ค. 2008 3:21 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 30 ก.ย. 2008 10:00 am
โพสต์: 634
ครับ เหรียญมี2แบบครับ แต่ที่จริงมีสี่แบบ แต่บุพโพของหลวงปู่ ติดเฉพาะเหรียญ พิมพ์หลวงปู่ศุข และหลวงพ่อฉุยครับ เหรียญรุ่นเบญจภาคีปี2539ครับ โยปรกติมี5พิมพ์
1.หลวงปู่ศุข
2.หลวงพ่อกลั่น
3.หลวงพ่อฉุย
4.หลวงพ่อคง
5.หลวงปู่เอี่ยม
สอบถามได้ที่ 081-4390852 เอก ครับ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO