นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 28 เม.ย. 2024 3:04 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 26 ต.ค. 2008 11:17 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 10:40 am
โพสต์: 369
เรื่องราวน่ารู้นี้ขอนำเสนอประวัติพระเครื่องอันเกี่ยวข้องกับในหลวงทั้งทางตรง (ดำริให้จัดสร้างด้วยพระองค์เอง) และทางอ้อม (เป็นรูปพระองค์ท่านหรือเสด็จเป็นประธานในพิธีพุทธาพิเศก)

1.พระสมเด็จจิตรดาหรือพระกำลังแผ่นดิน (ประวัติโดยว่าที่ ร้อยตรี นันทเดช โชคถาวร ในหนังสือพระสมเด็จจิตรดา)
05.jpg


ระยะเวลาสร้าง

ปี พ.ศ. 2508 ถึง พ.ศ. 2509 เป็นพระเครื่องเนื้อองค์สีน้ำตาลแก่ขนาด 2 - 3 ซ.ม. ความหนา 0.7 ซ.ม. (มวลสารมากแห้งและบาง)
ปี พ.ศ. 2510 เป็นพระเครื่องเนื้อองค์สีน้ำตาลแก่ น้ำตาลดำ เขียวคล้ายพระคง ขนาด 2 - 3 ซ.ม. หนา 0.8 ซ.ม. มีเกล็ดเม็ดผดตามองค์พระมาก
ปี พ.ศ. 2511 ถึง 2512 สีน้ำตาลแก่ หนามาก เนื้อค่อนข้างใสหนึกนุ่มสำหรับผู้ไปราชการรบที่เวียตนาม ใช้บล็อกตรายางทำ

พระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน เป็นพระเครื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ได้ทรงสร้างขึ้นด้วยพระองค์เอง ทรงใช้เวลาตอนดึก หลังทรงงาน หลังทรงพระอักษร เทพิมพ์ด้วยพระหัตถ์ มีเพียงเจ้าพนักงาน 1 คน คอยถวายพระสุธารส และหยิบสิ่งของถวาย ทรงพิมพ์พระตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 จนถึงปี พ.ศ.2512
ปลายปี พ.ศ. 2512 มีข่าวว่าพระองค์ทรงยุดสร้างพระสมเด็จจิตรลดา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรากตรำพระวรกาย การสร้างพระเครื่อง ใช้เวลาว่างจากพระราชกรณียกิจ ทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อนพระวรกาย ประกอบกับฝุ่นผงสารเคมี สีน้ำมัน ทินเนอร์ เรซิ่น พลาสติคเหลว ชันยาเรือ และน้ำมันสน ในการสร้างพระเป็นอันตรายต่อพระอนามัยของพระองค์ แพทย์หลวงประจำพระองค์ จึงได้กราบบังคมทูลถวายคำแนะนำให้ทรงงดเว้นการสร้างพระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมิได้พระราชทานแก่ผู้ใดเป็นกิจลักษณะ นอกจากเป็นกรณีพิเศษ ประมาณว่า มีผู้ที่ได้รับพระราชทานเพียง 2,000 – 2,500 คน ก็นับว่าเป็นโชคดี สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณเป็นที่สุด โดยตั้งมั่นที่จะสนองพระราชปณิธานรับใช้ชาติบ้านเมือง ประชาชนเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยังความเจริญรุ่งเรืองให้กับ ประเทศชาติต่อไป
พิมพ์พระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน
07.jpg



ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิ พระพักตร์ทรงผลมะตูม องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบเหนือแถวเม็ดไข่ปลาและดอกบัวซึ่งประกอบด้วย กลีบบัวบานทั้ง 9 กลีบ

พุทธลักษณะพระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน
เป็นพระปางสมาธิ ขัดราบ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ประทับนั่งเหนือบัลลังก์ดอกบัว อยู่ในกรอบสามเหลี่ยม ขนาดฐาน 1.5 เซนติเมตรโดยประมาณ และสูงประมาณ 3 เซนติเมตร พุทธลักษณะดังกล่าว กล่าวกันว่าทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง และ อาจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย ซึ่งถ้าจะพิจารณา พุทธลักษณะของพระเครื่องนี้ จะเห็นได้ว่าใกล้เคียงหรือละม้ายคล้ายคลึงกับพระพุทธนวราชบพิตร หากแต่ต่างกันที่ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระปางมารวิชัย

ข้อมูลจำเพาะพระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน
03.jpg


ขนาดและสี เป็นพระเครื่องทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มี 2 ขนาดพิมพ์ คือ
พิมพ์เล็ก กว้าง 1.4 เซนติเมตร สูง 2.1 เซนติเมตร หนา 0.5 เซนติเมตร
พิมพ์ใหญ่ กว้าง 2.2 เซนติเมตร สูง 3.2 เซนติเมตร หนา 0.5 - 1 เซนติเมตร
ขอบองค์พระ ด้านหน้าทั้ง 3 ด้าน เฉียงป้านออกสู่ด้านหลังเล็กน้อย
สี มีความหลากหลาย ได้แก่ สีน้ำตาล สีน้ำตาล-อมเหลือง สีน้ำตาล-อมแดง คล้ายเทียน สีดำอมแดง หรือ สีดำอมเขียว มีทั้งสีเข้มและอ่อน

ส่วนประกอบพระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน

ผงพระพิมพ์ที่ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์
ก. ส่วนในพระองค์
ข. ส่วนที่มาจากจังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาจักร

ก. ส่วนในพระองค์
1. ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกตและได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระตลอดเทศกาล
2. เส้นพระเจ้าซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ทุกครั้ง
3. ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระขรรค์ขัยศรีในพระราชพิธีฉัตรมงคล
4. สีซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์
5. ชันและสีซึ่งทรงขูดจากเรือใบพระที่นั่งขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่ง
ข. ส่วนที่มาจากจังหวัดต่างๆทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาจักร
วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ที่พุทธศาสนิกชนทั่วพระราชอาณาจักรปฏิบัติบูชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน และเพื่อให้ได้อำนาจแห่งพระพุทธคุณโดยสมบูรณ์ อาทิ ดอกไม้บูชาจากพระอารามหลวงที่สำคัญ ดอกไม้ ธูป เทียนที่บูชาพระแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ ดิน ตะไคร่ ใบเสมา สังเวชนียสถานในอินเดีย ศรีลังกา และทุกจังหวัดในประเทศไทย เช่น จาก พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
สำหรับส่วนผสมที่มาจากทุกจังหวัด ทรงมอบให้กระทรวงมหาดไทยจัดหาวัตถุมงคลที่ได้มาจากปูชนียสถาน หรือ พระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด พระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดินเป็นพระพุทธรูปพิมพ์องค์เดียวที่เคยสร้างมาในเมืองไทย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้สร้าง แต่ไม่ได้มีพิธีพุทธาภิเษก

มวลสารพระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน

มวลสารมีทั้งหยาบและละเอียด มีจุดฟองอากาศและเส้นพระเจ้า (เส้นผม) ปรากฎอยู่ประปราย มากน้อยแตกต่างกันไป ผง มวลสาร จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นอุทเทสิกเจดีย์ ทั่วประเทศนั้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำมาบดเป็นผง ทำเป็นส่วนผสม รวมกับเส้นพระเจ้า คลุกกับกาวเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกดเป็นองค์พระ ทรงทำด้วยพระองค์เองทุกขั้นตอน
ปี พ.ศ. 2512 มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา ที่เป็นหลักก็คือ เรซิน และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ดอกไม้ต่างๆ และดอกไม้แห้งจากมาลัย ที่ประชาชนนำมาถวายแล้วทรงนำมาบดเส้นพระเจ้า (เส้นผม) เจ้าพนักงานได้รวบรวมหลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ ชันและสีซึ่งขูดมาจากเรือใบพระที่นั่ง สีซึ่งขูดจากภาพฝีพระหัตถ์ และวัตถุมงคลทั่วประเทศ ทางกระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย วัตถุมงคลวิเศษนี้มาจากปูชนียสถาน หรือพระบูชาที่ประชาชนเคารพสักการะวัตถุเครื่องผสมที่มาจากทุกจังหวัด รวมทั้งสิ้น 71 จังหวัด กระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายวัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด อันได้แก่ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากปูชนียสถาน เปลวทองคำปิดพระพุทธรูป ผงธูปหน้าที่บูชา น้ำจากบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จำแนกออกเป็นรายละเอียดดังต่อไปนี้

ภาคกลาง

1. จังหวัดพระนคร ศาลหลักเมือง
2. ธนบุรี วัดอรุณราชวราราม วัดหงส์รัตนาราม ศาลพระเจ้าตากสิน
3. พระนครศรีอยูธยา วัดมหาธาตุ วัดพนัญเชิง วัดสวนหลวงสบสวรรค์ พระมงคลบพิตร
4. ลพบุรี ศาลพระกาฬ ศาลลูกศร พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท
5. สิงห์บุรี วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ บ้านบางระจัน วัดสิงห์ ตำบลโพสังโฆ อำเภอบางระจัน พระนอนจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี
6. อ่างทอง วัดไชโยวรวิหาร ตำบลไชโย อำเภอไชโย
7. สระบุรี รอยพระพุทธบาท พระพุทธฉาย
8. ปทุมธานี วัดเสด็จ อำเภอเมือง ผงอิทธิเจและผงปถมํของพระครูสาทรพัฒนกิจ
9. นนทบุรี วัดเขมาภิรตาราม
10. สมุทรปราการ พระสมุทรเจดีย์ และหลักเมือง
11. ราชบุรี วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง
12. นครปฐม องค์พระปฐมเจดีย์ พระร่วงโรจนฤทธิ์
13. สุพรรณบุรี วัดป่าเลไลยก์ ศาลหลักเมือง ดอนเจดีย์ วัดสนามชัย ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง สระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ ตำบลสระแก้ว
14. กาญจนบุรี พระแท่นดงรัง วัดท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์
15. เพชรบุรี พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระนครคีรี พระเจดีย์พระธาตุจอมเพชร ศาลหลักเมืองเก่า พระปรางค์วัดมหาธาตุ
16. ประจวบคีรีขันธ์ พระบรมสารีริกธาตุบนยอดเขาช่องกระจก
17. สมุทรสาคร ศาลหลักเมือง ศาลพันท้ายนรสิงห์
18. สมุทรสงคราม วัดเพชรสมุทร(วัดบ้านแหลม)
19. อุทัยธานี วัดสังกัสรัตนคีรี อำเภอเมือง
20. ชัยนาท วัดพระบรมธาตุ ตำบชัยนาท วัดธรรมามูล

ภาคตะวันออก

21. ชลบุรี พระพุทธสิหิงค์จำลอง วัดป่า
22. ฉะเชิงเทรา วัดโสธรวราราม พระพุทธโสธร หลักเมือง
23. ระยอง หลักเมือง ศาลพระเจ้าตากสินมหาราช
24. ตราด หลักเมือง วัดบุปผาราม
25. จันทบุรี ศาลหลักเมือง ศาลพระเจ้าตากสินมหาราช พระพุทธบาทเขาคิชกูฏ น้ำในคลองนารายณ์ หน้าน้ำตกเขาสระบาป อำเภอเมือง น้ำจากสระแก้ว ตำบลพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่
26. นครนายก หลักเมือง พระพุทธบาท ยอดเขานางบวช ตำบลสาริกา
27. ปราจีนบุรี ต้นศรีมหาโพธิ์ อำเภอศรีมหาโพธิ์

ภาคเหนือ

28. ลำปาง วัดลำปางหลวง วัดพระแก้วดอนเต้า วัดพระธาตุเสด็น ศาลหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อประตูผา ศาลเจ้าพ่อหมอก
29. แม่ฮ่องสอน พระธาตุเจดีย์ ดอยกองมู
30. เชียงราย พระเจดีย์ ยอดดอยตุง อำเภอเม่แสาย พระธาตุเจดีย์จอมกิติ
31. เชียงใหม่ วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง พระธาตุเจดีย์ ดอยสุเทพ พระพุทธสิหิงค์ หลักเมือง วัดเจดีย์เจ็ดยอด ที่ตั้งค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอฝาง อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
32. น่าน พระพุทธรูปทองทิพย์ พระธาตุเจดีย์ แช่แห้ง พระธาตุเจดียเขาน้อย พระธาตุเจดียปูแจ้ พระธาตุเจดียจอมแจ้ง วัดพระธาตุจอมแจ้ง อำเภอสา
33. ลำพูน พระบรมธาตุหริภุญชัย วัดจากเทวี (วัดกู่กุด)
34. แพร่ หลักเมือง พระธาตุเจดีย์ช่อแฮ
35. ตาก พระบรมรูปสมเด็จพระเจาตากสินมหาราช
36. พิษณุโลก พระพุทธชินราช
37. สุโขทัย วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ น้ำบ่อทอง น้ำบ่อแก้ว อำเภอศรีสัชนาลัย วัดต้นจันทร์ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง
38. กำแพงเพชร วัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง
39. พิจิตร หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง
40. เพชรบูรณ์ วัดไตรภูมิ หลักเมือง
41. นครสวรรค์ วัดวรนาถบรรพต (วัดเขากบ)
42. อุตรดิตถ์ พระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระบรมธาตุ วัดท่าถนน(หลวงพ่อเพชร)

ตะวันออกเฉียงเหนือ
43. นครราชสีมา หลักเมือง อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ปราสาทหินพิมาย วัดศาลาทอง วัดพนมวันท์ ศาลเจ้าแม่บุ่ง ศาลเจ้าพ่อไฟ ศาลเจ้าพ่อวัดแจ้ง ศาลเจ้าพ่อพระยาสี่เขี้ยว
44. ชัยภูมิ พระปรางค์กู่ พระธาตุเจดีย์กุดจอก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ พระธาตุเจดีย์สามหมื่น อำเภอภูเขียว พระเจ้าองค์ตื้อ เขาภูพระ ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง เจ้าพ่อพญาแล อำเภอเมือง
45. บุรีรัมย์ ปราสาทเขาพนมรุ้ง อำเภอประโคนชัย ปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย หลักเมือง ศาลเทพารักษ์เจ้าพ่อวังกรูด อำเภอสตึก สังเวชนียสถานต่างๆในประเทศอินเดีย
46. สุรินทร์ หลวงพ่อพระว์ วัดบูรพาราม
47. ศรีสะเกษ วัดมหาพุทธาราม หลักเมือง
48. อุบลราชธานี วัดมหาวนาราม พระเจ้าอินทร์แปลง
49. อุดรธานี ศาลเทพารักษ์ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม หลักเมือง วัดมัชฌิมาวาส
50. หนองคาย พระธาตุเจดีย์ บังพวน วัดโพธิ์ชัย
51. เลย พระธาตุเจดีย์ศรีสองรักษ์
52. สกลนคร พระธาตุเจดีย์ เชิงชุม วัดพระธาตุเชิงชุม
53. นครพนม พระธาตุพนม หลักเมือง
54. ขอนแก่น ผงปูนพระธาตุขามแก่น ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง
55. มหาสารคาม หลักเมือง
56. ร้อยเอ็ด พระกุ่บ้านบาบงกกู่ อำเภอธวัชบุรี
57. กาฬสินธุ์ หลักเมือง

ภาคใต้

58. ชุมพร ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หาดทรายลี
59. นครศรีธรรมราช พระบรมธาตุ
60. สุราษฏร์ธานี พระบรมธาตุไชยา
61. ระนอง วัดอุปนันทาราม
62. กระบี่ ถ้ำพระ บนเขาขนาบน้ำ ตำบลไสไทย อำเภอเมือง
63. พังงา หลักเมือง เทวรูปพระนาราย์ณ์ ตำบลเหล อำเภอกะปง
64. ภูเก็ต พระพุทธบาท เกาะแก้ว หน้าหาดราไว วัดพระทอง อำเภอถลาง อนุสาวรีย์หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
65. สงขลา วัดไชยมงคล วัดเลียบ วัดพะโคะ อำเภอสทิงพระ หลักเมือง
66. ตรัง ถ้ำสาย ตำบลลางดี ถ้ำคิรีวิหาร ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด พระว่านศักดิ์สิทธิ์ ถ้ำพระพุทธ ตำบลหนองบัว
67. พัทลุง พระธาตุเจดีย์ วัดตะวัดเขียนบางแก้ว อำเภอเขาไชยสน
68. สตูล วัดขนาธิปเฉลิม วัดสันติวราราม ตำบลพิมาณ วัดหน้าเมือง ตำบลคลองขุด วัดดุลยาราม ตำบลฉลุง
69. ปัตตานี หลักเมือง วัดช้างไห้ อำเภอโคกโพธิ์
70. ยะลา วัดคูหามุข หลักเมือง
71. นราธิวาส วัดพระพุทธ อำเภอตากใบ
สังเวชนียสถานสี่แห่ง ประเทศอินเดีย สังเวชนียสถาน มีส่วนคล้ายกับจุดกำเนิดศาสนสถานทั้งหลาย ที่ดำรงอยู่อย่างเรียบง่ายแม้เวลาจะผ่านไปนับพัน ๆ ปี เป็นจุดหมายของผู้มีศรัทธาปสาทะแรงกล้าในพุทธศาสนาจากทุกทวีปทั่วโลก สังเวชนียสถานทั้งสี่ ได้แก่
สถานที่ประสูติ ณ ป่าลุมพินี เมืองกบิลพัสดุ์ ประเทศเนปาล
สถานที่ตรัสรู้ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พุทธคยา ประเทศอินเดีย
สถานที่แสดงปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สารนาถ ประเทศอินเดีย
สถานที่ปรินิพพาน ณ ป่าสาลวัน กุสินารา ประเทศอินเดีย

วิธีทำพระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน ด้วยการนำเอาวัตถุมงคลหลายชนิดผสมกัน เช่น ดินจากปูชนียสถานต่างๆ ทั่วประเทศ ดอกไม้ที่ประชาชนทูลเกล้าถวายในโอกาสต่างๆ และเส้นพระเจ้า(เส้นผม) ของพระองค์เอง เมื่อผสมกันโดยใช้กาวเป็นตัวยึดแล้ว ทรงกดลงในพิมพ์ ที่นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาเป็นศิลปินแห่งชาติเป็นผู้แกะถวาย โดยไม่ได้เอาเข้าเตาเผา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐานพระบุญญาบารมีของพระองค์ท่าน ความมีศรัทธาปสาทะอย่างสุดซึ้ง ในพระบวรพุทธศาสนา และผลบุญกุศลที่พระองค์ยึดมั่นอยู่ในการประกอบแต่กรรมดี ทั้งในอดีตชาติ และปัจจุบันชาติ ช่วยดลบันดาลให้พระพุทธรูปพิมพ์ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น สูงสุดด้วยพระพุทธานุภาพ และกฤตยานุภาพ คุ้มครองให้คลาดแคล้วผองภัยพิบัติ และอำนวยความเป็นสิริมงคล ให้แก่ผู้ที่นำไปบูชา ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา และประกอบแต่กรรมดี และอันเชิญพระพุทธคุณด้วยพระราชหฤทัยอันมั่นคงในทศพิธราชธรรม ให้อยู่อย่างมั่นคงกับพระพุทธรูปพิมพ์องค์นี้

จำนวนที่สร้าง
ปี พ.ศ. 2508 ทรงโปรดสร้างพระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดินด้วยฝีพระหัตถ์เป็นครั้งแรกประมาณ 200 องค์ พระราชประสงค์ทรงโปรด ฯ สร้างพระราชทานให้แก่ผู้ทำความดีเป็นประโยชน์ให้กับประเทศชาติ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจเพื่อเป็นเกราะคุ้มครองป้องกันตัว จึงจะได้รับโปรดเกล้า ฯ พระราชทาน คนที่ได้รับพระราชทานไปพระองค์จะกำชับให้ปิดทองด้านหลังพระ เพื่อให้ระลึกเสมอว่าถ้าจะทำความดีไม่จำเป็นต้องประกาศให้ใครรับรู้ พระสมเด็จจิตรลดาเป็นศูนย์รวมของ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งรวมอยู่ในพระกำลังแผ่นดิน ทรงสร้างขึ้น มีทั้งสิ้นไม่เกิน 2,000 - 2,500 องค์ ร้อยละ 95 ของจำนวนที่ทรงสร้างได้พระราชทานแก่พสกนิกร

ที่ประดิษฐาน

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรให้เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด และหน่วยทหารทั่วพระราชอาณาจักร โดยจังหวัดประดิษฐานไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด หน่วยทหารประดิษฐานไว้ ณ กองบัญชาการหน่วย พระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดินอยู่ที่ฐานของพระพุทธนวราชบพิตร พระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน ประดิษฐานที่ศาลากลางจังหวัดและกองบัญชาการหน่วยทหาร ประดิษฐานไว้ในเจดีย์ที่สำคัญ ก่อนหน้าที่จะได้รับพระราชทานพระเครื่องกำลังแผ่นดิน ต้องเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ พร้อมคณะข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน จำนวนประมาณ 200 คน ที่เข้าชื่อกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระฯ ซึ่งทุกคนต่างก็ปรารถนาจะได้รับพระราชทานพระฯ ไว้เป็นศิริมงคลแก่ตนเองด้วยกันทั้งสิ้น พระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดินจึงประดิษฐานอยู่กับพระบรมวงศานุวงศ์ และพสกนิกร เช่น ทหารที่ไปราชการสงครามที่เวียดนาม นายทหาร นายตำรวจ และประชาชนที่ขอพระราชทานพระ เช่น ชาติชาย เชี่ยวน้อย นักมวยแชมเปี้ยนโลก

วันพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดินในวันที่เป็นวันมงคลตามฤกษ์ เป็นวันธงชัย วันอธิบดี หรือวันเพ็ญ (วันพระใหญ่) เป็นต้น การพระราชทานแต่ละครั้งเฉลี่ยไม่เกิน 5 องค์ ตั้งแต่เริ่มเข้าเฝ้าจนถึงวันที่ได้รับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระ 5 ครั้ง แก่ ผู้โชคดี ครั้งที่ 6 จึงได้รับ และทุกครั้ง จะมีพระบรมราโชวาทเหมือน ๆ กัน พระราชกระแสรับสั่งกังวานจับจิตจับใจผู้เข้าเฝ้าทุกคน กล่าวได้ว่า แม้ผู้ที่มิได้รับพระราชทานพระ หากแต่ได้น้อมนำพระบรมราโชวาทไปประพฤติปฏิบัติย่อมเป็น ศิริมงคลแก่ตนเอง ผู้ที่ได้รับพระราชทาน พระกำลังแผ่นดิน พระสมเด็จจิตรลดา ในวันคล้ายเกิดของตนเอง เป็นของขวัญวันเกิดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระกำลังแผ่นดิน พระสมเด็จจิตรลดา ในตอนคืนก่อนพระราชทาน และได้ทำเสร็จในตอนรุ่งเช้าของวันพระราชทานพระกำลังแผ่นดิน พระสมเด็จจิตรลดา เสมือนหนึ่งว่า พระกำลังแผ่นดิน พระสมเด็จจิตรลดา สร้างเสร็จตรงกับผู้เข้ารับพระราชทานพระกำลังแผ่นดิน (พระมีวันเกิดเดียวกันกับเจ้าของพระ) สรุปว่า ผู้รับพระสมเด็จจิตรลดา พระกำลังแผ่นดิน มีวันเกิดตรงกับวันเข้ารับพระราชทาน

พิธีรับพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2512 พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ได้รับพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน ผู้รับพระราชทานก้มลงกราบแทบฝ่าพระบาทพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ รับพระราชทานพระเครื่องกำลังแผ่นดิน และพระบรมราโชวาทส่เกล้าใส่กระหม่อมไว้เป็นหลักในการรับราชการและประพฤติปฏิบัติตนการพระราชทานพระเครื่องกำลังแผ่นดินดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เองทั้งสิ้น ทุกครั้งที่พระราชทานพระ ไม่ว่าจะเป็นเพียงคนเดียว หรือพร้อมกันเป็นคณะ เป็นกลุ่ม ก็พระราชทาน พระบรมราโชวาท โดยสรุปดังนี
1. จะต้องนำพระไปปิดทองด้านหลัง มีความหมายเป็นนัยว่า การทำ ความดีนั้นไม่จำเป็นต้องให้ผู้อื่นเห็น หรือหวังประโยชน์ตอบแทนจากการกระทำ หากแต่ เป็นการทำความดีเพื่อความดี และนำความดีที่ได้กระทำไปนั้น เป็นเครื่องระลึก เตือนใจ ให้ตนเองกระทำความดียิ่ง ๆ ขึ้นไป 2. จะต้องมีสติ สัมปชัญญะ ทรงสอนถึงอานิสงส์ของการมีสติ และ สัมปชัญญะว่า การเจริญสติอยู่ตลอดเวลา จะทำให้เป็นคนไม่ประมาท
มีความละเอียด รอบคอบทำอะไร ก็จะเกิดข้อผิดพลาดน้อย เมื่อตกอยู่ในภาวะคับขันก็จะสามารถแก้ไข สถานการณ์ต่าง ๆ จากร้ายกลายเป็นดีได้
3. จะต้องมีสติปัญญา ซึ่งหมายถึงต้องรู้จักขวนขวายศึกษาหาความรู้ ด้วยการหมั่นศึกษาค้นคว้าในวิทยาการต่าง ๆ และนำความรู้ที่ได้มานั้นไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน
4. จะต้องมีความเมตตา กรุณา ทรงลำดับให้เห็นความสำคัญของการ เจริญเมตตาจิตต่อผู้คนโดยทั่วไปว่า เป็นอานิสงส์ของการละวางความเห็นแก่ตัว และความมีเมตตา เอื้อเฟื้อจะช่วยให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
5.จะต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต ความสัตย์ สุจริต ที่ว่านี้จักต้องกระทำต่อ ตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อประเทศชาติและประชาชน
โดยในท้ายที่สุดของพระบรมราโชวาท ได้พระราชทานพรแก่ผู้ที่รับ พระราชทานพระว่า ถ้าสามารถประพฤติ ปฏิบัติตามทุกประการ ก็จะถึงซึ่ง
ความเจริญรุ่งเรือง

ประกาศนียบัตรกำกับพระ ใบกำกับพระพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน

ภายหลังจากที่ได้รับพระราชทานองค์พระแล้ว แต่ละคนจะต้องไปขอรับประกาศนียบัตรกำกับพระเครื่องที่กรมราชองครักษ์ โดยจะต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเองที่ ต้นขั้วของประกาศนียบัตรในใบประกาศนียบัตร ด้านบนจะมีรูปพระเครื่องขนาดเท่าองค์จริง ใต้ลงมา เป็นตราจักรี และมีพระปรมาภิไธย กำกับ (ทับ) ตราจักรีบรรทัดต่อมาจะระบุชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทาน และลำดับที่ที่ได้รับ วัน เดือน ปี ที่ได้รับเป็นที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่งว่า ด้านบนซ้ายและล่างซ้ายของประกาศนียบัตร มีหมายเลขกำกับอยู่ด้วย
หมายเลขด้านบน หมายถึง เป็นพระเครื่องลำดับที่เท่าไรที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับลำดับที่พระราชทาน
พระบางองค์ ทรงนำไปประดิษฐานที่ฐานพระพุทธนวราชบพิตร เพื่อพระราชทานให้เป็นพระพุทธรูป ประจำจังหวัดต่างๆ และบางองค์ก็ทรงนำไปบรรจุไว้ตามเจดีย์ที่สำคัญ
หมายเลขด้านล่าง หมายถึง ลำดับรุ่น (ชุด) ของพระที่พิมพ์แต่ละครั้ง วัน เดือน ปี ที่ได้ทรงสร้าง
ใบพระราชทาน (ใบกำกับพระพิมพ์) ขนาดกว้างประมาณ ๑๒.๗ เซนติเมตร ยาว ๑๕.๘ เซนติเมตร พื้นสีขาว ด้านบนมีภาพพิมพ์องค์พระสมเด็จหลวงพ่อจิตรลดาประกอบอยู่ แต่ไม่ใช่องค์ที่พระราชทานให้ ขนาดจะใหญ่กว่าองค์พระจริงเล็กน้อย สีน้ำตาลเข้ม เป็นเอกสารส่วนพระองค์ เอกสารสำคัญฉบับนี้ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะแจ้งให้มารับภายหลังจากวันที่ได้รับพระราชทานองค์พระ โดยไม่มีหมายกำหนดที่แน่นอน
ประกาศนียบัตรผู้ที่ได้รับพระราชทานปี พ.ศ. 2509 - 2510 ด้านล่างจะเขียน ระบุลำดับ วัน เดือน ปี เป็นเลขฝรั่งด้วยตัวเขียน
ประกาศนียบัตรผู้ได้รับพระราชทานปี พ.ศ. 2511 - 2512 ด้านมุมล่างจะเขียนระบุลำดับ วัน เดือน ปี ด้วยตัวพิมพ์เป็นเลขฝรั่ง เป็นเลขหลักพันขึ้นไป
สรุปพระสมเด็จจิตรลดามีจำนวน 2,000 – 2,500 องค์ พิจารณาจากการนับจำนวนจากใบประกาศนียบัตร

เรื่องเล่าต่างๆนานา

ในคืนวันหนึ่งของปีพ.ศ. 2510 หลังจากได้รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำแล้ว ในวังไกลกังวล ผู้รับพระราชทานจำได้ว่า คืนนั้นผู้ที่โชคดีได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน เป็นนายตำรวจ 8 นาย และนายทหารเรือ 1 นาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาพร้อมด้วยกล่องใส่พระเครื่องในพระหัตถ์ ทรงอยู่ในฉลองพระองค์ชุดลำลอง ขณะที่ทรงวางพระลงบนฝ่ามือที่แบรับอยู่นั้น มีความรู้สึกว่า องค์พระร้อน ภายหลัง เมื่อมีโอกาสกราบบังคมทูลถาม จึงได้ทราบว่า หลังจากที่ได้รับพระราชทานแล้ว ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาทมีความว่า พระที่ให้ไปน่ะ ก่อนจะเอาไปบูชา ให้ปิดทองเสียก่อนนะ แต่ให้ปิดเฉพาะข้างหลังพระเท่านั้น ทรงอธิบายว่า ที่ให้ปิดทองหลังพระก็เพื่อเตือนตัวเองว่า การทำความดี ไม่จำเป็นต้องอวดใคร หรือประกาศให้ใครรู้ ให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ และถือว่าความสำเร็จในการทำหน้าที่ เป็นบำเหน็จรางวัลที่สมบูรณ์แล้วเอาพระเครื่องพระราชทานไปปิดทองที่หลังพระแล้ว ก็ซื้อกรอบใส่ หลังจากนั้นมา สมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดินองค์นั้น ก็เป็นพระเครื่องเพียงองค์เดียวที่ห้อยคอ หลังจากที่ไปเร่ร่อนปฏิบัติหน้าที่อยู่ไกลห่างพระยุคลบาท ได้มีโอกาสกลับไปเฝ้าฯ ที่วังไกลกังวลอีก ความรู้สึกเมื่อได้เฝ้าฯ นอกจากจะเป็นความปีติยินดีที่ได้พระยุคลบาทอีกครั้งหนึ่งแล้ว ก็มีความน้อยใจที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ ลำบาก และเผชิญอันตรายนานาชนิด บางครั้งจนแทบเป็นอันตรายถึง ชีวิต แต่ปรากฎว่า มิได้ตอบแทนด้วยบำเหน็จใดๆ ทั้งสิ้น ก่อนเสด็จขึ้นคืนนั้น จึงก้มลงกราบบนโต๊ะเสวย แล้วกราบบังคมทูลว่า ใคร่ขอพระราชทาน อะไรสักอย่างหนึ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรัสว่า “จะเอาอะไร?” ก็กราบบังคมทูลว่า จะขอพระบรมราชานุญาต ปิดทองบนหน้าพระ ที่ได้รับพระราชทานไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสถามเหตุผล ที่ขอปิดทองหน้าพระ จึงกราบบังคมทูลอย่างตรงไปตรงมาว่า
พระสมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินนั้น นับตั้งแต่ได้รับพระราชทานไปห้อยคอแล้ว ต้องทำงานหนักและเหนื่อยเป็นที่สุด เกือบได้รับอันตรายร้ายแรงก็หลายครั้ง มิหนำซ้ำกรมตำรวจยังไม่ให้เงินเดือนขึ้นแม้แต่บาทเดียวอีกด้วย
พระองค์ทรงแย้มพระสรวล (ยิ้ม) ก่อนที่จะมีพระราชดำรัส ตอบด้วยพระสุรเสียงที่ส่อพระเมตตาและพระกรุณาว่า "ปิดทองไปข้างหลังพระเรื่อยๆ แล้วทองจะล้นออกมาที่หน้าพระเอง "

เรื่องเล่าจากผู้รับพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา พระกำลังแผ่นดิน

... ผม(พลเรือเอก กำจัด ศรีอรุณ)ในฐานะนายทหาร ปจว.นปข. ได้รับมอบเทปเพลง ๑ ม้วน นอกเหนือจากพระเครื่องคน ละ ๑ องค์ สำหรับพระเครื่องที่ได้รับ ผมมอบให้เพื่อนนายทหาร ที่คืนนั้นไม่ได้ไปร่วมงาน สาเหตุก็เพราะผม(พลเรือเอก กำจัด ศรีอรุณ)มีพระเครื่องอยู่ก่อนแล้วนั่นเอง พระเครื่องที่ผมแขวนอยู่ประจำก็คือ พระ กำลังแผ่นดิน (จิตรลดา) ซึ่งผมขออนุญาตย้อนอดีตสู่ความเป็นมาดังนี้
เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐานยังวังไกลกังวลหัวหิน กร.จัดเรือ ถวายอารักขา ๑ หมู่
ชุดแรก ร.ล.ปราบ ผบ.เรือ และผบ.หมู่เรือ ฯ คือ ร.อ.ประจักษ์ เกษอังกูร
ชุดที่ ๒ จะต้องไปสับเปลี่ยนหน้าที่ กร. จัด ร.ล.สัตกูด ไปปฏิบัติ ผบ.เรือ ร.อ.ประสิทธิ์ ฟอง สมุทร ติดราชการฝึกยุทธวิธีกองเรือทุ่นระเบิด กร. จึงจัดให ้ ร.อ.วิชิต สร้อยสุวรรณ แก้ไข ขณะกำลังจะลงคำสั่ง ร.อ.วิชิต ได้ไปแจ้งทาง กพ.กร. ว่า ท่านจะต้องเป็นตัวแทนนักกีฬาของ ราชนาวีสโมสรไปแข่งปิงปอง ๔ เหล่าทัพ ขอให้พิจารณาจัดคนแทน ขณะที่ กพ.กร. กำลังเปิด บัญชีรายชื่อว่าจะลงเอยเป็นผู้ใด
ผมเดินเข้า บก.กร. พอดี เพื่อไปรับเงินค่ารักษาพยาบาล ทหาร น.ต.สันต์ เสียงสุขา เรียกผมไปพบ คำแรกที่ทักทายก็คือ กำลังจะจัดผมไปราชการ ทะเล ขอให้เลือกเอาระหว่าง ผบ.หมู่เรืออารักขา ฯ หรือจะเป็น ผบ.เรือ ไปฝึกประดาน้ำ สพ. ทร. กับเรือบางระจัน
ผมตกลงใจเลือก ร.ล.สัตกูด ไปหัวหิน เพราะระยะเวลาน้อยกว่า การ บรรจุกำลังพล ร.ล.สัตกูด ส่วนใหญ่จะเป็นมือปืนพเนจรเกือบทั้งลำ นับตั้งแต่ต้นเรือ ร.ท.สุธี บูรณสิน ต้นปืน ร.ท.ชำนาญ คงสุวรรณ ต้นหน ร.ต.บรรพต เอกะวิภาต ผู้ควบคุมเรือ PCF. ร.ต.สินศักดิ์ ศรีพิพัฒน์ เมื่อ ร.ล.สัตกูด รับ - ส่งหน้าที่ ร.ล.ปราบ ร.อ.ประจักษ์ ฯ แจ้งแก่ผมว่าชุดผมคงจะปฏิบัติ หน้าที่ไม่ครบกำหนด เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอาจเสด็จ ฯ กลับก่อนกำหนด พร้อมกับนำเอาของพระราชทานอันล้ำค่า พระจิตรลดา ชูให้ผมได้ชื่นชม ผมได้แต่แอบอิจฉา เงียบ ๆ ในความโชคดีของเขา คิดในใจว่าตนเองคงไม่มีวาสนา วันรุ่งขึ้น ผบ.เรือ ทั้ง ๒ ลำ ต้องขึ้นไปถวายรายงานตัว ผมได้พบเพื่อนร่วมรุ่น ๒ ท่าน คือ ร.อ.ประยุทธ เทศวิศาล ราชองค์ รักษ์ประจำ และ ร.อ.สวิทย์ คลายนาทร นายทหารสื่อสารประจำกรมราชองค์รักษ์ ผมได้รับคำ แนะนำจากเพื่อนทั้งสองถึงการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ทางเรือต้องส่งนายทหารติดต่อประสานงาน ๑ นาย ไปประจำที่ บก.พิเศษ คือ ร.ท.ชำนาญ คงสุวรรณ ต้นปืน ร.ล.สัตกูด
สำหรับความเป็นมาของพระกำลังแผ่นดิน ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานแก่ พสกนิกร และข้าราชบริพาร นั้น ผมได้รับทราบแต่เพียงว่า พระองค์จะทรงประกอบพิธีและ ทรงสร้างด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงเจียรนัยและตบแต่งด้วยเครื่องกรอฟันจนองค์พระสวยงามหมด จดชุดหนึ่งประมาณ ๔ องค์ องค์พระประกอบด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศไทย ได้แก่ ผงธูปต่าง ๆ ชันน้ำมันยางจากเรือใบประจำพระองค์ เส้นพระเจ้า ฯ รวมอยู่ในองค์พระพิมพ์ ์รูปสามเหลี่ยม เรียกพระกำลังแผ่นดิน การเข้าเฝ้าเพื่อขอรับพระราชทาน ผมจำได้ว่าสัปดาห์ หนึ่งจะมี ๑ - ๒ ครั้ง โดยให้ส่งรายชื่อ ผู้ที่จะขอเข้าเฝ้าต่อ บก.พิเศษ ก่อน ๑ วัน
พระบาท สมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว จะทรงประกอบพิธีตอนกลางดึก กว่าจะเสร็จเรียบร้อยทั้งชุด ( ๔ - ๕ องค์ ) ก็ใกล้รุ่ง พสกนิกรและข้าราชบริพารรอรับเสด็จ ฯ และเข้าเฝ้า ฯ ที่สนามหญ้าหน้า พระราชวัง ไกลกังวล บนเส้นทางที่จะเสด็จพระราช ดำเนินไปยังเรือใบชายหาด ผมส่งรายชื่อข้าราชการ มรภ. หัวหิน ให้ บก.พิเศษ เพื่อรอเข้าเฝ้า ฯ ในคืนวันหนึ่ง ขณะ เดียวกับ ร.ท.ชำนาญ ฯ ต้นปืน ซึ่งประจำอยู่ บก.พิเศษ ก็แจ้งให้ผมเตรียม ร.ล.สัตกูด ให้พร้อม ที่จะออกเดินทางไปถวายอารักขาสมเด็จพระบรมราชินี บริเวณเขาตะเกียบ
ผมคิดว่าผมคง หมดโอกาสได้ขึ้นไปรับพระราชทานพระจิตรลดา เพราะต้องรอคำสั่งอยู่ที่เรือ โชคผมยังดีอยู่ บ้าง เมื่อ ร.อ.ประยุทธ ฯ วิทยุมาบอกผมว่าให้เลื่อนกำหนดออกเรือ ร.ล.สัตกูด ไปก่อน และให้ ผมขึ้นมารับเสด็จ ฯ ตอนเช้าพร้อมที่หน้าวัง เวลาประมาณ ๐๕๐๐ คืนนั้นผมนอนไม่หลับ ด้วยความตื่นเต้นบวกความระทึกใจที่จะมีโอกาสได้เข้าเฝ้าใต้เบื้อง พระยุคลบาท ส่วนพระจิตรลดานั้นผมเองก็ฝันลึก ๆ เนื่องจากจำนวนผู้เข้าเฝ้าประมาณ ๑๔๐ คนเศษ ใครคือผู้โชคดีอยู่ในจำนวน ๔ คน ผมไม่ได้คิดหวังอะไรมาก ได้แต่ภาวนาว่าหากมี บุญวาสนาก่อนบรรลุกิจหน้าที่ ขอให้ได้มีโอกาสสักครั้ง แม้ว่าผมจะเพียรพยายามขึ้นมารับ เสด็จ ฯ ทุกครั้งก็ตาม ก่อนย่ำรุ่งเช้าวันนั้น คราคร่ำไปด้วยจำนวนผู้เข้าเฝ้ารับเสด็จ ฯ คณะของเราเข้าร่วมเป็นชุด สุดท้าย ประกอบไปด้วยคณะของข้าราชการ ตชด. ค่ายนเรศวร หัวหิน ตำรวจน้ำ บก.พิเศษวัง ไกลกังวล กองพันทหารรักษาพระองค ์ ข้าราชบริพารในพระองค์ ฯ จากการถวายรายงานของ หัวหน้า บก.พิเศษ ผมจำได้ว่าประมาณ ๑๔๐ คน
แล้วเวลาแห่งความระทึกใจก็มาถึง เมื่อพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากพระตำหนักเปี่ยมสุข ทรงกางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน เสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีขาว ผู้เฝ้ารับเสด็จ ฯ ก้มลงกราบแทบพระบาท
พล.ต.วิเชียร ชินะโยธิน หน. บก.พิเศษ กราบถวายรายงานจำนวนผู้เข้าเฝ้ารับเสด็จ ฯ แล้วถวายรายชื่อทั้งหมดแด่พระ บาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงรับบัญชีรายชื่อแล้วทอดพระเนตรมายังผู้รับเสด็จ ฯ ทรงพลิก บัญชีรายชื่อแล้วทรงรับสั่งชื่อ ผมจำได้ว่า
บุคคลแรกที่ทรงรับสั่งคือ พ.ต.อ.(ผมลืมชื่อเสียแล้ว)เป็น รองผู้บังคับการตำรวจน้ำ
บุคคลที่ รับสั่งคนที่ ๒ ซึ่งทำให้ผมตื่นตระหนก ตัวชา จังงัง เกือบจะ หมดความรู้สึกก็คือ ผมเอง ร.อ. กำจัด ศรีอรุณ ผบ.หมู่เรืออารักขา หลังจาก นั้นผมเกือบจำ อะไรไม่ได้ ต้นเรือที่หมอบอยู่ข้าง ๆ ต้องคอยกระซิบ ส่วนคนที่ ๓ และ ๔ นั้น ผมลืมไปแล้วว่าเป็นผู้ใด ทุกคนเมื่อทรงรับสั่งเรียกชื่อแล้วก็ถวายความเคารพ เข้าไปมอบ แทบพระบาท เพื่อ รับพระราชทานพระจากพระหัตถ์ กราบแทบพระบาท แล้วนั่งพับเพียบลง เพื่อรับฟังพระบรม ราโชวาท เมื่อทรงมอบ พระกำลังแผ่นดินที่ทรงประกอบพิธีให้ใน วันนั้น จำนวน ๔ องค์ แล้ว จึงมีพระบรมราโชวาท ซึ่งผมจับใจความและประพฤติปฏิบัติมาจนตราบ เท่าทุกวันนี้ คือ " พระ ปฏิมาที่มอบให้เป็นผงศักดิ์สิทธิ์ ที่นำมาจากทุกแห่งสถานของประเทศ ขอให้ ทุกคนนำไป ปิดทอง ที่หลังองค์พระปฏิมา เพื่อเป็นสิ่งเคารพบูชาตลอดไป"


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 26 ต.ค. 2008 11:40 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 10:40 am
โพสต์: 369
2. พระนางพญา สก. และพระสมเด็จจิตรดาอุณาโลม (ประวัตินี้พิมพ์โดยคุณกิตติ ในเว็บอมูเล็ทดอทคอม)

3_1149361395.jpg


3_1149361655.jpg




เมื่อครั้งทางวัดบวรนิเวศวิหารได้รื้อกระเบื้องมุงพระอุโบสถที่ชำรุดจนใช้การไม่ได้เพื่อเปลี่ยนใหม่นั้น ทางสภามหามกุฏฯได้ขอส่วนหนึ่งเก็บเอาไว้เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นมงคล ทั้งนี้เพราะพระอุโบสถเป็นที่กระทำสังฆกรรมและมีพิธีการต่างๆเป็นประจำ รังสีแห่งพลังจิตย่อมพวยพุ่งขึ้นจับอยู่ในทุกอณูของกระเบื้องเป็นแน่แท้.เมื่อได้รวบรวมอิทธิวัสดุไว้ได้พอสมควรแล้วทางสภามหามกุฏจึงกราบทูลขออัญเชิญพระบรมนามาภิไธยแห่งสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถมาประทับไว้ด้านหลังของพระนางพญาซึ่งทางสภามหามกุฏได้สร้างขึ้นพร้อมกับพระสมเด็จอุณาโลม.พระนางพญานี้ทางมหามกุฏได้ถวายพระนามว่า”พระนางพญา ส.ก.” และพระสามเหลี่ยมที่มีพระพุทธประทับนั่งบนอาสานะบัวสองชั้นว่า พระสมเด็จอุณาโลม โดยพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า”กระเบื้องมุงหลังคาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้นน่าจะทำประโยชน์ได้บ้าง เนื่องจากเป็นของเก่า และสมเด็จพระสังฆราชเคยประทับอยู่วัดนี้ถึง ๓ พระองค์ หากนำไปทำพระผงคงจะดีไม่น้อย”.
สำหรับวัตถุประสงค์ในการสร้างนั้นเพื่อนำรายได้จากการบูชาพระสมเด็จและนางพญา ส.ก.ไปใช้ในการศึกษาของพระและเณรที่วิทยาลัยสงฆ์ ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดอยุธยา ซึ่งมีความอัตคัต เนื่องจากวิทยาลัยสงฆ์นั้นอยู่ในที่ราบต่ำ น้ำท่วมทุกปี จึงต้องมีการขุดคันดินกั้นน้ำและยังต้องขุดสระเพื่อนำดินไปถมที่ ในหน้าแล้งน้ำในสระก็ใช้ไม่ได้เนื่องจากน้ำเปรี้ยว และการออกบิณฑบาตรก็ลำบาก เพราะอยู่ไกลจากชาวบ้าน.มูลนิธิส่งเสริมพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้เห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้สร้างสมเด็จนางพญา ส.ก.เพื่อนำรายได้ไปใช้ในกิจการนี้ โดยนำมาตั้งเป็นทุนมูลนิธีเพื่อนำดอกผลมาบำรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ และยังได้ขอพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไชยย่อ”ส.ก.”มาประดิษฐานไว้ด้านหลังของพระสมเด็จนางพญา ส.ก.
พระนางพญา ส.ก.นั้นได้จำลองมาจากแบบมาจากพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ของกรุตาเถรขึงหนังสุโขทัย ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งมารวิชัย ด้านล่างมีอักขระขอมอยู่ว่า” เอ ตัง สะ ติง”อันเป็นหัวใจของกรณียเมตตาสูตร ด้านหลังเป็นพระบรมนามาภิไธยว่า ส.ก.อยู่ใต้พระมหามงกุฎ

3_1149362280.jpg


3_1149362394.jpg



พระสมเด็จอุณาโลมนั้นด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่บนอาสนะบัวสองชั้นในทรงกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่วคล้ายพระสมเด็จจิตรลดา ด้านหลังมีอักขระจารึกว่า เอตังสะติง พะมะนะอะกะสะนะทะอะ สะ อะ
ขนาดพระมีสองพิมพ์คือพิมพ์ใหญ่ สูง ๓ ซม. กว้าง ๒ ซม. หนา ๐.๕ ซม. ส่วนพิมพ์เล็กสูง ๒.๕ ซม. พระเครื่องพิมพ์นี้เป็นพระเครื่องเนื้อผงพุทธคุณ สีแบบอิฐเผา พิมพ์ได้จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ องค์

รายการมวลสาร (บางส่วน)

1.ผงดอกไม้พระราชทาน เมื่อ ๕ พ.ย.๒๕๑๗
2.ผงธูปพระราชทาน
3.ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ ในเทศกาลเข้าพรรษา ๒๕๑๗
4. ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานทักษิณนิเวศน์ ๒๕๑๗
5.ผงธูปและดอกไม้ หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
6. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
7.ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สกลนคร
8. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์เปล่ง(แปลง) วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
9. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์อุทัย วัดป่าขอนแก่น
10. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์สาม วัดไตรวิเวกการาม สุรินทร์
11. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์แว่น วัดสุทธาวาส สกลนคร
12. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์สุวัจน์ วัดถ้ำศรีแก้ว สกลนคร
13. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์อุ่น วัดป่าบ้านโคก สกลนคร
14. ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดราชบพิธ
15. ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
16. ผงธูปและดอกไม้ จากที่บูชาของสมเด็จพระญาณสังวร
17.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
18. ผงธูปและดอกไม้ จากที่บูชาของสมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธ
19.ผงดอกไม้ จากห้องปฎิบัติกรรมฐาน ณ สภาการศึกษาฯ
20.ผงดอกไม้ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
21.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส
22.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดพระเชตุพน และวัดอัมพวา
23.ผงดอกไม้ผงธูป บูชาในเจดีย์มันดุท อินโดนีเซีย
24.ผงนพปดลมงคลเศวตฉัตร พระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร
25.ผงพระสมเด็จโต วัดระฆังโฆสิตาราม
26.ผงพระอาจารย์ลี วัดอโศการาม
27.ผงพระหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
28.ผงกะเทาะจากองค์พระธาตุเจดีย์นครพนม
29.ผงปูนกะเทาะจากองค์พระทอง วัดไตรมิตร
30.ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม
31.ผงพระสมเด็จวัดสามปลื้ม
32.ผงพระหลวงปู่โต๊ะ วัดโพธินิมิตร
33.ผงพระหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
34.ผงธูป-ทอง ศาลกรมหลวงชุมพรอุดมศักดิ์ ปากน้ำชุมพร
35.ผงธูป-ทอง พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี
36.ผงกระเบื้องหลังคาวิหาร พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี
37.ผงสะเก็ดพระสมัยศรีวิชัย พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี
38.ผงสะเก็ดพระสมัยทวาราวดีได้จากฐานอุโบสถวัดเกาะจาก นครศรีธรรมราช
39.ผงดอกไม้ ๙๙ วัดดอนรัก สงขลา
40.ผงว่าน ๙๙ วัดดอนรัก สงขลา
41.ผงวิเศษจากถ้ำเสือ กระบี่
42.ผงธูป พระธาตุลำปางหลวง
43.ผงอิฐ พระธาตุลำปางหลวง
44.ผงกระเบื้อง พระธาตุลำปางหลวง
45.ผงอิฐโบราณ พระปรางค์ลพบุรี
46.ผงพระเครื่องเกจิอาจารย์จาก ๑๖ วัด
47.ผงเข้าพิธีเสาร์ห้า ๒๕๑๓ วัดเทพศิรินทราวาส ท่านธัมมวิตักโก ปลุกเสก
48.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตร
49.ผงธูป ดอกไม้ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
50.ผงพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ
51.ผงกะเทาะจากองค์พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
52.ผงตะไคร่จากองค์พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
53.ผงว่าน ๑๐๘ ของ นครศรีธรรมราช
54.ผงเกจิอาจารย์ จากวัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
55.ผงกะเทาะองค์พระ ในด้านบริเวณพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
56.ผงธูป จากพระพุทธบาทสระบุรี
57.ผงธูป จากพระพุทธฉาย สระบุรี
58.ผงธูป จากที่บูชาพระพวย วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
59.ผงธูป จากที่บูชาพระปัญญา วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
60.ผงธูป จากที่บูชาพระศรีอาริย์ วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
61.ผงทอง จากองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
62. ผงทอง จากพระพุทธบาทสระบุรี
63.ผงทอง จากองค์พระนอนใหญ่ วัดพระเชตุพนฯ
64. ผงทอง จากพระพุทธฉาย สระบุรี
65.ผงกะเทาะ จากพระนลาฎ องค์พระหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม
66.ผงกระเบื้องกะเทาะ จากองค์พระปฐมเจดีย์ นครปฐม
67.ผงอิฐ-ปูน-รัก-ทอง จากฐานพระประธานในพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
68.ผงเม็ดพระศกหลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
69.ผงพระสมเด็จ ธัมมวิตักโก
70.ผงเข้าพิธีมาแล้ว คือ 1.วัดราชบพิธ ปี ๒๕๑๒–๑๓–๑๔
2.วัดหัวลำโพง ปี ๒๕๑๓
3.วัดราชสิทธาราม ปี ๒๕๑๒–๑๓
4.วัดธาตุหลวง ปี ๒๕๑๓
5.วัดชิโนรส ปี ๒๔๑๒–๑๓
6.วัดอัมพวา ปี ๒๕๑๒–๑๓
7.วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี ปี ๒๕๑๓
71.ผงนพดลมงคลเศวตฉัตรพระพุทธชินสีห์ ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
72.ผงกระจก-รัก จากฐานพระหลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
73.ผงทอง จากองค์พระหลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
74.ผงบัวเสา พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
75.ผงลายรวงผึ้ง หน้าพระพุทธชินสีห์ ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
76.ผงกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
77.ผงกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
78.ผงดินทราย พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งในหลวงทรงเททอง ณ วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช ๒๕๑๗
79. ผงกระจก-ปูน-รัก-ทอง จากเสาพระอุโบสถ วัดราชบพิธ
80.ผงกระจกหน้าบัน หน้าพระอุโบสถ วัดราชบพิธ
81.ผงธูปพระไสยาสน์ วัดพระเชตุพนฯ
82.ผงธูป ศาลลูกศร ลพบุรี
83.ผงใบลานชาญวิชา ๑๐๘ คัมภีร์ วัดบวรนิเวศวิหาร
84.ผงอิฐ ฝาผนังพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
85.ผงเกจิอาจารย์ วัดราชาธิวาส
86.ผงทรายแก้ว เกาะหมู ตรัง
87.ผงไม้กลายเป็นหิน สุรินทร์
88.ผงตะกั่วในพิธี ๑๐๐ ปี วชิรญาณานุสรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๕๑๕
89.ผงดินใจกลางเมืองหงสาวดี
90.ผงอิฐจากฐานพระพุทธบาท วัดบวรนิเวศวิหาร
91.ผงหินทราย ใบพัทธสีมาพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
92.ผงปูน-ทราย เสาพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนฯ
93.ผงจากสังเวชนียสถาน ๔แห่งในอินเดีย(ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน)
94.ผงทองของเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ ซึ่งเจ้าคุณนรฯได้ประกอบพิธีปลุกเสก ปี๒๕๑๓
95.ผงธูป จากศาลพระกาฬ ลพบุรี
96.ผงธูป หลวงพ่ออี๋ สัต***บ
97.ผงหิน-ทราย จากภูเวียง ขอนแก่น มีธาตุยูเรเนียม
98.ผงหินดาน ลึก ๒,๒๒๐ ฟุต จากเชียงใหม่
99.ผงนิลจากกาญจนบุรี
100.ผงตะกั่ว ในพิธี ๕๐ ปี(พระมหาสนณานุสรณ์ปี ๒๕๑๘ วัดบวรนิเวศวิหาร)
101.ผงหอย ๗๕ ล้านปี กระบี่
102.ผงทองพระมงคลนิมิต ซึ่งในหลวงทรงเททองปี ๒๕๑๔ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
103.ผงสะเก็ดระเบิดภูเขาไฟลาวา ฟิลิปปินส์
104.ผงกะเทาะจากองค์พระเจดีย์ วัดราชผาติการาม
105.ผงทองพระขาว วัดเกาะจาก ปากพนัง นครศรีธรรมราช
106.ผงเขี้ยวหนุมาน นครศรีธรรมราช
107.ผงโมกุล ลำนารายณ์ ลพบุรี และผงโป่งขาม
108.ผงพระสมเด็จแสน วัดพระเชตุพนฯ
109.ผงดอกไม้ ๑๐๘ จากวัดโพธิ์แมน
110.ผงหินพระบรมธาตุเจดีย์บุโบบุโธ อินโดนีเซีย
111.ผงพระสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม(สมเด็จวัดพลับ)
112.ผงพระสมเด็จโต และผงเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้สะสมไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๐๓–๒๕๑๗
113.ผงเมล็ดพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยา อินเดีย
114.ผงขี้เถ้า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ๑๐๐ ปี วัดบวรนิเวศวิหาร
115.ผงทอง พระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์
116.ผงธูป ดอกไม้ และผงวิเศษอาจารย์เทศน์(พระนิโรธรังษี) วัดหินหมากเป้ง หนองคาย
117.ผงทอง-ธูป พระพุทธชินราช พิษณุโลก
118.ผงธูป จากพระอุโบสถ วัดราชาธิวาส
119.ผงหินพระบรมธาตุเจดีย์มันดุท อินโดนีเซีย
120ผงธูปว่าน ๑๐๘จากภาคอีสาน
121.ผงปลุกเสกโดย---หลวงปู่แหวน เชียงใหม่ นาน ๑ เดือน
หลวงปู่ขาว อุดรธานี เวลา ๓ เดือน
หลวงปู่บุญ อุดรธานี เวลา ๑ เดือน
อาจารย์ฝั้น สกลนคร เวลา ๑ เดือน
อาจารย์จวน วัดภูทอก หนองคาย เวลา ๑ เดือน
122.ผงธูป-ทอง หลวงพ่อโสธร ฉะเชิงเทรา
123.ผงใบพระศรีมหาโพธิ์ จากอินเดีย
124.ผงหินทรายลึก ๖๐๐ ฟุตวังน้อย อยุธยา
125.ผงของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
126.ผงของหลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาป่อง เชียงใหม่
127.ผงหินน้ำมัน ใต้ทะเลลึก ๑๐,๐๐๐ ฟุต
128.ผงดิน-หิน บนยอดเขาอินทนนท์ เชียงใหม่
129.ไมก้าและข้าวตอกฤษี ที่อ่างกา ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่
130.ผงธูปและทราย พระธาตุดอยตุง เชียงราย
131.ผงอิฐ ใต้ฐานพระประธานในพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
132.ผงดอกไม้ ซึ่งปลุกเสกโดยหลวงปู่ขาว
133.ผงธนบัตร ๒,๐๐๐ล้านบาท
134.ผงอิฐ ยอดเจดีย์ยักษ์ นครศรีธรรมราช
135.เส้นพระเกษา สมเด็จพระสังฆราช หลายพระองค์
136.เส้นเกษา สมเด็จพระญาณสังวร และสมเด็จพระวันรัตและพระอาจารย์ต่างๆอันมี พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์ แหวน พระอาจารย์ชอบ พระอาจารย์จวน พระอาจารย์มหาบัว และ พระอาจารย์ขาว เป็นต้น
137.ผงอิฐและกระเบื้อง พระอุโบสถ วัดราชาธิวาส
138.ผงอิทธิเจ หลวงปู่โต๊ะ
139.ผงเข้าพิธีเสด็จพระราชดำเนินพุทธาภิเษก สมเด็จพระนเรศวร ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ๘ พ.ย.๒๕๑๘
140.ฉัตรพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่
141.ผงดอกไม้อีก ๑๐๐ชนิด
142.ผงว่านต่างๆอีก ๑๐๐ ชนิด
143.ผงตะไตร่ขูดจากเจดีย์ ๑๐๘ วัด
144.ผงธูปในพระอุโบสถ ๑๐๘ วัด
145.ผงอิฐเจดีย์ จากพระธาตุจอมกิตติ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
146.ผงอิฐรากฐาน จากพระธาตุพนม
147.กระเบื้องพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
148.ปูนหน้าบ้าน พระอุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส
149.ผงประหลาดโบราณในถ้ำ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
150.ผงดอกไม้ ณ ที่บูชาสมเด็จและเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส

ผงทั้งหมดนี้ ก่อนที่จะนำไปผสมสร้างพระสมเด็จนางพญา ส.ก. ได้ประกอบพิธีปลุกเสกผงด้วยคาถาชินบัญชร ๑๐๘ คาบและอิติปิโส ๑๐๘ คาบ ณ พระอุโบสถ วัดมกุฏกษัตริยาราม.สำหรับพระผงสมเด็จพระอุณาโลม ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างตามแบบพระผง”จิตรลดา”ขนาดเท่าของจริงทุกประการ และได้ใช้ผงชนิดเดียวกับพระสมเด็จนางพญาส.ก.
รายการผงวัตถุมงคลดังกล่าวนี้สภามกามกุฏฯได้รวบรวมบดเป็นผงละเอียด ส่วนกระเบื้องมุงหลังคานั้นบริษัทกระเบื้องกระดาษไทยจำกัด ได้รับหน้าที่ดำเนินการเข้าเครื่องบดให้ทั้งหมดโดยไม่คิดค่าตอบแทน
เมื่อสร้างเสร็จเป็นองค์พระแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีก ๗ วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหารฯเมื่อวันที่ ๕–๑๑ กค.๒๕๑๙
รายนามพระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
๑.วันจันทร์ ๕ กค. ๒๕๑๙ เวลา ๑๗.๐๐ น.
สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ฯ นครราชสีมา
พระเทพวราลังการ(หลวงปู่ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
พระสุทธิสารโสภณ วัดศรีโพแท่น จ.เลย
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
โดยมีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพุทธมนต์ ๑๐รูป
๑.สมเด็จพระวันรัต วัดสังเวชวิศยาราม
๒.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
๓.สมเด็จพระพุทธิวงศมุนี วัดเบญจมบพิธ
๔.พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ
๕. พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม
๖.พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติการาม
๗.พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ
๘.พระราชสารมุนี วัดเขมาภิรตาราม
๙.พระปริยัติเมธี วัดมกุฎกษัตริย์
๑๐.พระอุดมศีลคุณ วัดบุรณศิริมาตยาราม
๒.วันอังคาร ๖ กค. ๒๕๑๙
พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
หลวงพ่อมา วัดวิเวกอาศรม ร้อยเอ็ด
พระโพธิสังวรเถร(หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต ธนบุรี
พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง(ท่านผู้นี้ไม่ได้ เอนกายลงจำวัดเป็นเวลานานปี)
๓.วันพุธ ๗ กค. ๒๕๑๙
พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม กาฬสินธุ์
หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
หลวงพ่อชา วัดศรีแก่งคร้อ ชัยภูมิ
หลวงพ่อชม วัดป่าบ้านบัวค่อม อุดรธานี
หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
หลวงพ่อมา วัดวิเวกฯ ร้อยเอ็ด
๔.วันพฤหัสบดี ๘ กค.๒๕๑๙
พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
หลวงพ่อจ้อย วัดสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี
หลวงพ่อบุญรักษ์ วัดคงคาวดี สิชล นครศรีธรรมราช
หลวงพ่อเหรียญ วัดป่าอรัญญบรรพต หนองคาย
พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิต หนองคาย
๕.วันศุกร์ ๙ กค.๒๕๑๙
พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อุบลฯ
หลวงพ่อพั่ว วัดบ้านนาเจริญ อุบลฯ
พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี
หลวงพ่อจันทร์(อายุ ๑๐๒ปี) วัดนามะตูม ชลบุรี
๖.วันเสาร์ ๑๐ กค. ๒๕๑๙
สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม อ่างทอง
หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
๗.วันอาทิตย์ ๑๑ กค.๒๕๑๙
ตอนกลางวัน(เวลา ๑๓–๑๖ น.) หลวงปู่ธูป วัดสุทรธรรมทาน(วัดแค) กทม.นั่งปรกบริกรรมภาวนาเดี่ยว ๔ ชั่วโมงเต็ม
ในตอนค่ำ สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
พระอาจารย์ผ่อง วัดสามปลื้ม กทม.
หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ ธนบุรี
หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา กทม.
พระครูสงัด วัดพระเชตุพนฯ กทม.

ในวันที่ ๑๒ กค.๒๕๑๙ รายนามพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา ๑๐ รูป ในการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมสมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา ๑๖.๐๐ น. ณ พระอุโบสถ
คณะรังษี วัดบวรฯ
๑.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผติการาม
๒. พระสาสนโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส
๓. พระพุทธพจน์วราภรณ์ วัดราชบพิธ
๔. พระญาณวโรดม วัดบวรราชนิเวศ
๕.พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์
๖.พระธรรมเสนานี วัดพระเชตุพนฯ
๗. พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาทสุนทริการาม
๘.พระเทพวราภรณ์ วัดบุรณศิริมาตยาราม
๙.พระเทพปัญญากวี วัดราชาธิวาส
๑๐. พระเทพกวี วัดบวรฯ
ในพิธีพุทธาภิเษกทั้ง ๗ วันนั้นหลวงปู่โต๊ะปลุกเสกพิธีทั้ง ๗ วัน
prapart.jpg



..หมายเหตุ... ปัจจุบันนี้ยังมีพระตกค้างอยู่ที่สำนักงานฌาปนกิจสถาน วัดมกุฏกษัตริย์ กทม.


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 27 ต.ค. 2008 12:09 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 11:16 pm
โพสต์: 1786
ขอบคุณท่านผู้โพส์มากครับ
ใครที่ได้ครอบครองพระชุดนี้ไว้จะได้รู้คุณค่า
"พระจิตลดา" คงจะไกลเกินฝันของผมไปแล้ว แต่
พระนางพญา สก. และพระสมเด็จจิตรดาอุณาโลม..
น่าจะพอหาได้ แต่คงไม่ง่ายเหมือนกัน 8-)


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 27 ต.ค. 2008 12:16 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 14 ต.ค. 2008 9:22 pm
โพสต์: 832
:lcky: ขอบคุณ สำหรับข้อมูลดีๆๆ คับ :grt:

_________________
"สติเป็นบ่อเกิดของธรรม ใครอยากให้ธรรมเกิด พึงมีสติอยู่ทุกเมื่อ"


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 27 ต.ค. 2008 2:37 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
ขอบคุณครับ กับข้อมูลดี ๆ และความเพียรที่นำมาลงครับ :D

_________________
ถ้าเราไม่อยากได้อะไรจากใคร ก็จะไม่มีอะไรให้หมางใจกัน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 27 ต.ค. 2008 2:43 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 13 ต.ค. 2008 1:09 pm
โพสต์: 139
:lol: สวัสดีครับน้อง beck สบายดีนะครับ :rbb:

พระเครื่องที่เกี่ยวเนื่องกับในหลวง ผมมีแต่พระถอดพิมพ์อะครับ

-1.jpg


อย่างองค์นี้เป็นพระลองพิมพ์ที่กดด้วยผงจิตรลดากับผงชันเพชรครับ
สร้างพร้อมกับพระชุด "พระพุทธนวราชบพิตร" ที่ CP ขอพระบรมราชานุญาตจัดสร้างเมื่อครั้งฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ ครับ

-2.jpg


ด้านหลังจะมีตราครองราชย์ครบ ๕๐ ปี แบบเดียวกับพระพิมพ์ที่ออกให้บูชาโดย CP ทุกประการครับ

-3.jpg


ส่วนองค์นี้เป็นพระสมเด็จจิตรลดาพิมพ์เล็ก ซึ่งถอดพิมพ์จากองค์พระที่ติดอยู่ตรงฐานบัวของพระพุทธรูปที่ทรงพระราชทานให้แต่ละจังหวัด (ผมไม่แน่ใจว่าพระพุทธรูปนี้ทรงพระราชทานนามว่าอะไร...ครับ)
กดด้วยผงปัฐวีธาตุ+ผงจิตรลดาครับ ปัจจุบันพระองค์นี้อยู่ในความครอบครองของมิตรรักท่านหนึ่งของผมครับ :ilu:

-4.jpg


ด้านหลังจะเห็นเม็ดมวลสารต่างๆ อย่างชัดเจนครับ :rbb:

_________________
ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร อยู่ในภพที่สูงส่งเพียงไร ก็หนีความทุกข์ไม่พ้น


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 27 ต.ค. 2008 6:55 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 10:40 am
โพสต์: 369
3. เหรียญหนึ่งในสยาม

photo-Rw5VKAoKCmwAAEwUdI81.jpg



photo-Rw5VgwoKCmwAAE@uJMk1.jpg




เหรียญพระไพรีพินาศ หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปี ๒๕๑๙ หรือ ในวงการพระเครื่องเรียกกันว่า "เหรียญหนึ่งในสยาม" เป็นเหรียญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดสร้างขึ้น เพื่อพระราชทานแก่ ทหาร ตำรวจ ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศชาติ เหรียญนี้จึงไม่ได้มีการจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป ดังนั้นเหรียญนี้ จึงได้รับความสนใจในวงการพระเครื่องเป็นอย่างมาก เหรียญพระไพรีพินาศและพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดสร้างขึ้น เหรียญพระไพรีพินาศสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ ทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครรักษาดินแดน ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศชาติ ส่วนพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น สำหรับพระราชทานแก่หน่วยทหารเพื่อเป็นที่เคารพสักการะของทหาร ณ ฐานที่ตั้ง

ขนาดและลักษณะเหรียญพระไพรีพินาศ

เหรียญพระไพรีพินาศ มี ๓ แบบ คือ

แบบ ๑ เหรียญเงิน ลักษณะเหรียญทำเป็นรูปเสมา สูง ๓.๔ เซนติเมตร กว้าง ๒.๑ เซนติเมตร จำนวนเหรียญที่สร้าง ๑๐๐ เหรียญ
แบบ ๒ เหรียญโลหะผสมรมดำ ลักษณะเหรียญทำเป็นรูปเสมาเหมือนกับเหรียญเงิน สูง ๓.๔ เซนติเมตร กว้าง ๒.๑ เซนติเมตร จำนวนเหรียญที่สร้าง ๑ ล้านเหรียญ
แบบ ๓ เหรียญโลหะผสมรมดำ ลักษณะเหรียญทำเป็นรูปไข่ สูง ๓.๗ เซนติเมตร กว้าง ๒.๔ เซนติเมตร จำนวนเหรียญที่สร้าง ๗,๐๐๐ เหรียญ

เหรียญทั้ง ๓ แบบนี้ ด้านหน้าตรงกลางเหรียญมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับในเรือนแก้ว ข้างขวาของซุ้มเรือนแก้วมีข้อความว่า “อิ สฺวา สุ” ข้างซ้ายของซุ้มเรือนแก้วมีข้อความว่า “อ อุ ม“ ใต้ซุ้มเรือนแก้วมีข้อความว่า “พระไพรีพินาศ พ.ศ. ๒๕๑๙” ด้านหลังตรงกลางเหรียญมีพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับบนพระแท่น พระหัตถ์ขวาทรงถือพระสุวรรณภิงคารทรงหลั่งทักษิโณทกประกาศอิสรภาพ พระหัตถ์ซ้ายทรงถือพระแสงดาบพาดไว้บนพระเพลา ล้อมรอบด้วยข้อความว่า “ไทยต้องเป็นไท – สมเด็จพระนเรศวรมหาราช – สู้เพื่อชาติไทย”

เหรียญพระไพรีพินาศนี้ นางสาวไข่มุกต์ ชูโต เป็นผู้ออกแบบ และนายจินตรัตน์ พนมวัน ณ อยุธยา เป็นผู้พิมพ์แบบ

เมื่อสร้างเหรียญพระไพรีพินาศและพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเหรียญพระไพรีพินาศและปลุกเสกพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสารที่ ๙ เมษายน ๒๕๒๐ รายละเอียดพิธีพุทธาภิเษกเหรียญพระไพรีพินาศและพิธีปลุกเสกพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีดังนี้

การตั้งแต่งสถานที่
ในพระอุโบสถ ที่หน้าฐานชุกชีพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร บนธรรมสน์ศิลาตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประจำรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระชัยนวโลหะ รัชกาลที่ ๔ และพระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๕ มีขันพระสาครใส่น้ำลอยดอกบัว ๙ ดอก กลางขันพระสาครตั้งเชิงเทียนสำหรับปักเทียนพุทธมหามงคล๑ ข้างขันพระสาครด้านขวาตั้งเชิงเทียนปักเทียนพระมหามงคลปิดทอง๒ ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านซ้ายตั้งเชิงเทียนปักเทียนพระมหามงคลปิดเงิน๓ ประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ประดับด้วยแจกันดอกไม้ หน้าธรรมาสน์ศิลาตั้งโต๊ะทองสำหรับตั้งเชิงเทียนนวหรคุณ ๙ เล่ม และทอดเครื่องนมัสการทองใหญ่สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เครื่องนมัสการทองทิศสำหรับสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ

กลางพระอุโบสถตั้งแท่นสองชั้นปูผ้าขาว ชั้นบนประดิษฐานเหรียญพระไพรีพินาศ ชั้นล่างประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แวดล้อมด้วยราชวัตรฉัตรธง

ด้านหน้าของที่ประดิษฐานเหรียญพระไพรีพินาศและพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตั้งตู้เทียนชัย ขันพระสาครบรรจุน้ำลอยดอกบัวขันละ ๙ ดอก ขันพระสาครทางซ้ายและขวาปักเทียนมงคลพุทธาภิเษก ขันพระสาครตรงกลางสำหรับบัณฑิตปักเทียนบูชา ๑๐๘ พระคาถา
รอบแท่นที่ประดิษฐานเหรียญพระไพรีพินาศและพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอาสนสงฆ์ล้อมรอบ ๘ ทิศ สำหรับพระสงฆ์สวดบริกรรมคาถาปลุกเสก มีสมเด็จพระญาณสังวรเป็นประธานนั่งภาวนาบริกรรมที่แท่นทองหน้าตู้เทียนชัย และตั้งอาสนสงฆ์ด้านเหนือในพระอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ ๑๕ รูป เจริญคาถาจุดเทียนชัย ตั้งเตียงสำหรับพระสวดภาณวารติดกับผนังด้านหน้าของพระอุโบสถ วงสายสิญจน์ทั่วไป
ส่วนนอกพระอุโบสถภายในกำแพงแก้ว หน้าพระอุโบสถด้านทิศเหนือยกพื้นเป็นแท่นตั้งโต๊ะทองวางเครื่องบวงสรวงสังเวยและมีศาลสำหรับโหรบูชาพระฤกษ์

พิธีพุทธาภิเษกเหรียญพระไพรีพินาศ และปลุกเสกพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ก่อนเวลาพระฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา ไปยังพระบรมมหาราชวัง เข้าประตูวิเศษไชยศรี รถยนต์พระที่นั่งเทียบที่ประตูเกยหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เวลา ๑๔ นาฬิกา ๓๐ นาที เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ ไปทรงจุดธูปเทียนท้ายที่นั่งบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระสัมพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสร็จแล้ว เสด็จ ฯ ไปที่หน้าธรรมาสน์ศิลา ทรงจุดไฟจากโคมไฟฟ้า แล้วทรงจุดเทียนพุทธมหามงคล เทียนมหามงคลทองและเทียนมหามงคลเงิน ซึ่งตั้งอยู่บนธรรมาสน์ศิลา

ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการที่หน้าธรรมาสน์ศิลาบูชาพระพุทธรูปปางประจำรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๔ และพระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระสังฆราชถวายศีล ทรงศิลจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปที่มณฑลประดิษฐานเหรียญพระไพรีพินาศ และปลุกเสกพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระสุหร่าย ทรงโปรยข้าวตอก ดอกไม้ แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา เสด็จฯ ออกหน้าพระอุโบสถไปยังแท่นที่ตั้งโต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จขึ้นไปบนแท่นที่ตั้งโต๊ะเครื่องสังเวย เสด็จขึ้นไปบนแท่นที่ตั้งโต๊ะเครื่องสังเวย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนทองเทียนเงินที่โต๊ะเครื่องสังเวย แล้วทรงจุดธูปหางปักที่เครื่องสังเวยคาวหวาน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา เสด็จ ฯ ประทับพระราชอาสน์ที่ชานหน้าพระอุโบสถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชครูวามเทพมุนี ฯ ๔ อ่านประกาศบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จบแล้ว เสด็จ ฯ เข้าสู่พระอุโบสถ ประทับพระราชอาสน์ ประสงฆ์ ๑๐ รูป ๕ เจริญพระพุทธมนต์

ได้เวลามงคลฤกษ์ ๑๕ นาฬิกา ๔ นาที ถึงเวลา ๑๕ นาฬิกา ๓๔ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ ไปที่หน้าตู้เทียนชัย ทรงรับเทียนชนวนจากเจ้าพิธีพนักงานพิธี ทรงจุดไฟจากโคมไฟฟ้าแล้วถวายสมเด็จพระสังฆราชทรงจุดเทียนชัย ขณะนั้นโหรลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่าสังข์ ชาวพนักงานประโคมแตร ไกวบัณเฑาะว์ และดุริยางค์ พระสงฆ์เจริญคาถาจุดเทียนชัย เมื่อพระสงฆ์เจริญคาถาจุดเทียนชัยจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ ไปทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม ถวายสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะที่อาสนสงฆ์ พระคณาจารย์ที่จะนั่งบริกรรมปลุกเสก๖ และพระสวดภาณวาร๗ เดินเข้าไปรับพระราชทาน หมดจำนวนพระสงฆ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับพระราชอาสน์

เมื่อพระคณาจารย์ที่จะนั่งปรกภาวนาคาถาปลุกเสกขึ้นไปนั่งบนอาสนสงฆ์ในมณฑลพิธีพร้อมแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก จบแล้ว พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ลงจากอาสนสงฆ์ ออกจากพระอุโบสถ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ ฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเทียนมงคลพุทธาภิเษก๘ ที่ขันพระสาครข้างตู้เทียนชัย แล้วเสด็จ ฯ ไปทรงจุดธูปเทียนเครื่องบูชาธรรมที่หน้าเตียงพระสวดภาณวารเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับ

สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานพร้อมด้วยพระคณาจารย์นั่งภาวนาปลุกเสกและพระพิธีกรรมสวดภาณวารเสร็จเมื่อเวลาประมาณ ๒๓ นาฬิกา แล้วสมเด็จพระญาณสังวรทำพิธีดับเทียนชัย เป็นเสร็จพิธี
๑. ขี้ผึ้งหนัก ๓๒ บาท ใส้ ๔๙ เส้น (เท่าพระชนมายุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) ความสูงของเทียนวัดจากรอบพระเศียรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๒. ขี้ผึ้งหนัก ๘ บาท ใส้ ๔๙ เส้น (เท่าพระชนมายุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) ความสูงของเทียนวัดจากรอบพระเศียรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๓. ขี้ผึ้งหนัก ๘ บาท ใส้ ๔๔ เส้น (เท่าพระชนมายุสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ) ความสูงของเทียนวัดจากรอบพระเศียรสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
๔. พระราชครูวามเทพมุนี รามเวทีศรีไสยศาสตร์ อนุษฏภวาทโกศล (สมจิตร สังสิพราหมณกุล)
๕. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์คาถาจุดเทียนชัย ๑๐ รูป คือ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ ป.ธ.๔) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ ป.ธ.๙) วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ ป.ธ.๗) วัดสังเวศวิศยาราม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ป.ธ.๙) วัดสามพระยา
พระวิสุทธาธิบดี (ไสว ป.ธ.๗) วัดไตรมิตรวิทยาราม
พระพุทธิวงศมุนี (สุวรรณ ป.ธ.๗) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
พระพรหมคุณาภรณ์ (เกี่ยว ป.ธ.๙) วัดสระเกศ
พระธรรมปิฎก (นิยม ป.ธ.๙) วัดชนะสงคราม
พระราชมนต์มุนี (ทองคำ ป.ธ.๕) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
พระสังวรกิจโกศล (บุญเลิศ) วัดราชสิทธาราม
๖. รายนามพระคณาจารย์ที่นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก ๑๕ รูป คือ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ ป.ธ.๙) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพ ฯ
พระราชธรรมวิจารย์ (ธูป) วัดสุนทรธรรมทาน กรุงเทพ ฯ
พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพ ฯ
พระรัตตากรวิสุทธิ์ (ดุลย์) วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
พระราชพุทธิรังษี (คำ) วัดหนองจิก จังหวัดปัตตานี
พระสังวรวิมลเถร (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพ ฯ
พระครูถาวรวิทยาคม (เพิ่ม) วัดสรรเพ็ชญ์ จังหวัดนครปฐม
พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม
พระครูเมธีสาครเขต (ชื่น ป.ธ.๖) วัดตึกมหาชยาราม จังหวัดสมุทรสาคร
พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด) วัดกาหลง จังหวัดสมุทรสาคร
พระครูสุตตาธิการี (ทองอยู่) วัดหนองพะอง จังหวัดสมุทรสาคร
พระครูธรรมกิจโกศล (นอง) วัดทรายขาว จังหวัดปัตตานี
พระครูสุจิตตานุรักษ์ (จวน) วัดหนองสุ่ม จังหวัดสิงห์บุรี
พระครูสังวรธรรมานุวัตร (พล) วัดหนองคณฑี จังหวัดสระบุรี
๗. พระสวดภาณวาร เป็นพระครูสัญญาบัตร พระครูฐานานุกรม พระเปรียญ จากวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ๔ รูป
๘. ขี้ผึ้งหนัก ๓๒ บาท ใส้ ๔๙ เส้น (เท่าพระชนมายุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) ความสูงของเทียนวัดจากรอบพระเศียรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เอกสารอ้างอิง

เพลินพิศ กำราญ. พิธีพุทธาภิเษกเหรียญพระไพรีพินาศ และปลุกเสกพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช, ศิลปากร ปีที่ ๒๑ เล่ม ๕ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๒๑


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 27 ต.ค. 2008 7:14 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 10:40 am
โพสต์: 369
4. พระกริ่งปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร ปี พ.ศ. 2530

ForumID0022753-PIC1.jpg






พระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ ปวเรศ
เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช เจริญพระชนมพรรษา 5 รอบนักษัตริย์ ในปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้จำลองแบบ พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองศุภมงคลสมัย และ เทิดพรเกียรติในมหามงคลวโรกาสนี้ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผงจิตรลดา เพื่อบรรจุในองค์พระกริ่งปวเรศที่สร้างใหม่นี้ ทุกองค์ด้วย

วัตถุประสงค์
1.ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลส่วนพระองค์
2.ถวายวัดบวรนิเวศวิหาร
3.ถวายวัดญาณสังวรารามมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์
4.เป็นทุนใช้จ่ายในการแกะสลักพระพุทธรูปใหญ่ ณ เขาชีจรรย์
5.เป็นทุนบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และสมทบทุนส่วนหนึ่งเพื่อสร้างตึก ภปร. 72 ปี สภากาชาดไทย

การดำเนินการ
พระกริ่ง –พระชัยวัฒน์ ปวเรศ เป็นพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของวัดบวรนิเวศวิหารโดยตรงอีกรุ่นหนึ่ง ที่สร้างขึ้นในมหาศุภมงคลสมัยพิเศษสุดที่ปวงประชาชาวไทยปลาบปลื้มปิติอย่างยิ่ง ดำเนินการสร้างโดยวัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมทั้งวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหารฯ ด้วยความร่วมมือของกระทรวงมหาดไทย
รูปแบบองค์พระ คณะกรรมการดำเนินงานได้ทำการถอดพิมพ์พระกริ่งปวเรศองค์เดิมของวัดบวรนิเวศวิหารเพื่อเป็นแม่พิมพ์พระกริ่งปวเรศที่สร้างใหม่ ส่วนพระชัยวัฒน์ปวเรศ ได้มอบให้ปฏิมากร มนตรี พัฒนางกูร เป็นผู้ปั้นหุ่นขี้ผึ้งเป็นแม่พิมพ์
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร จัดสร้างโดยกรรมวิธีเททองหล่อพระแบบโบราณของไทยที่สืบทอดกันต่อมาจนปัจจุบัน ทำการเททองหล่อพระทั้งหมดในกำหนดพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร และ ทำการตกแต่งองค์พระทั้งหมดที่วัดบวรนิเวศวิหาร ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของคณะกรรมการ คือ คงสภาผิวองค์พระไว้ตามสภาพเดิมที่เททองหล่อพระเสร็จแล้ว ดังนั้น ผิวองค์พระตามธรรมชาตินี้มีจำนวนหนึ่งที่ผิวไม่เรียบ จึงเห็นสมควรให้ช่างทำการตกแต่งขัดผิวองค์พระใหม่อีกครั้งหนึ่ง มิได้มีการหล่อพระเสริมเพิ่มเติมแต่อย่างใดทั้งสิ้น


โลหะ ทองชนวน และ แผ่นยันต์หล่อพระ
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างด้วยเนื้อนวโลหะ ซึ่งประกอบด้วยทองคำ เงิน ทองแดง สังกะสี ชิน เจ้าน้ำเงิน( แร่ชนิดหนึ่ง) เหล็กละลายตัวบริสุทธิ์ และ ปรอทสะตุ ซึ่งนับเป็นโลหะธาตุต่างๆ ที่สำคัญ และหายาก ตามตำรับวิธีการหล่อพระกริ่งแต่เก่าก่อน เมื่อได้อายุตามควรแล้ว ผิวองค์พระจะมีสีดำ ที่นิยมเรียกว่า “เนื้อกลับ”


ทองชนวนหล่อพระ ประกอบด้วย
- ทองชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าที่สำคัญๆ ของวัดบวรนิเวศวิหาร
- ทองชนวนหล่อพระพทุธรูป ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร
- ทองชนวนหลวงพ่อมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ที่ยังคงเหลืออยู่)
- ทองชนวนรุ่นเก่าของวัดสุทัศนเทพวราราม
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ภปร. ที่ระลึก 50 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ทองชนวน อื่นๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค
แผ่นยันต์พระอาจารย์จำนวนมาก ซึ่งกระทรวงมหาดไทย และ คณะศิษย์ในสมเด็จพระญาณสังวร รวบรวมจากจังหวัดต่างๆ ของประเทศ ประกอบด้วย พระอาจารย์ในปี 2528 จำนวนมากกว่า 108 รูป และ พระอาจารย์มีชื่อเสียงที่มรณภาพไปก่อนแล้วอีกหลายสิบรูป


จำนวนพระที่สร้าง
ตามโครงการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร กำหนดสร้าง จำนวน 25,000 ชุด แต่เนื่องจากกำหลดให้ช่างเททองหล่อพระทุกองค์ในพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงทำการเททองหล่อพระตามกรรมวิธีแบบโบราณของไทย ซึ่งก็เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดต่อการเททองหล่อพระในกำหนดพิธี ดังนั้น ช่างจึงต้องทำหุ่นองค์พระเพิ่มขึ้นเผื่อเสียไว้ตั้งแต่แรก เพื่อจะได้ทำการเททองหล่อพระทั้งหมดอย่างต่อเนื่องในกำหนดพิธี การเททองหล่อพระในครั้งนี้ ได้พระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ เป็นองค์พระครบทุกองค์ตามจำนวนหุ่นพระที่เตรียมไว้ ปรากฎเป็นอัศจรรย์ประการหนึ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ พระที่เห็นสมควรคงไว้เป็นช่อ มีดังนี้
พระกริ่งปวเรศ จำนวน 15 ช่อ
พระชัยวัฒน์ ปวเรศ จำนวน 32 ช่อ


พิธีเททองหล่อพระ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ โปรดเกล้าฯ ทรงรับเชิญเสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อพระกริ่ง และ พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2528 เป็นปฐมมหามงคลฤกษ์ ของพิธีเททองหล่อพระ ทองชนวนจากปฐมพิธีนี้จักเป็นทองชนวนในการหล่อพระสืบต่อไป ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานพิธีการเททองหล่อพระ ณ วัดบวรนิเวศวิหารให้เสร็จทั้งหมดก่อนประกอบพิธีพุทธาภิเษก

pawaret1.jpg



pawaret2.jpg




พิธีพุทธาภิเษก
การประกอบพิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง และ พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ประกอบพิธีรวม 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 พิธีพุทธาภิเษกในคืนวันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธี
สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิษฐานจิต
ครั้งที่2 พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธ – พฤหัสบดี ที่ 21-22 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระญาณสังวร ประธานประกอบพิธี
ครั้งที่3 พิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง และ พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วันอาทิตย์ ที่ 28 มิถุนายน 2530 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี
สมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัย
สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิษฐานจิต

pawaret3.jpg



รายนามพระภาวนาจารย์
พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ครั้งที่ 1
วันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2529
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร

สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ประธานพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิต และไ ด้อาราธนาพระภาวนาจารย์อีก 36 รูป จากภาคต่างๆ นั่งปรกอธิษฐานจิต มีรายนามดังต่อไปนี้
1.พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
2.หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน กรุงเทพมหานคร
3.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังค์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
4.พระครูอาคมวิสุทธิ (คง) วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี
5.พระครูญาณวรกิจ (กล้วย) วัดหมูคุด จ.จันทบุรี
6.พระรัตนคุณากร (แช่ม) วัดบ่อพุ จ.จันทบุรี
7.พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
8.พระครูเมธีธรรมสาธก (หนู) วัดสุนทรพิชิตาราม จ.นครนายก
9.หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม
10.พระภาวนาพิศาลเถร (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
11.พระอาจารย์นก วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์
12.พระครูนนทสมณวัตร (เหรียญ) วัดบางระหงษ์ จ.นนทบุรี
13.พระครูนนทสมณวัตร (เหรียญ) วัดบางระหงษ์ จ.นนทบุรี
14.พระครูวิเศษภัทรกิจ (ทองใบ) วัดสายไหม จ.ปทุมธานี
15.พระอาจารย์ฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
16.พระวิสุทธาจารคุณ (เกตุ) วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์
17.พระครูปลัดพรหม วัดขนอนเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา
18.พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด
19.พระครูอนุรักษ์วรคุณ (สง่า) วัดหนองม่วง จ.ราชบุรี
20.พระครูสมุทรวิจารณ์ (คลี่) วัดประชาโฆศิตาราม จ.สมุทรสงคราม
21.พระครูอาทรธรรมนิเทศก์ (ทองอยู่) วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร
22.พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
23.พระครูสังวรธรรมานุวัตร (พล) วัดหนองคณฑี จ.สระบุรี
24.พระครูสรกิจพิจารณ์ (ผัน) วัดราษฎร์เจริญ จ.สระบุรี
25.พระครูสาธุกิจวิมล (เล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
26.หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร จ.นครปฐม
27.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
28.พระครูเกษมธรรมานันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
29.พระครูนนทสิทธิการ เจ้าอาวาสวัดไทรน้อย จ.นนทบุรี
30.พระครูวิจิตรธรรมานุวัตร วัดหนองกระบอก จ.ระยอง
31.พระวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงษ์) วัดตรีทศเทพ
32.พระครูปริยัติคุณาธาร วัดชนะสงคราม
33.พระญาณสมโพธิ (ขวัญ) วัดอรุณราชวราราม
34.พระปริยัติมุนี ( ชูศักดิ์ ) วัดหงส์รัตนาราม
35.พระครูมงคลญาณสุนทร (ผ่อง) วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส
36.พระโพธิสังวรเถร (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร


[b]รายนามพระภาวนาจารย์นั่งปรก
พิธีมหามงคลพุทธาภิเษกพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ ปวเรศ
ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ครั้งที่ 3
วันอาทิตย์ ที่ 28 มิถุนายน 2530[/b]
1.สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
2.พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร
3.พระมงคลราชมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
4.พระราชพุทธิรังษี วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี
5.พระสุนทรธรรมภาณี วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี
6.พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
7.พระโพธิสังวรเถร วัดโพธินิมิตร กรุงเทพมหานคร
8.พระอุดมสังวรเถร วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
9.พระภาวนาพิศาลเถร วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
10.พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด
11.พระภาวนาโกศลเถร วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
12.พระสุธรรมยานเถร วัดจันทาราม จ.อุทัยธานี
13.พระครูสุนทรธรรมวัตร วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
14.พระครูประสิทธิ์ภาวนาคุณ วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
15.พระครูสังวรสมาธิวัตร วัดเภตราสุขารมณ์ จ.ระยอง
16.พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี
17.พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
18.พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว จ.ปัตตานี

** สำหรับการอธิษฐานจิตครั้งที่ 2 สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานประกอบพิธี ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันวิสาขบูชา 21-22 พฤษภาคม 2529


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 27 ต.ค. 2008 11:23 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 14 ต.ค. 2008 9:22 pm
โพสต์: 832
อะไรกันนี่


อะไรกันนี่



ขอบคุณ คับ สำหรับข้อมูลดีๆๆๆ


:lcky: :lcky: :lcky:

_________________
"สติเป็นบ่อเกิดของธรรม ใครอยากให้ธรรมเกิด พึงมีสติอยู่ทุกเมื่อ"


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 30 ต.ค. 2008 10:39 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 09 ก.ย. 2008 11:02 pm
โพสต์: 360
ขอบคุณมากครับ ข้อมูลดีจริงๆ

_________________
Yesterday is history
Tomorrow is a mystery
And Today is a gift...
Thats why they call it the Present


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: พุธ 26 พ.ย. 2008 7:09 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 10:41 am
โพสต์: 1599
อีกหนึ่งองค์ฮะ

p6371466n1.jpg


_________________
ชาตินี้ไม่จริง ชาติไหนก็ไม่จริง


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: พุธ 26 พ.ย. 2008 7:18 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 14 ต.ค. 2008 9:22 pm
โพสต์: 832
:lcky: ขอบคุณ คับ :grt:

_________________
"สติเป็นบ่อเกิดของธรรม ใครอยากให้ธรรมเกิด พึงมีสติอยู่ทุกเมื่อ"


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: พุธ 26 พ.ย. 2008 11:22 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 09 ก.ย. 2008 11:02 pm
โพสต์: 360
ข้อมูลแน่นมาก
ขอบคุณครับ :grt:

_________________
Yesterday is history
Tomorrow is a mystery
And Today is a gift...
Thats why they call it the Present


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 27 พ.ย. 2008 1:18 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
ยอดเยี่ยมกระเทียมโทนครับ :grt:

_________________
ถ้าเราไม่อยากได้อะไรจากใคร ก็จะไม่มีอะไรให้หมางใจกัน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 28 พ.ย. 2008 12:46 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 29 ก.ย. 2008 12:53 pm
โพสต์: 754
ขอบคุณมากเลยครับ เก่งจริงๆ

_________________
.........ถ้าเจ้าได้ทุกอย่างอย่างที่คิด
ชั่วชีวิตจะเอาของกองที่ไหน
จะได้บ้างเสียบ้างจะเป็นไร
ช่างหัวใครช่างหัวมันเท่านั้นเอง ..........


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 29 พ.ย. 2008 9:24 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 14 ต.ค. 2008 9:22 pm
โพสต์: 832
:grt: ไกล้วันพ่อแล้วคับ พวกเราชาว N มาสวดมนต์ถวายพ่อหลวงกันเถอะคับ และใครที่มีพระเครื่องที่เกี่ยวเนื่องในพระองค์ เชิญมาคล้องคอบูชากันนะคับ :grt:

_________________
"สติเป็นบ่อเกิดของธรรม ใครอยากให้ธรรมเกิด พึงมีสติอยู่ทุกเมื่อ"


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO