นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พุธ 24 เม.ย. 2024 3:36 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:10 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
พระร่วงหน้าพระธาตุ
เอกลักษณ์ขลังของเมืองน้ำ

                                    
      เมืองน้ำ  หรือ  ชลบุรี  มีตำนานประวัติที่เล่าขานกันช้านาน  มิใช่หัวเมืองใหม่ที่ไม่ปรากฏประวัติศาสตร์ใด ๆ  ให้ศึกษา  เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเมืองชลมีหลากหลายนัก

            จะเอาอะไรล่ะ ?

      ถึงขนาดออกทีวีรายการเก่าชื่อ   ตามไปดู     หรือสารคดีข่าวทั้งหลายเป็นที่ฮือฮามาแล้วว่าเมืองชลนั้นมีถนนซึ่งเรียงรายด้วย   คลีนิก   มากที่สุดในประเทศไทยทั้งซ้าย-ขวา   ถนนนั้นชื่อ

            วชิรปราการ

      และบนถนนสายเดียวกันนี้ยังมีซอกซอยอีกนับไม่ถ้วน  ทว่าซอยใหญ่ปรากฏชื่อที่เรียงรายคล้องจองกันอย่างไพเราะซึ่งหามีไม่ในจังหวัดอื่น

      ราชวิถี  ศรีบัญญัติ รัฐผดุง  บำรุงเขต  เจตต์ประชา  ฑีฆามาตุ  ชาติมหันต์  จันทร์สถิต  พิศฐาน  บ้านลำภู  คูกำพล  กลป้อมค่าย  บ่ายพลนำ  สำราญราษฎร์  ชาติเดชา  ท่าเรือพลี  ศรีนิคม  ปฐมวัย  ไกรเกรียงยุทธ์  อุทยาน  ธารนที  ปรีดารมย์  ชมสำราญ  ย่านโพธิ์ทอง  คลองสังเขป เทพประสาท  ราชประสิทธิ์  จิตประสงค์  จงประสาน  เทศบาลสมมุติ   

      และมิใช่เพียงจะตั้งให้สอดคล้องคล่องปากก็เปล่า   แต่ยังประหวัดไปถึงพงศาวดารอันยาวนานก่อนกำเนิดสยามประเทศเป็นทางการซ้ำไป  ด้วยโยงถึงสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกรีฑาทัพเพื่อตีหัวเมืองต่าง ๆ อันแข็งข้อเมื่อครั้งพระองค์มีพระประสงค์จะรวมชาติเป็นปึกแผ่น

      เจ้าเมืองชลบุรีมิได้ต่อต้านแต่อย่างใดหากเจ้าเมืองจันทบุรีนั่นซิที่แข็งเมือง  พระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพทั้งบกและน้ำเข้าพักทัพในตัวเมืองชล  เชื่อกันว่ายั้งทัพอยู่บริเวณอันปัจจุบันคือซอย

            กลป้อมค่าย

      จึงได้นามตามประวัติศาสตร์ดังกล่าวมา  แลถนนอันพาดผ่านปากซอยกลป้อมค่ายซึ่งชาวเมืองนิยมเรียกนามเก่ากันว่า   สะพานหัวค่าย   นั้น  ก็เป็นถนนที่ตั้งชื่อตามพระนามเดิมในพระเจ้ากรุงธนบุรีแต่ครั้งยังเป็น   พระยาวชิรปราการ   แห่งกรุงอโยธยา 

            นี่แบบประวัติศาสตร์ชาติ

      ถ้าแบบ   วัด   ก็คุยเขื่องได้ว่าชลบุรีมีวัดอันปรากฏสมภารเจ้าที่ขลังอย่างสุด ๆ มากมายเรียงรายกันไปในทุกอารามไม่มีเว้น  ว่ากันเฉพาะอำเภอเมืองเป็นไร

      วัดเครือวัลย์

วัดเครือวัลย์pidta1.jpg



           มีเถระนามกระเดื่องชื่อ  หลวงพ่อแก้ว  รังสรรค์พระเครื่องพิมพ์หนึ่งคือ   พระภควัมปติ   นักนิยมพระเรียกง่าย ๆ ว่า    พระปิดตา    เป็นอิทธิวัตถุในรูปลักษณ์ซึ่งไม่เหมือนใครในเบื้องแรก  สร้างยากลำบากเป็นยิ่งนัก  และทรงอานุภาพอย่างยากที่จะมีพระปิดตาสำนักใดทัดเทียม  ดังนั้น  ในทุกวันนี้วงการพระจึงนิยมกันมากด้วยค่าบูชาที่สูงลิบลิ่ว  ทั้งมีจำนวนน้อยจนกล่าวได้เต็มปากว่าหายากกว่าพระสมเด็จวัดระฆัง ฯ   สืบจากหลวงพ่อแก้วก็มีหลวงพ่อถัน  และหลวงพ่อปานที่เข้มขลังไม่ต่างไปจากหลวงพ่อแก้วผู้เป็นองค์ครู

      วัดนอก

pidtaporpoo re1.jpg



           ตั้งอยู่ตรงข้ามวัดเครือวัลย์  ในยุคไล่เลี่ยกับหลวงพ่อแก้วปรากฏภิกษุรูปหนึ่งชื่อ  หลวงพ่อภู่  เป็นพระผู้ทรงอภิญญาปาฏิหาริย์มาก  อาจด้วยเพราะเป็น   สหธรรมิก   กันหรือวัดใกล้กันก็ไม่อาจเดา  ทำให้หลวงพ่อภู่สถาปนาพระปิดตาเช่นเดียวกัน  ด้วยอายุพระที่ใกล้เคียงและเนื้อหาที่จัดจ้าน  ผนวกพุทธคุณที่แสดงให้คนแขวนประสบเจอ   ส่งผลให้คนชลบุรีและชาวนิยมพระต่างถิ่นแสวงหาพระปิดตาหลวงพ่อภู่ไม่ต่างกัน  หลังหลวงพ่อภู่มีหลวงพ่อบุญเรืองที่คนเมืองชลศรัทธานัก

      วัดกำแพง

jiam1 re1.jpg



           ยุคเก่ามีหลวงปู่เจียมเถระผู้เฒ่าผู้มีอำนาจจิตสูงล้ำ  เช่นเดียวกับหลวงพ่อภู่อาศัยเค้าแห่งขลังจากหลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์  หลวงปู่เจียมก็อภิเษกพระปิดตาในลักษณาการที่คล้ายกัน  หากทุกสำนักแม้พระจะปิดตาเหมือนกัน  แต่รูปแบบพิมพ์ทรงย่อมเป็นเอกลักษณ์ของใครของมัน  มวลสารที่สวยซึ้งและพุทธคุณที่โดดเด่นส่งผลให้พระปิดตาหลวงปู่เจียมมีราคาค่างวดเป็นรองแต่พระปิดตาวัดเครือวัลย์เท่านั้น  

ถัดจากหลวงปู่เจียมได้พระบริสุทธิ์สงฆ์ทดแทนมาองค์หนึ่งท่านชื่อ  หลวงปู่เหมือน  อินทโชโต  ไม่มีใดต้องสงสัยในความเป็นพระดี-พระเก่ง  ทรงบุญญาภินิหารอย่างเอกอุ  ไม่เขินเลยถ้าจะคุยในเรื่องหลวงปู่เหมือน  ท่านให้กำเนิดพระปิดตาอย่างบรรจงสุดถึงสามรุ่น  แต่ละรุ่นมีคุณภาพชั้นที่หนึ่งทีเดียว

      วัดอุทยานนที

วัดสมถะ kriap1 re1.jpg



           เดิมชื่อวัดสมถะ  มีภิกษุแก่กล้าวิชาในอดีตนามหลวงพ่อครีพ  ท่านองค์นี้มีอภินิหารไม่แพ้ใคร  กิตติคุณแห่งท่านยังก้องอยู่ในหัวใจคนชลบุรีรุ่นเก่าอยู่ไม่เสื่อมคลาย  พระเครื่องในท่านยังอาศัยรัศมีของหลวงพ่อวัดเครือวัลย์เช่นกัน   พระปิดตาหลวงพ่อครีพทุกวันนี้ไม่ใช่ของหาง่าย  นักนิยมพระต่างแสวงหาเมื่อปรารถนาพระปิดตาหลวงพ่อแก้วแต่ไม่ได้  ต่างเอ่ยโดยศรัทธาว่าไม่มีพระหลวงพ่อแก้วใช้หลวงพ่อครีพก็ได้ไม่ต่างกัน  

สิ้นท่านแล้วยังมีหลวงพ่อบุญมาผู้ศักดิ์สิทธิ์  เป็นที่รู้กันว่าครึ่งหนึ่งของคนชลในทุกวันนี้  เป็นลูกหลวงพ่อบุญมาถ้วนทั่ว  ใครที่เลี้ยงยากโยเยป่วยไข้ง่ายให้เป็นลูกยกท่านเสีย  หากท่านรับใครและผูกข้อไม้ข้อมือให้เสร็จ  รับรองว่าหายเจ็บไข้หายออดอ้อนอย่างไม่มีข้อต่อรอง

วัดน้อย

     มีอดีตเจ้าอาวาสนามหลวงพ่อหลิม  ท่านองค์นี้เป็นศิษย์โดยตรงในท่านพระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ  หรือ  หลวงพ่อปาน  วัดมงคลโคธาวาส  (วัดบางเหี้ย)   อ.คลองด่าน  จ.สมุทรปราการ หลวงพ่อหลิมหรือที่คนชลเรียกโดยสนิทสนมรักใคร่บูชาว่า   ก๋งหลิม   เป็นเถระผู้เมตตาใจดียิ่งนัก  

หากเครื่องมงคลในท่านไม่เพียงปรากฏอานุภาพเมตตาดังนิสัยเพียงอย่างเดียว  กลับพบโดยมากว่าเป็นคงกระพัน  ชาตรี  มหาอุดหยุดปืน  และแคล้วคลาดกันภัยไม่ใช่น้อย  ดังกล่าวมานี้มิใช่อ้างอย่างเลื่อนลอย  แต่คนชลทุกคนที่แขวน-คล้องพระท่านได้พบเจอกันถ้วนทั่วแม้ตัวผมเอง  ท่านเป็นพระที่มีจิตตานุภาพแท้จริง   

ก๋งหลิม   รังสรรค์พระปิดตาอย่างประเพณีนิยมขึ้นสองรุ่น  แต่ละรุ่นล้วนมีอานุภาพอัศจรรย์เป็นที่ต้องการของผู้นิยมพระ  แม้หาไม่ได้ !  พระพิมพ์ชินราชก็ดี  เหรียญรูปเหมือนทั้งสองรุ่นก็ดี  ยังพอแทนกัน  สิ้นท่านแล้วได้หลวงพ่อเป้าเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อและท่านองค์นี้ก็ขลังอย่างแทนองค์อาจารย์ได้ไม่อายใคร  พระเครื่องทั้งหลายในนามท่านคนชลล้วนปรารถนาเช่นกัน

      วัดราษฎร์บำรุง

           ในอดีตมีพระผู้แตกฉานทั้งปริยัติและปฏิบัติรูปหนึ่งชื่อ  หลวงพ่อหลาย  หรือ  อาจารย์หลาย   ในคำของคนชล  ท่านองค์นี้มีอภินิหารหลายประการ  โดยเฉพาะการรู้เห็นในสิ่งลึกลับที่ซ่อนเร้นจากสายตามนุษย์ท่านจะเห็นได้รู้ได้น่าอัศจรรย์  ก็จำพวกเทพดาและภูตผีนั่นแล  นอกจากนั้นเครื่องขลังซึ่งท่านบรรจุคุณไว้ก็มีประสบการณ์ไม่น้อยเช่นกัน  

ว่าไปทำไมมีก็ท่านนี่แหละเป็นหนึ่งในหลาย ๆ สิบพระคณาจารย์ที่ได้รับนิมนต์ไปร่วมมหาพุทธาภิเษกเหรียญพระมงคลบพิตร  ณ  วัดมงคลบพิตร  จ.พระนครศรีอยุธยา  ในเดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ. 2485  โดยมีท่านพระครูสิทธิสารคุณ  หรือ  หลวงพ่อจาด  วัดบางกระเบา  อ.บ้านสร้าง  จ.ปราจีนบุรี  เป็นเจ้าพิธี  

      เอาพอหอมปากหอมคอเท่านี้ก่อนนะครับ  เพราะถ้าเล่าทุกวัดคงต้องขอสัมปทานหน้ากระดาษจากท่าน บก. บรรจง อีกมาก  เอาเป็นว่ายกยอดวัดสำคัญเช่น  วัดเขาบางทราย  วัดใหญ่อินทาราม  วัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า)  ฯลฯ  ไปก่อน  โอกาสหน้ามีจังหวะเหมาะก็จะเล่าสู่กันฟัง

      ชลบุรีใช่มีแต่เพียงพระเครื่องใหม่ ๆ  ดังกล่าวแล้วว่าเป็นเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน
ดังนั้น  ส่วนหนึ่งของชลบุรีจึงถูกบันทึกไว้ในหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ว่าเป็น   เมืองพระรถเมรี   ถ้าใครคุ้นเคยกับนิทานพื้นบ้านคงเข้าใจ  ส่วนหนึ่งดังว่านั้นปัจจุบันเป็นอำเภอมีชื่อว่า   พนัสนิคม

      พนัส  แปลว่า  ป่า  แน่นอนว่าสมัยก่อนที่แห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และหมู่สัตว์น้อยใหญ่  เป็นเหตุจูงใจให้ผู้คนอพยพเข้าไปอยู่อาศัยเพื่อทำมาหากิน  รวมถึงชาวลาวโซ่งที่อพยพมาจากเวียงจันทน์  ประเทศลาว

      มีชาวพุทธที่ไหน  มีวัดที่นั่น  พนัสนิคมจึงปรากฏวัดเก่าโบราณหลายแห่งพร้อมกับพระเครื่องยุคตั้งเมืองทั้งเนื้อดิน  ชิน  และผง  แต่ที่ครองความนิยมอันดับหนึ่งและมีประสบการณ์มากต้องยกให้พระเนื้อชินที่รู้จักกันในนาม   พระร่วงหน้าพระธาตุ

      พระพิมพ์นี้ปัจจุบันเป็นที่นิยมและหายากมาก  ยิ่งสภาพสมบูรณ์แล้วยิ่งยากใหญ่ด้วยเนื้อเป็นตะกั่วผสมตามแบบสมัยนิยมของโบราณาจารย์  จึงไม่ค่อยทนกับสภาพแวดล้อมเท่าไรนัก  แต่ความต้องการที่มีอย่างต่อเนื่อง  ทำให้เกิดการสร้างใหม่แบบล้อพิมพ์ขึ้นมาโดยอาศัยเหตุจากอิทธิฤทธิ์ของ   พระพนัสบดี

re3.jpg



      พระพนัสบดี   เป็นพระพุทธรูปเก่าโบราณ  แกะสลักจากหินดำปางเสด็จจากดาวดึงส์เทวโลก  ประทับยืนบนฐานบัวเหนือสัตว์พาหนะที่มีลักษณะประหลาดคือ  มีเขาอย่างโค  มีปากอย่างครุฑ  และมีปีกอย่างหงส์  องค์พระห่มจีวรคลุมศิลปะคล้ายลังกาพระหัตถ์ทั้งสองยกเสมอพระอุระและจีบเป็นวงกลม  

panas1.jpg



ด้านหลังมีประภามณฑลรูปวงรีและมีลวดลายโดยรอบอ่อนช้อยงดงามมาก       พระพนัสบดีนี้เป็นศิลปะสมัยทวารวดีและองค์นี้เป็นองค์ที่สวยงามสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทยเท่าที่เคยมีมา  ด้วยในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติมีพระพิมพ์นี้อยู่แล้วสามองค์  แต่ทุกองค์ชำรุดมากทีเดียว  มือหักบ้าง  ปีกสัตว์พาหนะหักสองข้างบ้าง  หากองค์นี้เป็นแต่เพียงนิ้วหักและปีกครุฑด้านขวาขององค์พระหักไปหน่อยหนึ่ง

      ส่วนสัตว์พาหนะที่มีลักษณะประหลาดนั้นได้รับความเห็นจากท่านพระราชครูวามเทพมุนี (สมจิต  รังสิพราหมณกุล)  แห่งเทวสถานโบสถ์พราหมณ์  กรุงเทพ  ว่า  ที่สัตว์นั้นมีหน้ากลมตาโปนโตและมีปากดังนกย่อมหมายถึง  ครุฑ  ซึ่งถือเป็นเทพพาหนะของพระนารายณ์  มีเขาดังโคหมายถึง  พระโคนนทิ  ซึ่งเป็นเทพพาหนะของพระศิวะ  มีปีกดังนกหมายถึง  หงส์  ซึ่งเป็นเทพพาหนะของ  พระพรหมธาดา

      เมื่อรวมกันดังนี้และมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับยืนเหนือสัตว์ทั้งสาม  ก็หมายความว่าพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนานั้นอยู่เหนือศาสนาพราหมณ์  แสดงถึงอิทธิพลของศาสนาพุทธที่มีต่อคนในยุคนั้นได้เป็นอย่างดีว่าเจริญรุ่งเรืองเพียงใด  และชี้ให้เห็นถึงความชาญฉลาดของนายช่างปฏิมากรที่สลักเรื่องราวบอกเล่าให้คนรุ่นหลังได้ทราบโดยผ่านทางศิลปะ

      พระพนัสบดีถูกค้นพบได้อย่างอัศจรรย์ที่สุดเมื่อราว ๆ ปี พ.ศ. 2471  โดยผู้พบคือก๋งแดงและคุณยายน้อย  บัวเข็ม  ทั้งสองท่านมีอาชีพพายเรือไปตามคลองขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ และแลกสินค้ากับข้าวเปลือก  ทั้งสองมีฐานะยากจนมาก  

วันหนึ่งขณะก๋งแดงและคุณยายน้อยพายเรือบ่ายหน้าไปทางวัดโบสถ์   พอเรือมาถึงโคกใหญ่ละแวกบ้านคลองแพ่งตำบลหน้าพระธาตุ  ก็เกิดมหัศจรรย์ขึ้นกลางลำน้ำคือน้ำในคลองได้หมุนวนเป็นวงเชี่ยวกราก  ส่งผลให้เรือลำเล็กทำท่าจะล่มลง  เมื่อสุดวิสัยจะบังคับเรือ  คุณยายน้อยจึงตัดสินใจปักพายลงข้างตลิ่งเพื่อทรงตัว

      ครั้นพายกระแทกลงในดินคุณยายก็รู้สึกได้ว่าไม้พายไปกระทบวัตถุแข็งบางอย่างเข้าอย่างแรง  จึงเหลียวไปดูก็เห็นส่วนหนึ่งของวัตถุนั้นโผล่พ้นดินโคลนออกมาหน่อย  คุณยายน้อยเลยคุ้ยเอาของสิ่งนั้นขึ้นมาจึงได้เห็นว่าเป็นพระพุทธรูปสีดำ

      ทั้งสองตื่นเต้นดีใจเป็นอันมากพากันเลิกขายของจ้ำฝีพายกลับบ้านอย่างปีติลิงโลด  ถึงแล้วก็ทำความสะอาดองค์พระชะล้างดินโคลนออก   พากันหาดอกไม้ธูปเทียนมาทำการสักการะบูชา  และปิดปากเงียบไม่ยอมบอกใครถึงเรื่องนี้เพราะกลัวคนร้ายจะมาโจรกรรม

      เมื่อพระพุทธรูปองค์นี้มาอยู่กับก๋งแดงและคุณยายน้อยก็เกิดเหตุประหลาดกล่าวคือทั้งสองขายของได้อย่างเทน้ำเทท่า  จะหยิบจับอะไรก็เป็นเงินเป็นทองไปหมด  สุขภาพก็ดีวันดีคืน  ความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก  เมื่อเป็นดังนี้ท่านทั้งสองก็เชื่อมั่นว่าต้องเป็นเพราะอภินิหารจากพระองค์ดำนี้แน่ ๆ  จึงเรียกนามท่านโดยเคารพว่า   หลวงพ่อสัมฤทธิ์    คือปรารถนาสิ่งใดก็สัมฤทธิ์ผล

สมประสงค์ทุกอย่าง

      ต่อมาในปี พ.ศ. 2494  ได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่อาคารทำการของเทศบาลเมืองพนัสนิคมซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ ๆ ยังไม่ทันได้ทำพิธีมอบและเปิดอาคารเลย  เหตุเพราะอาคารนี้เป็นไม้ล้วนและสร้างถึงสองชั้นทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว  อีกทั้งกระป๋องสีและกระป๋องทินเนอร์ก็ยังอยู่ภายในอาคารจึงเป็นเชื้อไฟอย่างดี

      บ้านที่ประดิษฐานหลวงพ่อสัมฤทธิ์หรือพระพนัสบดีนั้นอยู่ตรงข้ามเรือนไม้นี้ห่างกันไม่กี่เมตรเท่านั้น  เมื่อเกิดไฟไหม้ก็เป็นธรรมชาติที่จะเกิดลมใหญ่ด้วยอากาศร้อนลอยขึ้นที่สูงอากาศเย็นจึงไหลเข้ามาแทนที่  เกิดเป็นลมหวนหอบเอาลูกไฟและสะเก็ดไฟไปตกใส่หลังคาเรือนของชาวบ้านละแวกนั้นซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นหลังคามุงจากทั้งสิ้น

      มหาภัยครั้งนี้ได้ลุกลามมาจนจวนเจียนจะถึงบ้านที่ประดิษฐานพระพนัสบดี  ซึ่งในตอนนั้นผู้ครอบครององค์พระเป็นลูกชายของก๋งแดงและคุณยายน้อยชื่อ  นายอ๋อง  ทั้งเปลวไฟและควันดำทำนายอ๋องตกตะลึงสำลักควันไปไหนไม่ได้ทำอะไรไม่ถูกละล้าละลังอยู่อย่างนั้น

      ญาตินายอ๋องคนหนึ่งได้สติรีบถามว่าเอาหลวงพ่อสัมฤทธิ์ไปไว้ที่ไหน  นายอ๋องจึงนึกขึ้นได้รีบวิ่งเข้าห้องไปอุ้มเอาพระออกมาและเอาท่านลงสรงน้ำตั้งจิตอธิษฐานขอให้ท่านช่วยเหลือให้รอดพ้นจากมหันตภัยในครั้งนี้  แล้วรีบนำน้ำนั้นไปสาดรอบ ๆ บริเวณบ้านของตน

      เพียงครู่เดียวเหมือนปาฎิหาริย์  บังเกิดลมพายุหอบใหญ่พัดเอาเปลวไฟและควันตีออกจากทิศที่เป็นบ้านของนายอ๋องหวนไฟกลับไปทางอื่นอย่างไม่น่าเชื่อ  ทำให้ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ต่างเฮโลเข้ามาขอน้ำมนต์จากนายอ๋องไปรดรอบ ๆ บ้านตนเองบ้าง  และน่าอัศจรรย์ที่ลมประหลาดนั้นก็เกิดขึ้นเช่นกันทำให้ชาวบ้านแถบนั้นไม่ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเลย

      ด้วยความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งเช่นนี้ชาวพนัสนิคมจึงถือว่าหลวงพ่อสัมฤทธิ์เป็นพระพุทธรูปที่ทรงคุณค่าเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจแน่นแฟ้นจึงปรารถนาจะสร้างองค์พระจำลองขึ้นเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้กราบไหว้บูชา

horpra1.jpg



insindhorpra1.jpg



      พิธีเททองหล่อองค์พระได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และถูกต้องตามพิธีกรรมที่สุดเนื้อโลหะก็ประสมด้วยนวโลหะแท้ ๆ ที่ลงและปลุกเสกโดยพระอาจารย์ที่เข้มขลังแม้หุ่นดินยังเป็นดินจากใจกลางพระนคร  9  ราชธานี  พิธีเททองมีขึ้นในวันอังคารที่  22  มกราคม พ.ศ. 2517  

      เมื่อองค์ประธานเสร็จสมบูรณ์แล้วจึงได้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกขึ้นโดยสร้างวัตถุมงคลเข้าร่วมในพิธีเพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคดังนี้

      1.  พระพนัสบดี  ขนาดบูชาใหญ่สูง  45  ซ.ม.  สร้างตามสั่งจององค์ละ  3,000  บาท

      2.  พระพนัสบดี  ขนาดบูชาเล็กสูง    30  ซ.ม.  สร้างตามสั่งจององค์ละ  1,500  บาท

      3.  เหรียญพระพนัสบดีรูปไข่  เป็นเนื้อทองแดงล้วน  แบ่งเป็น  เนื้อทองแดงผิวไฟ  เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง  เนื้อทองแดงกะไหล่นาค  ด้านหน้าเป็นรูปพระพนัสบดีและมีพระนามอยู่ใต้รูป  ด้านหลังมีจารึกว่า    ที่ระลึกงานพุทธาภิเษก  พระพนัสบดี  อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี  11  พ.ค.  17    มอบให้ผู้บริจาค  25  บาท

ปี 17 re1.jpg



      4.  เข็มกลัดแจกกรรมการกะไหล่ทองลงยาสีน้ำเงินและสีแดงเข้ม

      5.  พระร่วงหน้าพระธาตุ   ลักษณะประทับยืนยกพระหัตถ์ขวาทอดพระหัตถ์ซ้าย  เป็นเนื้อ
           ตะกั่วล้วน  มอบให้ผู้บริจาค  25  บาท

หน้า re1.jpg



หลังre2).jpg



      พิธีมหาพุทธาภิเษกจัดขึ้นที่อุโบสถ  วัดหน้าพระธาตุ   ต.หน้าพระธาตุ   อ.พนัสนิคม  จ.ชลบุรี  ในวันเสาร์ที่  11  พฤษภาคม  พ.ศ. 2517  โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม  เป็นองค์เจิมต้นเทียนชัย  เทียนมหามงคล  และเป็นองค์จุดเทียนชัยเช่นเดียวกัน

โดยเริ่มพิธีเวลา  17.39  น.  มีพระคณาจารย์เข้าร่วมพิธีดังนี้

          1.  พระสังวรวิมลเถร  (โต๊ะ  อินทสุวัณโณ)   วัดประดู่ฉิมพลี  ท่าพระ  ธนบุรี
          2.  พระครูภาวนาภิรัติ  (ทิม  อิสริโก)   วัดละหารไร่   ต.ตาสิทธิ์   อ.บ้านค่าย   จ.ระยอง
          3.  พระครูอุดมวิชชากร  (เหมือน  อินทโชโต)  วัดกำแพง  ต.บางปลาสร้อย  อ.เมือง  จ.ชลบุรี
          4.  หลวงปู่โต  ยโสธโร   วัดบ้านกล้วย   อ.พิมาย  จ.นครราชสีมา
          5.  พระภาวนาโกศลเถร  (ธีระ  คล้อสุวรรณ)   วัดปากน้ำ   ภาษีเจริญ   ธนบุรี
          6.  พระครูญาณวิจักษ์  (พระปรมาจารย์ผ่อง  จินดา)   วัดจักรวรรดิราชาวาส   กรุงเทพ
          7.  พระครูสุวรรณสีลาจารย์  (ทอง  คังครัตโน)   วัดก้อนแก้ว  อ.บางคล้า  จ.ฉะเชิงเทรา
          8.  พระครูอาคมวิสุทธิ์  (คง  สุวัณโณ)   วัดวังสรรพรส   อ.ขลุง   จ.จันทบุรี
          9.  พระครูโกวิทสมุทรคุณ  (เนื่อง  โกวิโท)   วัดจุฬามณี   ต.บางช้าง   อ.อัมพวา  จ.สมุทรสงคราม
       10.  พระครูชลธารมุนี  (วิเชียร)   วัดเครือวัลย์   ต.บางปลาสร้อย   อ.เมือง   จ.ชลบุรี
       11.  พระกิตติวรรณมุนี  (วรรณ)   วัดพลับ   ต.หน้าพระธาตุ   อ.พนัสนิคม   จ.ชลบุรี
       12.  พระครูพิศิษฐศาสนคุณ  (ทองหยิบ)   วัดโบสถ์   ต.หน้าพระธาตุ   อ.พนัสนิคม   จ.ชลบุรี
       13.  พระครูสุจิณธรรมวิมล  (ม่น  ธัมมจิณโณ)   วัดเนินตามาก   ต.โคกเพลาะ   อ.พนัสนิคม  จ.ชลบุรี
       14.  พระครูบรรหารศีลคุณ  (แร่  จันทสโร)   วัดเซิดสำราญ  ต.บ้านเซิด  อ.พนัสนิคม  จ.ชลบุรี
       15.  พระครูประสาทศาสนกิจ  (เที่ยง)   วัดกลางทุมมาวาส    อ.พนัสนิคม   จ.ชลบุรี

      มหาพุทธาภิเษกดำเนินไปอย่างราบรื่นถูกต้องจวบจนเวลา  05.39  น.  จึงประกอบพิธีดับเทียนชัยเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีมงคล  นับว่าพิธีพุทธาภิเษกนี้เป็นที่น่ายกย่องในผู้รับหน้าที่อาราธนาพระสงฆ์ยิ่งนัก  เพราะครูบาอาจารย์แต่ละรูปแต่ละองค์ล้วนเป็นผู้ปฏิบัติธรรมและศึกษาวิทยาคุณมาอย่างแตกฉานเจนจบแท้ ๆ เทียว  งานนี้ต้องขอบคุณคุณอนันต์  เตียววิวัฒน์  ผู้ไปนิมนต์

วัดประดู่ฉิมพลี pootoar re1.jpg



tim re1.jpg



ธัมมจิณโณ mon re1.jpg



      หลวงปู่โต๊ะ  หลวงปู่ทิม  หลวงปู่เหมือน  หลวงปู่ม่น  หลวงพ่อทอง  หลวงพ่อเนื่อง  นั่นล้วนแต่ระดับสุดยอดไม่มีอะไรต้องสาธยาย  หากท่านเจ้าคุณธีระหรือหลวงพ่อเล็กของชาววัดปากน้ำนั่นสิน่าสนใจ  ก็ท่านเป็นศิษย์เอกที่หลวงพ่อสด  จันทสโร  ให้ความเมตตามากถ่ายทอดวิชาธรรมกายและฝึกฝนจนท่านออกปากว่าอาจารย์ธีระนี่ได้ธรรมกายขั้นสูงแล้ว  และคนภาษีเจริญก็ให้ความเคารพนับถือในหลวงพ่อเล็กมากไม่ต่างไปจากหลวงพ่อสดเลยทีเดียว  เมื่อท่านมาในพิธีนี้เชื่อว่าเหมือนหลวงพ่อสดมาเองนั่นแล 
 
สุวัณโณ kong re1.jpg



      หลวงพ่อคง  วัดวังสรรพรส เป็นยอดพระอาจารย์ที่สำเร็จวิชาพยัคฆ์ร้อยเปอร์เซ็นต์อีกองค์หนึ่งในประเทศไทย  ว่ากันว่าท่านสามารถนิรมิตรูปขันธ์ของท่านให้เป็นเสือลายพาดกลอนได้อย่างอัศจรรย์  และเมื่อท่านเสกตะกรุดหนังเสือ  หรือเสือโลหะ  ย่อมต้องได้ยินเสียงเจ้าป่าคำรามให้ลั่นวัดเสมอไปทุกคราว  เป็นที่เลื่อมใสแก่คนขลุงยิ่งนัก  โดยเฉพาะเหล่าทหารในค่ายตากสินจันทบุรี

      หลวงปู่โต  วัดบ้านกล้วย  นี่อาจดังเงียบไปหน่อยถ้าให้เทียบกับเก่งของท่าน  ด้วยท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อโต  วัดปอแดง  อ.ปักธงชัย  จ.นครราชสีมา  หลวงพ่อโตนั้นเป็นศิษย์แท้ ๆ ในองค์สำเร็จลุนผู้เรืองเวทย์แห่งนครจำปาศักดิ์  หลวงพ่อโตเป็นพระที่เคร่งครัดในพระวินัยและกฏระเบียบในการรับศิษย์  การอบรมสั่งสอนศิษย์มาก 

      ใครคิดไปเป็นศิษย์ถ้าไม่ดีจริงเป็นโดนไล่ออกจากวัดปอแดงหมด   วัดท่านสะอาดมากเป็นวัดป่าแต่ใบไม้ไม่มีร่วงหล่นเกะกะสักใบ  ท่านกวาดเรียบ  ฉะนั้นท่านจึงไม่ได้มีแค่ความเป็นพระวิชาอย่างเดียว  แต่เป็นภิกษุผู้ดำรงธรรมไปพร้อมกัน

      หลวงปู่โตจึงเป็นหนึ่งในหลายศิษย์ของหลวงพ่อโต  วัดปอแดงที่ผ่านการอบรมบ่มเพาะในเรื่องพระวินัย  การธุดงค์  และวิทยาคุณที่เป็นอันดับหนึ่งในโคราช

      กล่าวได้ว่าวัตถุมงคลในพิธีนี้ทั้งสิ้น  ย่อมศักดิ์สิทธิ์เปี่ยมล้นด้วยอำนาจพระพุทธคุณที่จะคุ้มครองป้องกันภัย  และบันดาลความสำเร็จหลายสิ่งหลายประการให้ได้โดยอาศัยจิตตานุภาพที่ยิ่งยวดของสุดยอดพระเถระแต่ละองค์

      ถ้าพบเจอที่ไหนผมบอกได้เพียงว่าเก็บไว้เถิด  และถ้ามีโอกาสขอเชิญมานมัสการ   พระพนัสบดี  พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งพนัสนิคมด้วยก็จะเป็นมงคลยิ่ง.
      
      
      
      
      
      


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 9:57 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 9:48 am
โพสต์: 937
ขอบคุณครับ หาอยู่นู่นไม่เจอจ้า :lol: :lol: :lol:


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 5:26 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
เซฟเก็บไว้หรือยังครับ เดี๋ยวถ้าหายไปอีกจะหาข้อมูลไม่เจอนะเอ้อ !...

พระเครื่ององค์น้อยนี้มีพุทธคุณสูงเยี่ยมแน่นอนไม่ต้องสงสัย แค่ดูจากรายนามพระเถรานุเถระแต่ละรูปแล้วเป็นอันเชื่อขนมกินได้แน่นอนครับ เพราะแทบทุกรูปประสบการณ์ในวัตถุมงคลของท่านเล่าขานกันอย่างลือลั่นมานานนับได้เป็นสิบ ๆ ปี

บางรูปข้อวัตรปฏิบัติก็เป็นที่เชื่อถือกันในหมู่นักภาวนาว่าภูมิจิตภูมิธรรมของท่านควรต้องถึงขั้น "พระอริยบุคคล"

บางรูปก็ขลังเสียจนกลายเป็น "ตำนาน" ในหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของวงการสงฆ์และวงการขลังไปอย่างที่ท่านก็มิได้ตั้งใจให้เป็น....

แต่ที่สำคัญ หลาย ๆ ท่านนั้น พระเครื่องที่ออกในนามวัดแพงเหลือใจ หาไม่ได้ เช่าไม่ลง ที่จะได้ก็ไม่รู้แท้หรือเก๊ แต่พระร่วงหน้าพระธาตุนี้ ผมว่าเป็นสิ่งที่ทดแทนคนเบี้ยน้อยหอยน้อย แต่ศรัทธายิ่งใหญ่ได้อย่างสนิทใจครับ

ใครมีก็โปรดนำมาแขวน ใครยังไม่มีก็หาเอาเองเด้อครับ พี่น้อง...

_________________
ถ้าเราไม่อยากได้อะไรจากใคร ก็จะไม่มีอะไรให้หมางใจกัน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 15 ก.ย. 2008 2:20 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 10:41 am
โพสต์: 1599
แล้วหนูจาได้มั้ยฮะ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 15 ก.ย. 2008 2:26 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
ถ้าเช่าก็ต้องได้สิลูก

ถ้าฟรีก็ต้องร้องเพลงรอนะลูกนะ

ร้องเป็นไม๊เอ่ย ?...

_________________
ถ้าเราไม่อยากได้อะไรจากใคร ก็จะไม่มีอะไรให้หมางใจกัน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 20 ก.ย. 2008 8:27 pm 
ออฟไลน์
Administrator
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 11:37 am
โพสต์: 6391
ได้แล้วมังครับคุณเด็กลึกลับ :mrgreen:

_________________
089 969 9445 @ anytime
line ID navaraht


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 05 ต.ค. 2008 11:41 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 11:16 pm
โพสต์: 1786
สวัสดีครับ ท่านแอดมิน
ถ้าไม่เป็นการรบกวนหัวใจมากนัก
ช่วยจัด "ตัวหนังสือ" ในเรื่องนี้ให้ "เร้าใจ" ทีสิครับ
คือผมคิดว่า "เรื่องดีดี" ต้อง "ชูให้เด่น"

ขอบพระคุณครับ :D


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 06 ต.ค. 2008 2:16 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
จัดให้ดี...


จัดให้ใหม่...


จัดให้สวย...


จัดให้แล้ว...นะครับ คุณศิษย์กวง
:D

_________________
ถ้าเราไม่อยากได้อะไรจากใคร ก็จะไม่มีอะไรให้หมางใจกัน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 06 ต.ค. 2008 5:59 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 9:48 am
โพสต์: 937
ขอบคุณด้วยคนครับ :)

_________________
อันความสุขทางใจนั้นหายาก คนส่วนมากไม่ชอบแสวงหา
หวังแต่สุขเพื่อสนุกเพียงหูตา มันจึงพาชักจูงให้ยุ่งใจ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 06 ต.ค. 2008 10:06 pm 
ออฟไลน์
Administrator
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 11:37 am
โพสต์: 6391
สุดยอดครับ มีภาพประกอบทำให้เนื้อหาน่าสนใจขึ้นเยอะเลย :shock: :shock: :shock:

_________________
089 969 9445 @ anytime
line ID navaraht


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 07 ต.ค. 2008 1:45 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 11:16 pm
โพสต์: 1786
เยี่ยมเลยครับ ขอบพระคุณมาก
เดาว่าน่าจะเป็นฝีมือท่านอาจารย์รณธรรม

"มิต้องตวัดดาบ ข้าน้อยก็ศิโรราบกับท่าน...."
:lol: :lol:


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 07 ต.ค. 2008 6:54 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
:lol: :lol: :lol:

_________________
ถ้าเราไม่อยากได้อะไรจากใคร ก็จะไม่มีอะไรให้หมางใจกัน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 30 ต.ค. 2008 8:46 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 29 ก.ย. 2008 12:53 pm
โพสต์: 754
:grt:

_________________
.........ถ้าเจ้าได้ทุกอย่างอย่างที่คิด
ชั่วชีวิตจะเอาของกองที่ไหน
จะได้บ้างเสียบ้างจะเป็นไร
ช่างหัวใครช่างหัวมันเท่านั้นเอง ..........


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 11 พ.ย. 2008 2:33 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 11 พ.ย. 2008 9:09 am
โพสต์: 4
ขอบคุณมากครับ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 21 พ.ย. 2008 4:17 pm 
ออฟไลน์
Administrator
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 11:37 am
โพสต์: 6391
นำรูปวัตถุมงคลที่เข้าร่วมพิธีครั้งนี้มาให้ชมครับ ดูจากรูปไม่รู้ว่าองค์ไหนเป็นพระเอก ของรุ่นนี้ดี แล้วแต่ชอบครับ
get_auc3_img.php.jpg





หมายเหตุ - ยืมรูปมาจากเว็บอื่นครับ จำชื่อเว็บไม่ได้ ก็ขออนุญาตและขอบคุณ เจ้าของรูปผ่านกระทู้นี้ครับ

_________________
089 969 9445 @ anytime
line ID navaraht


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 12 ธ.ค. 2008 8:48 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 30 ก.ย. 2008 10:00 am
โพสต์: 634
เข้ามาอ่าน ได้ความรู้ดีมากๆเลยครับ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 15 ธ.ค. 2008 12:51 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
ไม่ทราบว่าคุณเอกชมใคร แต่ขอขอบพระคุณไว้ก่อนเน้อ :lol: :lol: :lol:

_________________
ถ้าเราไม่อยากได้อะไรจากใคร ก็จะไม่มีอะไรให้หมางใจกัน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 28 พ.ค. 2009 12:50 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 28 มี.ค. 2009 3:30 pm
โพสต์: 70
ที่อยู่: อ.เมือง จ.สงขลา
แวะมาอ่านครับ ข้อมูลเยี่ยมมากครับพี่ต่อ ขอบคุณครับ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 28 พ.ค. 2009 11:53 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
ขอบพระคุณเช่นกันครับ :P

_________________
ถ้าเราไม่อยากได้อะไรจากใคร ก็จะไม่มีอะไรให้หมางใจกัน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระร่วงหน้าพระธาตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 30 พ.ค. 2009 10:21 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 30 พ.ค. 2009 9:48 am
โพสต์: 1
thanks


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO