Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

คำบริกรรม

ศุกร์ 10 มี.ค. 2017 6:51 am

โดยปกติในชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดอารมณ์หงุดหงิดไม่พอใจ เราชอบระบายความรู้สึกออกไป โดยการดุหรือพูดอะไรให้คนอื่นเจ็บใจ แต่ถ้าเรารู้สึกตัวแล้วไม่พูดอย่างนั้น เราก็จะได้ธรรมะหลายข้อ ความรู้สึกตัวว่ากำลังหงุดหงิดคือตัวสติ และการที่ไม่ทำตามความรู้สึกนั้นคือความอดทน เมื่อความเศร้าหมองในใจเราหาย เกิดสำนึกในความไม่เที่ยงของอารมณ์ ความไม่เป็นตัวเป็นตนของอารมณ์ นั่นคือตัวปัญญา การปฏิบัติในชีวิตประจำวันเป็นอย่างนี้
- พระอาจารย์ชยสาโร -




การบริกรรมพุทโธเป็นการกระทำภายในใจ ต้องมีสติกำกับในการบริกรรม ไม่ใช่บริกรรม พุทโธๆ แต่ไม่มีสติกำกับ ถ้าหากว่ามีสติควบคุม ก็จะไม่หลงลืม แล้วการบริกรรมพุทโธนั้นก็จะมีความละเอียด หรือมีความสดใสเพิ่มขึ้นเป็นลำดับๆ พุทโธกับสติก็มีโอกาสที่จะรวมเป็นอันเดียวกัน
หลวงปู่แบน ธนากโร




บุคคลจิตไม่มีธรรมเป็นเครื่องข่มแล้ว วันหนึ่งๆ คิดไปตั้งร้อยแปด เป็นนิสัยของปุถุชน เพราะอย่างนั้นคติของปุถุชนนั้นเอาแน่ไม่ได้ เมื่อตายไปแล้วจะไปสุคติหรือทุคติ
หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร





"ถ้าหากว่า เรารู้ธรรม เราทำจิต
ให้เป็นกลางลงไป แล้วไม่ลำเอียงกับใคร
ให้ถือว่า เป็นเพื่อนร่วมการร่วมงานกัน
เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน
ถือว่าเป็นเพื่อนสร้างบุญบารมีร่วมกัน

ถ้าต่างคน ต่างระลึกอย่างนี้
รู้อย่างนี้แล้ว เราก็ร่วมงานกันไป
จะผิดพลาดไปบ้าง ก็ให้อภัยกันไป
อย่างนี้ ไม่ถือสาหาความกัน นี่เรียกว่า
ความประพฤติเป็นธรรมต่อกันและกัน"

-:- หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ -:-







"จิตที่เต็มไปด้วยธรรมะแล้ว
เป็นจิตที่สร้างสรรค์มาก
เพราะว่า ไม่มีอะไรบกพร่อง
พร้อมที่จะช่วยคนอื่นได้
พร้อมที่จะให้ความรักได้
ให้ความรัก โดยไม่หวังอะไรตอบแทน
คือ เขาจะรัก หรือไม่รัก เรื่องของเขา
แต่ว่า เราจะให้"

-:- พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ -:-
ตอบกระทู้