Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ความอยากที่ดีเรียกว่ามรรค

ศุกร์ 03 มี.ค. 2017 4:51 am

"ความอยากที่ดีเรียกว่ามรรค"

ถาม : การอยากจะมีชีวิตที่ยืนยาว หรือไม่อยากให้มีโรคภัยเบียดเบียนเพื่อจะได้สร้างสะสมบุญบารมีไปนานๆ จัดว่าเป็นตัณหาชนิดหนึ่งหรือไม่ครับ

พระอาจารย์ : ไม่ แต่เป็นธรรมะเป็นมรรค เป็นความอยากที่ดี ถ้าอยากจะทำบุญ อยากไปนิพพาน อยากปฏิบัติธรรมก็ต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ก็ต้องไม่ดื่มสุรายาเมาไม่เที่ยวกลางคืน ไม่ทำกิจกรรมที่เป็นภัยต่อร่างกาย ก็เป็นมรรค เขาเรียกว่าความอยากที่ดีนี่ก็เป็นมรรค เป็นธรรม เป็นทางสู่การหลุดพ้น เช่น อยากจะทำบุญ อยากมาฟังเทศน์ฟังธรรม อยากนั่งสมาธิ อยากปฏิบัติธรรม อยากบวชนี้เป็นความอยากที่ดี เรียกว่า ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นอิทธิบาท ๔.

สนทนาธรรมมะบนเขา

วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต







"ขึ้นอยู่กับกำลังของสติ สมาธิ ปัญญา"

ถาม : ถ้าคนที่ทำสมาธิจนบรรลุขั้นใดขั้นหนึ่งแล้วประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต จิตตอนปลายและหลังความตายจะเป็นอย่างไรคะ

หลวงพ่อ : ก็แล้วแต่ว่าเวลาตายนั้น จิตเขามีสติมีปัญญา มีอะไรควบคุมเขาให้สงบหรือไม่สงบ คือเวลาบางทีเราทำสมาธินี้ มันจะสงบเฉพาะตอนที่เราทำสมาธิ พอเราออกจากสมาธิมา พอเราไปเจอเหตุการณ์ บางทีเราก็ไม่สามารถรักษาให้มันสงบเหมือนที่เราอยู่ในสมาธิได้

ฉะนั้น มันจะเป็นอะไร มันก็ต้องเป็นไปตามที่มันเป็นอยู่กับเหตุการณ์นั้น ก็ขึ้นอยู่กับกำลังของ สติ สมาธิ ปัญญา ของแต่ละคนว่ามีมากมีน้อย ถ้ามีมากมันก็จะรักษาใจให้สงบได้มาก ถ้ามีน้อยก็จะทำให้สงบได้น้อย แล้วถ้าสงบมากมันก็ไปสวรรค์ที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าสงบน้อยก็ไปสวรรค์ที่ต่ำกว่า หรือถ้าวุ่นวาย มันก็จะไปอบาย.

สนทนาธรรมมะบนเขา

วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต






"...อย่าไปคิดว่าเวลาเราแก่ หรือเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย หรือใกล้ ๆ จะแตก จะตาย แล้วจึงภาวนา ถ้าคิดอย่างนั้นก็เป็นอันว่าคิดผิด เพราะ เวลาอยู่ดีสบายนี้แหละเป็นเวลา ที่เราจะต้องริเริ่มภาวนาให้ได้ให้ถึง กิเลสอะไรที่ยังไม่ออกจากจิตใจเรา ก็จะได้ละกิเลสนั้นเสีย..."
โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงปู่สิม พุทธาจาโร







ท่านต้องทำจิตให้ว่างจากทิฏฐิ แล้วท่านจึงจะได้เรียนรู้
การปฏิบัติของเรานั้นก้าวเลยความฉลาดหรือความโง่

ถ้าท่านคิดว่า
'ฉันเก่ง ฉันรวย ฉันเป็นคนใหญ่คนโต
ฉันเข้าใจพระพุทธศาสนาแจ่มแจ้งทั้งหมด' เช่นนี้แล้ว

ท่านจะไม่เห็นความจริงในเรื่องของอนัตตาหรือความไม่ใช่ตัวตน
ท่านจะมีแต่ตัวตน ตัวฉัน ของฉัน แต่พระพุทธศาสนาคือการละตัวตน
เป็นความว่าง เป็นความไม่มีทุกข์ เป็นความดับสนิท คือ นิพพาน

หลวงพ่อชา สุภัทโท
ตอบกระทู้