Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

จิตว่างจากอารมณ์

อาทิตย์ 29 พ.ค. 2016 8:11 am

จิต" ว่างจาก "อารมณ์" นั้นละ ทำให้เกิดความสว่างไสว "องค์ปัญญา" ก็เกิดขึ้น ในเมื่อองค์ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว "ความมืด" หรือ "กิเลสตัณหา" ยากที่จะซ่อนเร้นอยูในจิตที่สว่างไสว "จิต" ก็สมบูรณ์เป็น "ธรรม" ขึ้นทั้งใจ
ดินฟ้าอากาศไม่เป็นข้าศึกแก่ใจ "ใจ" ที่ขาด "การสำรวม" นี่แหละเป็นข้าศึกแก่เรา
เมื่อใจของเราได้รับ "การสำรวม" ดีแล้ว "ศีล" จึงไม่ต้องไปแสวงหา "สมาธิ" ก็ไม่ต้องไปแสวงหา "ปัญญา" ก็ไม่ต้องไปแสวงหา เพราะเกิดขึ้นที่ใจ
เมื่อ "ธรรม" ปรากฏขึ้นที่ใจ "กิเลส" จะสลายตัวในขณะนั้น
เมื่อ "ใจ" เราเป็น "ธรรม" ขึ้นทั้งดวง เป็นธรรมขึ้นทั้งใจ กิเลสตัณหาที่ซ่อนเร้นอยู่ในใจอยู่ไม่ได้

หลวงปู่ แบน ธนากโร.
วัดดอยธรรมเจดีย์ ตำบลตองโขบ กิ่งอ.โคกศรีสุพรรณ สกลนคร





"จิตอันนี้" มันก็ "ปิดบังมรรคผลนิพพาน" ไว้
"ทำลายจิต" ลงไปอีก จิตแตกสลายออกไปแล้ว ไม่ต้องพูดถึงมรรคผลนิพพาน ทำลายให้เป็นของว่าง ทำลายให้หมดให้สิ้น
หลวงพ่อแบน ธนากโร
วัดดอยธรรมเจดีย์ ตำบลตองโขบ กิ่งอ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร






ศาสนาพระพุทธเจ้า ท่านให้ปล่อยวาง "เบญจขันธ์"
ท่านก็ปล่อยวางไปตามสภาพของเขา เป็นของเกิดดับของเขา
"ธาตุ" ทั้งหลาย "สู่สภาพธรรมชาติ" ของเขา
เป็น "ธรรมชาติ" เป็น "อมตะ"
"ท้อง" ไม่รู้จักว่ารลชาติของอาหารเป็นอย่างไร
"ลิ้น" ก็ไม่รู้รสชาติอะไร เพียงแต่เป็นส่วนหนึ่งที่จะสัมผัสให้ "ธาตุรู้" ให้ "จิตรู้"
ลิ้นจริงๆเขาไม่รู้จักว่าเป็นรสอะไร
"ตา" สัมผัสรู้ตาไม่รู้อะไรหรอก ผู้ที่รู้ก็คือผู้รู้ จิตที่รู้นั้น
"หู"ที่สัมผัสเสียงหูไม่รู้ มีแต่จิตเท่านั้นรู้
"จมูก" สัมผัสกลิ่นก็เช่นเดียวกัน กลิ่นก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร
จมูกก็ไม่รู้ แต่ “จิตรู้” ดูชัดๆลงไป
ไอ้ที่ “มันรู้”..”รู้”..มันรู้อยู่ตรงไหน
“รู้” อยู่ตรงจมูกหรือว่า “รู้” อยู่ตรงที่รู้
ลิ้นก็เช่นเดียวกัน เผ็ด เค็ม เปรี้ยว หวาน “ลิ้นก็ไม่รู้” ว่าเจ้าของเป็นลิ้น แล้วลิ้นจะไปรู้รสรู้ชาติได้อย่างไร
ท้องก็เช่นเดียวกัน
เมื่อรู้ความจริงเป็นอย่างนี้ อย่าไปให้ความสำคัญกับ “รสชาติ” มากไป กิเลสยิ่งให้ความสำคัญมากเท่าไร เขายิ่งทำให้เราเสียหายมากเท่านั้น อะไรก็ช่างต้องเอามาพิจารณา

หลวงพ่อแบน ธนากโร.
วัดดอยธรรมเจดีย์ ตำบลตองโขบ กิ่งอ.โคกศรีสุพรรณ สกลนคร
ตอบกระทู้