Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

อานิสงส์ของการสวดอรหัง

อาทิตย์ 20 ธ.ค. 2009 5:22 pm

ต่อไปนี้จะว่าด้วยเรื่องอานิสงส์ของการสวด “อรหัง” การสวด “อรหัง” เป็นการระลึกถึงพระคุณบทหนึ่งของพระพุทธเจ้าในนวหรคุณ พระองค์ทรงได้พระนามว่า “อรหัง” เพราะทรงห่างไกล ทรงกำจัดข้าศึกคือกิเลส ทรงหักกำสังสารจักร ไม่ทรงทำชั่วทั้งที่ลับที่แจ้ง และทรงควรแก่การเคารพบูชา)

เรื่องที่ ๑

ในสมัยหนึ่งนางจันทเทวีเป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธอยู่ ณ เมืองปาฏลีบุตร การปกครอง ณ เมืองนี้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงไม่ให้มีการนับถือศาสนาพุทธ นางจันทเทวีเป็นชนชั้นกลางไม่จนและไม่รวยนัก นางชอบไปวัดมาตั้งแต่ยังเด็ก ๆ เนื่องจากบิดา-มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ของนางปฏิบัติอยู่เช่นนี้เป็นประจำ นางก็ได้ปฏิบัติสืบต่อมาโดยเคร่งครัด

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในเมืองปาฏลีบุตรห้ามนับถือศาสนาพุทธ หากผู้ใดนับถือก็จะถูกจับประหารชีวิตโดยการตัดคอ นางจันทเทวีก็บังเกิดความอึดอัด ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรดี เพราะว่านางเคยไปวัดและสวดมนต์อยู่เป็นนิจ ดังนั้นเมื่อนางไปวัดไม่ได้ นางจึงอยู่บ้านและสวดมนต์ทุกวัน โดยใช้คำว่า “อรหัง” อยู่ทุกวันเป็นประจำ เพื่อนบ้านข้างเคียงจึงเตือนนางว่า ให้เลิกสวดมนต์เสียหากไม่เลิกภัยอันตรายจะเกิดแก่นาง แต่นางก็ตอบไปว่า

นางไม่สวดมนต์ไม่ได้หรอก เพราะว่านางปฏิบัติมาตั้งแต่ยังเด็ก ๆ นางต้องมีสัจจะและต้องสวด “อรหัง” เป็นประจำทุกวัน ดังนั้นนางจึงมิได้หยุดสวดมนต์ นางจึงสวดต่อไป เพื่อนบ้านข้างเคียง ได้ยินนางสวดมนต์ทุกวันเกรงภัยจะมาถึงตนต่างก็ย้ายบ้านหนีกันไปหมด ในแถบหมู่บ้านนั้น จึงมีแต่บ้านนางจันทเทวีที่ยังปฏิบัติสวดมนต์ “อรหัง” อยู่เป็นประจำทุกวัน

อยู่มาวันหนึ่งเรื่องของนางที่สวดมนต์ “อรหัง” ก็รู้ถึงเสนาบดี เสนาบดีก็มาที่บ้านของนางจันทเทวีและก็มาได้ยินนางสวดมนต์ “อรหัง ๆ ๆ” เสนาบดีจึงได้เตือนนางให้เลิกสวดมนต์เสียเพราะว่า หากผู้ใดระลึกถึงพระโคตะมะจะถูกประหารชีวิต นางก็ตอบไปว่า ให้นางเลิกสวดมนต์ไม่ได้หรอก นางขอยอมตายพร้อมกับการสวดมนต์ “อรหัง” เสนาบดีจึงได้จับตัวนางไปเพื่อประหารชีวิต นางจึงถามเสนาบดีว่า ใครเป็นผู้บัญญัติมิให้นับถือศาสนาพุทธ พระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้บัญญัติหรือ ถ้าหากพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้บัญญัติ ก่อนที่นางจะตายก็ขอกราบพระเจ้าอยู่หัวก่อนสักครั้งหนึ่งเถิด

เมื่อเพชฌฆาตเสนาบดีได้ฟังดังนั้น ก็ประหารชีวิตไม่ลง เพราะคิดว่ามีเทวดาคุ้มครองอยู่คือ จาตุมหาราชทั้ง ๔ ก็เลยส่งนางจันทเทวีไปให้เขาเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวเมื่อได้ทรงทราบก็บอกว่าไม่อยากพบ ไม่อยากเห็นหน้าผู้ที่ขัดคำสั่ง นางจึงนั่งร้องไห้อยู่อย่างนั้น พระเจ้าอยู่หัวเมื่อทราบก็คิดทบทวนว่า นางก็ไม่ได้ทำอะไรนอกจากสวด “อรหัง” อรหังมีอานุภาพอะไร ?

นางจึงได้พบพระเจ้าอยู่หัว และทูลว่า “อรหัง” แปลว่า “พระพุทธองค์” เป็นบุคคลประเสริฐ เป็นบุคคลสิทธัง สิทธะปาการัง ดีกว่าคนอื่น ดีกว่าเทวดา พรหมทั้งหลาย เป็นอาจารย์พรหม เทวดา มนุษย์ที่นางนับถือ ถ้าพระเจ้าอยู่หัวไม่เชื่อ ขอให้นางได้สวดมนต์ให้เทวดามาแสดงตัว ถ้าพระพุทธองค์ดีจริง ให้คุ้มครองชีวิตของนาง ให้หลุดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง และนางก็นั่งสวดมนต์ สวดอรหัง กระทั่งท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ แสดงตน พระเจ้าอยู่หัวก็บังเกิดความกลัวเทวดาขึ้นมาจึงยกให้นางจันทเทวีขึ้น
เป็น อัครมเหสี แห่งเมืองปาฏลีบุตร นี่จึงเป็นอานิสงส์ของ “อรหัง” ปัจจุบัน ปิทะ ในเมืองปาฏลีบุตรเป็นสูตรอรหัง พอนางตายก็ได้ขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์


เรื่องที่ ๒

ในตำราบูรณะหนังสือโบราณกล่าวไว้ว่า มีหมู่บ้านอยู่หมู่บ้านหนึ่ง และมีอาจารย์อยู่ท่านหนึ่ง สอนเด็ก ๆ ไว้ว่า ถ้าหากใครจะตีกัน ใครจะทะเลาะกัน จะด่ากัน ให้ใช้คำว่า “อรหัง” คำว่า “อรหัง” ถ้าถูกใครด่าจะเป็นคำด่าที่เจ็บปวดรุนแรงมาก ถ้าไม่โกรธมาก ๆ ก็ไม่ให้ใช้คำว่า “อรหัง” ในหมู่บ้านนี้มีพญางูใหญ่อาศัยอยู่ในถ้ำด้วย

อยู่ต่อมาวันหนึ่ง ได้มีหมองูเดินทางมาถึงหมู่บ้าน เพื่อมาตามล่าพญางู หมองูได้มาพบเด็ก ๆ จึงถามว่าที่หมู่บ้านนี้มีพญางูหรือไม่ เด็ก ๆ ก็ตอบกับหมองูว่า ในหมู่บ้านนี้มีพญางูอาศัยอยู่ หมองูจึงให้เด็ก ๆ พาไปที่ถ้ำพญางู เด็ก ๆ ไม่ยอมพาหมองูไปที่ถ้ำ หมองูก็ด่าเด็ก ๆ เป็นการใหญ่ เด็ก ๆ จึงด่าตอบหมองูไปว่า “อรหัง ๆ”

หมองูเมื่อได้ฟังเด็ก ๆ ด่าอย่างนั้น จึงถามเด็ก ๆ ว่า “อรหัง” แปลว่าอะไร เด็ก ๆ ก็ตอบหมองูว่า “ก็เป็นคำด่านะซิ” เป็นคำด่าที่รุนแรงมาก ถ้าใครถูกด่าด้วยคำนี้จะเจ็บมาก

หมองูเมื่อพบถ้ำพญางูจึงไปเป่ามนต์เรียกพญางูให้ออกมา พญางูซึ่งรับศีลอยู่เมื่อได้ฟังเสียงสวดมนต์ ก็ทำขันติ ๆ ๆ ๆ คือ อดทน เมื่อหมองูเป่ามนต์มาก ๆ พญางูจึงทนไม่ไหว ขันติไม่ไหวแล้ว จึงอยู่ในถ้ำไม่ได้จึงออกมาจากถ้ำ และคิดว่าจะไล่ฉกกัดหมองูให้ตาย

ดังนั้นพญางูจึงไล่ฉกกัดหมองู หมองูจึงบังเกิดความโกรธพญางู จึงด่าพญางูว่า “อรหัง ๆ” พญางูเมื่อได้ยินดังนั้น จึงคิดว่าหมองูผู้นี้ แม้จะเป็นผู้ที่ฆ่างู ทำบาป แต่ก็ยังรู้จักคำว่า “อรหัง” คือ พระพุทธองค์อยู่ พญางูจึงกลับใจไม่ทำร้ายหมองู หมองูจึงรอดตายไปในที่สุดด้วยอานิสงส์ของคำสวดว่า “อรหัง”.



.jpg
.jpg (15.52 KiB) เปิดดู 902 ครั้ง

พระธรรมเทศนาโดย พระราชอุดมมงคล (อุตตมะ อุตตมะรัมโภ)
วัดวังก์วิเวการาม ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี



...................................................................................

ขอบพระคุณเว็บ MonStudies.com

Re: อานิสงส์ของการสวดอรหัง

เสาร์ 09 ม.ค. 2010 12:05 pm

อรหัง

อรหัง

อรหัง

อรหัง

อรหัง

อรหัง

อรหัง

Re: อานิสงส์ของการสวดอรหัง

เสาร์ 09 ม.ค. 2010 4:55 pm



อะไรหาย
อะไรหาย
อะไรหาย
อะไรหาย
อะไรหาย
อะไรหาย


:lol: :lol: :lol:

Re: อานิสงส์ของการสวดอรหัง

อาทิตย์ 07 ก.พ. 2010 1:04 am

เพิ่งเข้ามาอ่าน อะไรดีๆ ก็มีอยู่ในหมวดนี้เหมือนกัน
ตอบกระทู้