Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

จิตเกิด

พฤหัสฯ. 18 มิ.ย. 2009 7:00 pm

ขณะที่มี มดไต่ตามตัว แล้วเกิด "ความรู้สึกรำคาญ"

ขณะนั้น

"ธาตุดิน" กำลังปรากฏ.


หมายความว่า

ขณะนั้น

แม้ "ธาตุดิน" กำลัง ปรากฏ

แต่เป็น "การกระทบ" ที่เบา ๆ เท่านั้น.


แต่

ขณะนั้น "ความรู้สึกรำคาญ"

กำลังปรากฏ.


ซึ่ง เป็น "ล้กษณะ" ของ เวทนาเจตสิก

ที่กำลังปรากฏ นั่นเอง.!


.


เพราะฉะนั้น ขณะนั้น

จะต้องมี "รูป" แข็ง หรือ อ่อน (ธาตุดิน)

เกิดขึ้น เป็น "เหตุ"

ที่ทำให้ "ความรู้สึกอย่างนั้น" เกิดขึ้น.!


เพราะฉะนั้น

"เหตุ"

คือ การกระทบกัน ของ รูป

(คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม)

ที่กระทบ กับ "กายปสาทรูป"



แต่ ขณะนั้น

"เวทนาเจตสิก" เป็นใหญ่ ในการ "รู้สึก"

ขณะนั้น

เป็น "เวทนินทรีย์"


และ

ถ้า "เวทนาเจตสิก" ไม่เกิด

"จิต"

ก็ไม่สามารถที่จะ รู้ "ลักษณะของเวทนาเจตสิกนั้น ๆ" ได้.

และ

"เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน"

ก็ มี ไม่ได้.!


แต่ เป็นเพราะว่า

"เวทนาเจตสิก" มีจริง และเกิด ปรากฏกับ "จิต" ในขณะนั้น

ความรู้สึก ทุกขเวทนา สุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา จึงมีได้.



"สติ" สามารถที่จะ ระลึก ตรง "ลักษณะ"

ของ "เวทนาเจตสิกนั้น ๆ"


คือ รู้ ว่า

"เวทนาเจตสิกนั้น ๆ" เป็น สภาพธรรม ชนิดหนึ่ง

ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน

และเกิดขึ้น เพียงชั่วขณะที่สั้นแสนสั้น

แล้ว ดับไปทันที.



.



การอบรมเจริญปัญญา ที่เป็น การเจริญสติปัฏฐาน นั้น

"จิต" จะต้อง รู้ อารมณ์

คือ "ทำกิจ" เพียง "รู้ลักษณะของอารมณ์" เท่านั้น.


โดย ขณะนั้น

"สติ"

ทำกิจ "ระลึก ตรง ลักษณะ"

และ

"ปัญญา"

ทำกิจ "รู้ ตรง ลักษณะ"

ตามปกติ ตามความเป็นจริง ของ "สภาพธรรม" (ที่มี "ลักษณะ")

ที่กำลังเป็น "อารมณ์" ของ "จิตนั้น ๆ"



.



เพราะฉะนั้น

"สติ"

จึงเป็นใหญ่ โดยเป็น "สตินทรีย์"

และ

"ปัญญา"

จึงเป็นใหญ่ โดยเป็น "ปัญญินทรีย์"

Re: จิตเกิด

พฤหัสฯ. 18 มิ.ย. 2009 7:11 pm

ขอบคุณครับ ข้อนี้คนนั่งสมาธิชอบเป็นกันบ่อย ๆ :P
ตอบกระทู้