นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน จันทร์ 14 ก.ค. 2025 10:03 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: จิตเป็นสมาธิ
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 11 ก.ค. 2025 10:05 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4985
ทุกคนจะต้องเข้ามหายุทธสงครามสักวันหนึ่ง
คือ การต่อสู้กับมัจจุราช เมื่อถึงเวลานั้น
แต่ละคนจะต้องสู้เพื่อตนเอง และต้องสู้โดยลำพัง
ผู้ที่สู้ได้ดีก็จะไปดี คือไปสู่สุคติ
ผู้ที่เพลี่ยงพล้ำก็จะไปร้าย คือไปสู่ทุคติ
อาวุธที่ใช้ต่อสู้ มีเพียงสิ่งเดียวคือ "สติ"
ซึ่งจะสร้างสมได้ด้วย “การเจริญภาวนา” เท่านั้น

กลวงปู่ฝั้น อาจาโร





"การปฏิบัติภาวนาไม่ต้องรั้งรอ
เพราะคนเราไม่รู้ว่าความตาย
จะมาถึงตนวันไหน คืนไหน เวลาใด
ไม่มีใครรู้ เรารู้แต่ว่าเราเกิดวันนั้น
เดือนนั้น ปีนั้น แต่วันตายไม่มีใครรู้
จะรู้ได้ก็โน้นแหละ ตายไปแล้ว"

หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร








“อย่าเป็นพระเพียงที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์
แต่ต้องเป็นพระที่จิตใจ การเป็นพระที่จิตใจ
คือการคิดให้เป็นพระ ไม่เบียดเบียนใคร
ให้แต่ความเมตตากรุณาทั้งด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยจิตใจ กายของพระคือสงบ
งดงาม ไม่วุ่นวาย ไม่ก่อการร้าย ไม่ประพฤติ
ล่วงพระธรรมวินัย วาจาของพระคือไม่ผิดศีล
ไม่ผิดจากความสัตย์ความจริง ไม่ก่อทุกข์โทษ
ภัยแก่ผู้ใด ใจของพระคือใจที่สงบเย็นด้วย
ความรู้ถูกรู้ตรง มีปัญญาเป็นเครื่องประคับ
ประครองคู่กับสติ

การเป็นพระเพียงที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์
คือการตั้งตัวเป็นผู้ทำลายพระพุทธศาสนา
ที่เปรียบได้ว่ากำลังดื่มยาพิษ ย่อมจักได้รับ
ผลร้ายของยาพิษแน่นอน” ...
...
พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณสังวร







"...จิตของพระอริยเจ้าชั้นโลกุตตระนั้น แม้จะยังอยู่
ในโลก คลุกคลีกับสิ่งแวดล้อมโดยสถานใด ก็ไม่อาจ
จูงจิตของท่านให้ไขว้เขวเจือปนกับสิ่งเหล่านั้นได้
คือ โลกธรรมไม่อาจครอบงำจิตได้เลย คือ จิตไม่อาจกลับกลายไปเป็นจิตปุถุชนได้อีก ไม่อาจกลับไปอยู่ใต้อำนาจของกิเลสตัณหาได้อีก

เปรียบเหมือนกะทิมะพร้าวที่คั้นออกมาแล้ว เอาไป
สำรอกหรือเคี่ยวด้วยความร้อนจนเป็นน้ำมันออกมา
ได้แล้ว ย่อมไม่กลับกลายไปเป็นกะทิเหมือนเดิมอีก
แม้จะเอาไปปะปนระคนกับกะทิอย่างไร ก็ไม่อาจทำ
ให้น้ำมันนั้นกลายเป็นกะทิเหมือนเดิมได้..."

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล






วิธีสิ้นทุกข์
ธรรมทาน #คำสอนหลวงพ่อ

วิธีสิ้นทุกข์ทำยังไง
เราก็มีการให้ทานเป็นปกติ ถ้าอารมณ์เราพร้อมเพรียงในทาน ก็ชื่อว่าเป็นการตัดโลภะ ความโลภ เรามีเมตตาเป็นปกติ อารมณ์ของเมตตาที่เราทรงอยู่คือ รักษาศีลได้ ถ้ามีเมตตาอยู่ศีลมันก็ไม่ขาด ถ้ามีเมตตาอยู่เป็นปกติ นอกจากมีเมตตาอยู่ศีลไม่ขาดแล้ว เมตตามันยังเป็นตัวทำลายโทสะ

เราก็มาพิจารณาหาความจริงว่า
ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ เจ้าอยากเกิดนี่ มันจะทุกข์อย่างไรก็ช่างมัน ใจเราก็วางเฉยไว้

ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์
อาการงกๆ เงิ่นๆ ร่างกายไม่แข็งแรง ไม่กระปรี้กระเปร่า มีความปรารถนา ไม่สมหวังเพราะทำเองไม่ได้แล้ว เราก็เลยมีทุกข์ ถือว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาของคนแก่ เกิดมาเพื่อแก่

มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์
เรื่องของชาวบ้านธรรมดาเราไม่ทุกข์ ถือว่าเป็นกฎธรรมดา ตายเสียได้ก็ดี เพราะมันจะได้หมดเรื่องยุ่ง แล้วเราเห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นโทษเป็นทุกข์สำหรับเรา เราก็เลยคิดต่อไปว่า ขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ ความเกิดมามีร่างกายขันธ์ ๕ แบบนี้
จะไม่มีสำหรับเราอีก เราจะไม่โง่ยอมรับนับถือให้มีร่างกายต่อไป ถ้าอารมณ์ใจของเราคิดไว้อย่างนี้เป็นปกติ เราก็จะหมดความทุกข์ มันค่อยๆ เข้าใจไปเอง

นี่เป็นบทที่บรรดาพุทธบริษัท ควรจะคิดให้เป็นปกติ เพื่อความเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน นี่เป็นวิปัสสนาตัวสุดท้าย

=======================
จากหนังสือ " ธัมมวิโมกข์ " ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔๑๘ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๙ หน้า ๖๒






"..ธรรมเป็นเครื่องปกครองทรัพย์สมบัติ และปกครองใจ ถ้าใจมีธรรมมากหรือน้อย มีทรัพย์สมบัติมากหรือน้อย ย่อมมีความสุขพอประมาณถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว ลำพังความอยากของใจที่พยายามหาทรัพย์ให้ได้กองเท่าภูเขาก็ยังหาความสุขไม่เจอ เพราะนั้นเป็นเพียงเครื่องอาศัยของกายและใจ ถ้าใจไม่ฉลาดด้วยธรรมเพียงอย่างเดียว จะไปอยู่ในโลกใด และมีกองสมบัติเท่าใด ก็เป็นเพียงโลกเศษเดน และกองสมบัติเศษเดนเท่านั้น ไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใจเลยสักนิดเดียว ความสมบุกสมบัน การได้รับทุกข์ทรมาน ความอดความทน และความทนทานต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่าง ๆ ไม่มีอะไรแข็งแกร่งเท่าใจ ใจถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง ใจจะกลายเป็นของประเสริฐขึ้นมา ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจ และอิ่มพอต่อเรื่องทั้งหลายทันที.."

ภูริทตฺตธมฺโมวาม
พระครูวินัยธร
(หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต)
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง
จ. สกลนคร
(พ.ศ.๒๔๑๓-๒๔๙๒)
อ้างอิงหนังสือ :ท่านพ่อลี ธมฺมธโร พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตแก่กล้า หน้า ๑๕๕






...#บุญอยู่ไหน อยู่กับหัวใจเราที่แสดงออกมา คิดทางบุญทางกุศลอยู่ที่นั่น ออกจากนั้นแล้วเข้าที่นั่น บาปก็อยู่ที่นั่น ออกจากนั้นเข้าที่นั่น หัวใจเป็นที่หนึ่ง ต้นไม้ภูเขา ดินฟ้าอากาศ มหาสมุทรทะเลหลวงไม่ใช่ภาชนะรับบาปรับบุญ ภาชนะที่รับบาปรับบุญคือหัวใจนั้นเท่านั้น

...เพราะฉะนั้น #หัวใจทำอะไรในทางบาปจึงเป็นบาปทันที #ทำทางดีเป็นบุญทันที นี่คือ #ภาชนะของความดีความชั่วทั้งหลาย ขอบเขตจักรวาลนี้ไม่ใช่ภาชนะรับบาป รับบุญ คือใจดวงนี้ (เขาไม่เชื่อว่ามีบุญมีบาป) เขาไม่เชื่อก็เป็นเรื่องของเขา เราเชื่อหรือเปล่า ก็ถามเราซิ แน่ะ

พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาบัว ญาณสมฺปนฺโน)






ถวายสังฆทาน
ธ​รรมทาน #หลวงพ่อตอบปัญหา

ผู้ถาม : “ดิฉันเคยอ่านเจอในหนังสือที่หลวงพ่อเขียนบอกว่า การถวายสังฆทานควรมี พระพุทธรูป ผ้าไตรจีวร และอาหาร อันนี้จำเป็นจะต้องมีครบ ตามนี้ไหมคะ”

หลวงพ่อ : “ความจริงเราไม่ทำถึงขนาดนี้ก็ได้ การถวายสังฆทาน ในที่บางแห่งใช้เครื่อง ๕ เครื่อง ๘ น่ะเป็นการสร้างขึ้น
เรามีข้าวเพียงช้อนหนึ่ง แกงเพียงช้อนหนึ่ง น้ำเพียงช้อนหนึ่งแล้วถวายไป #บอกว่าเป็นสังฆทาน เพียงเท่านี้ก็ใช้ได้

แต่ว่าที่เขียนไว้ในหนังสือว่าควรทำแบบนี้ เพราะว่าผีกี่ร้อยกี่พันรายก็ตาม มาขอกันแบบนี้เรื่อย คือขอเหมือนกัน ที่ฉันแนะนำเขาตามที่ผีเขาขอนะ เลยถามเขาว่า “ผลจะได้แก่พวกเอ็งเป็นยังไง ”

เขาบอกว่า
๑. #ถวายพระพุทธรูปเป็นของสงฆ์ อานิสงส์ก็คือ #ถ้าเป็นเทวดามีรัศมีกายสว่างไสวมาก เพราะว่าเทวดาหรือพรหม เขาไม่ดูกันที่เครื่องแต่งตัว เขาดูแสงสว่างจากกาย

๒. #ผ้าไตรจีวร หรือผ้าสักผืนหนึ่ง
#เขาจะได้เครื่องประดับอันเป็นทิพย์ เครื่องแต่งตัวทิพย์

๓. #อาหารหรือของกิน
#จะทำให้มีร่างกายเป็นทิพย์”

ผู้ถาม : “ทีนี้ถ้าหากว่า ท่านทั้งหลายเหล่านั้น จุติจากเทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี มาเกิดเป็นมนุษย์ อานิสงส์เหล่านี้จะติดตามมาอีกไหมครับ”

หลวงพ่อ : “อานิสงส์ตามมา คือ
๑. #มีรูปร่างหน้าตาสวย เพราะอานิสงส์ถวายพระพุทธรูป แล้วก็มีปัญญาทรงตัว นี่อำนาจพุทธานุภาพนะ
๒. #เครื่องประดับเครื่องแต่งตัวดี และไม่อดอยากเพราะอาศัยทาน

ตัวอย่าง #นางวิสาขา เป็นคนสวยงามมาก เพราะในชาติก่อนได้เคยซ่อมแซมพระพุทธรูป และปลูกโรงทำหลังคาคลุมพระพุทธรูป จึงเป็นปัจจัยได้ #เบญจกัลยาณี คือ มีความงาม ๕ ประการ

#และนางวิสาขาก็เป็นคนรวยมาก มีเครื่องลดามหาปสาธน์ราคา ๑๖ โกฏิ เป็นเครื่องประดับ #เพราะอานิสงส์เคยถวายผ้าไตรจีวรไว้ในพระพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ถ้าเป็นผู้ชายออกบวชในสำนักพระพุทธเจ้า เมื่อท่านตรัสว่า “เอหิ ภิกขุ” แปลว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด” เพียงเท่านี้ ก็จะได้ผ้าไตรจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ ลอยลงมาสวมตัวทันที

ทั้งนี้ด้วยอำนาจบุญบารมีที่ท่านได้บำเพ็ญแล้วด้วยดี จึงเป็นปัจจัยให้นางวิสาขาเป็นทั้งคนสวยคนรวย และเป็นคนที่มีปัญญามาก ได้เป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ”

ผู้ถาม : “ทีนี้ก็มีคนสงสัยเรื่องสังฆทานครับ ถามว่าสังฆทานที่มาถวายหลวงพ่อ แล้วก็ผาติกรรมไป แล้วก็กลับมาถวายหลวงพ่ออีกครั้งหนึ่ง อานิสงส์จะสมบูรณ์หรือไม่อย่างไรครับ”

หลวงพ่อ : “เท่ากันแหละ เขาเอาแบ๊งค์มาถวายก็เป็นสังฆทาน ถ้าอยากจะมีของ ไปรับเอามาก็เท่ากัน”

ผู้ถาม : “ซื้อมาเองกับผาติกรรมนะครับ..?”

หลวงพ่อ : “#แต่อย่าลืมว่าสตางค์ของใคร นั่นมันเป็นสัญลักษณ์ เป็นนิมิตออกมา #มีของสักหน่อยใจมันสบายกว่าไม่มีของใช่ไหม ถ้าเจตนาให้เงินมันเป็นอะไร มันก็เป็นไปตามนั้น และก็ตั้งใจเฉย ๆ เกรงว่าไม่เป็นไปตามนั้น ให้มันมีของตั้งอยู่ ถ้าต้องการจีวร ต้องการพระพุทธรูป ก็เป็นนิมิตจับ

อย่าลืมว่า #อานิสงส์ของสังฆทาน อะไร ๆ #ก็ต้องไปดาวดึงส์เป็นอย่างน้อย สังฆทานกับวิหารทาน จุดแรกต่ำที่สุดคือ #ดาวดึงส์ หลังจากนั้นจะไปเลวกว่านั้นก็ตามใจ แต่อย่าลืมนะ ดาวดึงส์นี่เข้ายากนะ ไม่ใช่เข้าง่ายนะ นอกจากทำบุญขั้นสังฆทานและวิหารทานแล้ว ถ้าเป็นบุญเล็กน้อย ก็ต้องเป็นการทำบุญตัดชีวิต

คำว่า #ทำบุญตัดชีวิต ก็หมายความว่า ถ้าเราเดินทางไป เอาข้าวไปจำกัด ขณะกินข้าวอยู่ เห็นสุนัขเดินมาหรือไก่เดินมา นึกสงสารมัน “ให้มันกินหน่อยเถอะวะ” อย่างนี้ ไปดาวดึงส์ได้”

=======================
จาก หนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๑






#ต้องทำอยู่บ่อยๆ กิเลสอาสวะถึงจะหลุดเบาบางลง

"การที่เราทำความเพียรนี้ เราไม่ต้องการอะไรแล้ว นอกจากขัดจิตขัดใจของเราให้ขาวให้สะอาดเท่านั้นแหละ ใจมันเศร้าหมอง แต่อาศัยขัดอยู่บ่อยๆ ขัดไม่หยุดไม่หย่อน มันก็ขาวก็สะอาดขึ้น ผ่องใสขึ้น

เพราะกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ มันหมักหมมมาหลายภพหลายชาติ ต้องคอยขัดคอยเกลา เพราะกิเลสเหมือนตาปู ตีแฝก ตีลงแน่น แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ผู้สามารถที่ตั้งอกตั้งใจจะถอนตาปู ถอนไม่หยุดไม่หย่อน ถอนไปถอนมามันก็ออกสั้นเข้าๆ สั้นเข้ามันก็ถอนขึ้นได้"

...... #หลวงปู่ขาว อนาลโย





"...การมาเข้าวัดเข้าวาของพวกเราพุทธบริษัทนั้น อย่าให้เสียเวลา เสียคุณงามความดี เสียเจตนาดี ถึงแม้จะมีเจตนาดีก็จริงอยู่ แต่การเข้าวัดของพวกเราพุทธบริษัทนั้นไม่ได้มาแก้ที่ใจ ใจที่หลงผิด หลงสถานที่ หลงครูบาอาจารย์ หลงธรรม

ที่สำคัญหลงตัวตัว คิดว่าตัวตนนั้นทำดีแล้วถูกแล้ว พวกใครพวกมัน ครูบาอาจารย์ใครครูบาอาจารย์มัน คิดแบบนั้นคิดผิด หลงผิด การเข้าวัดเข้าวาแบบนี้เสียเวลาเปล่า เอากิเลสเข้ามาเพิ่ม เข้ามาเวียนว่ายในจิตในใจของพวกเรา ยิ่งหลง จิตก็ยิ่งวุ่นวาย

มัวแต่ยุ่ง มัวแต่วุ่น มัวแต่วายอยู่ เมื่อจิตวุ่นวายเช่นนี้ อำนาจจักขุ คือ ดวงตาเรา ถึงจะมีไฟใช้อยู่ก็ตาม ไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะไฟนี้ เป็นไปที่อ่อน ใช้ไม่ได้นานเพราะจิตที่ไม่สงบ ต้องทำต้องปรับต้องฝึกต้องอดทนให้เกิดความสงบโดยวิธีการที่ถูกต้อง ธรรมชาติที่เป็นอยู่ในมนุษย์เรานี้ ย่อมชอบที่สูง ไม่ชอบที่ต่ำ แต่ชอบทำอย่างต่ำในที่สูง ชอบอยู่แบบสูงในที่ต่ำ ของดีก็กลายเป็นของเสียไปซะหมด..."

ท่านพ่อลี ธัมมธโร






วิธีสิ้นทุกข์
ธรรมทาน #คำสอนหลวงพ่อ

วิธีสิ้นทุกข์ทำยังไง
เราก็มีการให้ทานเป็นปกติ ถ้าอารมณ์เราพร้อมเพรียงในทาน ก็ชื่อว่าเป็นการตัดโลภะ ความโลภ เรามีเมตตาเป็นปกติ อารมณ์ของเมตตาที่เราทรงอยู่คือ รักษาศีลได้ ถ้ามีเมตตาอยู่ศีลมันก็ไม่ขาด ถ้ามีเมตตาอยู่เป็นปกติ นอกจากมีเมตตาอยู่ศีลไม่ขาดแล้ว เมตตามันยังเป็นตัวทำลายโทสะ

เราก็มาพิจารณาหาความจริงว่า
ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ เจ้าอยากเกิดนี่ มันจะทุกข์อย่างไรก็ช่างมัน ใจเราก็วางเฉยไว้

ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์
อาการงกๆ เงิ่นๆ ร่างกายไม่แข็งแรง ไม่กระปรี้กระเปร่า มีความปรารถนา ไม่สมหวังเพราะทำเองไม่ได้แล้ว เราก็เลยมีทุกข์ ถือว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาของคนแก่ เกิดมาเพื่อแก่

มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์
เรื่องของชาวบ้านธรรมดาเราไม่ทุกข์ ถือว่าเป็นกฎธรรมดา ตายเสียได้ก็ดี เพราะมันจะได้หมดเรื่องยุ่ง แล้วเราเห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นโทษเป็นทุกข์สำหรับเรา เราก็เลยคิดต่อไปว่า ขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ ความเกิดมามีร่างกายขันธ์ ๕ แบบนี้
จะไม่มีสำหรับเราอีก เราจะไม่โง่ยอมรับนับถือให้มีร่างกายต่อไป ถ้าอารมณ์ใจของเราคิดไว้อย่างนี้เป็นปกติ เราก็จะหมดความทุกข์ มันค่อยๆ เข้าใจไปเอง

นี่เป็นบทที่บรรดาพุทธบริษัท ควรจะคิดให้เป็นปกติ เพื่อความเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน นี่เป็นวิปัสสนาตัวสุดท้าย

=======================
จากหนังสือ " ธัมมวิโมกข์ " ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔๑๘ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๙ หน้า ๖๒






ความสุขนั้นมีอยู่รอบตัว แต่คนส่วนใหญ่
มองไม่เห็น เพราะใจจดจ่อแต่ความสำเร็จ
ที่รออยู่ข้างหน้า ผลก็คือขณะที่ความสุข
ข้างหน้ายังมาไม่ถึง เรากลับละทิ้งความสุข
ที่มีอยู่รอบตัว ทั้งๆ ที่เป็นสิทธิของเราโดย
ชอบธรรม กลายเป็นว่าเสียสองต่อ
จะไม่ดีกว่าหรือ ขณะที่ยังไปไม่ถึงจุดหมาย
ปลายทาง เราก็เปิดใจชื่นชมสิ่งดีๆ ที่มีอยู่
รอบตัว หรือตามรายทาง แม้ความสุขข้างหน้า
ยังมาไม่ถึง แต่เราก็ได้สัมผัสกับความสุข
ที่มีอยู่แล้วทุกขณะ ...
...
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล







"..การบำเพ็ญทาน เท่ากับเราหาทรัพย์ไว้ให้ตัวของเรา การบำเพ็ญศีล
เท่ากับเราสร้างร่างกายของเราให้เป็นคนสมบูรณ์
ไม่พิการ ง่อยเปลี้ย บอดใบ้
การบำเพ็ญภาวนา
เท่ากับสร้างจิตใจของเราให้เป็นคนสมบูรณ์
"ทาน" ไม่สามารถคุ้มศีลได้ แต่ศีลคุ้มทานได้
ส่วน "ภาวนา" คุ้มได้ตลอดทั้งทานและศีล
สามารถทำให้ทานบริสุทธิ์และศีลของเราก็บริสุทธิ์
เข้าถึงสุคติสวรรค์โลกุตตระ และนิพพานเป็นที่สุด
สมมติคนหนึ่งเกิดมาในตระกูลสูง
มีทรัพย์สมบัติมาก และร่างกายก็บริสุทธิ์ทุกส่วน
แต่จิตใจไม่ปรกติ วิกลวิการ เป็นผีบ้า
อย่างนี้จะมีประโยชน์อย่างไร
เหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนให้อบรมจิตให้เป็นกุศล
พระองค์ทรงสอนให้มนุษย์เป็นเทวดา
เทวดาเป็นพรหม พรหมเป็นอริยะ จนถึงอรหันตขีณาสพ เป็นที่สุด.."

ธมฺมธโรวาท
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ






"ศรัทธา...ต้องมาคู่กับสติ"
ในโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน...
ยิ่งเรามีความศรัทธาในสิ่งใดมากเท่าไร
ก็ยิ่งต้องมี “สายตาเยือกเย็น” ที่มองเห็นความเป็นจริง
ไม่หลงใหลไปกับความเชื่อเพียงอย่างเดียว
เพราะ ความศรัทธาที่ขาดปัญญา
อาจพาเราหลงทางได้ง่ายๆ ในโลกกลมๆ ใบนี้

ขอบพระคุณคำสอนของ ท่านพุทธทาสภิกขุ ที่ยังคงอยู่เหนือกาลเวลา
และเตือนใจเราเสมอว่า...
โลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน นอกจาก “ความไม่แน่นอน”






"ให้เอา พุทโธ เป็นอารมณ์ของจิตไปก่อน เมื่อบริกรรม พุทโธ จนจิตเป็นสมาธิ แล้วให้วาง พุทโธ แล้วกำหนดผู้รู้คือจิต

เมื่อพักอยู่ในความสงบพอควรแล้ว ให้ถอนจิตขึ้นมากำหนดพิจารณากายเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งก่อน พิจารณาอยู่จุดเดียวจนเกิดความชำนิชำนาญ แล้วจึงขยายต่อไปสู่ส่วนอื่นจนทั่วทุกส่วนของร่างกาย

เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา พิจารณาให้รู้ให้เข้าใจหมดสงสัยทั้งกายตนกายผู้อื่น ทั้งหญิงทั้งชาย พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในไตรลักษณ์อย่าให้จิตส่งออกภายนอกกาย เอากายนี้เป็นเป้าหมายในการพิจารณา เอากายนี้เป็นมรรค เอากายนี้เป็นผล

ถ้าผู้ปฏิบัติส่งจิตออกรู้ภายนอกจากกายนี้ เป็นการปฏิบัติที่ผิดทาง

การเจริญภาวนาโดยยึดเอาอายตนะภายใน ๖ อย่าง มาเป็นอารมณ์เพื่อทำให้ใจสงบ การพิจารณาต้องน้อมนำเข้ามาสู่ภายใน พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้วก็จะวางเอง

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้กล่าวไว้ว่า "เหตุก็ของเก่านี้แหละ แต่ไม่รู้ว่าของเก่า"

ของเก่านี้ได้แก่ ขา แขน ตา หู จมูก ลิ้น กาย เมื่อเวลาปฏิบัติภาวนาก็ให้พิจารณาอันนี้แหละให้รู้แจ้งภายใน นักปฏิบัติต้องพิจารณาตรงที่ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ให้พิจารณากาย พิจารณาใจ ให้เห็นให้เกิดความเบื่อหน่าย ผู้ปฏิบัติต้องน้อมเข้าหาสมมุติ ให้เกิดเป็นวิมุตติ พิจารณาให้รู้แจ้งสมมุติให้เกิดเป็นวิมุตติ พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้อันนี้ ให้เห็นถึงของเก่าซึ่งไม่จีรัง ยั่งยืน จะต้องผุ เน่า เปื่อย ไปในที่สุด"

#หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ






"ให้เอา พุทโธ เป็นอารมณ์ของจิตไปก่อน เมื่อบริกรรม พุทโธ จนจิตเป็นสมาธิ แล้วให้วาง พุทโธ แล้วกำหนดผู้รู้คือจิต

เมื่อพักอยู่ในความสงบพอควรแล้ว ให้ถอนจิตขึ้นมากำหนดพิจารณากายเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งก่อน พิจารณาอยู่จุดเดียวจนเกิดความชำนิชำนาญ แล้วจึงขยายต่อไปสู่ส่วนอื่นจนทั่วทุกส่วนของร่างกาย

เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา พิจารณาให้รู้ให้เข้าใจหมดสงสัยทั้งกายตนกายผู้อื่น ทั้งหญิงทั้งชาย พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในไตรลักษณ์อย่าให้จิตส่งออกภายนอกกาย เอากายนี้เป็นเป้าหมายในการพิจารณา เอากายนี้เป็นมรรค เอากายนี้เป็นผล

ถ้าผู้ปฏิบัติส่งจิตออกรู้ภายนอกจากกายนี้ เป็นการปฏิบัติที่ผิดทาง

การเจริญภาวนาโดยยึดเอาอายตนะภายใน ๖ อย่าง มาเป็นอารมณ์เพื่อทำให้ใจสงบ การพิจารณาต้องน้อมนำเข้ามาสู่ภายใน พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้วก็จะวางเอง

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้กล่าวไว้ว่า "เหตุก็ของเก่านี้แหละ แต่ไม่รู้ว่าของเก่า"

ของเก่านี้ได้แก่ ขา แขน ตา หู จมูก ลิ้น กาย เมื่อเวลาปฏิบัติภาวนาก็ให้พิจารณาอันนี้แหละให้รู้แจ้งภายใน นักปฏิบัติต้องพิจารณาตรงที่ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ให้พิจารณากาย พิจารณาใจ ให้เห็นให้เกิดความเบื่อหน่าย ผู้ปฏิบัติต้องน้อมเข้าหาสมมุติ ให้เกิดเป็นวิมุตติ พิจารณาให้รู้แจ้งสมมุติให้เกิดเป็นวิมุตติ พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้อันนี้ ให้เห็นถึงของเก่าซึ่งไม่จีรัง ยั่งยืน จะต้องผุ เน่า เปื่อย ไปในที่สุด"

#หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ









"..การบำเพ็ญทาน เท่ากับเราหาทรัพย์ไว้ให้ตัวของเรา การบำเพ็ญศีล
เท่ากับเราสร้างร่างกายของเราให้เป็นคนสมบูรณ์
ไม่พิการ ง่อยเปลี้ย บอดใบ้
การบำเพ็ญภาวนา
เท่ากับสร้างจิตใจของเราให้เป็นคนสมบูรณ์
"ทาน" ไม่สามารถคุ้มศีลได้ แต่ศีลคุ้มทานได้
ส่วน "ภาวนา" คุ้มได้ตลอดทั้งทานและศีล
สามารถทำให้ทานบริสุทธิ์และศีลของเราก็บริสุทธิ์
เข้าถึงสุคติสวรรค์โลกุตตระ และนิพพานเป็นที่สุด
สมมติคนหนึ่งเกิดมาในตระกูลสูง
มีทรัพย์สมบัติมาก และร่างกายก็บริสุทธิ์ทุกส่วน
แต่จิตใจไม่ปรกติ วิกลวิการ เป็นผีบ้า
อย่างนี้จะมีประโยชน์อย่างไร
เหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนให้อบรมจิตให้เป็นกุศล
พระองค์ทรงสอนให้มนุษย์เป็นเทวดา
เทวดาเป็นพรหม พรหมเป็นอริยะ จนถึงอรหันตขีณาสพ เป็นที่สุด.."

ธมฺมธโรวาท
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ








ภาวนาให้ได้ผลดีต้องโง่มากๆ

การภาวนานี่ ถ้าจะให้ได้ผลดี ต้องโง่มากๆ หน่อย ถ้าขืนฉลาดแล้วเป็นอุปสรรคกั้นอยู่นั่น

ตัวอย่าง ญาติผู้ใหญ่ของหลวงพ่อคนหนึ่งอ่านหนังสือไม่ออก สวดมนต์ไม่เป็น แกก็มาบ่นว่า "โอ๊ย...เกิดมาชาตินี้ทำไมโง่ นักหนาน้อ"
"มันโง่อย่างไร"

"จะไม่โง่อย่างไร สวดมนต์ก็ไม่เป็น ฟังเทศน์ก็ไม่รู้เรื่อง ท่านเทศน์ภาษาไทย เราเป็นลาว เราก็ฟังภาษาไทยไม่ออก" แกว่า

ถามแกว่า "สวด 'พุทโธ' คำเดียวได้ไหม"

"ได้!"

"เอ้า! ถ้างั้นสวด 'พุทโธ' คำเดียว"

แกก็สวดของแกอยู่นั่นทั้งกลางวันกลางคืน ตื่นเวลาไหน แกก็สวด บางทีแกบอกว่านอนหลับแล้วก็ยังสวดพุทโธอยู่
อยู่มาวันหนึ่ง หลวงพ่อกำลังจะลงทำวัตรเช้าตอนตี ๔ แก บุกขึ้นไปบนกุฏิ พอเห็นแกโผล่ขึ้นไป

"อ้าว! โยม มาทำไมล่ะ ผู้หญิงยิงเรือมาหาพระเจ้าพระสงฆ์ เวลาค่ำคืนไม่งามนะ"

"โอ๊ย! มันทนไม่ไหว"

"ทำไมทนไม่ไหว"

"ทำไมหัวใจคนมันจึงลุกเป็นไฟได้"

เราก็รู้ทันทีว่าจิตของแกสงบเป็นสมาธิ
ถามว่า "มันลุกเป็นไฟแล้วมันร้อนหรือเปล่า"

"ไม่ร้อน มันเย็นสบาย เกิดมาไม่เคยพบกับความสุขอย่าง นี้เลย เดี๋ยวนี้มันก็ยังลุกอยู่นะ"

"เออ... ถ้ามันไม่ร้อน ก็ปล่อยให้มันลุกอยู่นั่น"

ภายหลังมา ถามทีไรๆ

"หัวใจมันยังลุกเป็นไฟอยู่หรือเปล่า"

เดี๋ยวนี้มันยิ่งลุกแรง บางทีจนตกใจว่านั่งอยู่ในศาลานี่ ความสว่างไสวมันเต็มศาลาไปหมด"

อันนั้นจิตแกเป็นสมาธิ แล้วถามว่า

"จิตมันลุกเป็นไฟแล้ว มันยังท่องพุทโธอยู่หรือเปล่า"

"มันไม่ท่อง มันหยุด หยุดนิ่ง แล้วก็รู้...มีความสุขหาที่เปรียบไม่ได้เลย เกิดมาไม่เคยเจอความสุขอย่างนี้สักที"

จนกระทั่งแกตาย เวลาจวนจะตายนี่ ไปถามแก
"เดี๋ยวนี้หัวใจมันยังลุกเป็นไฟอยู่หรือเปล่า"

"เดี๋ยวนี้มันยิ่งลุกแรง มันไม่ได้ไปไหน"

"แล้วพิจารณาดูอายุขัยหรือยัง มันหมดหรือยัง"

"หมดไปนานแล้ว คอยฟังคำสั่งเท่านั้น"

"อ้าว! จะให้ฉันสั่งให้ตายหรือ"

"ก็อย่างนั้นสิ ใครเป็นผู้รับผิดชอบ คนนั้นต้องสั่ง"

"ถ้าแกแน่ใจว่าอายุขัยแกหมดแล้ว เอ้า! ฉันสั่งนะ แต่ว่า ไม่ใช่วันนี้นะ ให้งานเสร็จก่อน"

วันนั้นเป็นงานวันบูรพาจารย์ วันที่ ๒ (ธันวาคม) พองาน เราเสร็จคืนวันที่ ๓ แกตื่นเช้ามาวันที่ ๔ แกก็ไป

พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot] และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO