พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
อาทิตย์ 29 มิ.ย. 2025 8:28 am
"สัตว์โลกจะเกิดเป็นอะไรนั้น
ขึ้นอยู่กับกรรมของตนเองกระทำมาเป็นหลัก
พระเจ้าตนใดก็เนรมิตให้ไม่ได้ ผู้ทำกรรมดี
ก็เกิดศรีมีสุข ผู้ทำกรรมเลว ก็ตกเหวสู่อบาย
อบายภูมิ คือสถานที่ที่หาสุขไม่เจอแม้เพียง
เศษเสี้ยวอึดใจ ผู้ที่ไม่เชื่อบาปเชื่อบุญ
ตกอบายตั้งแต่ยังไม่ทันตาย
พวกไม่เชื่อบาปเชื่อบุญตอนมีชีวิตอยู่
พอตายไปแล้วมีมาก ที่มาขอส่วนบุญจากเรา
ใจถ้าไม่มีสรณะธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าองค์ไหน
ก็โปรดไม่ได้ เมื่อทำกรรมอันใดไว้ ต้องใช้กรรม
อย่างเดียว จนกว่าจะพ้นโทษจากกรรม
ที่ตนได้กระทำไว้เอง ผู้พิพากษายุติธรรมที่สุด
คือ กรรมของเราเอง”
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
"ถ้าปัจจุบันเราสร้างเหตุไว้ดี อนาคตมันก็จะดีด้วย
อดีต คือวันนี้ที่ผ่านไป มันย่อมดีด้วย และที่สำคัญที่สุด
คือ ถ้าเราหมดทุกข์ได้ในปัจจุบันนี้แล้ว
อนาคตคือชาติหน้า ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดถึง"
หลวงปู่ชา สุภัทโท
"... สำหรับอุปจารสมาธิ สามารถรู้วาระจิต
ของผู้อื่นได้ สามารถแก้นิวรณ์ได้ แต่โมหะคลุมจิต
ถ้าเจริญวิปัสสนาถึงขึ้นอัปปนาสมาธิแล้ว
จะต้องทำความรู้ให้เต็มเสียก่อนจิตจึงจะไม่หวั่นไหว
... การที่จะสอนการดำเนินสมถกรรมฐาน
และวิปัสสนากรรมฐานโดยเฉพาะเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นมิได้
เพราะว่าจริตของคนมันต่างกัน แล้วแต่ความฉลาดไหวพริบของใคร เพราะการดำเนินจิต
มีหลายแง่หลายมุม แล้วแต่ความสะดวก
... นิมิตทั้งหลายเกิดด้วยปีติสมาธิอย่างเดียว ที่แสดงตามนิมิตออกมาทั้งหลายนั้น กรุณาท่านอย่าหลงตามนิมิต ให้พยายามทวนกระแสจิตเข้าสู่จิตเดิม
เพราะนิมิตทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง หลงเชื่อนิมิตประเดี๋ยวก็เป็นบ้า การที่จะแก้บ้านิมิตนั้นต้องทวนกระแสจิตเข้าสู่จิตเดิมถ้าทำอย่างนั้นได้
... อย่างบางทีเรานั่งภาวนาอยู่กลางป่าเขา
มีเสือมานั่งเฝ้าเราผู้บำเพ็ญพรตอยู่กลางป่าเพียงลำพัง
เสือนั้นเป็นเทพนิมิตเสียโดยมาก ถ้าเป็นเสือจริงมันเอาเราไปกินแล้ว ..."
___________________________
#พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)
วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
(พ.ศ.๒๔๑๓ - ๒๔๙๒)
"..ถ้าศีลด่างพร้อย
แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง ปฏิบัติธรรมจะไม่ขึ้น
หรือขึ้นก็งอกงามได้ยาก ถ้าผู้ใดมาหาวิธีหลีกเลี่ยง
พระธรรมวินัยแม้เล็กน้อย ผู้นั้นชื่อว่า ทำลายตน.."
โอวาทธรรม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส
จังหวัดสกลนคร
#ผู้ไม่ประมาท
นี่หากยังหนุ่มยังน้อยอยู่ก็ดี หรือท่ามกลางก็ดี จนถึงเฒ่าถึงแก่ก็ดี ไม่ได้หลงมัวเมาอยู่ เมาในวัยหรือเมาในโรคภัยไข้เจ็บ มีความตื่นอยู่ ไม่ประมาท เพราะมาเห็นดูแล้วว่ามัจจุราชคือความตายอยู่ใกล้ตนเองแค่ลมหายใจเข้าออก ออกแล้วไม่เข้าก็ตาย เข้าแล้วไม่ออกก็ตาย อยู่แค่ลมหายใจเข้าออกแค่นี้เราจะอยู่ไปได้ที่วัน กี่คืน ที่เดือน ไม่มีจุดหมายปลายทาง ก็เลยมีความดื่นอยู่ไม่มีความประมาท จึงได้พา กันทำเอาคุณงามความดีตามความสามารถที่จะกระทำกันได้
เมื่อเรามารู้เช่นนี้แล้ว เราก็ต้องขยัน เป็นผู้มีความพากเพียรพยายาม ให้กระทำเอาไว้ให้ได้มาก ๆ ซึ่งคุณงามความดีที่ตนเองจะได้ที่พึ่ง เราจะทำบุญทำทานการกุศล ก็ให้ปลื้มปิดิในคุณงามความดีของตนที่ได้กระทำผ่านมาแล้ว จนถึงทำอยู่ในปัจจุบัน นี่เรากำลังรักษาศีล ได้ศีล ก็ดี ศิล ก็ดี มองดูศีลของตนเอง ตนเองได้รักษาศีลอยู่ แม้จะได้วันหนึ่ง คืนหนึ่ง ชีวิตก็มีคุณค่าสูงส่งกว่าบุคคล ที่ไม่ได้กระทำเลย เรียกว่าเราไม่ประมาท
มองเห็นจิตใจมีความทุกข์เกิดขึ้นเพราะเหตุอะไร ก็ได้แก้ไขจิตใจของตนเอง เรามารู้อยู่ที่ใจของตนเอง ทำให้ข้างในใจของตนเองมีความสุขความสบายกับคุณงามความดีของตนเอง เรียกว่าคนมีที่พึ่ง คนไม่ประมาท
หากคนที่อยู่ในวัยกลางคน กำลังมีครอบครัวมีลูกมีเต้า การค้าขายอยู่ก็เหมือนกัน การบริหารครอบครัวอยู่ แต่ปลีกออกทำคุณงามความดีได้บางครั้งคราว ก็ยังมีคุณงามความดีเป็นคนไม่ประมาท ตายลงไปในระหว่างนั้นก็ไม่เสียชาติเพราะได้ทำคุณงามความดีไว้ แม้ได้ทำน้อยก็ไม่ต้องเสียใจ ก็ได้ของดีน้อย
หากมามีโรคภัยไข้เจ็บอยู่ก็ตาม แม้จะหนักจะเบาแค่ไหน ได้ใช้สติปัญญาพินิจพิจารณา เจริญเมตตาภาวนานึกถึงคุณงามความดีของตนเอง ได้ช่วยหมู่ช่วยฝูงทำบุญทำกุศลรักษาศีลอยู่ พิจารณาในศีลอยู่ พิจารณาในการฟังเทศน์ฟังธรรม พิจารณาในการเจริญภาวนาดูสังขารร่างกาย เรามาพิจารณา ดูเช่นนี้ เราพิจารณาอยู่ไม่ได้ประมาท นอนอยู่มันลุกไม่ได้ก็ภาวนา นั่งได้ก็ภาวนา มันเดินได้ก็ภาวนา ทำ กิจอะไรก็ภาวนา ตรวจตราดูจิตใจของตนเองอยู่อย่างนั้น เรียกว่าคนไม่ประมาท ตายไปก็ไม่ต้องกลัวเพราะเราทำคุณงามความดีอยู่ตลอด
โอวาทธรรมหลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
“เม็ดประคำดั่งดวงจิต สายร้อยดั่งสติ
ที่ร้อยควบคุมจิตเหล่านั้นให้เป็นหนึ่งไม่แตกแถวไปที่อื่น”
โอวาทธรรมท่านครูบากฤษดา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดง
เจ้ากรรมนายเวร หนีอย่างไรก็ไม่พ้น!! แม้เกิดใหม่เป็นเดรัจฉาน ยังข้ามภพชาติ ตามผูกพยาบาทไม่สิ้นสุด
อดีตชาติของท่านพระอาจารย์เปลี่ยนที่เขาวังเพชรบุรี
ท่านพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก บ.ปง ต.อินทขีล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่.
ปี ๒๕๔๖ ที่วัดป่าเชิงเลนหลังมูลนิธิหลวงปู่มั่น ท่านพระอาจารย์เปลี่ยนมากิจนิมนต์ตามที่ ท่านอาจารย์พัลลภ เจ้าอาวาสวัดป่าเชิงเลนศิษย์นิมนต์มา ท่านอาจารย์พัลลภ ผู้พี่ชวนไปสรงน้ำท่านพระอาจารย์เปลี่ยนด้วยกัน ระหว่างสรงน้ำอยู่นั้นท่านอาจารย์เปลี่ยน พูดให้ฟังว่าลูกศิษย์ของท่านนิมนต์ไปเทศน์ที่เพชรบุรี ขากลับลูกศิษย์นิมนต์ท่านไปดูพระตำหนักเขาวังเพชรบุรี ท่านบอกเราก็ไม่เคยไปเขาวังมาก่อนจึงอยากจะไปดู..
พอไปถึงพระตำหนักเขาวังท่านลงจากรถไปนั่งพักอยู่ที่ม้านั่งหินอ่อน ท่านนั่งพักอยู่ที่นี่ประมาณสิบนาที มีลิงตัวผู้สองตัวพยายามจะเข้ามากัดท่าน ลิงสองตัวนี้แสดงกิริยาโกรธเกรี้ยว ใส่ท่านตั้งแต่แรกเห็นหน้ากัน เจ้าหน้าที่ดูแลพระตำหนักเขาวัง และลูกศิษย์ของท่านพากันไล่ลิงสองตัวนี้ให้ออกไปพ้นจากท่าน พอถูกไล่ลิงสองตัวนี้ก็จะหนีออกไปไม่ไกล ลิงทั้งสองพยายามวนเวียนจะลอบเข้ามากัดท่านให้ได้..
อาจารย์เปลี่ยนท่านพิจารณาในลิงสองตัวนี้ทำไมมันจึงมีความอาฆาตมาดร้ายต่อเรานักหนา ท่านทราบด้วยญาณวิถีความรู้ของท่านว่า อดีตชาติในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านเกิดเป็นทหาร มหาดเล็กรักษาพระองค์ เป็นหัวหน้าทหารองค์รักษ์รัชกาลที่ ๕มียศพันตรี ท่านได้ติดตามมาอารักขาถวายความปลอดภัย พระองค์ท่านที่พระตำหนักเขาวัง..
ลิงสองตัวนี้เคยเป็นทหารลูกน้องเก่าของท่านมาก่อน ในชาตินั้น ลิงตัวหนึ่งเป็นอดีตทหารยศนายสิบ ลิงอีกตัวหนึ่ง เป็นพลทหารเกณฑ์..ทั้งสองคนตอนชาติเป็นทหารพากันหนีเวรยามแอบหลบไปกินเหล้า พอท่านจับได้ท่านจึงสั่งลงโทษและกักขังทหารทั้งสองนาย ทั้งสองเมื่อถูกท่านลงโทษสั่งขังจึงมีใจเคียดแค้นให้กับท่าน พอพ้นจากโทษแล้วทั้งสองก็วางแผนลอบทำร้ายท่าน แต่แผนการไม่สำเร็จ ทหารทั้งสองนาย ตายจากชาตินั้นก็มาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานหมุนเวียนเปลี่ยนชาติที่รอบบริเวณเขาวัง ชาติปัจจุบันพากันมาเกิดเป็นลิงที่เขาวังอีก ด้วยจิตใจที่มีความพยาบาทต่อท่านมาก่อน พอมาเจอกันในชาติปัจจุบันลิงทั้งสองตัวจึงมีใจมุ่งที่จะทำร้ายท่านให้ได้..
ชาตินั้นท่านบอกเรามีลูกสาวสองคน ปัจจุบันลูกสาวของเราทั้งสองได้มาเกิดเป็นผู้หญิงอีกเหมือนเดิม ลูกสาวคนหนึ่ง เกิดอยู่ที่กรุงเทพฯ ลูกสาวอีกคนหนึ่งเกิดอยู่ที่เชียงใหม่ ลูกสาวของท่านทั้งสองก็ได้มาเจอกันกับท่านอีกในชาติ ปัจจุบัน แต่เป็นการมาเจอกันในฐานะครูบาอาจารย์ผู้เป็น หลักใจให้กับเขาทั้งสอง..
ชาตินั้นท่านสิ้นอายุขัยเมื่ออายุหกสิบสองย่างหกสิบสาม ตายจากชาตินั้นท่านมาเกิดเป็นรุกเทวดาในเวลาสั้นๆ ไม่กี่สิบปีของเวลาโลกมนุษย์ ท่านได้รับเมตตาธรรมจากองค์ท่านหลวงปู่มั่นเมื่อครั้งท่านเกิดเป็นรุกเทวดาบุญเมตตาขององค์ท่านหลวงปู่มั่น และบุญบารมีของตนเองที่สร้างมา ทำให้ท่านได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในปัจจุบัน โดยเร็ว พอท่านได้มาบวชท่านก็ทำความเพียรปฏิบัติจนรู้ธรรมได้ในปัจจุบัน..
เขาว่าเราทำผิด แต่เราไม่ผิดดังเขาว่า
เขาพูดไม่ถูก ... ก็ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไม
เพราะเขาพูดไม่ถูกตามความเป็นจริง
ถ้าเราผิดดังเขาพูด ... ก็ถูกดังเขาว่าแล้ว
ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไมอีก ถ้าคิดได้ดังนี้
รู้สึกว่าสบายจริง ๆ มันเลยไม่มีอะไรผิด
ล้วนแต่เป็นธรรมทั้งหมด ...
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)
เรื่องการรับเงินของพระ
ผู้ถาม :- “แล้วพระที่รับเงินหรือไม่รับเงินล่ะครับ…?”
หลวงพ่อ :- “ที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามการรับเงินรับทอง ซึ่งเป็นของรูปิยะ วินัยข้อนี้บัญญัติไว้ชัด รับเองก็ดี ให้คนอื่นรับเอาก็ดี หรือคนอื่นเก็บไว้เพื่อตนก็ดี เป็นอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ หมด ก็ล่อเสียเองไม่ดีกว่าหรือ ให้คนอื่นรับเดี๋ยวก็ใช้หมด เกิดโมโหอีกและประการที่ ๒ ฉันไม่รับเงิน โกหกชาวบ้านอีก แต่จิตถือว่าเป็นของของตัว ใช่ไหม…ทีนี้พระพุทธเจ้าทรงห้ามข้อนี้เพราะอะไร เพราะอย่าเอาจิตไปติด เดี๋ยวจะหาว่ารวย คิดว่ารวยมันจะเกิดกิเลส ถ้าเรารับคิดว่าไม่เป็นของเรา รับกี่บาทเป็นของสงฆ์หมด แล้วจิตอย่าไปติด เขาให้มาก็ไปทำเป็นสาธารณประโยชน์ อะไรที่จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนกลางได้ เราก็ทำให้หมดไปเพื่อนพระด้วยกันไม่มีอาหารจะกิน ก็จัดเป็นอาหารถวายพระเป็นสังฆทานการก่อสร้างในวัดมีขึ้น เราไปร่วมก่อสร้างกับเขาก็เป็นวิหารทานส่วนใดเป็นเรื่องของธัมมะธัมโม เอาเงินไปร่วมลงทุนด้วยเป็นธรรมทานถ้าทำได้อย่างนี้ เจ้าของถวายได้อานิสงส์หลายอย่าง เจ้าของได้มากขึ้น เราก็ไม่มีโทษตามพระวินัย วินัยปรับเฉพาะจิตคิดโลภเท่านั้นแหละถ้าพระอรหันต์ท่านรับ ไปปรับท่านได้เมื่อไร พระอรหันต์ท่านรับไหม…ท่านรับ ท่านไม่โกหกชาวบ้านหรอกมีอยู่ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าใกล้จะปรินิพพาน ตรัสว่า “เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว ในกาลภายหลัง สิกขาบทเล็กน้อย ในบางสิกขาบทที่ไม่เหมาะกับกาลสมัย ให้สงฆ์เพิกถอนได้”ทีนี้คำว่า เพิกถอน ต้องประชุมสงฆ์ทั้งโลก เราทำไม่ได้ เราก็ถอนของเราเอง ชนเลย ก็มีเท่านี้ ถ้ารับเองก็ดี ให้คนอื่นรับก็ดี คนอื่นเก็บไว้เพื่อตนเองก็ดี เรารู้อยู่เป็นอาบัติเองเท่ากัน แล้วให้ชาวบ้านรับทำไม แล้วก็มีโทษอีกคือโมโหอย่าง เจ้าคุณโพธิวงศาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง ท่านบอกว่าตอนที่ท่านเป็นเปรียญอยู่ที่วัดเบญจฯ มีวันหนึ่งเขาโทรเลขจากบ้านไปที่วัดเบญจฯ ว่าเวลานี้โยมที่บ้านป่วยหนัก ให้มาท่านบอกว่า เวลานั้นท่านทราบ ท่านเก็บสตางค์มีเงินอยู่ ๘๐๐ บาท เรียกเด็กเข้ามาบอกว่า เวลานี้โยมป่วยจะเอาเงินไปใช้ ไอ้เด็กบอกว่าเหลือ ๒๐๐ บาทครับ ท่านก็ถามว่าอีก ๖๐๐ บาทไปไหน มันบอกว่าใช้หมดแล้วครับ ท่านบอกว่าตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เก็บเองดีกว่า ไม่ต้องมีโมโหอันนี้จิตไปโกรธเด็ก โกรธเด็กมันก็เป็นบาป พอโกรธจิตก็เศร้าหมอง ท่านบอกว่า จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคคติ ปาฏิกังขา ถ้าจิตเศร้าหมองเวลานั้น ถึงแม้เราจะมีบุญอะไรก็ตาม ตายแล้วลงนรกก่อน ดีไหม…ก็ตรงไปตรงมาไม่ดีหรือ ดีไหม…เขาให้เรารับ ชาวบ้านไปพูดว่าองค์นั้นรับสตางค์ เขาไม่ชอบใจเขาก็ไม่ให้ เขาชอบใจเขาก็ให้ มันเปิดเผยดีกว่า ถ้าเราไม่รับ ทีหลังเขารู้ว่ารวยมันซวยจัด ใช่ไหม…สู้กันตรงไปตรงมาดีกว่า อันนี้มันเลี่ยงไม่ได้ที่ว่าไม่รับ ไม่ยินดี วัดนั้นมีการก่อสร้างไหม…พระวัดนั้นมีการป่วย ป่วยแล้วรักษาโรคหรือเปล่า เวลารักษา เอาอะไรมารักษา จะกินเข้าไปถ้าอะไรไม่พอกิน จะเอาอะไรมาซื้อ เงินซื้อ ใช่ไหม…ถ้าขึ้นรถขึ้นเรือ เขาเก็บสตางค์แล้วจะไปได้ยังไง ว่าไง…นี่พูดเสียให้รู้ว่า ทำอย่างนี้คบหรือไม่คบ ฉันให้เลือกเอาตามชอบใจ ใช่ไหม…คบก็คบ ไม่อยากคบก็คบ เอ๊ะ…ยังไง…อีตรงนี้เห็นจะฟังยากหน่อยนะความจริงอาตมาคิดว่าตรงไปตรงมาดีกว่า ถ้าเขาไปรู้ทีหลังจะคิดยังไง เขาก็เสียใจ เวลาที่เรารับ ต่อหน้าคนเรารับ ลับหลังคนเรารับ อันนี้ทำให้จิตสบาย”
ผู้ถาม :- “แล้วเงินที่เขาถวายในขณะเป็นพระ เมื่อสึกมาเป็นฆราวาสแล้ว จะนำมาใช้ได้ไหมคะ…?”
หลวงพ่อ :- “เรื่องเงินที่เขาถวายในฐานะเป็นพระ หรือศัพท์ที่เขาเรียกกันทั่วๆ ไปว่า เงินสาธุ ก่อนที่จะให้เขาสาธุก่อนนะ ถ้าสึกมาแล้วจะนำมาใช้ไม่ได้ ต้องมอบให้แก่สงฆ์ แล้วเงินพระนี่ถึงแม้ว่าถวายเจาะจงเป็นส่วนตัว ก็ใช้นอกรีตนอกรอยไม่ได้ ลงอเวจีเลยคำว่า ส่วนตัว ต้องอยู่ในขอบเขตของความเป็นพระ หมายถึง หิวข้าวไม่มีข้าวจะกินเอาไปซื้อได้ ไม่มีผ้าจะนุ่งไปซื้อได้ ป่วยไม่มียารักษาโรคไม่มีค่าหมอไปซื้อได้ กุฏิมันจะพังก็ซ่อมแซมได้ ถ้าไปซื้อนาให้เขาเช่าซื้อข้าวขาย มันไม่ใช่เรื่องของพระแล้ว ถ้าซื้อนาต้องเป็นนาของวัด ซื้อข้าวเข้ามาเพื่อประโยชน์แก่วัด ประโยชน์ต่อสงฆ์ตอนที่บวชกับหลวงพ่อปาน วันแรกท่านสอน ท่านบอกว่า “เงินที่เขาถวายเข้ามาใน ๑ ปี ถ้ามีเหลืออย่าให้เกิน ๑,๐๐๐ บาท ถ้าเกินต้องทำอะไรให้หมดไป เงินปีนี้อย่าให้เหลือถึงปีหน้า”ก็ถามท่านว่า “ถ้าเขาถวายวันสิ้นปีล่ะ”ท่านบอกว่า “ก็ตั้งใจไว้ก่อนว่า ปีหน้าจะทำอะไร” มันจะต้องมากกว่าเงินวันนั้น สร้างส้วมหลังเดียวก็มากกว่าแล้ว อันนี้ท่านตัดไว้เลย ดีจริงๆ แล้วทำให้อารมณ์เราสบาย ความรู้สึกว่ามีสตางค์น่ะไม่มี ทุกวันนะ ที่ญาติโยมให้มานะ ก่อนนี้ตั้งเยอะแยะ มันยังไม่พอกับหนี้ที่มีอยู่นะ หนี้เป็นล้าน สบายโก๋แต่พระวินัยนี่มีความสำคัญมาก ที่นักบวชจะต้องระมัดระวังก็มีอยู่ ๑๗ สิกขาบท ดีไม่ดีตั้งแต่วันแรก อาจจะต้องอาบัติที่มีความหนักมากทำให้สังฆกรรมเสียก็ได้ นั่นก็คือปราชิก ๔ ข้อ กับสังฆาทิเสส ๑๓ ข้อ ถ้าเผลอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปาราชิก อาจจะขาดจากความเป็นภิกษุตั้งแต่บวชวันแรกก็ได้ เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาบัตินี่ไม่เคยให้อภัยนะ รู้อยู่ก็เป็นอาบัติ ตั้งใจอยู่ก็เป็นอาบัติ เผลอไปหรือสงสัยก็เป็นอาบัติ รู้หรือไม่รู้ก็เป็นแล้วก็ส่วนใหญ่มักจะสอนว่าอาบัติบางสิกขาบท บางส่วนถ้าละเมิดแล้วแสดงตก ก็ขอบอกว่ายิ่งแสดงยิ่งตกนรก ถ้าละเมิดพระวินัยจัดว่าเป็นความผิด โดยเฉพาะปาราชิกข้อที่ ๒ ที่ขาดได้ง่าย ก็คือ ถือเอาทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่เขาไม่ให้ ตั้งแต่ราคา ๑ บาท เป็นอาบัติปาราชิก ข้อนี้ต้องระวังให้มาก คำว่า วิสาสะ จงอย่ามีในอารมณ์ครูบาอาจารย์สมัยก่อนบางท่านบอกว่าไม่เป็นไร เราชอบพอกัน ถือเป็นวิสาสะได้ อันนี้อย่าถือ เวลาปฏิบัติเป็น อธิศีล ต้องปฏิบัติให้ถูก นั่นก็หมายความว่า ขึ้นชื่อว่าทรัพย์สินต่างๆ ถ้าหากเขาไม่อนุญาตให้เรา จงอย่าหยิบเป็นอันขาด เพราะเวลานี้ของเล็กของน้อย ราคามันก็ถึง ๑ บาท ถ้าหยิบ ขาดจากความเป็นพระทันที คือว่าอาบัตินี้ ไม่ต้องรอโจทก์ฉะนั้นการบวชสมัยก่อนมีคำขอบรรพชา (เดี๋ยวนี้เขาตัดทิ้งไปแล้ว) ว่า นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คเหตวา ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ข้าพเจ้าขอรับผ้ากาสาวพัสตร์มา เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ที่นักบวชทุกคนจะลืมข้อนี้ไม่ได้เด็ดขาด”
จากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๓ หน้า ๖๑-๖๙ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)
เรื่องการรับเงินของพระ
ผู้ถาม :- “แล้วพระที่รับเงินหรือไม่รับเงินล่ะครับ…?”
หลวงพ่อ :- “ที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามการรับเงินรับทอง ซึ่งเป็นของรูปิยะ วินัยข้อนี้บัญญัติไว้ชัด รับเองก็ดี ให้คนอื่นรับเอาก็ดี หรือคนอื่นเก็บไว้เพื่อตนก็ดี เป็นอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ หมด ก็ล่อเสียเองไม่ดีกว่าหรือ ให้คนอื่นรับเดี๋ยวก็ใช้หมด เกิดโมโหอีกและประการที่ ๒ ฉันไม่รับเงิน โกหกชาวบ้านอีก แต่จิตถือว่าเป็นของของตัว ใช่ไหม…ทีนี้พระพุทธเจ้าทรงห้ามข้อนี้เพราะอะไร เพราะอย่าเอาจิตไปติด เดี๋ยวจะหาว่ารวย คิดว่ารวยมันจะเกิดกิเลส ถ้าเรารับคิดว่าไม่เป็นของเรา รับกี่บาทเป็นของสงฆ์หมด แล้วจิตอย่าไปติด เขาให้มาก็ไปทำเป็นสาธารณประโยชน์ อะไรที่จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนกลางได้ เราก็ทำให้หมดไปเพื่อนพระด้วยกันไม่มีอาหารจะกิน ก็จัดเป็นอาหารถวายพระเป็นสังฆทานการก่อสร้างในวัดมีขึ้น เราไปร่วมก่อสร้างกับเขาก็เป็นวิหารทานส่วนใดเป็นเรื่องของธัมมะธัมโม เอาเงินไปร่วมลงทุนด้วยเป็นธรรมทานถ้าทำได้อย่างนี้ เจ้าของถวายได้อานิสงส์หลายอย่าง เจ้าของได้มากขึ้น เราก็ไม่มีโทษตามพระวินัย วินัยปรับเฉพาะจิตคิดโลภเท่านั้นแหละถ้าพระอรหันต์ท่านรับ ไปปรับท่านได้เมื่อไร พระอรหันต์ท่านรับไหม…ท่านรับ ท่านไม่โกหกชาวบ้านหรอกมีอยู่ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าใกล้จะปรินิพพาน ตรัสว่า “เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว ในกาลภายหลัง สิกขาบทเล็กน้อย ในบางสิกขาบทที่ไม่เหมาะกับกาลสมัย ให้สงฆ์เพิกถอนได้”ทีนี้คำว่า เพิกถอน ต้องประชุมสงฆ์ทั้งโลก เราทำไม่ได้ เราก็ถอนของเราเอง ชนเลย ก็มีเท่านี้ ถ้ารับเองก็ดี ให้คนอื่นรับก็ดี คนอื่นเก็บไว้เพื่อตนเองก็ดี เรารู้อยู่เป็นอาบัติเองเท่ากัน แล้วให้ชาวบ้านรับทำไม แล้วก็มีโทษอีกคือโมโหอย่าง เจ้าคุณโพธิวงศาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง ท่านบอกว่าตอนที่ท่านเป็นเปรียญอยู่ที่วัดเบญจฯ มีวันหนึ่งเขาโทรเลขจากบ้านไปที่วัดเบญจฯ ว่าเวลานี้โยมที่บ้านป่วยหนัก ให้มาท่านบอกว่า เวลานั้นท่านทราบ ท่านเก็บสตางค์มีเงินอยู่ ๘๐๐ บาท เรียกเด็กเข้ามาบอกว่า เวลานี้โยมป่วยจะเอาเงินไปใช้ ไอ้เด็กบอกว่าเหลือ ๒๐๐ บาทครับ ท่านก็ถามว่าอีก ๖๐๐ บาทไปไหน มันบอกว่าใช้หมดแล้วครับ ท่านบอกว่าตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เก็บเองดีกว่า ไม่ต้องมีโมโหอันนี้จิตไปโกรธเด็ก โกรธเด็กมันก็เป็นบาป พอโกรธจิตก็เศร้าหมอง ท่านบอกว่า จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคคติ ปาฏิกังขา ถ้าจิตเศร้าหมองเวลานั้น ถึงแม้เราจะมีบุญอะไรก็ตาม ตายแล้วลงนรกก่อน ดีไหม…ก็ตรงไปตรงมาไม่ดีหรือ ดีไหม…เขาให้เรารับ ชาวบ้านไปพูดว่าองค์นั้นรับสตางค์ เขาไม่ชอบใจเขาก็ไม่ให้ เขาชอบใจเขาก็ให้ มันเปิดเผยดีกว่า ถ้าเราไม่รับ ทีหลังเขารู้ว่ารวยมันซวยจัด ใช่ไหม…สู้กันตรงไปตรงมาดีกว่า อันนี้มันเลี่ยงไม่ได้ที่ว่าไม่รับ ไม่ยินดี วัดนั้นมีการก่อสร้างไหม…พระวัดนั้นมีการป่วย ป่วยแล้วรักษาโรคหรือเปล่า เวลารักษา เอาอะไรมารักษา จะกินเข้าไปถ้าอะไรไม่พอกิน จะเอาอะไรมาซื้อ เงินซื้อ ใช่ไหม…ถ้าขึ้นรถขึ้นเรือ เขาเก็บสตางค์แล้วจะไปได้ยังไง ว่าไง…นี่พูดเสียให้รู้ว่า ทำอย่างนี้คบหรือไม่คบ ฉันให้เลือกเอาตามชอบใจ ใช่ไหม…คบก็คบ ไม่อยากคบก็คบ เอ๊ะ…ยังไง…อีตรงนี้เห็นจะฟังยากหน่อยนะความจริงอาตมาคิดว่าตรงไปตรงมาดีกว่า ถ้าเขาไปรู้ทีหลังจะคิดยังไง เขาก็เสียใจ เวลาที่เรารับ ต่อหน้าคนเรารับ ลับหลังคนเรารับ อันนี้ทำให้จิตสบาย”
ผู้ถาม :- “แล้วเงินที่เขาถวายในขณะเป็นพระ เมื่อสึกมาเป็นฆราวาสแล้ว จะนำมาใช้ได้ไหมคะ…?”
หลวงพ่อ :- “เรื่องเงินที่เขาถวายในฐานะเป็นพระ หรือศัพท์ที่เขาเรียกกันทั่วๆ ไปว่า เงินสาธุ ก่อนที่จะให้เขาสาธุก่อนนะ ถ้าสึกมาแล้วจะนำมาใช้ไม่ได้ ต้องมอบให้แก่สงฆ์ แล้วเงินพระนี่ถึงแม้ว่าถวายเจาะจงเป็นส่วนตัว ก็ใช้นอกรีตนอกรอยไม่ได้ ลงอเวจีเลยคำว่า ส่วนตัว ต้องอยู่ในขอบเขตของความเป็นพระ หมายถึง หิวข้าวไม่มีข้าวจะกินเอาไปซื้อได้ ไม่มีผ้าจะนุ่งไปซื้อได้ ป่วยไม่มียารักษาโรคไม่มีค่าหมอไปซื้อได้ กุฏิมันจะพังก็ซ่อมแซมได้ ถ้าไปซื้อนาให้เขาเช่าซื้อข้าวขาย มันไม่ใช่เรื่องของพระแล้ว ถ้าซื้อนาต้องเป็นนาของวัด ซื้อข้าวเข้ามาเพื่อประโยชน์แก่วัด ประโยชน์ต่อสงฆ์ตอนที่บวชกับหลวงพ่อปาน วันแรกท่านสอน ท่านบอกว่า “เงินที่เขาถวายเข้ามาใน ๑ ปี ถ้ามีเหลืออย่าให้เกิน ๑,๐๐๐ บาท ถ้าเกินต้องทำอะไรให้หมดไป เงินปีนี้อย่าให้เหลือถึงปีหน้า”ก็ถามท่านว่า “ถ้าเขาถวายวันสิ้นปีล่ะ”ท่านบอกว่า “ก็ตั้งใจไว้ก่อนว่า ปีหน้าจะทำอะไร” มันจะต้องมากกว่าเงินวันนั้น สร้างส้วมหลังเดียวก็มากกว่าแล้ว อันนี้ท่านตัดไว้เลย ดีจริงๆ แล้วทำให้อารมณ์เราสบาย ความรู้สึกว่ามีสตางค์น่ะไม่มี ทุกวันนะ ที่ญาติโยมให้มานะ ก่อนนี้ตั้งเยอะแยะ มันยังไม่พอกับหนี้ที่มีอยู่นะ หนี้เป็นล้าน สบายโก๋แต่พระวินัยนี่มีความสำคัญมาก ที่นักบวชจะต้องระมัดระวังก็มีอยู่ ๑๗ สิกขาบท ดีไม่ดีตั้งแต่วันแรก อาจจะต้องอาบัติที่มีความหนักมากทำให้สังฆกรรมเสียก็ได้ นั่นก็คือปราชิก ๔ ข้อ กับสังฆาทิเสส ๑๓ ข้อ ถ้าเผลอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปาราชิก อาจจะขาดจากความเป็นภิกษุตั้งแต่บวชวันแรกก็ได้ เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาบัตินี่ไม่เคยให้อภัยนะ รู้อยู่ก็เป็นอาบัติ ตั้งใจอยู่ก็เป็นอาบัติ เผลอไปหรือสงสัยก็เป็นอาบัติ รู้หรือไม่รู้ก็เป็นแล้วก็ส่วนใหญ่มักจะสอนว่าอาบัติบางสิกขาบท บางส่วนถ้าละเมิดแล้วแสดงตก ก็ขอบอกว่ายิ่งแสดงยิ่งตกนรก ถ้าละเมิดพระวินัยจัดว่าเป็นความผิด โดยเฉพาะปาราชิกข้อที่ ๒ ที่ขาดได้ง่าย ก็คือ ถือเอาทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่เขาไม่ให้ ตั้งแต่ราคา ๑ บาท เป็นอาบัติปาราชิก ข้อนี้ต้องระวังให้มาก คำว่า วิสาสะ จงอย่ามีในอารมณ์ครูบาอาจารย์สมัยก่อนบางท่านบอกว่าไม่เป็นไร เราชอบพอกัน ถือเป็นวิสาสะได้ อันนี้อย่าถือ เวลาปฏิบัติเป็น อธิศีล ต้องปฏิบัติให้ถูก นั่นก็หมายความว่า ขึ้นชื่อว่าทรัพย์สินต่างๆ ถ้าหากเขาไม่อนุญาตให้เรา จงอย่าหยิบเป็นอันขาด เพราะเวลานี้ของเล็กของน้อย ราคามันก็ถึง ๑ บาท ถ้าหยิบ ขาดจากความเป็นพระทันที คือว่าอาบัตินี้ ไม่ต้องรอโจทก์ฉะนั้นการบวชสมัยก่อนมีคำขอบรรพชา (เดี๋ยวนี้เขาตัดทิ้งไปแล้ว) ว่า นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คเหตวา ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ข้าพเจ้าขอรับผ้ากาสาวพัสตร์มา เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ที่นักบวชทุกคนจะลืมข้อนี้ไม่ได้เด็ดขาด”
จากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๓ หน้า ๖๑-๖๙ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)
#วิธีเจริญจิตภาวนา ตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
๑. เริ่มต้นอิริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก
ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว
รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม
เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อนเป็นธรรมดา สำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์ นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ
จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป
ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิ ในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร
ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป
ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต
พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง
ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว
เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึก(ความคิดนึก)ชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้
ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที
เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง
ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล"
การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป
แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน
ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ
เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย
เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย
เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ
บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ
๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต)
ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ
๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลาย อย่าได้ใส่ใจกับมัน)
ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖
๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ
คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด
๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (ในจิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิต ไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้
คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง
๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น
เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง"
๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด"
๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)
เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน
เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร
เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"
******************
วิธีเจริญจิตภาวนา
จากหนังสือ อตุโล ไม่มีใดเทียม
บันทึกโดย พระโพธินันทะมุนี (สมศักดิ์ ปฺณฑิโต)
รวบรวมและเรียบเรียงโดย
รศ. ดร.ปฐม นิคมานนท์
*ถ้าในอดีตชาติสิ่งใดเคยเป็นของเรา ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน เงินทอง เพชรนิลจินดา ขอให้มีสติ เจริญปัญญา ภาวนา สมาธิ เดี๋ยวสิ่งเหล่านั้นจะกลับคืนมา..
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม
"..เป็นไปไม่ได้เลย ที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมา
สมาธิให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
"...พระโยคาวจรเจ้า เมื่อพิจารณาในที่นี้
พึงเจริญให้มาก ทำให้มาก อย่าพิจารณา
ครั้งเดียวแล้วปล่อยทิ้งไว้ ตั้งครึ่งเดือน ตั้ง
เดือน ให้พิจารณาก้าวเข้าไป ถอยออกมา
เป็นอนุโลม ปฏิโลม คือเข้าไปสงบในจิต
แล้วถอยออกมาพิจารณากาย...
อย่าพิจารณากายอย่างเดียว หรือสงบที่จิต
แต่อย่างเดียว
พระโยคาวจรเจ้าพิจารณาอย่างนี้ชำนาญ
แล้ว หรือชำนาญอย่างยิ่งแล้วคราวนี้แลเป็น
ส่วนที่จะเป็นเอง คือ จิต...ย่อมจะรวมใหญ่
เมื่อรวมพึ่บลง...ย่อมปรากฏว่าทุกสิ่งรวมลง
เป็นอันเดียวกันคือหมดทั้งโลกย่อมเป็นธาตุ
ทั้งสิ้น นิมิตจะปรากฏขึ้นพร้อมกันว่าโลกนี้
ราบเหมือนหน้ากลอง เพราะมีสภาพเป็นอัน
เดียวกัน ไม่ว่า ป่าไม้ ภูเขา มนุษย์ สัตว์
แม้ที่สุด ตัวของเราก็ต้องลบราบเป็นที่สุด
อย่างเดียวกัน พร้อมกับญาณสัมปยุตต์
คือรู้ขึ้นมาพร้อมกัน ในที่นี้ตัดความสนเท่ห์
ในใจได้เลย จึงชื่อว่า "ยถาภูตญาณทัสสน
วิปัสสนา" คือทั้งเห็นทั้งรู้ตามความเป็นจริง..."
มุตโตทัย โดย
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
"ชนะความตระหนี่ด้วยการให้
ชนะใจคนด้วยความสุภาพอ่อนน้อม
ชนะอุปสรรคด้วยความเพียร
ชนะความดิ้นรนแสวงหาด้วยความพอเพียง
ชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ"
พระโอวาท สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
บูรพาจารย์ ผู้ให้แสงสว่างทางธรรม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
“ที่ผมได้ความรู้ความฉลาด จนได้มาแบ่งปัน
พวกท่านทั้งหลายนั้น ก็เพราะผมได้ไปกราบ
ครูบาอาจารย์มั่น”
...
หลวงพ่อชา : “ผมหาทางปฏิบัติ ก็เลยเอา
หนังสือวิสุทธิมรรคขึ้นมาอ่าน มีความรู้สึกว่า
มันจะไปไม่ไหวเสียแล้ว เนื้อความในสีลา
นิทเทส สมาธินิทเทส ปัญญานิทเทสนั้น
ดูเหมือนไม่ใช่วิสัยของมนุษย์จะทำได้
ผมมองเห็นว่ามนุษย์ทั่วโลกนี้ มันจะทำตาม
ไม่ได้ครับ มันยาก มันลำบาก มันเหลือ
วิสัยจริงๆ”
หลวงปู่มั่นจึงกล่าวให้ฟังว่า ...
“ท่าน ... ของนี้มันมากก็จริงอยู่ ถ้าเราจะ
กำหนดทุกๆ สิกขาบทในสีลานิทเทสนั้นนะ
มันก็ลำบาก แต่ความจริงแล้ว สีลานิทเทส
ก็คือสิ่งที่บรรยายออกมาจากใจของคนเรา
นั่นเอง ถ้าหากว่าเราอบรมจิตของเราให้มี
ความละอาย มีความกลัวต่อความผิดทั้งหมด
เราก็จะเป็นคนที่สำรวมสังวรระวัง เพราะ
มีความละอายและเกรงกลัวต่อความผิด ...
เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็จะเป็นเหตุให้เราเป็นคน
มักน้อย และสติก็จะกล้าขึ้น จะยืนเดิน นั่ง
นอนอยู่ที่ไหน มันจะตั้งอกตั้งใจมีสติเต็มเปี่ยม
เสมอ ความระวังมันก็เกิดขึ้น ...
อะไรทั้งหมดที่ท่านศึกษาในหนังสือน่ะ
มันขึ้นต่อจิตทั้งนั้น ถ้าท่านยังไม่อบรมจิต
ของท่านให้มีความรู้ มีความสะอาดแล้ว
ท่านจะมีความสงสัยอยู่เรื่อยไป ...
ดังนั้น ท่านจงรวมธรรมะคำสอนของ
พระพุทธเจ้าไว้ที่จิต สำรวมอยู่ที่จิต อะไร
ที่เกิดขึ้นมา ถ้าสงสัย ... ถ้ายังไม่รู้แจ้งแล้ว
อย่าไปทำ ... อย่าไปพูด ... อย่าไปละเมิดมัน”
...
คนตาดีเมื่อพบดวงไฟก็มองเห็นแสงสว่าง
ส่วนคนตาบอดนั้น ถึงจะนั่งเฝ้าดวงไฟ
ก็มองไม่เห็นอะไร
...
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
"จากปลายจมูกถึงหัวใจ(ฐานจิต)
มีสติดูใจ บริกรรมพุทโธ ด้วยความมีสติทุกขณะ"
หายใจว่า พุท
ก็สูดลมหายใจเข้าทางจมูก
แล้วไปสุดที่หัวใจ นิ่งอยู่นิดนึง
แล้วก็หายใจออกว่า โธ
จากหัวใจมาปลายจมูกทำอยู่อย่างนี้
จากปลายจมูกไปหาหัวใจ
จากหัวใจมาหาจมูก กลับไปกลับมานี้
โดยใช้คำว่า พุทโธ เข้าและออก
"ภาวนาด้วยความมีสติทุกๆขณะ
คือทุกลมหายใจเข้าออก
หรือทุกๆคำที่เราว่าภาวนา
เราจะว่าพุท ใจจะนึกว่าพุท
ก็มีสติดูใจที่นึกว่าพุทรู้อยู่ด้วย
ใจจะนึกว่าโธ ก็มีสติดูใจที่นึกว่าโธด้วย
โดยห่างสติไม่ได้ สติต้องเข้าคุมไว้อยู่เสมอ"
"พุทโธคือจิตทำงานไปสติก็คุมไว้ไม่ให้เผลอ
ว่าอยู่อย่างนี้นี่คือเป็นบทต้นของสมาธิ
หรือจะสัมผัสกับลมหายใจเข้า-ลมหายใจออกคือเอาส่วนหนึ่งของอานาปานสติมาร่วมด้วยกับพุทธานุสสติก็ได้ นี้เรียกว่าบทกรรมฐานผสมเพื่อให้สะดวกหรือถูกกับจริตของเราในการทำสมาธิ
รวมความว่าสมาธิประการแรกนี้คือ
เพ่งจิต เพ่งดูผู้ว่าพุทโธ พุทโธไปจนกว่าจะสงบ"
"แล้วในที่สุดให้พิจารณาเห็นด้วยความเป็นอนิจจัง,
ทุกขัง,อนัตตาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน จิตเมื่อถูกสภาพของปัญญา
ความสงบและปัญญาเข้าอบรมดังกล่าวมาแล้วนี้
ก็จะถอนความยึดมั่นถือมั่นจากเดิมทีเสียได้
รู้ตามความเป็นจริงเป็นบ่อเกิดแห่งความสงบด้วย
หลวงปู่บัวเกตุ ปทุมสิโร
สงบอยู่คนเดียวในความเงียบ
ยังไม่ใช่ความสงบที่แท้จริง
สงบในความเป็นไปของโลก
ที่เคลื่อนไหว นี่แหละของจริง
#หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท
ธรรมโอสถ อมฤตธรรม
"..คนมีความสุข ไม่ใช่คนที่มีมากที่สุด
แต่เป็นคนที่ต้องการน้อยที่สุด
ยิ่งมีความต้องการน้อยลง
สิ่งของที่มีอยู่ ก็จะดูเหมือนมีมากขึ้น.."
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
#การปฏิบัติจะต้องระลึกรู้ถึงจิตใจด้วย
#ถ้าไม่ได้รู้ถึงจิตใจบางทีก็ไปตันอยู่
เช่นว่า
... #มีสมาธิ #จิตนิ่ง
#อารมณ์ว่างเปล่าเหมือนไม่มีอะไร
ไม่มีอะไรจะดู ไม่มีอะไรจะรู้ มีแต่ว่าง ๆ
ลมหายใจก็ไม่รู้สึก
ความรู้สึกทางกายก็ไม่รู้สึก
ถ้าดูจิตไม่ได้ มันก็จะไปตันอยู่แค่นั้น แค่นิ่ง ๆ ว่าง ๆ
เรียกว่าสมถะ อยู่แค่สมถะ
ได้ความสงบ แต่ไม่ก้าวขึ้นสู่ทางปัญญาได้
หรือว่า
... #เมื่อจิตอยู่กับความว่างๆ
#เดี๋ยวก็สร้างนิมิตขึ้นมา #เป็นสี #แสง #เป็นภาพต่างๆ
ซึ่งอารมณ์นิมิตทั้งหลายเหล่านี้มันก็เป็นสมมติ เป็นบัญญัติอารมณ์
ไม่ใช่ปรมัตถ์ ไม่ใช่สภาวะ
ฉะนั้นตามดูนิมิตก็ได้เพียงความสงบ
หรือว่านิมิตที่มันเลื่อนไหลไปเรื่อย
ตามไปหนักเข้าก็ลืมเนื้อลืมตัว นอกทาง หลงอารมณ์ได้
ก็จะเห็นว่าถ้ารู้จิตได้ ระลึกรู้จิตเป็น
มีสติมารู้จิตใจผู้รู้ผู้ดูได้
มันก็จะตัดอารมณ์นิมิตออกไป หรือตัดความว่าง
มีสติมารู้จิตใจ
จิตรู้จิต
จิตที่ถูกรู้ก็เป็นธรรมารมณ์ที่เป็นสภาวะ เป็นปรมัตถ์
แสดงความเปลี่ยนแปลงเกิดดับ
ให้ความรู้สึกถึงความไม่เที่ยง ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เกิดดับ หรือเป็นอนัตตาได้
หรือว่า ... #บางครั้งเรากำหนดทางกายอย่างเดียว
#บางทีก็เน้นหรือเพ่งเกินไป #หรือขยายไปเป็นสมมติ
กำหนดเพ่งกายก็จะขยายไปเป็นรูปร่างสัณฐาน
ก็จะมีรูปทรงสัณฐานของกายขึ้นมา
เป็นมโนภาพ เป็นอารมณ์สมมติ เป็นอารมณ์บัญญัติ
ถ้ามีการระลึกรู้ควบคู่กับจิตใจ
รู้กายรู้ใจ
การรู้เท่าทันจิตใจก็จะเป็นตัวตัดอารมณ์บัญญัติออกไป
คือความเป็นรูปร่างสัณฐานที่เป็นมโนภาพมันก็จะหายไป
เหลือแต่ความรู้สึก เหลือแต่สภาวะปรมัตถ์
หรือว่า #กำหนดเพ่งกายอย่างเดียว
#บางทีมันก็เป็นอารมณ์มายาเข้ามา
กำหนดสภาวะปรมัตถ์ เช่น ความตึง ความหย่อน ความไหว
มันเอามาต่อ เอาอารมณ์เหล่านี้มาต่อ ๆๆ กัน
ก็เลยดูว่ามันวิ่งได้ มันขึ้นลง หรือว่ามันใหญ่ หรือมันวน อะไรทำนองอย่างนี้ได้
ซึ่งเป็นอารมณ์มายา
ถ้ารู้จิตใจได้ สติรู้ใจ
อารมณ์มายาอย่างนี้ก็จะถูกตัดไป
เหลือแต่ความรู้สึก ความหนัก ความเบา ความตึง ความหย่อน
แต่ไม่มีความหมายว่าอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไม่มีมโนภาพเข้ามา
การระลึกรู้จิตจึงมีความสำคัญที่จะตัดบัญญัติสมมติ
หรือว่า #ปฏิบัติไปแล้วเกิดปีติ
#ปีติบางครั้งทำให้ตัวโยก #ตัวสั่น
ถ้าดูกายอย่างเดียว มันก็จะโยกอยู่อย่างนั้น
ดูกาย มันก็ขยายไปเป็นรูปร่าง
ก็เป็นบัญญัติเข้าไปเสริม
ทำให้ตัวโยก ตัวโคลงเคลง หรือตัวสั่น
พอระลึกรู้จิตใจได้ ดูใจผู้รู้ได้
มันก็จะหายไป ตัวโยกก็หายไป
ตัวโยก ตัวสั่นเหล่านี้ก็จะหมดไป
#หรือว่ามีปีติน้ำตาไหล #สะอึกสะอื้นมาก
คุมไม่อยู่ถ้าดูเฉพาะทางกาย
เพราะต้นเหตุมันมาจากจิต
ปีติมันเกิดที่จิต แล้วจึงขยายผลไปสู่ทางกาย
ฉะนั้นเมื่อระลึกรู้ที่จิตได้
อาการปีติทางกาย เช่น สะอึกสะอื้นน้ำตาไหลก็จะคลายไป ก็จะหาย เพลาลงไป
นี่ก็จะเห็นประโยชน์ของการกำหนดดูจิต
ธรรมบรรยาย จิต
คอร์สกรรมฐานเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๘ (๒๓-๕-๖๘)
.............................
ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา
ชีวิตมนุษย์นั้นมีขึ้นมีลง
วันนี้สูงส่ง พรุ่งนี้อาจตกต่ำ
ไม่มีสิ่งใดแน่นอน หรือยั่งยืนได้เลย
หมั่นทำความดี หรือสร้างบุญกุศลกันไว้
ให้มาก ๆ เถิด แม้ยามที่ชีวิตตกต่ำ
ก็จะมีบุญกุศลหนุนนำ ช่วยให้พ้น
จากความมืดมิดได้อย่างแน่นอน
บุคคลที่เป็นคนดีนั้นย่อมเป็นที่รัก
ไปทั้งสามโลก ...
...
พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณสังวร