...ถ้านั่งสมาธิแล้ว จิตไม่สงบ ก็แสดงว่า “ไม่มีสติคอยกำกับใจ”
. นั่งสมาธิอย่านั่งเฉยๆ ไม่ใช่หลับตาแล้วก็ดูความว่างดูอะไรไป เดี๋ยวจิตมันก็หลอกเรา เดี๋ยวจิตมันก็หลอกสร้างภาพมาหลอกเรา
. “เรานั่งเราต้องควบคุมจิต” ไม่ให้มันสร้างภาพ ไม่ให้มันคิดปรุงแต่ง ไม่งั้นมันก็จะไม่สงบ นั่นเอง. ........................................ สนทนาธรรมะบนเขา วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
การเจริญวิปัสสนาทุกวินาที คุณพ่อคุณแม่ได้มีหุ้นส่วนด้วย ถ้าไม่ใช่พ่อแม่ของเราที่ได้ให้ชีวิตเรามา เราจะได้มาเดิน มาอยู่ปฏิบัติอย่างนี้หรือ เราต้องทำอวัยวะที่เป็นมรดกของพ่อแม่ให้มานี้ ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและพ่อแม่ การกราบ การเดิน การนั่งสมาธิ บุญของเรา พ่อแม่ได้กับเราด้วย
คำสอน พระพรหมมงคล (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล) วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร จ.เชียงใหม่
"ดอกไม้สักการะบูชา ดอกไม้คันธรสของหอม ก็ได้บุญเหมือนกัน หอมดอกไม้มันก็หลายสิ่งปานนั้น ยังบ่ปานศีลธรรมขององค์พระพุทธเจ้า หอมศีลธรรมของพระพุทธเจ้ามันถึงดี รูปที่ว่ามันสวย กลิ่นที่ว่าหอม มันก็บ่หอมบ่งามไปกว่าศีลธรรมของพระพุทธเจ้า ศีลธรรมของพระพุทธเจ้านั้นดี ได้ไปสู่สุคติบนสวรรค์นิพาน เอาให้มันได้ศีลธรรม ศีลธรรมมันนำพาเราไปสู่ภพใหม่ ชาติใหม่ ไปสุคติบนสวรรค์ทุกคน ทำไว้"
"ความโกรธ ความโลภ ความหลง นี่ธรรมะ โกรธมากมันก็ทุกข์มาก โลภมากมันก็ทุกข์มาก หลงมากมันก็ทุกข์มาก มันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ธรรมมันเกิดเพราะเหตุ เอาให้มันได้ ธรรมมันเกิดเพราะเหตุ ถ้าจะดับ เหตุมันดับไปก่อน ผลมันจึงดับไปด้วย เท่านี่ล่ะคำสอนของพระพุทธเจ้า เอาให่มันได้ จะได้ไปอยู่เมืองสวรรค์โพ่น" สาธุ
#โอวาทธรรมวันมาฆะปูรมี หลวงปู่คำภา ฑีฆายุโก วัดป่าทรัพท์ทวีธรรมาราม อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ๒๖ ก.พ.๖๔
จิตหนึ่ง.... การทำ ใจ ให้ สงบ ให้ รู้อยู่ ใน จุดรู้ อยู่อย่างเดียว ประคองเข้าสู่ จุดนั้น รักษา ความรู้สึก ไว้ใน จุดเดียว ถือเอาความรู้สึกนั้นให้ ไปรวม อยู่ในที่ จุดเดียว หรือมิฉะนั้นให้ กลั้นลมหายใจ มันจะ จดจ่อ เป็นที่ ตั้งของใจ เมื่อได้ที่ตั้งแล้ว ให้ จำตรงนั้น ประคองความรู้สึกไว้ที่ ตรงนั้น ให้มันอยู่ ให้ มันติดตรงจุดนั้น ให้ได้ เมื่อตั้งจนชำนิชำนาญ “จิต” มันจะติดตรงนั้น เมื่อ “ใจ” มันติดตรงจุดนั้นได้ มันก็ “วางข้างนอก” มันไม่ไปต่อข้างนอก “มันจะต่อจุดนั้นอย่างเดียว” เมื่อมันแน่วอยู่ใน “จุดเดียว” แล้วมันเป็น “สมาธิเบื้องต้น “ “รักษาจิต”ให้อยู่ใน “จุดนั้น” มากขึ้นเท่าใด ใจก็จะ “มั่นคง”มากขึ้นเท่านั้น เป็น “เอกัคตาจิต” จิตมีอารมณ์เป็น “อันเดียว” อยู่ใน จุดที่ตั้ง นั้น เป็นสภาวะธรรมของ “จิตหนึ่ง” พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
ที่ว่าน้อยใจ เสียใจ เศร้าใจ นั้นไม่ใช่จิต (แต่)เป็นสังขาร
แท้จริงจิตนี้ไม่เคยเศร้าหมอง เพราะจิตนี้คือ ความว่าง..ความว่าง ไม่เคย เสียใจ ไม่เคยน้อยใจ ทุกข์ใจ เศร้าใจ ไม่เคยโกรธใคร เพราะเรามีความว่าง..รู้อยู่ แต่ปรุงแต่งไม่ได้ กิเลสจะตัดหรือไม่ตัด ไม่ใช่ปัญหา เพราะเราไปหาธรรม
ถ้าเราระลึกรู้ตรงนี้ เราก็จะรู้ได้ จะรู้ไม่รู้ก็ขึ้นอยู่กับ สติของเรา สติของเราเข้าใน รู้ว่าสติเราอยู่กับตัวหรือเปล่า หยุดตรงนี้ กลางกายของเรา ถ้าน้อมเข้ามาแล้วความวุ่นวายทั้งหลาย กิเลสที่เราอยากตัด มันจะจบทันทีเลย มันจะตัดเองไม่ต้องไปตัดมัน ถ้าเราอยู่ตรงนี้สังขารไม่มา หากเราไปอยู่กับสังขารมันก็ใช้เราตลอด
ถ้าเราหาจิตไม่เจอก็เป็นทาสของสังขาร เพราะมันปรุงแต่งให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่ในสังขารทั้งนั้น สติตรงนี้ ไม่มีอดีต อนาคต เหลืออยู่แต่ปัจจุบันธรรม ถ้าไม่น้อมเข้ามาก็ไม่เป็นสมาธิ
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า อยากเห็นพระพุทธเจ้าก็น้อมเข้ามาที่ตัวเรา เรียกว่า ปัจจุบันจิต เป็นธรรมชาติที่ปราศจากการปรุงแต่ง นั่นคือธรรมะ แต่ถ้าปรุงแต่งก็เป็นธรรมะ แต่เป็นสังขารธรรม
พระพุทธองค์จึงตรัสว่า อย่าไปหากิเลส มันเป็นเรื่องของมัน เราอย่าไปเอามาเป็นสาระ มันเป็นกองบัญชาการ มันทำให้เรามีแต่ความทุกข์ มีแต่ความร้อน เป็นธรรมที่เกิด เกิดเพราะโลภะ โทสะ โมหะ
พระองค์จึงให้ไปหาธรรมะที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย อยู่ที่ตัวของเรา ตั้งสติไว้ปกติ ไม่มีอดีต อนาคต ก็เกิด ความว่างทันที ถ้ารู้อยู่ตรงนี้จะไม่รู้อย่างอื่น รู้แค่รู้
เหมือนที่หลวงปู่ดุลย์ท่านว่า การปฎิบัติ ถ้าเราไปหาจิตเจอ สังขารก็ตายเอง ไม่ต้องไปฆ่ามัน แต่ถ้าหาจิตไม่เจอก็เป็นทาสของมัน เพราะทิฎฐิที่ทำให้เราไม่รู้ธรรม ก็เพราะมีอดีต อนาคต.
พระธรรมเทศนา พระอาจารย์เยื้อน ขันติพโล
ถ้าไม่รู้จัก. ใจเจ้าของแล้ว. ก็ยาก. มันไปตามสัญญาอารมณ์. ของตัวเอง.
หลวงปู่ศรี มหาวีโร
"..การแสดงโอวาทปาฏิโมกข์พระพุทธเจ้าทรงแสดงเองเป็นวิสุทธิอุโบสถ คืออุโบสถในท่ามกลางแห่งบุคคลผู้บริสุทธิ์ล้วน ๆ ไม่เหมือนพวกเราซึ่งแสดงปาฏิโมกข์ในท่ามกลางแห่งบุคคลผู้มีกิเลสล้วน ๆ ไม่มีบุคคลผู้สิ้นกิเลสสับปนอยู่เลยแม้คนเดียว
ฟังแล้วน่าสลดสังเวชอย่างยิ่งที่พวกเราก็เป็นคนผู้หนึ่ง หรือเป็นพระองค์หนึ่งในความเป็นศากยบุตรของพระองค์ องค์เดียวกัน แต่มันเป็นเพียงชื่อไม่มีความจริงแฝงอยู่บ้างเลย เหมือนคนที่ชื่อว่าพระบุญ เณรบุญ และนายบุญ นางบุญ แต่เขาเป็นคนขี้บาปหาบแต่โทษและอาบัติใส่ตัวแทบก้าวเดินไปไม่ได้
สมัยโน้นท่านทำจริงจึงพบแต่ของจริง พระจริง ธรรมจริงไม่ปลอมแปลง ตกมาสมัยพวกเรากลายเป็นมีแต่ชื่อเสียงเรืองนามสูงส่งจรดพระอาทิตย์ พระจันทร์ แต่ความทำต่ำยิ่งกว่าขุมนรกอเวจี แล้วจะหาความดี ความจริง ความบริสุทธิ์มาจากไหน เพราะสิ่งที่ทำมันกลายเป็นงานพอกพูนกิเลสและบาปกรรมไปเสียมาก มิได้เป็นงานถอดถอนกิเลสให้สิ้นไปจากใจ แล้วจะเป็นวิสุทธิอุโบสถขึ้นมาได้อย่างไรกัน
บวชมาเอาแต่ชื่อเสียงเพียงว่าตนเป็นพระเป็นเณรแล้วก็ลืมตัว มัวแต่ยกว่าตนเป็นผู้มีศีลมีธรรม แต่ศีลธรรมอันแท้จริงของพระของเณรตามพระโอวาทของพระองค์แท้ ๆ นั้นคืออะไร ก็ยังไม่เข้าใจกันเลย ถ้าเข้าใจในโอวาทปาฏิโมกข์ท่านสอนว่าอย่างไร นั่นแลคือองค์ศีลองค์ธรรมแท้ ท่านแสดงย่อเอาแต่ใจความว่า การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศลคือความฉลาดให้ถึงพร้อมหนึ่ง การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง นี่แลเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
การไม่ทำบาป ถ้าทางกายไม่ทำแต่ทางวาจาก็ทำอยู่ ถ้าทางวาจาไม่ทำแต่ทางใจก็ทำ และสั่งสมบาปวันยังค่ำจนถึงเวลาหลับ พอตื่นจากนอนก็เริ่มสั่งสมบาปต่อไปจนถึงขณะหลับอีก เป็นอยู่ทำนองนี้ โดยมิได้สนใจคิดว่าตัวทำบาปหรือสั่งสมบาปเลย แม้เช่นนั้นยังหวังใจอยู่ว่า ตนมีศีลมีธรรม และคอยเอาแต่ความบริสุทธิ์จากความมีศีลมีธรรมที่ยังเหลือแต่ชื่อนั้น
ฉะนั้นจึงไม่เจอความบริสุทธิ์ กลับเจอแต่ความเศร้าหมองวุ่นวายภายในใจอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพราะตนแสวงหาสิ่งนั้นก็ต้องเจอสิ่งนั้น ถ้าไม่เจอสิ่งนั้นจะให้เจออะไรเล่า คนเราแสวงหาสิ่งใดก็ต้องเจอสิ่งนั้นเป็นธรรมดา เพราะเป็นของมีอยู่ในโลกสมมุติอย่างสมบูรณ์ ที่ท่านแสดงอย่างนี้ แสดงโดยหลักธรรมชาติของศีลธรรมทางด้านปฏิบัติ เพื่อนักปฏิบัติได้ทราบอย่างถึงใจ.."
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แสดงธรรมเมื่อวันมาฆบูชา เพ็ญเดือนสาม พ.ศ.๒๔๙๒
อารมณ์ทั้งหลายนั้น จะเป็นอารมณ์ที่พอใจก็ตาม หรืออารมณ์ที่ไม่พอใจก็ตาม...มันก็เหมือนกับงูเห่านะ
งูเห่ามันมีพิษมาก.....ถ้าไม่มีอะไรมาขวาง มันก็เลื้อยไปตามธรรมชาติของมัน แม้พิษมันจะมีอยู่ มันก็ไม่แสดงออกมา ไม่ได้ทำอันตรายเรา
ดังนั้น..
ถ้าหากเป็นคนที่ฉลาดแล้ว..ก็จะปล่อยหมด สิ่งที่ดีก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชั่วก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชอบใจก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ไม่ชอบใจก็ปล่อยมันไป
เหมือนอย่างเราปล่อยงูเห่า ตัวที่มีพิษร้ายนั้น ปล่อยให้มันเลื้อยไป ...มันก็เลื้อยไปทั้งพิษที่มีอยู่ในตัวมันนั้นเอง.. หลวงปู่แสง ญาณวโร
|