Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

บาปและบุญ

พฤหัสฯ. 20 ธ.ค. 2018 6:34 am

“บาปและบุญนั้น มีอยู่ประจำโลก
เหมือนกับน้ำและไฟนั้นแหละ
ใครทำชั่ว ก็เดือดร้อน
ใครทำดี ก็มีความสุขกายสบายใจ"

หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร





"คนเราจะเป็นสุข เมื่อรู้จักพอดี
ไม่มีใครได้อะไรตลอดไป
หรือเสียอะไรตลอดไป
ไม่มีใครหรือสิ่งไหน อยู่ได้ตลอดไป
โดยไม่สูญสิ้น ขอเพียงแค่รู้จักพอดี
ทุกคนจะเป็นสุข"

หลวงปู่บุดดา ถาวโร





"ทุกอย่างในโลกนี้ แม้แต่เลวที่สุด
ถ้ามองเป็น ก็เป็นประโยชน์
อย่างน้อย ก็ได้ความรู้ ได้ความจริง"
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ประยุตฺโต)






"เปลี่ยนจากเคยเมาข้ามปี
มาสวดมนต์ข้ามปี ทำดีตลอดทั้งปี
แล้วเราก็จะมีพร
โดยไม่ต้องไปขอพรจากใครเลย"

พระอาจารย์พยอม กัลยาโณ







ในส่วนที่เราได้ทำบุญกุศลที่ได้เกิดขึ้นนั้น เราก็เคยได้ยินได้ฟังธรรมะจากพ่อแม่ครูอาจารย์หลายองค์ทำให้เกิดศรัทธาแกร่งกล้าขึ้น ได้มารักษาศีลได้มาฝึกจิตฝึกสมาธิให้จิตนั้นเป็นสมาธิ การฝึกจิตให้เป็นสมาธิไม่ใช่ว่าฝึกแต่จิตอย่างเดียว ฝึกทางกายด้วยฝึกทั้งอิริยาบท นั่ง ยื่น เดิน แล้วก็อิริยาบทนอน ฝึกมันทั้งอิริยาบททั้ง ๔ ด้วย เพราะฉะนั้นการเตียวตัวฝึกในอิริยาบททั้ง ๔ ไม่ว่าเราจะอยู่ในอิริยาบทใดก็ตาม จิตให้ประครองความรู้ให้คงที่เหมือนเดิม ไม่ให้จิตมันกระเฟื่อมไปที่ไหน อย่างที่เรานั่งสมาธิไปนานๆจิตของเราก็สงบนิ่งอยู่ เป็นเวลายาวนาน

ทีนี้ก็คิดเปลี่ยนอิริยาบท จิตของเราก็ประครองความรู้ ค่อยๆขยับตัวขึ้นตอนจะลุก ถึงแม้เราจะขยับตัวจะลุก จิตของเราก็จะประครองความรู้อยู่ที่เดิม ประครองเอาไว้อย่าให้มันเคลื่อนไปที่อื่น เหมือนอยู่ในตมแล้วนิ่งไว้ก่อน สติหนักแน่นแล้วก้าวเท้าเดินจงกรม ก้าวเท้าขวาก่อนเวลาเดินจงกรม ขณะที่เรายังยื่นอยู่และก็เอามือซ้ายแนบไว้ที่ตรงสะดือและก็เอามือขวาโอบลงไว้ในท่ายื่นจงกรมแล้วก็เดินก้าวเท้าขวาก่อน แต่บางคนก็กำหนดเดินเองก้าวเท้าขวา"พุท"ก้าวเท้าซ้าย"โธ"

ถ้ากำเกิดความชำนาญแล้วจะก้าวเท้าซ้ายเท้าขวา เราก็กำหนดเอาไว้ที่จุดเดิม นิ่งคือการตั้งสติเวลาเราปฏิบัติธรรมเวลาเรานั่ง เราก็เอามือซ้ายอยู่ข้างล่าง เอามือขวาอยู่ข้างบนทับกันแล้วก็เอาปลายนิ้วโป้งจดกัน หรืจะห่างกันหน่อยหนึ่งก็ได้. ถ้าทำได้อย่างนี้นิ้วมือก็จะตรงปลายนิ้วข้อนิ้วก็จะตรงพอดี นิ่งให้มีสติ คือเตรียมกายในการภาวนาขาก็เหมือนกันขาขวาทับขาซ้าย ทีนี้ให้รวมจิตทำที่ตั้งของจิต ที่ตั้งของจิตอย่าให้เลยสะดือลงไป ให้เหนือสะดือขึ้นมาให้อยู่ส่วนบน ทำไมถึงไม่ให้เลยสะดือลงไป เพราะเราบริกรรมพุทโธ พระพุทธเจ้าควรที่จะอยู่ส่วนบนไม่ให้อยู่ส่วนล่างให้เข้าใจอย่างนี้ นี้คือการบริกรรมอยู่กับจิต

ที่เราน้อมอยู่กับคำบริกรรมเคารพในพระพุทธเจ้าเราก็ต้องเอาไว้ที่สูงเอาไว้ที่หน้าอกของเราดีที่สุด เอาพระพุทธเจ้าไว้ในหน้าอก รักษาหัวใจเรานี่คืการฝึกจิตให้ถูกทางการฝึกสมาธิ เมือเราฝึกไม่หยุดการฝึกไม่ใช่ว่าเราจะทพอค่...เราจะเดินจงกรมแต่ ๑๐รอบ ๒๐รอบ การเดินจงกรมบางคนยังไม่เข้าใจ เหมือนกับตั้งวงกลมขีดวงกลมไว้ให้เดินเป็นวงกลม บางคนเขาก็เข้าใจอย่างนี้ จริงๆแล้วเดินจงกรมมันหมุนเวียนอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก

ส่วนการเดินนี่ตั้งไหลตรง เวลาเราจะเดินนี้ให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เดินไปถึงจุดทางทิศตะวันออก เรากำหนดจุดเอาไว้ตรงนั้น เวลาหมุนตัวหมุนขวา การหมุนตัวเวลาหมุนตัวเราควรที่จะนิ่งเสียก่อน เท้าของเรานี้ย้ำตัวไว้ซะก่อน แล้วค่อยก้าวเท้าขวาเป็นก้าวแรกทุกครั้งไป นี่คือการเดินจงกรม ทางเดินนั่นนะต้องยาวพอสมควร ๒ ก้าว ถึง๓๐ก้าว๔๐ก้าว ถ้าน้อยไปอาจจะเวียนศรีษะได้เมือเดินมากๆ เพราะฉะนั้นเราจะต้องทำทางเดินจงกรมนั้นยาวพอสมควร เหมือนกับเดินปกติไม่ต้องช้าหรือเร็วเกินไป เดินพอดีๆไม่ต้องดิ้นไปไหน ยกเท้าก็ยกธรรมดาๆก้าวสั้นยาวตามสภาพร่างกายของตัวเอง ตามปกติของตัวเองไม่ต้องไปวัดเอาของคนอื่น

เตรียมสติเตรียมสมาธิที่จะกำหนดบริกรรมคำพุทโธ การที่เราบริกรรมคำภาวนาพุทโธ บริกรรมไปทำไม พุทโธแปลว่าผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้รู้ พุทโธนี่แปลที่สูงสุดอีกอย่างคือ พระพุทธเจ้า เป็นผู้หลุดพ้น หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายพ้นจากภพชาติพ้นจากวัฏสงสารไม่มาเวียนวายตายเกิดอีกต่อไป เป็นผู้มีเหลือแต่บริสุทธิ์อย่างเดียว คำว่าบริสุทธิ์คือที่ใจ "ใจบริสุทธิ์"ส่วนกายนั้น...ถ้าใจมันบริสุทธิ์กายมันก็บริสุทธิ์

พระธรรมเทศนาหลวงปู่ไม อินทสิริ
วัดป่าภูเขาหลวง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
ในงานทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อจัดซื้อเครื่องแพทย์ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
ณ หอประชุม รพ. วันที่ ๒๔ มิ.ย. ๖๑

(ถอดจากเทปพระธรรมเทศนา)
ตอบกระทู้