Switch to full style
มาร่วมสนทนากันในหมู่สมาชิก แลกเปลี่ยนเรื่องราวที่ท่านประสบมาได้ที่นี่ครับ
ตอบกระทู้

ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

พุธ 17 ก.ย. 2008 11:06 pm

พี่ต่อครับ พระพรหมที่พระอาจารย์ติ๋วสร้างมีทั้งหมดกี่รุ่นครับ แล้วที่ออกวัดบวรฯนับเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ครับ
พระพรหมที่พระอาจารย์ติ๋วสร้างป็นที่นิยมมาก ท่านสำเร็จวิชานี้จากพระอาจารย์ท่านใดครับ
ขอบคุณครับพี่ต่อ

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

พฤหัสฯ. 18 ก.ย. 2008 12:11 am

ขอบคุณ คุณสุรเทพมากเลยครับ
ที่ตั้งคำถาม ได้ "สุดหิน" ขนาดนี้
:lol:
"กำ" ของพี่รณ....รับปาย รับปาย....

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

พฤหัสฯ. 18 ก.ย. 2008 9:05 am

คาดว่า อ.รณธรรม คงต้องนอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ก่อนจะมาตอบครับ เพราะท่าทางหนังเรื่องนี้ยาวแน่ ๆ (อาจทุบสถิติ ต้มยำกุ้ง ของเสี่ยเจียง) ;)

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

พฤหัสฯ. 18 ก.ย. 2008 4:00 pm

จะรอพี่ต่อมาให้ความรู้น้องๆครับกระผม

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

พฤหัสฯ. 18 ก.ย. 2008 10:30 pm

ขอแจมด้วยครับ มีรูปมาฝากด้วย :o
แนบไฟล์
P1030318.jpg
ด้านหน้าครับ
P1030318.jpg (44.18 KiB) เปิดดู 10841 ครั้ง
P1030322.jpg
ด้านหลังครับ
P1030322.jpg (42.11 KiB) เปิดดู 10834 ครั้ง
P1030337.jpg
ด้านหน้าครับ
P1030337.jpg (46.39 KiB) เปิดดู 10822 ครั้ง
P1030336.jpg
ด้านหลังครับ
P1030336.jpg (43.18 KiB) เปิดดู 10824 ครั้ง
P1030331.jpg
ด้านหน้าครับ
P1030331.jpg (45.86 KiB) เปิดดู 10812 ครั้ง
P1030332.jpg
ด้านหลังครับ
P1030332.jpg (42.48 KiB) เปิดดู 10791 ครั้ง
.jpg
รูปนี้ยืมเขามาครับ เพราะตัวเองวาสนาไม่ถึง
.jpg (14.86 KiB) เปิดดู 10769 ครั้ง

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

พฤหัสฯ. 18 ก.ย. 2008 10:57 pm

ผมว่าคุณ JOJO เปลี่ยนแนวทางจาก
นาฬิกา มาเป็นให้บูชาพระ ก็น่าจะดีนะฮะ...
:shock:

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

พฤหัสฯ. 18 ก.ย. 2008 11:48 pm

มิกล้าครับ พี่ศิษย์กวง :oops:

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

ศุกร์ 19 ก.ย. 2008 12:41 am

ลองดูซิฮะ..

เริ่มต้นจากให้ผมบูชาก่อน...รีบๆ หน่อย เดี๋ยวใครมาแย่ง...
เอาอันที่เป็นรุ่นแรกอ่ะฮะ...."จารได้ใจ" จริงๆ
:mrgreen: :mrgreen:

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

ศุกร์ 19 ก.ย. 2008 2:19 am

First.jpg
พระอาจารย์ติ๋วขณะนั่งปรกร่วมกับหลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
First.jpg (32.46 KiB) เปิดดู 10743 ครั้ง


เรียนคุณสุรเทพ

ขอบคุณสำหรับคำถามครับ คุณสุรเทพถามสั้น ๆ แต่คำตอบจะให้สั้นแบบนั้นคงทำได้ยาก คุณศิษย์กวงยังทราบดีถึงข้อนั้น ไม่ยังงั้นจะล้อผมเหรอ

ปกติเรื่องเกี่ยวกับท่านพระอาจารย์ติ๋วผมมักไม่ค่อยได้พูดถึงเยอะ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับวัตถุมงคล เพราะเกรงจะกลายเป็นสนับสนุนให้เช่า – หากันมากทำให้ราคาสูงและท่านพระอาจารย์จะตำหนิเอาได้ เพราะปกติท่านก็มักปรารภบ่อยครั้งว่าอยากให้ศิษย์ได้ศึกษาธรรมะ ไหว้พระสวดมนต์ภาวนากันมากกว่าที่จะมาเช่าบูชาวัตถุมงคลด้วยราคาแพง ๆ

แต่วันนี้เมื่อคุณสุรเทพถามมา ผมก็จะขอโอกาสท่านพระอาจารย์ตอบให้หมดเท่าที่จะทราบข้อมูล ขอให้คุณสุรเทพและพี่น้องชาวN.ทุกท่านเตรียมsaveเก็บให้ดี เพราะรับรองได้ว่าเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ยังไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน ที่นี่จะเป็นที่แรกแต่คงไม่ใช่ที่สุดท้าย ด้วยต้องมีท่านผู้ “หวังดี” นำออกไปใช้ตามเว็ปต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการซื้อขายโดยไม่นิยมอ้างถึงที่มาว่าได้จากไหน

ก็ไม่เป็นไรครับ คิดเสียว่าช่วยเหลือกัน คิดได้อย่างนี้เราก็ไม่ทุกข์แล้ว ผมจะตอบคุณสุรเทพเป็นข้อ ๆ ดังที่ถามมาเพื่อให้เข้าใจง่ายนะครับ


1. พรหมของท่านพระอาจารย์ติ๋วสร้างมาแล้วทั้งหมดกี่รุ่น ?

ตอบ พรหมของท่านพระอาจารย์สร้างมาแล้วทั้งหมด 6 รุ่นด้วยกันครับ โดยจำแนกได้ดังนี้

รุ่นที่ 1 เหรียญพรหมเนื้อโลหะรูปไข่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 ด้านหน้าเป็นรูปท้าวมหาพรหมนั่งเต็มองค์อยู่บนบัลลังก์ ศิลปะเดียวกับของท่านปรมาจารย์เฮง ไพรยวัลจารพระคาถาประจำองค์พรหมไว้โดยรอบว่า “จตุรพักตรา จะ มหาพรหมา สัพพะเสน่หา ประสิทธิเม” โดยท่านอาจารย์มักนิยมลงยันต์ตรีหรือยันต์ใบพัดกำกับไว้ก่อนจารอักขระ เพื่อ “กรึง” มิให้เสื่อมถอยหรือถูกผู้มีวิชาคัดถอนได้

หน้าre1.jpg
เหรียญพรหมรุ่น 1 เนื้อทองคำ ออกครั้งแรกองค์ละ 8,000 บ. ปัจจุบัน 1 แสน 2 หมื่นบาท (หน้า)
หน้าre1.jpg (38.29 KiB) เปิดดู 10770 ครั้ง


ด้านหลังเหรียญประทับไว้ด้วยยันต์ “มหาราช” ซึ่งถือเป็นพระยันต์วิเศษ 1 ใน 5 วิชาสำคัญของการทำผงพุทธคุณ เลื่องลือกันว่ายันต์มหาราชนั้นเป็นยอดแห่งเมตตามหานิยมอย่างสูง และท่านอาจารย์มักจารอักขระไว้ 4 ตัวโดยรอบพระยันต์อ่านได้ว่า “พุท ธะ สัง มิ” อันเป็นหัวใจของพระไตรสรคมน์คือ “พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณังคัจฉามิ”

หลังre2.jpg
พรหมทองคำรุ่น 1 ด้านหลังจารด้วยพระยันต์เทพรัญจวน (หลัง)
หลังre2.jpg (33.05 KiB) เปิดดู 10749 ครั้ง


เหรียญรุ่นแรกนี้ท่านพระอาจารย์ดำริสร้างด้วยองค์ท่านเอง ใช้ทุนส่วนตัวของท่านอาจารย์เอง ลงอักขระเลขยันต์ในแผ่นชนวนและรวบรวมตะกรุดเก่า ชนวนพระเก่า โดยท่านอาจารย์เองทั้งสิ้น ถือได้ว่าเป็นพรหมเนื้อโลหะรุ่นที่บริสุทธิ์มากที่สุด แบ่งประเภทเนื้อโลหะได้ 4 ชนิดด้วยกัน คือ

1. เนื้อทองคำ สร้างจำนวน 9 เหรียญ
2. เนื้อเงิน สร้างจำนวน 200 เหรียญ
3. เนื้อนวโลหะ สร้างจำนวน 300 เหรียญ
4. เนื้อตะกั่วลองพิมพ์ มีจำนวน 20 เหรียญ

1 หน้า re3.jpg
เหรียญพรหมรุ่น 1 เนื้อนวโลหะ ปี พ.ศ. 2539(หน้า)
1 หน้า re3.jpg (27.21 KiB) เปิดดู 10737 ครั้ง


1 หลัง re4.jpg
เหรียญพรหมรุ่น 1 เนื้อนวโลหะ ปี พ.ศ. 2539(หลัง)
1 หลัง re4.jpg (29.48 KiB) เปิดดู 10725 ครั้ง


เหรียญพรหมทุกเนื้อนอกจากท่านพระอาจารย์จะได้อธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยองค์ท่านเองแล้ว ท่านยังได้นำเนื้อสำคัญคือ เนื้อทองคำ และ เนื้อเงิน ไปมอบให้อาจารย์ของท่านปลุกเสกประสิทธิให้เป็นพิเศษอีกด้วย

และในปีเดียวกันนี้ ท่านอาจารย์ยังได้สร้าง “ผ้ายันต์พรหม” ขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง โดยความสำคัญอย่างยิ่งยวดของการสร้างผ้ายันต์นี้คือ แม่พิมพ์ที่นำมาพิมพ์ลงบนผ้านั้นเป็นแม่พิมพ์อันเดียวกันกับที่ท่านปรมาจารย์เฮง ไพรยวัล ใช้พิมพ์ผ้ายันต์พรหมอันลือลั่นเมื่อในอดีต แม่พิมพ์นี้ทำจากไม้สักทองแกะเป็นรูปพรหมสี่หน้าในลักษณะสี่เหลี่ยมทะแยงมุมหรือที่เรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า ข้าวหลามตัด แต่แท้จริงลักษณะเช่นนี้มิใช่ข้าวหลามตัดหากเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสธรรมดา ๆ เพียงยกเอามุมหนึ่งขึ้นเป็นด้านบนเท่านั้น

ไกลre5.jpg
ผ้ายันต์พรหมรุ่นแรก สร้างกลางปี พ.ศ. 2539
ไกลre5.jpg (25.01 KiB) เปิดดู 10718 ครั้ง


รูปลักษณ์ของพรหมประเภทนี้ ท่านอาจารย์เฮงมีชื่อเรียกพระมหายันต์นี้เป็นการเฉพาะว่า “รัศมีพรหม” และก่อนที่มรณกาลจะมาถึงตัวอาจารย์เฮง ท่านได้มอบแม่พิมพ์ไม้สักนี้ไว้เป็นมรดกกับศิษย์คนโปรดของท่าน และเมื่อศิษย์คนโปรดท่านนั้นถ่ายทอดวิชาให้กับพระอาจารย์ติ๋ว ท่านก็ได้มอบมูลมรดกทั้งปวงของอาจารย์เฮงให้กับพระอาจารย์ติ๋วด้วย

จำนวนสร้างผ้ายันต์พรหมรุ่นแรกนี้ไม่แน่ชัดนัก ท่านอาจารย์เองก็จำได้ไม่ถนัด แต่ประมาณกันว่าไม่น่าเกิน 30 ผืน

ใกล้re6.jpg
ใกล้re6.jpg (23.31 KiB) เปิดดู 10709 ครั้ง


รุ่นที่ 2 พรหมผงรูปไข่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2540 ด้านหน้าเป็นรูปพรหมเต็มองค์ประทับนั่งบนบัลลังก์เหมือนเหรียญรุ่นแรก แต่โดยรอบท่านอาจารย์ไม่นิยมจารเป็นอักขระยาว ๆ ทว่ามักจารเป็นตัว “นะ” ต่าง ๆ ซึ่งท่านมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง

re7.jpg
พรหมผงรุ่น 1 ท่านอาจารย์ลงเหล็กจารไว้ด้วยอักขระ พุท ธะ สัง มิ ทับลงบนเฑาะว์อิคงกระพัน (หน้า)
re7.jpg (23.9 KiB) เปิดดู 10710 ครั้ง


พรหมชุดนี้ถือได้ว่าเป็น “พรหมผงรุ่นแรก” ของท่าน และเป็นวัตถุมงคลรูปพรหมที่บริสุทธิ์มากที่สุด เหตุเพราะท่านอาจารย์ดำริสร้างเองมิได้มีผู้หนึ่งผู้ใดขอ บล็อคที่ใช้กดพิมพ์ท่านก็มีบัญชาให้ถอดแบบออกจากพรหมของท่านปรมาจารย์เฮง ไพรยวัลด้วยบล็อคปูนปลาสเตอร์

ผงที่นำมาปรุงเนื้อพรหมนั้นนับว่าวิเศษนัก เพราะประกอบด้วยผงพุทธคุณเก่าแก่ที่ตกทอดกันมา
ที่บันทึกไว้ก็มี

1. ผงพุทธคุณของหลวงปู่สี พินทสุวัณโณ วัดสะแก ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
2. ผงพุทธคุณของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
3. ผงพุทธคุณของหลวงพ่อมหาโพธิ์ ญาณสังวโร วัดสุวรรณโคตมาราม (วัดคลองมอญ) อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท
4. ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม
5. ผงพุทธคุณของ พระเทพสาครมุนี (แก้ว สุวัณณโชโต) วัดสุทธิวาตวราราม (วัดช่องลม) อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
6. ผงป่นพระร่วงกรุช่างกล ที่แตกหัก
7. ผงพระหูไห วัดกระไดสามแสน
8. ผงพระหลวงพ่อจุก วัดกระไดหิน
9. ผงอิทธิเจ ที่ท่านพระอาจารย์ติ๋วเขียนและลบตั้งแต่สมัยเป็นเณร
10. ผงจากพระพรหมผงแตกหักของหลวงปู่สี พินทสุวัณโณ วัดสะแก
11. ผงธูปกัมมัฏฐาน
12. ผงพระกรุเก่าต่าง ๆ ผงวิเศษในกรุวัดสัมฤทธิ์กลางทุ่งอำเภอท่าวุ้ง
13. เกสรดอกไม้ 108 ฯลฯ


และที่สำคัญยิ่งคือผงพุทธคุณที่ท่านอาจารย์เขียนและลบโดยองค์ท่านเอง เพราะปกติของการลบผงนั้นเป็นของยากที่สุด ลองนึกภาพดูว่าให้เรานำชอล์คไปเขียนบนกระดานดำแล้วลบเอาฝุ่นชอล์คลงมา กว่าจะรวบรวมได้สัก 1 แก้วน้ำมันจะนานแค่ไหน

แต่สำหรับท่านอาจารย์แล้วท่านเพียรเขียนเพียรลบจนได้ผงวิเศษประมาณ 1 ชาม ท่านกลับเททีเดียวหมดในการสร้างพรหมผงรุ่นนี้ นับได้ว่าท่านอาจารย์มีเจตนาแรงกล้าในการรังสรรค์พรหมรุ่นนี้ให้ดีถึงที่สุด ทั้งที่ผงวิเศษชุดนั้นลบแสนยาก เป็นต้นธาตุต้นธรรมของวิชาทั้งปวง เป็นที่มาของสรรพสิ่งในโลกทั้งหลาย ล้วนออกไปจากกำเนิดนี้ทั้งสิ้น จึงได้ชื่อว่า “ผงปถมังองคมหาวิฐาน”

นอกจากนั้นท่านยังใส่ผงวิเศษจนครบทั้ง 5 ประการลงในเนื้อพระ และยังนำ “พระพรหมผงรุ่นเก่า” ของ หลวงปู่สี พินทุสวัณโณ วัดสะแก มาตำผสมลงไปด้วยเพื่อเป็น “หน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์” จำนวน 1 องค์

เมื่อรวบรวมผงวิเศษได้ครบครันก็ทำการโขลกเนื้อผสมผงกันที่บนกุฏิท่านอาจารย์นั้นเอง มีเรื่องแปลกว่าขณะที่ตำผงกันอยู่นั้น แรงกระเทือนจากพื้นไม้ทำให้ถ้วยสังคโลก ชุดน้ำชาและชามกระเบื้องสมัยรัชกาลที่ 5 กระทบกระแทกและตกแตกได้รับความเสียหาย

ศิษย์ที่ช่วยกันทำด้วยความคึกคะนองแบบหนุ่ม ๆ ถึงกับหน้าเสีย เพราะทราบดีว่าท่านอาจารย์ให้ความสำคัญกับของโบราณล้ำค่าเหล่านี้มาก ด้วยหวังให้เป็นมรดกสืบทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน และโดยที่ท่านมีจริตนิสัยค่อนไปทาง "อยู่คง" จึงติดที่จะ “ร้อนแรง” อยู่บ้าง วันนั้นทุกคนจึงมั่นใจว่าต้องถูก “ขนาบ” อย่างถึงขีดแน่

แต่ปรากฏว่าท่านอาจารย์มองเงียบเฉย เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ซ้ำยังเอ่ยเรียบ ๆ ว่า “เก็บกวาดไปทิ้งซะ เดี๋ยวมันจะบาดเอา” ศิษย์ทุกคนก็ได้แต่งงงันไป ด้วยนึกไม่ถึงว่าจู่ ๆ ท่านอาจารย์ก็จะ “เย็น” ได้ถึงเพียงนี้

หากไม่ใช่แค่นั้น ท่านเมตตาเล่าว่า “เราเย็นเป็นอยู่อย่างนั้นตลอดระยะเวลาที่เสกพรหมผงและเหรียญพรหมรุ่นแรกนี่ประมาณ 9 เดือน เราเฉย เราไม่รู้สึกยินดียินร้ายอะไรกะใคร ไม่โกรธ ไม่พยาบาท มันเฉย ๆ เย็น.... แต่เราไม่ได้หมดกิเลสนะ เราก็รู้ว่าเราไม่ได้หมด แต่มันเหมือนไม่มี มันสบายอกสบายใจไม่มีเวรมีภัยอะไรกะใคร จึงทำให้เราได้รู้ว่าพรหมคือผู้ที่บริสุทธิ์จริง”

นี่คือปรารภจากท่านผู้เข้าถึง “พรหม”

หลังre8.jpg
ประทับโค้ดเป็นตรายางสีแดง และจารอักขระว่า อิ ติ บางองค์ก็ ปิ โส (หลัง)
หลังre8.jpg (21.43 KiB) เปิดดู 10697 ครั้ง


เมื่อกดพิมพ์พรหมผงทั้งหมดและผึ่งแห้งดีแล้ว นับจำนวนได้ 1,000 องค์ พอดี ก็ได้นำพรหมผงมาปั๊มตรายางสีแดงด้านหลังเพื่อให้เป็น “โค้ด” เฉพาะรุ่นนี้ ตรายางด้านหลังนั้นเป็นพระคาถาทางเมตตาอย่างยอดเยี่ยม ความว่า “พุทโธ อะระหัง เมตตาคุณณัง อะระหัง เมตตา” ดังนั้น หากท่านใดได้พบพรหมผงรุ่นนี้แล้วไม่มีตรายางด้านหลัง ก็ให้ถือว่าไม่ใช่ของ ๆ ท่าน ไม่ต้องเช่ามา (สำหรับผงที่เหลือได้นำมากดพิมพ์เป็นหลวงพ่อทวด ทรงเตารีด ได้อีก 200 องค์ ผงก็หมด)

หน้าress.jpg
หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พิมพ์เตารีดเนื้อผงมหาพรหม (หน้า-หลัง)
หน้าress.jpg (25.61 KiB) เปิดดู 10660 ครั้ง

หลังress.jpg
หลังress.jpg (25.52 KiB) เปิดดู 10654 ครั้ง


รุ่นที่ 3 ล็อกเกตรูปพรหม สร้างประมาณปี พ.ศ. 2543 โดย คุณวรเทพ สุริยมาณพ และ คุณนพ พันธุ์ทิพย์ เป็นผู้ดำเนินการสร้าง แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

หน้า re9.jpg
ล็อกเกตพิมพ์สี่เหลี่ยม ลงสีสันที่องค์พรหมอย่างสวยงาม (หน้า)
หน้า re9.jpg (27.15 KiB) เปิดดู 10674 ครั้ง


1. ล็อกเกตพรหมทรงสี่เหลี่ยม จำนวน 40 องค์
2. ล็อกเกตพรหมรูปไข่ จำนวน 50 องค์

หลัง re10.jpg
หลัง re10.jpg (22.64 KiB) เปิดดู 10672 ครั้ง


ภายในบรรจุด้วยผงพุทธคุณหลายชนิดแล้วปิดด้านหลังด้วยแผ่นเงิน ท่านอาจารย์ลงเหล็กจารด้วยยันต์ “พุทธอุดม้วนโลก” ที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง และเป็นวิชาที่สำคัญอย่างที่สุดของ หลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากคลองมะขามเฒ่า


รุ่นที่ 4 เหรียญพรหมรูปอาร์ม สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2544 โดย พระอาจารย์เสน่ห์ วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู กรุงเทพ เป็นผู้ขอจัดสร้าง แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

หน้าre11.jpg
พรหมอาร์มรุ่น 4 เนื้อนวะหน้าทอง เรื่องนวโลหะนอกจากสายวัดสุทัศน์แล้วคงต้องยกให้วัดบวรฯ อีกแห่งที่เจนจัด
หน้าre11.jpg (27.69 KiB) เปิดดู 10663 ครั้ง


1. เหรียญทองคำ สร้างจำนวน 17 เหรียญ
2. เหรียญเงินบริสุทธิ์ สร้างจำนวน 108 เหรียญ
3. เหรียญนวโลหะหน้ากากทองคำ สร้างจำนวน 117 เหรียญ

หลังre12.jpg
ด้านหลังเห็นเนื้อนวโลหะชัดเจน เนื้อดำเป็นมันดังตาควาย ต้องตามตำราในการผสมนวะแท้
หลังre12.jpg (24.44 KiB) เปิดดู 10655 ครั้ง


และในปีเดียวกันนี้ คุณวรเทพ สุริยมาณพ ก็ได้ขออนุญาตสร้างพรหมกะลาขึ้นมาจำนวนหนึ่ง โดยรูปแบบมีลักษณะเป็นรูปอาร์มใกล้เคียงกับเหรียญที่พระอาจารย์เสน่ห์สร้าง จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นของผู้สร้างคนเดียวกัน และสร้างออกมาพร้อมกัน ซึ่งที่แท้แล้วไม่ใช่

คุณวรเทพสร้างพรหมกะลารุ่นนี้ขึ้นด้วยเนื้อ “กะลาตาเดียว” อันหาได้ยากยิ่ง ให้ช่างฝีมือแกะเป็นรูปอาร์มแล้วปั๊มองค์พรหมด้วยโลหะ 2 ชนิดไปตอกติดไว้ ได้แก่

1. พรหมกะลาหน้าทองคำ จำนวนสร้าง 21 เหรียญ
2. พรหมกะลาหน้าเงิน จำนวนสร้าง 20 เหรียญ

ทุกองค์เมื่อนำมาถวายท่านพระอาจารย์แล้วท่านได้ทำการจุนเจิมองค์พรหมด้านหน้าด้วยผงวิเศษที่ชื่อว่า “ผงอิทธิเจ” จนเต็มไปหมด ผงวิเศษชนิดนี้ดีทางเมตตามหานิยมเป็นอย่างยิ่ง เมื่อท่านอาจารย์อธิษฐานจิตปลุกเสกเรียบร้อยแล้ว คุณวรเทพก็นำพรหมทั้งหมดกลับไป

และด้วยเห็นว่าผงพุทธคุณเหล่านั้นไปบดบังองค์พรหมทำให้เสียทัศนียภาพอันควร จึงทำการปัดผงออกเสียแล้วรวบรวมไว้ในภาชนะเดียวกัน เมื่อตบแต่งองค์พระเรียบร้อยแล้วก็นำผงเหล่านั้นมาอุดไว้ด้านหลังตรงรอยหมุดที่ตอกยึดองค์พรหมกับกะลาไว้ซึ่งเรียกกันว่า “ตุ๊ดตู่” จากนั้นก็ทำการเลี่ยมพลาสติกทุกองค์แล้วนำกลับมาคืนท่านอาจารย์


รุ่นที่ 5 เหรียญรัศมีพรหม หรือ พรหมข้าวหลามตัด สร้างในปี พ.ศ. 2545 ขออนุญาตจัดสร้างโดยคุณวรเทพ สุริยมาณพ วัตถุประสงค์คือเพื่อถวายท่านอาจารย์ไว้เป็นส่วนตัวเพื่อมอบให้กับศิษยานุศิษย์ เว้นแต่ในส่วนที่จองกันตั้งแต่เริ่มสร้าง แบ่งประเภทเนื้อได้ดังนี้

re13.jpg
รัศมีพรหมทองคำ หลังจาร
re13.jpg (20.57 KiB) เปิดดู 10650 ครั้ง


1. เนื้อทองคำ สร้างจำนวน 150 เหรียญ
2. เนื้อเงิน สร้างจำนวน 312 เหรียญ
3. เนื้อนวโลหะ สร้างจำนวน 400 เหรียญ
4. เนื้อสัตตโลหะ สร้างจำนวน 400 เหรียญ
5. เนื้อตะกั่วลองพิมพ์ 7 เหรียญ
6. เนื้อทองแดงลองพิมพ์ 7 เหรียญ

หน้าre14.jpg
รัศมีพรหมเงิน (หน้า)
หน้าre14.jpg (19.83 KiB) เปิดดู 10646 ครั้ง

re15.jpg
re15.jpg (15.76 KiB) เปิดดู 10633 ครั้ง


หน้าre16.jpg
รํศมีพรหมสัตตโลหะ (หน้า)
หน้าre16.jpg (33.29 KiB) เปิดดู 10635 ครั้ง

หลังre17.jpg
หลังre17.jpg (29.21 KiB) เปิดดู 10633 ครั้ง


7 เหรียญ หน้าre18.jpg
รัศมีพรหมตะกั่ว (หน้า)
7 เหรียญ หน้าre18.jpg (20.16 KiB) เปิดดู 10601 ครั้ง

7 เหรียญ หลังre19.jpg
7 เหรียญ หลังre19.jpg (17.46 KiB) เปิดดู 10592 ครั้ง



(ในปี 45 นี้ ยังมีการเททองสร้างพรหมบูชารุ่นแรกของท่านอาจารย์ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว ขึ้นจำนวน 80 องค์ แล้วนำไปบรรจุเส้นเกศาของท่านอาจารย์ที่กุฏิ ปัจจุบันหายากมากและมีราคาสูง)

ในการสร้างพรหมรุ่นนี้ คุณจันทร์คหบดีย่านพาหุรัดผู้ซึ่งศรัทธาในองค์ท่านพระอาจารย์ติ๋วเป็นอย่างมากผู้หนึ่ง เห็นต้นแบบเหรียญรัศมีพรหมแล้วเกิดศรัทธาชอบใจ จึงขออนุญาตใช้บล็อคร่วม ดำเนินการสร้าง “รัศมีพรหมเนื้อนวโลหะพิเศษ” ขึ้นจำนวนหนึ่ง โดยเมื่อกราบเรียนท่านพระอาจารย์แล้วท่านได้อนุญาตให้สร้างจำนวน 108 เหรียญ คุณจันทร์ก็รับปาก

หลังจาร หน้าre20.jpg
รัศมีพรหมนวะพิเศษ ชนวนพระกริ่งจันทรประภา
หลังจาร หน้าre20.jpg (14.41 KiB) เปิดดู 10615 ครั้ง

หลังจาร หลังre21.jpg
หลังจาร หลังre21.jpg (10.47 KiB) เปิดดู 10610 ครั้ง


เมื่อถึงกำหนดสร้าง คุณจันทร์ก็นำชนวน “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์จันทรประภา” ที่ตนเองเคยสร้างไว้ เป็นพระกริ่งที่คณะศิษย์ของท่านอาจารย์รู้จักดีเนื่องจากมีชนวนมวลสารที่เข้มข้นมากแทบจะกล่าวได้ว่าเกินหน้าพระกริ่งร่วมสมัยเดียวกัน เพราะมีทั้งแผ่นยันต์ของพระเถรานุเถระในสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มากอย่างที่เรียกได้ว่า “มหากาฬ”

ซ้ำเมื่อเททองหล่อเป็นองค์พระแล้วเสร็จยังได้ยกลังพระไปตระเวนเสกจนทั่วราชอาณาจักร เรียกได้ว่าถ้าเป็นศิษย์ในสายพระป่าแล้วเป็นต้องได้อธิษฐานจิตทุกองค์ไป มีเรื่องน่าอัศจรรย์อยู่ว่า ในหีบพระกริ่งนั้นคุณจันทร์ได้ใส่เบี้ยแก้กับเหรียญรูปดาวหรือที่เรียกว่า "สตาร์" อันเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่งของฝรั่งลงไปด้วยเพื่อฝากเสก

หน้าre22.jpg
พระกริ่งจันทรประภา เนื้อนวโลหะชั้นครู
หน้าre22.jpg (23.36 KiB) เปิดดู 10582 ครั้ง

หลังre23.jpg
หลังre23.jpg (22.98 KiB) เปิดดู 10574 ครั้ง


เมื่อการเสกมาจบลงที่ท่านพระอาจารย์ติ๋วแล้วจึงทำการเปิดหีบออก ปรากฏว่าเบี้ยแก้ตัวนั้นถึงกับระเบิดแตกออก ปรอทไหลนองกล่อง ส่วนเหรียญสตาร์นั้นก็บิดเบี้ยวเหมือนถูกมือยักษ์จับบิดอย่างแรง เหตุการณ์นี้สร้างความอัศจรรย์ใจให้กับผู้พบเห็นยิ่งนัก และด้วยความที่เสกมามากร่วมร้อยองค์จึงไม่รู้ว่าเป็นอำนาจจิตของท่านผู้ใด

หน้าre24.jpg
พระชัยวัฒน์จันทรประภา เนื้อนวโลหะ
หน้าre24.jpg (21.48 KiB) เปิดดู 10570 ครั้ง

หลังre25.jpg
หลังre25.jpg (20.55 KiB) เปิดดู 10564 ครั้ง


หรือจะเป็นเพราะสิ่งของเหล่านั้นต้านทานกระแสจิตของครูบาอาจารย์หลายสิบรูปไม่ไหวก็เป็นได้ แต่เมื่อเหตุประหลาดนี้จำเพาะมาเกิดตรงท่านพระอาจารย์ติ๋วพอดี หลาย ๆ คนจึงแอบเหมาเอาว่า “น่าจะเป็นท่านนี่แหละ” เพราะเสกมาตั้งนานก็ไม่เห็นเกิดอะไร และท่านเองก็เคย “จุดไฟ” ตาเปล่า หรือ เพ่งเทียนขาดกระเด็นมาแล้ว ด้วยเหตุนี้ศิษย์หลายคนจึง “เหมา” เอาว่าพระกริ่งนี้เป็นของ ๆ ท่าน ทั้งที่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย ท่านเป็นแต่เพียงผู้อธิษฐานจิตองค์หนึ่งในหลาย ๆ สิบองค์

และพระกริ่งจันทรประภาที่แสนวิเศษนี้เอง ก็ถูกอัญเชิญช่อชนวนมาทำเป็นเหรียญรัศมีพรหมเนื้อนวโลหะหลังเรียบ

เมื่อนำชนวนมาหลอม-รีดเรียบร้อยแล้ว ช่างก็ดำเนินการปั๊มเหรียญ ครั้นปั๊มไปจนครบ 108 เหรียญชนวนก็ยังคงเหลืออยู่ ช่างเองก็เห็นว่าปั๊มเหรียญต้องเกินไว้เผื่อเสียหายจะได้ทดแทน ผู้อยู่ร่วมในการสร้างก็เห็นว่าไหน ๆ ชนวนก็ยังเหลือ จึงสั่งให้ปั๊มไปจนกว่าชนวนจะหมด

เมื่อปั๊มเสร็จนับเหรียญนวะพิเศษนี้ได้ราว 128 เหรียญ

จากนั้นก็เป็นขั้นตอนของการตัดขอบเหรียญ ปรากฏว่าเมื่อตัดขอบเรื่อยไปจนครบเหรียญที่ 108 แล้ว พอขึ้นเหรียญที่ 109 ไปเรื่อยจนหมด เหรียญทุกเหรียญก็แตกร้าวทุกอันไปไม่มีดีเลยจนหมดเช่นกัน ทำให้ได้เหรียญที่มีสภาพสมบูรณ์จำนวนเพียง 108 เหรียญ ครบดังที่ท่านอาจารย์ประกาศิตจริง ๆ

จะเรียกว่ารุ่น “วาจาสิทธิ์” ก็คงไม่ผิด

เมื่อได้เหรียญมาครบแล้วก็นำไปถวายท่านอาจารย์ลงเหล็กจารด้านหลัง เหรียญที่มีลักษณะหลังเรียบแล้วตีตารางลงอักขระนั้นมีด้วยกัน 3 เนื้อ คือ ทองคำ เงิน และ นวโลหะพิเศษ (ชนวนพระกริ่งจันทรประภา) นอกนั้นจะเป็นหลังยันต์ทั้งสิ้น


รุ่นที่ 6 พรหมกลมวัดบวรฯ สร้างในปี พ.ศ. 2548 ขออนุญาตจัดสร้างโดย พระอาจารย์เสน่ห์ วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู โดยมีวัตถุประสงค์หารายได้ไปสร้างบันไดขึ้นเขากะอาง ในเขตวัดศรีกะอาง อ.บ้านนา จ.นครนายก ซึ่งเป็นวัดธรรมยุติเก่าแก่ที่ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และครูบาอาจารย์อีกมากเคยมาพำนักและให้ความอุปการะไว้ เมื่อเห็นเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ท่านพระอาจารย์ก็เมตตาอนุญาต

หน้าre26.jpg
พรหมกลมวัดบวร ฯ เนื้อนวโลหะ (หน้า-หลัง)
หน้าre26.jpg (29.68 KiB) เปิดดู 10569 ครั้ง

หลังre27.jpg
หลังre27.jpg (31.72 KiB) เปิดดู 10569 ครั้ง


หน้าre28.jpg
พรหมกลมเนื้อสัมฤทธิ์ (หน้า-หลัง)
หน้าre28.jpg (29.85 KiB) เปิดดู 10564 ครั้ง

หลังre29.jpg
หลังre29.jpg (29.98 KiB) เปิดดู 10558 ครั้ง


มีจำนวนการสร้างที่ไม่ตรงกับในโบรชัวร์ประชาสัมพันธ์ของทางวัด ดังนั้น หากท่านใดถือโบรชัวร์ประชาสัมพันธ์ข่าวและแจ้งจำนวนการสร้างใบนั้นอยู่ ก็ขอให้ทราบว่ากรุณาจดจำเอาเพียงวัตถุประสงค์และรายละเอียดในการสร้างเท่านั้นว่าถูกต้อง ส่วนจำนวนที่แจ้งไม่ตรงกับจำนวนจริง เหตุเพราะท่านพระอาจารย์ติ๋วได้สั่งเปลี่ยนแปลงจำนวนการสร้างหลังพระอาจารย์เสน่ห์พิมพ์โบรชัวร์ออกมาแล้ว พรหมที่สร้างทั้งหมดในรุ่นนี้แบ่งออกเป็น

5 นิ้วre32.jpg
พรหมบูชาปิดทองคำแท้ หน้าตัก 5 นิ้ว
5 นิ้วre32.jpg (24.31 KiB) เปิดดู 10558 ครั้ง


1. พรหมบูชา หน้าตัก 9 นิ้ว เทในฤกษ์จำนวน 19 องค์
2. พรหมบูชา หน้าตัก 5 นิ้ว เทในฤกษ์จำนวน 20 องค์ (และเทนอกฤกษ์อีกจำนวน 100 องค์)
3. เหรียญทองคำ สร้างจำนวน 24 เหรียญ
4. เหรียญเงิน สร้างจำนวน 800 เหรียญ
5. เหรียญเงินหน้าทอง สร้างจำนวน 200 เหรียญ
6. เหรียญนวโลหะ สร้างจำนวน 800 เหรียญ
7. เหรียญนวะหน้าทอง สร้างจำนวน 200 เหรียญ
8. เหรียญสัมฤทธิ์ สร้างจำนวน 5,000 เหรียญ
9. พรหมผงทรงกลมหลังบรรจุเกศา (มีสีขาวล้วนเพียงอย่างเดียว) สร้างจำนวน 10,000 องค์

5 หน้าre30.jpg
พรหมกลมเนื้อผง เฉพาะองค์นี้ท่านเมตตาลงอักขระให้ด้วยคือ พุทธม้วนโลก ซึ่งเป็นยอดทางแคล้วคลาด และ ปิ โส ซึ่งเป็นยอดมหานิยม
5 หน้าre30.jpg (26.47 KiB) เปิดดู 10555 ครั้ง


สำหรับพรหมผงกลมนี้หลายท่านเข้าใจผิดคิดว่าเส้นเกศาที่อยู่ด้านหลังเป็นของท่านพระอาจารย์ติ๋ว แต่ที่จริงไม่ใช่ เป็นเกศาผสมของ 2 พระมหาเถระผู้รัตตัญญูภาพ หนึ่งคือ เส้นพระเกศาของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวัฑฒโน) และสอง พระพรหมมุนี (จุนท์ พรหมคุตโต) ซึ่งทั้งสองพระองค์นี้สถิตอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู กรุงเทพ และท่านพระอาจารย์ติ๋วก็นับถือเป็นอย่างยิ่งว่าทั้งสองพระองค์คือ ครูอาจารย์ของท่าน

5 หลังre31.jpg
ด้านหลังบรรจุเส้นพระเกศาของสมเด็จพระญาณสังวร ฯ และ เกศาพระพรหมมุนี
5 หลังre31.jpg (26.81 KiB) เปิดดู 10546 ครั้ง


และทั้งหมดนี้คือคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า “พรหมท่านพระอาจารย์ติ๋วมีกี่รุ่น ?”


2. พรหมที่ออกจากวัดบวรฯ เป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ?

ตอบ ถ้าคุณสุรเทพหมายถึงพรหมรุ่นล่าสุด ก็จะเป็นรุ่นที่ 6 ในลำดับซึ่งเรียงกันมาครับ


3. ท่านพระอาจารย์ติ๋วศึกษาวิชาพรหมมาจากใคร ?

ตอบ ท่านพระอาจารย์ติ๋วนั้นศึกษาวิชาอาคมมาตั้งแต่ยังเด็ก เมื่ออายุเพียง 11 ปี ท่านสามารถเอาน้ำเปล่าลูบแขนเพื่อนแล้วเอามีดเฉือนได้โดยไม่เข้าหนังเข้าเนื้อเลยแม้แต่น้อย ทั้งที่ท่านมิได้เสกเป่าคาถาใด ๆ

เป็นบุญญาบารมีเก่าของท่านเอง

เรียกว่า Born to be คือ เกิดมาเพื่อเป็น...!


ต่อมาท่านได้ศึกษาวิทยาคุณอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในวัย 13 ปีเป็นต้นมา ก็ทำให้ท่านยิ่งแก่กล้าในอำนาจจิตดังพยัคฆ์ติดปีก หากต่อมาหลวงพ่อพระสมุห์ดำ สุคโต วัดเสาธงทอง พระบุพพาจารย์ได้สั่งให้ไปฝึกกัมมัฏฐานเสีย ท่านจึงเดินทางมาฝึกกัมมัฏฐานอย่างจริงจังกับ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2518 และที่นี่ก็ทำให้ท่านได้กราบไหว้ใกล้ชิดกับหลวงปู่สี พินทสุวัณโณ ศิษย์ผู้พี่ของหลวงปู่ดู่

พอจะนึกภาพออกหรือยังครับ ?

พินทสุวัณโณ รีไซส์.jpg
หลวงปู่สี พินทสุวัณโณ
พินทสุวัณโณ รีไซส์.jpg (16.03 KiB) เปิดดู 10542 ครั้ง


re1.jpg
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
re1.jpg (15.16 KiB) เปิดดู 10542 ครั้ง


ทว่าหลวงปู่สีในยุคนั้นรุ่งเรืองเลื่องชื่อยิ่งกว่าหลวงปู่ดู่เป็นไหน ๆ การจะได้ใกล้ชิดเป็นศิษย์ก้นกุฏิจึงไม่ใช่เรื่องง่าย และท่านอาจารย์เองก็ไม่เคยปรารถนาเช่นนั้น หากท่านก็เคารพหลวงปู่สีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร ๆ ที่อาจพูดบ่อย ๆ ว่าตนเป็นก้นกุฏิ

แม้จะได้ศึกษามาจากหลวงปู่สีชนิดที่ไม่อาจเรียกได้ว่า “หมดไส้หมดพุง” แต่ท่านก็ได้มาไม่น้อยทีเดียว หากยังมาต่อยอดเอากับอาจารย์ฆราวาสที่ขลังไม่เป็นสองรองใคร คือ

อาจารย์ก้าน บำรุงกิจ

re32.jpg
re32.jpg (31.1 KiB) เปิดดู 10545 ครั้ง


อาจารย์ก้านนั้นเป็นน้องชายแท้ ๆ ของหลวงปู่สี พินทสุวัณโณ และได้บวชเรียนเขียนอ่านมาไล่เรี่ยกับพี่ชายคือหลวงพ่อกลั่น ธัมมโชโต วัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ และยังมีอาจารย์ที่ชื่อ อ.เฮง ไพรยวัล

re21.jpg
หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์กลั่น ธัมมโชโต
re21.jpg (14.24 KiB) เปิดดู 10529 ครั้ง


ไพรยวัล res.jpg
ท่านปรมาจารย์เฮง ไพรยวัล
ไพรยวัล res.jpg (31.43 KiB) เปิดดู 10536 ครั้ง


อันอาจารย์เฮงนั้นรักใคร่ในตัวอาจารย์ก้านมาก ถึงขั้นพูดว่า “อาจารย์ก้านเป็นผู้ที่มีจิตแน่ใจแน่วเป็นแก้วอันประเสริฐ เป็นผู้มีจิตใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องและมีความรู้ความสามารถมากคนหนึ่ง”

ดังนั้น อาจารย์ก้านจึงเป็นเพียงคนเดียวที่อาจารย์เฮงอนุญาตให้ลงเรือไปนั่งคุยกับท่านได้ นอกนั้นท่านไม่อนุญาตใครทั้งสิ้น

อาจารย์ก้านจึงได้รับวิชา “พรหม” มาจากอาจารย์เฮงโดยตรง มิใช่เรียนเอาจากหลวงปู่สีผู้เป็นพี่ชายร่วมสายโลหิตดังที่ใคร ๆ เข้าใจกัน และท่านก็ทำได้ขลังจนน่ามหัศจรรย์ วิชาทั้งหมดที่อาจารย์ก้านมี ก็ได้ถ่ายทอดให้กับศิษย์คนโปรดจนหมดสิ้น ซึ่งก็คือ..

ท่านพระอาจารย์ติ๋ว ฐิตวัฑฒโน วัดมณีชลขัณฑ์


หวังว่าคำตอบคงเป็นที่พอใจนะครับคุณสุรเทพ


หมายเหตุ - รูปครูบาอาจารย์และพระเครื่องบางชนิดเพื่อน ๆ ได้ส่งไปให้ผมดูครับ ผมจึงไม่ทราบได้ว่าเป็นของท่านใดบ้าง หากท่านผู้เป็นเจ้าของภาพได้เข้ามาพบ ผมก็ขออนุญาตและขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

ศุกร์ 19 ก.ย. 2008 4:13 am

สุดยอดของข้อมูล ขอบคุณ อ .รณธรรมมากครับที่สละเวลา ให้ความรู้ เป็นข้อมูลที่ดีมาก ๆ แก่สมาชิก
อ่านดูแล้ว ดูจากรูปแล้ว เกิดกิเลสจังแฮะเรา เฮ้อออออออออออ..................

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

ศุกร์ 19 ก.ย. 2008 9:32 am

ขอบคุณครับพี่ต่อที่กรุณาสละเวลา ตอบคำถามที่แสนสั้นแต่คำตอบมีสาระมากขนาดนี้ครับ
ผมจะเซฟไฟล์เก็บในคลังข้อมูลครับ

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

ศุกร์ 19 ก.ย. 2008 9:56 am

อิอิอิ ขอประกบหน่อยครับ อาจารย์รณธรรม แหมเป็นปลื้มเพิ่งรู้ว่า ได้มาเป็นรุ่น 4 นวะโลหะหน้ากากทองคำ เป็น 1 ใน 117 เหรียญ ดีจ๊ายยยยยยย ดีจายยยยย :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
--------------------------------
สุดยอดของข้อมูล ข้าน้อยขอคารวะ อาจารย์รณธรรมด้วยใจจริง
แนบไฟล์
001.jpg
001.jpg (66.23 KiB) เปิดดู 10448 ครั้ง

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

ศุกร์ 19 ก.ย. 2008 10:10 am

เซฟเก็บไว้แล้วครับพี่ต่อ เป็นข้อมูลที่ดีและละเอียดมากๆครับ ต้องขอบพระคุณพี่ต่ออีกครั้งครับที่สละเวลามาให้ความรู้กับน้องๆในเวปครับ

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

ศุกร์ 19 ก.ย. 2008 10:11 am

...สุดยอดจริงๆครับกับการตอบในกระทู้นี้ทั้งเนื้อหาและภาพประกอบ คนถามคงต้องให้รางวัลแก่พี่รณธรรมแล้วล่ะครับ (พี่เค้าทุ่มเทจริงๆนะเนี่ย)...

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

ศุกร์ 19 ก.ย. 2008 12:14 pm

ข้อมูลสุดยอดขนาดนี้ เค้าขอเซฟด้วยคนนะฮับ :o

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

ศุกร์ 19 ก.ย. 2008 4:57 pm

สาธุค่ะ คงหาใครตอบได้ยากขนาดนี้
เป็นพระคุณมากๆค่ะ

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

ศุกร์ 19 ก.ย. 2008 7:24 pm

เรียนทุกท่าน

ขอบพระคุณมากครับสำหรับยาหอมที่ให้กัน บอกได้ว่าเมื่อละลายกินแล้วก็ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจคนแก่ มีกำลังวังชาลุกขึ้นมาโพสท์โน่นตอบนี่ได้ไหวอีก

แต่อยากบอกใหม่อีกทีว่า ณ วันนี้ เวลาที่ผมพิมพ์กระทู้นี้อยู่ (ศุกร์ 19 กันยา. 2551 เวลา 19.23 น.)
ผมได้ทำการอัพเดทข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไปอีก ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลใหม่ล่าสุด กรุณาเซฟอีกครั้งทับของเก่าไป หรือจะเซฟแยกต่างหากเพื่อเก็บไว้เปรียบเทียบหาจุดต่างลับสมองเพิ่มไอคิวก็จะเป็นการดีครับ ลองหาดูแล้วกัน แต่ที่สำคัญอย่าลืมเซฟอีกครั้งครับ

รณธรรม

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

ศุกร์ 19 ก.ย. 2008 11:20 pm

พี่ต่อตอบคำถามละเอียด ชัดเจน และข้อมูลแน่นมากเลยครับ
นับเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับนักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งหลาย
ผมขอให้คำจำกัดความการตอบคำถามของพี่ครับขออนุญาตขนานนามว่าการตอบแบบ " ฟ้าลั่น" ครับ
ขอบคุณอีกครั้งครับพี่ต่อ

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

เสาร์ 20 ก.ย. 2008 1:59 am

ขอบคุณมากเลยครับ
รอมาตั้งแต่เวปนู้น..
ไม่นึ่กว่าจะได้มาอ่านที่เวปนี้
อิอิ

Re: ถามพี่ต่อ เรื่องพระพรหมพระอาจารย์ติ๋วครับ

เสาร์ 20 ก.ย. 2008 2:54 am

ขอบพระคุณท่านอาจารย์รณธรรม มากเลยครับ
ผมคิดว่าน่าจะเอาคำตอบนี้ เข้าไว้ในหมวดบทความด้วยครับ
เพราะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มาก ส่วนกระทู้นี้ก็ให้คงไว้ให้
ผู้ที่ได้เข้ามาอ่าน ชื่นชมกับความวิริยะ อุตสาหของผู้ตอบ
เห็นทีปีนี้ท่านอาจารย์รณธรรม คงจะได้เลื่อนขึ้นเป็นชั้น "พรหม"
แน่นอน...
นี่ถ้าเป็นการเบิกความในศาล เขาต้องบอกว่า ให้การเหมือน
"นอนอยู่ใต้เตียง" เลยครับ...

ปล.อู๊ด อู๊ด ปักธงกระทู้นี้โดยด่วน...
ตอบกระทู้