Switch to full style
รวมบทความที่น่าสนใจต่าง ๆ จากนักเขียนชื่อดัง และ ผู้ที่ทรงภูมิความรู้มากมาย
ตอบกระทู้

เรื่องเล่า หลวงพ่อนอ ว้ดกลาง

อาทิตย์ 02 ต.ค. 2011 5:53 pm

ก่อนอื่นขอออกตัวไว้ก่อนว่าไม่ใช่ลูกศิษย์ก้นกุฎิท่านและไม่ใช่ศิษย์ใกล้ชิด เพียงแต่ว่าช่วงหนึ่งของชีวิตได้เดินทางไปทำงานละแวกดังกล่าวประมาณ ปีครึ่งทำให้มีโอกาสดี ๆ ที่ได้รู้จักและรับฟังเรื่องราวของท่านจากลูกศิษย์หรือผู้อยู่ร่วมสมัยกับท่านและที่จะลืมไม่ได้เลยคือ คุณทนงทิพย์ ม่วงทอง นักเขียนเรื่องพระเครื่องโดยแนะนำให้รู้จักเกจิอาจารย์ละแวกนครหลวง ท่าเรือ บ้านหมอ รวมทั้งพี่ ๆ และเถ้าแก่ร้านขายยาที่อยู่ละแวกถนนเทศบาล อ.ท่าเรือ ซึ่งบางท่านในปัจจุบันได้ล่วงลับไปแล้ว โดยประโยชน์จากการรับฟังเรื่องราวที่เล่ากันฟังขณะนั้นมาบอกกล่าวให้ท่านฟังในขณะนี้นั้นเป็นเกร็ดและเรื่องราวย่อ ๆ บางเรื่องของหลวงพ่อนอ หรือ พระครูประสาธน์วิทยาคม แห่ง วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา

บางท่านรู้จักชื่อเสียงของท่านจากพิธีการปลุกเสกเหรียญที่วัดหอรัตนชัย บางท่านเคยอ่านเรื่องราวว่าท่านสร้างตระกรุดหนังเสือทูลเกล้าถวายฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2495 ตามหนังสือแจ้งกลับของสำนักพระราชวัง บางท่านเคยฟังว่าตะกรุดของท่านหายากราคาแพงมากตั้งแต่สมัยออกให้ทำบุญแล้ว เรื่องราวเหล่านี้ส่วนมากจะได้รับฟังกันมามากและเครื่องรางที่กล่าวถึงนั้นราคาแพงมากของเก๊มากกว่าของแท้และหายากมาตั้งแต่สมัยที่ท่ายยังดำรงค์ขันธ์อยู่แล้ว

ตระกรุดที่เรียกขานกันว่ารุ่นทูลเกล้านั้นมีทั้งขนาดสั้นและขนาดมาตรฐานประมาณ 3 นิ้วเศษ ทำเสร็จจะถักลงรักและร้อยไหมไว้เมื่อหลวงพ่อปลุกเสกเสร็จสิ้นกรรมการวัดก็นำมาให้ผู้สนใจเช่าบูชา การปิืดทองนั้นนำมาปิดที่หลังไม่ได้ปิดเดิมมาจากวัดเป็นการปิดทองไม่ได้ทาสีบรอนซ์ทอง ไส้ในจะเป็นแผ่นทองแดง ซึ่งบางท่านอาจจะโต้แย้งว่าตามประวัติมีตะกั่วและมีแกนเป็นไม้ก็มี ประเด็นนี้อาจจะมีจริงหรือไม่ผมไม่ทราบเนื่องจากที่เคยพบเห็นมาจำนวนหนึ่งนั้นแกนเป็นทองแดงและปิดทองเท่านั้นส่วนอื่นขอไม่กล่าวถึงเนื่องจากไม่ทราบและไม่เคยได้เช่าบูชาจากวัดโดยตรง ดังนั้นจะขอเล่าถึงสิ่งที่เคยเห็นมาจริง ๆ เท่านั้น ตระกรุดของท่านตกอยู่ในละแวกนั้นค่อนข้างน้อยมากส่วนมากจะอยู่กับข้าราชการใหญ่ ๆ ในจังหวัดและในกรุงเทพฯ รวมทั้งผู้ที่มีฐานะดีเท่านั้นเนื่องจากราคาที่วัดออกให้ทำบุญขณะนั้นดอกละ 500 บาท ทองสมัยนั้นบาทละ 400 บาท ก๋วยเตี๋ยวหนึ่งชาม 4 สตางค์เท่านั้น ขณะที่ผมทำงานอยู่ที่นั่นปะมาณปี 2539 เฉพาะไหมเปล่า ๆ ที่ร้อยตระกรุดชาวบ้านให้เช่ากันเส้นละ 2,500 บาท มาในปัจจุบันตระกรุดท่านแทบจะกลายเป็นตำนานไปแล้วเมื่อกล่าวถึงตะกรุดหนังเสือของของเกจิอาจารย์ที่เชื่อถือได้ท่านติดอันดับ 1 ในห้าแน่นอน ก่อนท่านจะมรณะภาพท่านได้ถ่ายทอดวิชาการลงตระกรุดให้กับหลวงพ่อตาบซึ่งเป็นหลานของท่านไว้ซึงหลวงพ่อตาบก็จัดสร้างได้เข้มขลังมีประสบการณ์มากมาย

เหรียญรุ่นแรกท่านนั่งเต็มองค์ทรงเสมาใหญ่ออกประมาณก่อนปี 2500 ความจริงน่าจะแพงมากหรือราคาควรจะใกล้เคียงกับตระกรุดของท่านแต่เรื่องกลับกลายเป็นว่าค่านิยมในวงการพระนั้นเหรียญของหลวงพ่อตาบรุ่นแรกนั้นแพงกว่าเหรียญรุ่นแรกของท่านเสียอีก

เหรียญของท่านนั้นที่ออกงานฉลองศาลา ปี 2513 ซึ่งเป็นเหรียญรูปไข่ใหญ่ ประสบการณ์ดีัมาก มีเรื่องเล่ากันว่าก่อนท่านจะสร้างเหรียญรุ่นนี้ ท่านบอกกับลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดว่าจะสร้างของดีให้ใช้โดยให้ไปหาเหรียญสตางค์แดงมาให้ท่านเมื่อให้แล้วท่านก็นำมาร้อยใส่เชือกและปลุกเสกมาโดยตลอดเมื่อท่านเห็นว่าได้ที่ดีแล้วจึงนำไปผสมสร้างเป็นเหรียญทองแดงออกมาโดยเฉพาะที่ผสมสตางค์แดงนั้นเนื้อเหรียญจะเป็นจ้ำ ๆ ด่าง ๆ ไม่สวยงามท่านแจกเฉพาะศิษย์ที่ใกล้ชิดเท่านนั้นว่ากันว่ามีไม่เกิน 100 เหรียญ ส่วนเหรียญธรรมดาจะเป็นทองแดงและเป็นทองแดงรมดำ หากท่านจะหามาไว้ห้อยบูชาแล้วขอให้หาเหรียญทองแดงชนิดที่ไม่รมดำ ซึงราคาเหรียญทองแดงนั้นไม่แพงไม่เกิน 1,000 บาท เหรียญนี้ดีอย่างไรนั้นขอเล่าไว้พอสังเขปดังนี้ขณะนั้นรถจักรยานยนต์รุ่นสปรินท์เตอร์เป็นที่นิยมมากนำมาแต่งและขับแข่งขันกัน วันนั้นผิดพลาดอย่างไรไม่ทราบได้เเกิดอุบัติเหตุขึ้นด้วยความเร็วของรถทำให้รถล้มท่อไอเสียครูดกับถนนจนเป็นสะเก็ดไฟและหลุดลงข้างทางทั้งรถและคนหามขึ้นมาเพราะสลบไปพักรักษาตัวที่ รพ.ประจำจังหวัดฯ ซึ่งอยู่หลังวิทยาลัยครูฯ เสียหลายวันตามเนื้อตัวไม่มีบาดแผลเลยมีแต่รอยฟกช้ำเท่านั้น ส่วนทางด้านมหาอุตม์ คงกระพันชาตรี คนละแวกท่าเรือ บ้านล่อม นครหลวง เชื่อถือกันมาก

นอกจากนั้นยังมีเบี้ยซึ่งท่านไปนำมาจากวิหารหลวงพ่อโตซึ่งเป็นพระจัดสร้างด้วยไม้ท่านบอกว่าดีทางกันปอบและกันคุณไสยเป็นหอยเบี้ยเปล่าท่านแจกให้กับผู้ที่ปราถนาอยากได้เมื่อได้มาแล้วก็นำมาเลี่ยมห้อยคอกันไม่มีเอกลักษณ์ชัดเจน

อีกเรื่องคือท่านเก่งทางด้านเมตตาและค้่าขายมากด้านเจิมป้าย ขึ้นบ้านใหม่ ท่านมีชื่อเลื่องลือทางนี้มากช่วงปลายอายุท่านนั้นท่านไม่ได้ลงตะกรุดเลยเพียงแต่จัดสร้างและปลุกเสกพระเครื่องเท่านั้น ลูกศิษย์ที่สืบทอดวิชาที่ชัดเจนที่สุดคือหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง กล่าวกันว่าท่านได้วิชาลงตะกรุดไปทั้งหมด และเรื่องทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงเกร็ดเล็กน้อยของหลวงพ่อนอ วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา

หมายเหตุ เหรียญที่อ้างดังกล่าวนำภาพถ่ายมาจากเวปไชต์อื่น ๆ ครับ ต้องขออนุญาตและขอบคุณเจ้าของเหรียญด้วยครับ
แนบไฟล์
.jpg
.jpg (5.19 KiB) เปิดดู 9910 ครั้ง
1.jpg
ด้านหลังเหรียญ
1.jpg (9.2 KiB) เปิดดู 9908 ครั้ง

Re: เรื่องเล่า หลวงพ่อนอ ว้ดกลาง

อาทิตย์ 02 ต.ค. 2011 10:44 pm

ขอบพระคุณมากครับ ชอบ ชอบ

หลวงพ่อนอนี่เก่งมาก ๆ ครับ คุณพ่อบุญธรรมผมบ้านอยู่ติดกับวัดกลางเลย ได้เคยลองของหลวงพ่อนออยู่บ่อยครั้ง ได้ผลเป็นที่ประจักษ์จนเชื่อขนมกินได้เลยสำหรับวัตถุมงคลของท่านครับ :P
ตอบกระทู้