Switch to full style
รวมบทความที่น่าสนใจต่าง ๆ จากนักเขียนชื่อดัง และ ผู้ที่ทรงภูมิความรู้มากมาย
ตอบกระทู้

พุทธอุทยานธรรมโกศล ตอน ของเก่าเอามาเล่าใหม่ (โดยป้านันท์)

อังคาร 30 ก.ย. 2008 5:36 pm

พุทธอุทยานธรรมโกศล ตอน ของเก่าเอามาเล่าใหม่ (โดยป้านันท์)
โดย ศิษย์กวง
จาก http://www.oknation.net/blog/sitthi/2008/02/21/entry-1

01.jpg
01.jpg (20.82 KiB) เปิดดู 1978 ครั้ง
ของเก่าที่เอามาเล่าใหม่ ครั้งนี้สืบเนื่องจากวันที่ผมไปกราบท่านหลวงพ่อสมภพ ที่พุทธอุทยานธรรมโกศลและได้พูดคุยกับลูกศิษย์ของหลวงพ่อหลายๆท่าน บางคณะเป็นลูกศิษย์กลุ่มใหม่ๆ มากราบท่าน เพียงเพราะทราบว่าท่านเชี่ยวชาญในเรื่องไสยเวทย์ คาถาอาคม แต่ในบางคณะที่เป็นลูกศิษย์กลุ่มเก่าๆ มากราบท่าน ด้วยความคิดถึง ด้วยความเคารพ

“ช่วงนี้หลวงพ่อท่านเข้มงวดน้อยลงมาก อาจเรียกได้ว่าคงเหลือความดุแค่สักสิบเปอร์เซ็นต์ได้ สมัยนั้นนะไว้ผมยาวก็ไม่ได้ เข้าหาท่านนั่งพับเพียบก็ไม่ได้ ท่านว่าพวกเธอเป็นผู้หญิงเหรอ ผู้ชายต้องนั่งคุกเข่า ตัดผมสั้น ท่านเอาแบบทหารมาใช้กับกลุ่มพวกเรา

พวกคุณมาหาท่านเนี่ย ถูกต้องแล้ว พระที่จะสร้างพระได้ดี ต้องเริ่มต้นที่คนสร้างก่อน หลวงพ่อท่านบริสุทธิ์ เป็นพระที่ดี ของที่ท่านทำออกมาจึงขลัง เชื่อถือได้
02.jpg
02.jpg (31.31 KiB) เปิดดู 1978 ครั้ง

สมัยก่อนพวกเราเป็นเด็กวัยรุ่นในหมู่บ้าน ก็อยู่ข้างวัดนั่นแหละ เกเร ได้หลวงพ่อนี่แหละจับเอาพวกเรามาฝึก มาอบรม ให้เรียน ให้บวช ก็ประมาณสัก 30 คน แถมแต่ละคนสักยันต์ตัวดำไปหมด ชาวบ้านโดยเฉพาะพวกผู้ใหญ่สายหัวไม่เอาเลย จะว่าดุขนาดไหน คิดดูละกันพอเห็นท่านเดินมาทุกคนหลบหมด ไม่กล้าสบตา สบตาเป็นไม่ได้ เจอดีทุกที ทำอะไรขัดตาท่านไปหมด จะไม่ขัดได้ยังไงสูบบุหรี่บ้าง ไม่ยอมอ่านหนังสือบ้าง ก็ตามประสาวัยรุ่นนั่นแหละ”

คำพูดที่ทำให้ผมคลายความสงสัยว่าลำบากขนาดนี้แล้วทำไมคนกลุ่มนี้ถึงทนอยู่กันได้

“จะให้ไปไหนละ ไม่มีใครเอาเรา ออกนอกวัดก็ไม่ได้เดี๋ยวโดนพวกดักตี อยู่ในวัดก็โดยตะพดหลวงพ่อ โดนเข้าโดนเข้า โดนอยู่ทุกวันจนมันกลายเป็นความเคยชิน จนมันกลายเข้ามาเป็นสายเลือดของพวกเรา มันอยู่ในสายเลือด มันถึงอยู่ได้”

เป็นคำตอบที่ประทับใจมากครับ เด็กกลุ่มนี้ได้รับการฝึก การอบรม อย่างเข้มงวดจากท่าน จนมันอยู่ในสายเลือดของพวกเขา ทุกวันนี้บางคนได้ดีเป็นนักธุรกิจใหญ่โต บางคนเป็นนายทหารระดับพลเอก ทุกคนมีภารกิจ มีธุระต้องทำ มีกิจการต้องดูแล แต่คนกลุ่มนี้จะไม่เคยลืมเลยว่าปีหนึ่ง พวกเขาจะต้องมากราบหลวงพ่อให้ได้สามครั้ง คือ วันปีใหม่ วันสรงน้ำหลวงปู่เผือกและวันเกิดหลวงพ่อ ไม่ว่าใครจะทำอะไร อยู่ไกลแค่ไหน ทุกคนจะมา ที่ไม่มาคือพวกที่ล้มหายตายจากไป
03.jpg
03.jpg (16.36 KiB) เปิดดู 1971 ครั้ง

04.jpg
04.jpg (12.48 KiB) เปิดดู 1972 ครั้ง
หนึ่งในคนกลุ่มนี้ มีหญิงอายุประมาณห้าสิบเศษชื่อป้านันท์ ซึ่งเป็นลูกบุญธรรมของหลวงพ่อ นอกจากดูแลความเรียบร้อยภายในสำนักแล้ว สิ่งที่ป้านันท์ปฏิบัติเป็นประจำทุกวันไม่เคยขาดคือการตำหมากถวายไว้หน้าหลวงปู่เผือก เมื่อลาแล้วก็จะจัดเก็บรักษาไว้อย่างดี แต่ก่อนผมไม่ทราบว่าทำไมป้าหวงเหลือเกินไม่ยอมให้ใครเลย เพิ่งจะถึงบางอ้อนี่แหละครับ หมากทุกคำที่ตำถวายหลวงปู่ป้านันท์ท่านจะเก็บไว้เป็นมวลสารให้หลวงพ่อสมภพ ท่านสร้างพระ ไม่เฉพาะหมากเท่านั้นนะครับ ดอกไม้ ดอกบัว ทุกดอก ทุกกำ ที่พวกเรานำไปไหว้พระในสำนัก หรือถวายหลวงพ่อ เมื่อเหี่ยวเฉาแล้ว ป้านันท์ก็จะเก็บรวบรวมเอาไว้เป็นหมวดหมู่ ไม่เคยทิ้ง ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือว่า

“ของทุกอย่าง ทุกอณู หากผ่านมือหลวงพ่อ ผ่านการถวายหลวงปู่ ถือเป็นของมงคลสำหรับชีวิตป้านันท์ทั้งหมด”

พูดอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องเกินเลยจริงๆ ผมว่ามันคงเข้าเป็นสายเลือดของป้านันท์ไปแล้ว
05.jpg
05.jpg (15.72 KiB) เปิดดู 1971 ครั้ง
06.jpg
06.jpg (11.83 KiB) เปิดดู 1969 ครั้ง
07.jpg
07.jpg (12.13 KiB) เปิดดู 1965 ครั้ง
วันนี้ครับ วันนี้ ป้านันท์มีเรื่องจะบอกพวกเรา “เป็นเรื่องของเก่าเอามาเล่าใหม่”
ในปี 2530 ทางพุทธอุทยานธรรมโกศล ได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมาชุดหนึ่งประกอบด้วย พระพิมพ์ต่างๆ 3 พิมพ์คือ พิมพ์พระธรรมขันธ์ พิมพ์หลวงปู่เผือก พิมพ์ตรีกาย และลูกประคำ 108 “อริยสัจโสฬสมหามงคล” มวลสาระสำคัญ เช่น ผงวิเศษที่หลวงพ่อสมภพจัดทำขึ้น คือ ผงอิธเจ ปถมัง มหาราช ตรีนิสิงเห และพุทธคุณ นอกจากนี้ยังมีมวลสารมงคลอย่างอื่นๆ อีกมาก(ขออภัยพิมพ์ไม่ไหว)

พระบางส่วนนำออกให้บูชา บางส่วนทางสำนักจัดเก็บบรรจุกรุไว้ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์
08.jpg
08.jpg (20.98 KiB) เปิดดู 1965 ครั้ง
09.jpg
09.jpg (22.23 KiB) เปิดดู 1964 ครั้ง
สภาพของกรุบรรจุพระ โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์

วันเวลาผ่านไปจนถึงประมาณปี 2549 ป้านันท์แกไปด่อมๆ มองๆ พบว่าตุ่มที่บรรจุพระ บางตุ่มชำรุดมีน้ำซึมเข้าไปข้างใน ทำให้พระที่บรรจุไว้เปียกชื้น เกาะกันเป็นก่อน ชำรุดเสียหายซะมาก แกก็เลยขอแรงเหล่าทหารที่คอยดูแลหลวงพ่อ ช่วยกันขนย้ายลงมาเก็บไว้ ส่วนไหนที่ชำรุดก็นำบดเป็นผง ส่วนไหนที่สภาพพอไหว ก็นำมาเคลือบผิวเพื่อให้แข็งแรง (เคลือบแบบเดิมๆ มาสภาพไหน เคลือบสภาพนั้น)

พระทุกองค์นำมาใส่ซองพลาสติก รวมกับของมงคลที่แกเก็บรักษาไว้แหละครับ จำพวกชานหมาก ข้าวตอก ดอกไม้ ที่หลวงพ่อใช้โปรยเวลาพุทธาภิเษก จัดเป็นซองให้หลวงพ่อแจก หรือจะทำบุญก็ได้ซองละ 200 บาท

ส่วนที่บดเป็นผง ป้านันท์นำเอามาใส่หลังครอบเงินหรือครอบทองคำ รูปพระพุทธชินราช และรูปหลวงปู่เผือก

เสร็จแล้วก็ลงรักปิดทอง(ป้านันท์บอกว่า บางครั้งแพ้รัก คันตามตัวก็ต้องหยุด)

แค่นี้ผมก็ถือว่าเป็นของดีที่สุดแล้ว

แต่มันคงยังไม่เป็นที่พอใจของหลวงพ่อท่านครับ ท่านสั่งให้เอาพระทั้งหมดไปให้ท่านลงจาร
10.jpg
10.jpg (11.52 KiB) เปิดดู 1962 ครั้ง
11.jpg
11.jpg (12.7 KiB) เปิดดู 1957 ครั้ง
12.jpg
12.jpg (15.06 KiB) เปิดดู 1958 ครั้ง
ผมเคยถามหลวงพ่อว่า “หลวงพ่อครับ ทำไมหลวงพ่อต้องจารละครับ”(เพราะทราบมาว่าการจารพระผง มันเจ็บมือมากและสังเกตดู เห็นว่าที่นิ้วมือของท่านบวมอยู่ สาเหตุเกิดจากการลงเหล็กจาร) ฟังคำตอบครับ

“คนที่มาเช่าวัตถุมงคลที่นี่มีน้อย ส่วนมากที่มาเช่าก็เป็นบรรดาลูกศิษย์เก่าๆ ที่นับถือกัน พวกใหม่ๆ ก็คือคนที่เพิ่มเข้ามานับถือฉัน พวกนี้ต้องการวัตถุมงคลที่คุ้มครองชีวิตพวกเขาได้ ฉันจึงต้องทำให้ดี เธอสังเกตุดูมวลสารพวกนี้ผ่านพุทธาภิเษกมาแล้วไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้งเรียกได้ว่าสำเร็จแล้ว ฉันนำมารวมกับพวกดอกไม้ที่พวกเธอนำมาไหว้พระ นำมาถวายให้ฉัน ของมงคลที่เกิดจากศรัทธา เกิดจากความตั้งใจ มันมีคุณค่า ฉันจึงต้องทำให้พวกเขาอย่างดี

พระเครื่องเหล่านี้ฉันว่าไม่ต้องพุทธาภิเษกก็ได้ เพราะทุกครั้งที่ฉันลงจารแต่ละตัว ฉันจะเรียกสูตรจนครบ จนครบทุกอักขระ เหมือนกับเป็นการเสกไปในตัวแล้ว”

ครับ ผมว่าการที่หลวงพ่อต้องการสร้างพระให้ดี เสกพระให้ขลัง ไม่ยอมทำชุ่ยๆ ให้โรงงานทำแล้วก็แล้วกัน เพียงเพื่อต้องการมอบให้ลูกศิษย์ไว้บูชา ไว้ติดตัว ถึงต้องยอมเจ็บมือ มันคงเป็นสายเลือดของหลวงพ่อไปแล้วครับ

ผมอยากจะบอกว่า
วัตถุมงคลทุกชิ้นที่ออกจากสำนักแห่งนี้ ไม่เคยสนใจตลาด ไม่เคยสนใจสื่อโฆษณา ทุกอย่างที่มีชื่อเสียง เกิดจากประสบการณ์ปากต่อปาก บอกเล่ากันไป การสร้างทุกอย่างทำอยู่ภายในสำนัก ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย เหนื่อยก็พัก ไม่ต้องมีใครบังคับให้ทำ การสร้างพระของที่นี่มีตัวเองเป็นเจ้านาย

ส่วนมากทุกวันนี้วัดต่างๆ สร้างพระจากโรงงาน เพียงเพื่อความรวดเร็วและให้ได้ปริมาณมากๆ แต่พุทธอุทยานธรรมโกศลแห่งนี้ เดินไปตามทาง ตามเจตนารมณ์ อย่างช้าๆ ด้วยกลิ่นไอจางๆ ของความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่มีคุณค่า เพื่อมอบให้กับกลุ่มลูกศิษย์เก่าๆ ที่แวะมาเยี่ยม มาทักทาย หรือลูกศิษย์กลุ่มใหม่ๆ ที่เข้ามาหาที่พึงทางใจ

สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจให้สำนักแห่งนี้ทำเช่นนี้ได้ ผมว่ามันเกิดจากสายเลือดของสาลีโขแหละครับ

ภาพวัตถุมงคล บางส่วน ของพุทธอุทยานธรรมโกศล
13.jpg
13.jpg (23.93 KiB) เปิดดู 1956 ครั้ง
14.jpg
14.jpg (27.83 KiB) เปิดดู 1956 ครั้ง
15.jpg
15.jpg (32.52 KiB) เปิดดู 1952 ครั้ง
16.jpg
16.jpg (32.57 KiB) เปิดดู 1952 ครั้ง
17.jpg
17.jpg (23.15 KiB) เปิดดู 1950 ครั้ง
18.jpg
18.jpg (22.53 KiB) เปิดดู 1949 ครั้ง
ขอบคุณ คุณพรชนก สุขพงษ์ไทย และร้านเบญจพร ที่เอื้อเฟื้อภาพวัตถุมงคลของพุทธอุทยานธรรมโกศล เพื่อนต่อ สำหรับคำแนะนำและกำลังใจจากคุณสมบูรณ์ ร้านนายฮ้อ สระบุรีครับ
ตอบกระทู้